มันคือฉลามวาฬ ครับ
ฉลามวาฬ (Whale Shark)
รู้จักฉลามวาฬกันก่อน
ชื่อวงศ์ (Family name) : Rhincodontidae.
ชื่อสามัญ : ปลาฉลามวาฬ (Whale Shark)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhincodon typus (Smith, 1828)
ขนาดตัวเต็มวัย : ยาวมากกว่า 30 - 40 ฟุต (9-12 เมตร)
แหล่งที่อยู่อาศัย : บริเวณแนวปะการัง และ ด้านนอกทะเลเปิด
การพบเห็น : พบเห็นทั่วไป
แหล่งอาหาร : แพลงก์ตอน
ลักษณะของฉลามวาฬ
ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ตัวใหญ่มหึมามาก โดยตัวโตเต็มที่อาจยาวถึง 50 ฟุต (15 เมตร) นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้ในปัจจุบัน ความกว้างของปาก ใกล้เคียงกับความกว้างของหัว ตัวมีสีตั้งแต่สีเทาดำ จนถึงสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลออกเขียว ที่ด้านหลังและ ด้านข้าง รวมถึงผวด้านบนเหนือครีบหน้า (Pectorals) ฉลามวาฬจะมีจุดกลม ๆ ถี่ๆ สีขาว หรือสีเหลือง เรียงเป็นแนวตามลำตัว จุดเล็กที่สุดจะอยู่บริเวณหัว ที่อื่นๆ อาจจะพบไม่ถี่มาก อาจมีแถบเส้นแคบๆ สีขาว หรือ สีเหลืองพาดตามขวาง ด้านท้องและส่วนล่างมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฉลามวาฬขนาด 480 นิ้ว (1,200 เซนติเมตร) จะมีน้ำหนักประมาณ 12,500 กิโลกรัม
ปลาฉลามแบ่งออกเป็น 8 Order ตามลักษณะกายวิภาคของมัน ซึ่งลักษณะที่ใช้ในการจำแนก เช่น การมีและไม่มีครับก้น และจำนวนช่องเหงือก ฉลามวาฬได้ถูกจัดให้อยู่ใน order Orectolobiformes ซึ่งมีช่องเหงือก 5 อัน มีครีบก้น มีครับหลัง 2 ตอน ไม่มีหนามที่ครีบ และตำแหน่งของปากอยู่ตรงด้านหน้าของตา ลักษณะของหางเป็นแบบ Heterocercal tail ซึ่งฉลามใน order นี้ บางชนิดอาจจะมีหางยาวมาก
ครีบหางมีขนาดใหญ่มีร่องบุ๋ม (Notch) ที่ฐานโคนหางด้านบน และมีสันนูน (Keel) ในแต่ละด้านของโคนหาง มีครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน มีปากขนาดใหญ่ อาจกว้างถึง 5 ฟุต มีฟันเล็กๆ ลักษณะรูปทรงกรวยโค้ง มีตาขนาดเล็กและที่ตาไม่มีเยื่อหุ้มปิดตา (Nictating membrane) มีเหงือกเป็นท่อขนาดเล็กๆ หายใจโดยใช้แรงดันน้ำผ่านเหงือกเมื่อเวลาปากปิด และอาหารพวกแพลงก์ตอนจะถูกกรองโดยเหงือกกักเก็บไว้เป็นก้อนๆ แล้วกลืนลงไปทางท่ออาหาร หัวของปลาฉลามวาฬด้านบนมีลักษณะแบนมากและไม่พบจงอยปากชัดเจน มีปากเป็นแบบ anterior margin ซึ่งต่างจากปากของปลาฉลามอื่นๆ มีSpiracle ใหญ่กว่าตา อยู่ห่างไปทางด้านหลังเหนือตาเล็กน้อย ฟันเหมือนกันทั้งขากรรไกรบนและล่าง มีแถวละประมาณ 300 ซี่ มี 10 แถว แถวที่ 10 - 15 ฟันจะเป็นแบบ Dental band ที่ปรากฎอยู่คล้ายตะไบใหญ่บนขากรรไกร-จากนั้นเป็นต้นมามันก็มีชื่อว่า Rhincodon หรือ ชื่อเดิมคือ พวกมีฟันตะไบ
