อ้างถึง: kenglek posted: 22-10-2554, 00:06:51
อ้างถึง: งูผี posted: 21-10-2554, 23:55:29
น้าJADEL รับฟังมาถูกแล้วครับเรื่องที่ว่าหนองงูเห่าคือที่ระบายน้ำออก แล้วประตูระบายน้ำที่สนามบินทำไว้ดีมากแต่ไม่ได้ใช้ เพราะอะไรก็ไม่เข้าใจ น้ำท่วมมันผิดตั้งแต่เขื่อนมาเก็บกักไว้จนมันล้น พอล้นก็ต่างคนต่างกั้น พอกั้นมันก็สูง แล้วก็รอให้พัง พอพังก็ตั้งตัวไม่ทัน บอกได้คำเดียวว่าต้องยอมรับชะตากรรม เพราะน้ำเหนือยังใหลมาเรื่อยๆ กทมไม่รอดแน่นอน
ใช่ครับ สนามบินสุวรรณภูมิ คือทางระบายน้ำฝั่งตะวันออก อันนี้ถูกต้อง100%ครับ
แต่ที่ข้อความที่ประกอบมาด้วย มันดูเป็นการโจมตีกันแบบข้อมูลผิดๆน่ะครับ
ผมแค่อยากให้คนไทย รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลางที่สุด ครับ
และ ก่อนอื่น ..ผมออกตัวไว้เลยนะครับ ว่า ผมไม่ใช่เสื้อสีใดๆทั้งสิ้น ผมไม่ได้ปลื้มคุณทักษิณด้วยซ้ำ
รายละเอียดตามนี้นะครับ
ประวัติสนามบินหนองงูเห่า
ปี 2503 รัฐบาลว่าจ้าง Litchfield Whiting Bourie and Associate ศึกษาและวางผังเมืองกรุงเทพฯ มีข้อเสนอให้ประเทศไทยมีสนามบินพาณิชย์แยกเป็นสัดส่วนจากสนามบินทหารที่ดอนเมือง โดยให้มีระยะห่างและทิศทางที่เหมาะสมกับการขึ้นลงของสนามบินดอนเมือง
ปี 2504 กระทรวงคมนาคมศึกษาเปรียบเทียบสถานที่ก่อสร้างอากาศยานแห่งใหม่ และเล็งเห็นว่าบริเวณหนองงูเห่าในพื้นที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานแห่งใหม่
ปี 2506 - 2516 กรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม จัดหาที่ดิน เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยมีการจัดซื้อ และเวนคืนที่ดิน ในพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่
ปี 2521 กระทรวงคมนาคมว่าจ้างบริษัทแทมส์ (Tippets Abbott Mocarthy Artation) ศึกษาทบทวนเรื่องการก่อสร้างอีก ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยต้องมีท่าอากาศยาน แห่งที่ 2 และบริเวณหนองงูเห่าเหมาะสมที่สุด
ปี 2530 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษาการมีท่าอากาศยานกรุงเทพฯแห่งที่ 2 ของคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา สรุปได้ว่าควรมีการสงวนที่ดินบริเวณหนองงูเห่าไว้ตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บเวนคืนอสังริมทรัพย์
ปี 2533 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Louis Berger International INC ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบท่าอากาศยาน (Airport System Master Plan Study)เพื่อใช้ประโยชน์เป็นแนวทางการพัฒนาระยะยาว ผลการศึกษาส่วนเกี่ยวกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 สรุปได้ว่า ท่าอากาศยานดอนเมืองจะถึงจุดอิ่มตัวในปี 2543 หากไม่มีท่าอากาศยานกรุงเทพฯแห่งใหม่จะส่งผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยรายงานผลการศึกษาดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาถึงความจำเป็นต้องเร่งรัดการพิจารณาทบทวนโครงการ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2
ปี 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ที่บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ
ปี 2535 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาทั่วไป (GEC) ศึกษาวางแผนแม่บทออกแบบเบื้องต้นควบคุมการออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม และบริหารงานก่อสร้างในวงเงิน 914 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 7 ปี 6 เดือน ส่วนในด้านการบริหารโครงการ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร การพัฒนาท่าอากาศยานกรงุเทพแห่งที่ 2 (กทก.) และจัดตั้งตั้งสำนักงานคณะกรรมการบริการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (สทก.)
ปี 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้น เพื่อความคล่องตัวในการบริหารโครงการขนาดใหญ่ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผุ้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ใช้ชื่อว่า บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) หรือ New Bangkok International Airport Company Limited (NBIA) มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10,000 ล้านบาท
ปี 2539 บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จดทะเบียนตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีกระทรวงการคลังและการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้น และมีภาระหน้าที่ในการก่อสร้างและบริหารงาน
ปี 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" แทนชื่อ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2
มีการ แบ่งสี เกิดขึ้นอีกแล้ว ใน http://siamfishing.com เรารักตกปลาไม่ใช่การเมืองเล่นละครกัน