เอาภาพมาให้ดูความแตกต่างระหว่างการซูมเข้าและออก...(ไม่ได้ให้ดูความสวยงามนะครับเพราะถ่ายหน้าจอคอมพิวเตอร์แค่นั้น) ภาพนี้หมุนซูมเข้ามาจากที่ภาพเล็กให้ภาพใหญ่ขึ้นน้าๆป้าๆลองสังเกตุที่ตัวหนังสือกับแนวลำแสงนะครับ...ตัวหนังสือที่ชัดจะเหมือนกับลอยออกมาอยู่ด้านนอก...( ภาพถ่ายจากสถานะการจริงลองไปดูที่กระทู้ UFO นะครับ )
มาช่วยเสริมเรื่องการระเบิดซูมอีกนิดหนึ่งครับเผื่อน้าๆป้าๆจะลองไปถ่ายดู...การระเบิดซูมก็คล้ายๆกับเทคนิคการแพนกล้อง..เพียงแต่เราใช้ช่วงของซูมเข้าออกเพื่อให้ได้ภาพที่แปลกตา....
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพแบบระเบิดซูม
1 เลนส์ซูมในช่วงต่างๆ (แน่นอนมันต้องเป็นเลนส์ซูมไม่งั้นมันจะซูมเข้าออกไม่ได้)
2 ขาตั้งกล้อง (อันนี้สำคัญเพราะเราต้องใช้สปีดช้าในการถ่ายแบบนี้)
ช่วงซูมที่สามารถสร้างความตื่นตาให้กับภาพได้มากก็คือช่วงซูมเทเลแต่ก็จะเป็นช่วงซูมที่ถ่ายภาพค่อนข้างยากเนื่องจากอาจเกิดการสั่นไหวอันจะทำให้ภาพเกิดอาการเบลอได้ง่าย..ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีขาตั้งกล้อง...
การเลือกใช้สปีดชัตเตอร์ควรเลือกใช้สปีดชัตเตอร์ช้าถึงปานกลางเช่น 1/80, 1/40 sec. หรือต่ำลงไปเรื่อยๆโดยใช้ขาตั้งกล้องช่วย โฟกัสไปที่วัตถุตัวแบบแล้วปรับมาเป็นระบบ Manual focus เพื่อล็อคโฟกัสให้อยู่กับที่ ตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO ให้มีค่าแสงที่พอดีจากนั้นก็กดถ่ายภาพ ในขณะที่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงอยู่นั้นก็ให้หมุนวงแหวนปรับซูมเปลี่ยนระยะ ด้วยความรวดเร็วก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิด หากกล้องและเลนส์ไม่มีการสั่นไหว วัตถุกลางภาพที่เราโฟกัสไว้จะคมชัดสวยงามในขณะที่วัตถุอื่นรอบด้านจะเบลอเป็นเส้นพุ่งเข้า หาส่วนกลางในขณะที่ถ่ายภาพแบบนี้มักจะเกิดอาการภาพสั่นอยู่เสมอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากลักษณะการบิดหมุนวงแหวนซูม นั่นคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพระเบิดซูมวิธีการแก้ปัญหาจึงควรใช้ขาตั้งกล้องอย่างที่น้าเล็กบอก
ข้อแนะนำคราวๆในการระเบิดซูม...
1 ใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการตรึงกล้องให้อยู่กับที่จะทำให้ภาพลดอาการสั่นไหวลงได้มาก
2 เลือกใช้เลนส์ซูมที่มีช่วงห่างกันไม่เกินสามเท่า (3X) เช่น 24-70mm (24x3 = 72), 70-200mm (70x3 =210) จะช่วยให้ภาพไม่สั่นไหวมากนัก เลนส์ซูมที่มีช่วงซูมมากกว่านี้มีโอกาสที่ภาพจะสั่นไหวสูงมาก เนื่องจากผู้ถ่ายภาพมักจะหมุนแหวนซูมด้วยความเร็วและแรงเพื่อให้ทันกับการ ปิดตัวของชัตเตอร์ ซึ่งจะเกิดแรงกระทบกระเทือนได้มาก
3 ยิ่งวัตถุรอบข้างมีมากจะยิ่งช่วยสร้างความตื่นตาของเส้นพุ่งเข้าหาจุดศูนย์ กลางได้มาก ในทางตรงกันข้ามหากมีวัตถุรอบข้างไม่มากนัก ก็จะปรากฏเส้นซูมน้อย ดูไม่ค่อยตื่นตาเท่าที่ควร
4 วัตถุตัวแบบที่อยู่นิ่งกับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวจะทำให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น
5 หากถ่ายภาพด้วยมือเปล่าไม่ควรเปิดใช้ระบบ Live View เพราะจะทำให้เกิดการสั่นของกล้องได้มากขึ้น การแนบกล้องเข้ากับใบหน้าจะทำให้การสั่นของกล้องลดลง (หากไม่ใช้ขาตั้งกล้อง)
6 การนั่งหรือพิงตัวเข้ากับกำแพงหรือต้นไม้จะช่วยลดอาการสั่นไหวได้มากกว่าการยืน
7 สปีดชัตเตอร์ยิ่งต่ำจะยิ่งเห็นผลของเส้นที่วิ่งเข้าหาศูนย์กลางมากขึ้น
8 รอน้าๆป้าๆท่านต่อไปมาแนะนำ
พอที่จะทราบเทคนิคการถ่ายภาพแบบระเบิดซูมคร่าวๆกันแล้ว...หยิบกล้องไปลองถ่ายกันเลยครับ....