ประวัติเรือหางยาวไทย
เรือหางยาวลำแรกของโลก สร้างขึ้นที่ จ.สิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ.2476 โดยนายสนอง ฐิตะปุระ อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งนายท้ายเรือยนต์หลวงที่บังเอิญ ถอยเรือยนต์เข้าจอดแล้วเกียร์เรือเกิดเสีย จึงทำให้ทราบว่า การที่เรือจะวิ่งได้ไม่จำเป็นต้องใช้เกียร์ เพียงแค่เครื่องเรือมีเพลากับใบจักรก็พอ
เรือหางยาวลำแรกของนายสนอง สร้างด้วยเงิน 150 บาท ใช้เวลาในการประกอบ 10 วัน ตัวเรือกว้าง 1.20 เมตร ยาว 5 เมตร สามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 30 คน ใบจักรของเรือลำนี้ดัดแปลงจากมีดโต้ด้ามเหล็กม้วน เรียกว่า "มีดบ้อง" โดย นายสนองให้ช่างตีเหล็กตีแผ่ด้ามออก แล้วตัดแต่งเป็นรูปใบพัด 2 ใบ ตรงกลางเจาะเป็นเหลี่ยมสวมแล้วย้ำปลายเป็นแกนยาวประมาณคืบหนึ่งใส่เข้าไปใน รูเพลา แล้วตีเพลาแป๊บแบนเป็นสองข้อสวมกันหลุด
ในการทดสอบครั้งแรก เรือออกตัวไม่ดีนักและวิ่งไม่ค่อยไป สาเหตุจากใบมีดโต้ใหญ่เกินไป จึงแก้ไขโดยตัดใบพัดให้เล็กลง แล้วทำหางเสือเรือโดยใช้ไม้ก้านโยก เรียกว่าพังงา คราวนี้เรือหางยาววิ่งได้รวดเร็วมาก
หลังจากการคิดค้นเรือหางยาวลำแรกของนายสนองแล้ว ยังมีผู้คิดค้นสร้างเรือหางยาวอีก 4 คน คือ
นายสุชีพ รัตนสาร ในปี 2476 นายชาญชัย ไพรัชกุล ปี 2482 นายสุขุม จิรวาณิช ปี 2484 และนายสมัย กิตติกูล ปี 2493
เรือ หางยาวรุ่นแรกเป็นเรือพายหรือเรือแจวที่นำเครื่องยนต์เช่นเครื่องสูบน้ำ เครื่องฉุดระหัด มากลึงต่อกับเพลายาวที่มีปลายเป็นใบพัดแล้วนำไปติดตั้งช่วงกลางลำเรือให้ใบ พัดจุ่มลงไปในน้ำพอควร อาศัยกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งตรงจากเครื่องถึงใบพัด ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องเกียร์ ซึ่งมีราคาแพง และหาได้ยาก
ต่อมามี การพัฒนารูปแบบเรือให้สะดวกมากขึ้น โดยทำเรือให้มีรูปร่างสั้นลง เป็นสองตอน คือท่อนหลังเรียบเป็นแผ่นกระดานยกหักฉากกับท่อนแรกซึ่งเป็นส่วนที่เรียวงอน ขึ้น เวลาวิ่งท่อนหัวตรงส่วนที่ยกหักจากท่อนหางจะติดน้ำ ส่วนท่อนหางจะสัมผัสน้ำเพียงเล็กน้อย และมีการพัฒนารูปร่างมาเรื่อยๆ
ปัจจุบัน นิยมใช้เครื่องยนต์จากรถยนต์มาติดตั้งเพราะมีกำลังสูงและแล่นได้เร็วมาก ทำให้สามารถแล่นไปได้ในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ในน้ำตื้น หรือในที่มีขยะหรือสวะมากได้โดยยกใบพัดให้พ้นที่ตื้นเขินหรือสวะ ประกอบกับบังคับเรือได้ง่าย
จากนวัตกรรมของคนไทยใน การคิดค้นเรือหางยาวนี้ พ.ศ.2527 คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจึงประกาศมอบรางวัลให้นายสนอง นายสุชีพ นายสมัย นายสุขุม และนายชาญชัย ในฐานะกลุ่มผู้ประดิษฐ์เครื่องเรือหางยาว
แม้ จะต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แต่หลักการก็คล้ายกัน คือนำเครื่องยนต์มาใช้กับเรือเพื่อให้เรือแล่นได้เร็วขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการคมนาคมทางน้ำ เพราะ
สมัยก่อนเรือติดท้ายมีราคาแพงเกินกว่าชาวบ้านจะซื้อหามาใช้ได้และยังได้รับความนิยมไปทั่วประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เวียดนาม พม่า มาเลเซีย ด้วย
เครดิตจากคุณ เอก บางขุนพรม เวปไชด์วิชาการ.คอม