ฉลามวาฬแตกต่างจากปลาฉลามกลุ่มอื่นๆ ตรงที่ ลักษณะของหัวซึ่งกว้างมาก เหมือนพวก Orectolobiform sharks อื่นๆ มีปากกว้างอยู่ด้านหน้าของของหัว ช่องเปิด olfactory opening จะอยู่เหนือริมฝีปากบน ซ่อนอยู่ในร่องโพรงจมูก มีเส้นขน barbelอยู่ภายในร่อง คล้ายกับฉลามอีกพวก หนึ่งคือ carpetshark family พวก Nerse sharks คือวงศ์ Ginglymostomatidae ตาของฉลามวาฬจะมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ด้านหลังของมุมปาก (ขากรรไกร) ฉลามวาฬจะปิดตาของมันโดยการหมุนนัยน์ตา และดูดมันกลับไปสู่ที่หัวของมัน
ผิวหนังด้านหลังของฉลามวาฬจะหนากและเหนียวกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในโลก ผิวชั้นนอกถูกปกคลุมทับซ้อนกันระหว่างเกล็ดแข็งๆ ที่สารคล้ายสารเคลือบฟัน (dermal denticles) เป็นเสมือนชุดเกราะจริงๆ เกล็ดแต่ละอันมีขนาดกว้าง 0.5 มิลลิเมตร ยาว 0.75 มิลลิเมตร แต่ละอันจะมีปลายแหลมยื่นออกมาลู่ไปทางด้านหลัง หนังชั้นในถัดลงไปจะเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งมีความหนาถึง 14 เซนติเมตร ส่วนหนังด้านท้องจะมีความอ่อนบาง และความหนาของหนังชั้นในจะมีความหนาเพียง 2/3 เท่าของความหนาของหนังด้านหลัง
ฉลามวาฬแตกต่างจากปลาฉลามกับปลาวาฬอย่างไร?
ฉลามวาฬไม่มีสิ่งใดเลยที่เหมือนปลาวาฬ เว้นแต่เพียงขนาดของร่างกาย และความจริงที่ว่ามันกินแพลงก์ตอนตัวเล็กๆเป็นอาหาร โดยการเปิดปากกว้างแล้วว่ายน้ำไปเรื่อยๆเพื่อดักอาหารเข้าปาก โดยปกติมันจะกินอาหารอยู่ที่ผิวน้ำ หรือต่ำลงไปเล็กน้อย บางครั้งอาจพบว่ามันกินลูกปลาวัยอ่อน เคย ปลาหมึก และปลาซาดีน ฉลามวาฬกินอาหารโดยการกรองกินสิ่งมีชีวิตพวกแพลงก์ตอนขนาดเล็กออกจากน้ำโดยช่องเหงือกทั้ง 5 ของมัน ซึ่งมีซี่กรองเหงือกที่ละเอียด ช่องเหงือกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะบ่งบอกถึงวิธีการกินอาหารของมัน มีเพียงพวก Basking shark เท่านั้นที่มีเหงือกขนาดใหญ่กว่ามัน มันจะบอกได้ว่า ฉลามวาฬสามารถกรองกินเหยื่อที่มีขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่หน้าตัดแค่ 1 มิลลิเมตร และในขณะที่มันกำลังกิน เหงือกจะผายออก มันก็จะดูดน้ำปริมาณมากเข้าสู่เหงือกโดยเร็ว
ในอดีตฉลามวาฬถูกจัดอยู่ในกลุ่มพวกที่ดูดกรองกินอาหาร ทันทีที่เปิดปากออกมามันก็จะรุนเอาน้ำจำนวนมากเข้าสู่ภายในปาก ซึ่งน้ำจะถูกขับออกทางช่องเหงือก ในกระบวนการโดยปกติของจังหวะการหายใจ ฉลามวาฬจะเปิดปากของมันประมาณ 20 เซนติเมตร แต่เมื่อกินอาหารมันจะเปิดปากกว้างกว่า 2 - 3 เท่า บางครั้งมันก็หากินไปเรื่อย ๆ ว่ายลอยตัวไปมาตามบริเวณใกล้กับผิวน้ำโดยอ้าปากค้างไว้ ส่วนในเวลาอื่น ๆ มันต้องหากินให้มากพอ จึงว่ายอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับผิวน้ำ เมื่อเจอกับฝูงเคย (krill) ที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ ๆ ก็จะว่ายน้ำเข้าหา (กิน)
ฉลามวาฬสืบพันธุ์อย่างไร?
ฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวไม่ต้องฟักจากไข่ หลังจากที่มันออกมาจากมดลูกของแม่ มันก็มีชีวิตเลย ในประเทศไต้หวันพบฉลามวาฬที่ตั้งท้อง และถูกแทงด้วยฉมวกตาย เมื่อผ่าท้องออกมาพบมีลูกอ่อนอยู่ในมดลูกของถึง 300 ตัว โดยลูกอ่อนนั้นถุงไข่กำลังยุบตัวใกล้จะหมดแล้ว มีความยาวประมาณ 64 เซนติเมตร หริอ 25 นิ้ว (Environmental Biology of Fishes 46:219-223 1996) มันเป็นสิ่งที่น่าเชื่อได้ว่าตัวเต็มวัยจะมีอายุระหว่าง 25 - 30 ปี อายุตัวเต็มวัยจะช่วยสรุปได้ว่าพวกมันอาจจะมีอายุยืนยาวถึง 100 ปี
จะพบฉลามวาฬได้ที่ไหนบ้าง?
สามารถพบฉลามวาฬตามน่านน้ำใกล้เส้นศูนย์สูตร แถบละติจูด ?30-40? พูดได้ว่าฉลามวาฬทำให้อุณหภูมิผิวน้ำ 21 - 26 องศาเซนติเกรด ในพื้นที่ซึ่งมี ปรากฎการณ์น้ำผุด และมีธาตุอาหารสมบูรณ์ในบริเวณน้ำเย็น สภาพเช่นนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารของฉลามวาฬ และบ่อยครั้งจะพบการรวมกลุ่มของกลุ่มปลาผิวน้ำ โดยเฉพาะพวก Trevally (Jack)
การแพร่กระจาย
ฉลามวาฬมีการแพร่กระจายในทะเลเขตร้อนทั่วโลก ยกเว้นทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ฉลามวาฬมักอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำมีอุณหภูมิ 21-26 องศาเซลเซียส โดยมีการแพร่กระจายสัมพันธ์กับกระแสน้ำอุ่นในบางบริเวณ ฉลามวาฬมักพบในเขตที่มวลน้ำอุ่นปะทะกับน้ำเย็นและ มี plankton มาก ในบริเวณน้ำผุด ( กระแสน้ำด้านล่างพัดปะทะแนวหินแล้วพัดพาเอาธาตุอาหารจากพื้นขึ้นสู่มวลน้ำด้านบน - Upwelling )
นอกจากนี้หลายคนเชื่อว่าฉลามวาฬมีการอพยพย้ายถิ่นแต่ยังไม่มีแนวทางแน่นอนว่าเป็นแนวทางใด ฉลามวาฬในเมืองไทยส่วนใหญ่พบตามกองหินใต้น้ำในบริเวณทะเลเปิด มีความลึก 30 เมตรขึ้นไป อาทิ ริเชลิว หินม่วง หินแดง กองตุ้งกู โลซิน ฯลฯ จุดที่เชื่อกันว่าพบฉลามวาฬบ่อยที่สุดคือ ริเชลิว มีความเป็นไปได้ในเรื่องการอพยพของฉลามวาฬในระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร อาทิ พบว่ามีการอพยพของฉลาวาฬจากเกาะปาปัวนิวกีนีลงมาตามชายฝั่งด้านตะวันออกของแนวปะการัง great barrier reef
ที่มา www.wildlifefund.or.th