• แบบจำแนกชื่อสายพันธุ์ปลาทะเลไทย
ข้างเหลือง | สีกุนครีบดำ, หน้ามอม | สีกุนแก้มดำ, จูล่ง | สีกุนกลม
หางเหลืองเมืองไทย Yellowtail
เพื่อนพ้องหางเหลือง สายอาจิ คุ้นเคยกันดี
เจ้าพวกนี้แทบทั้งสิ้นมักรวมกลุ่มหากินเป็นฝูงไล่ต้อนฝูงปลาขนาด
เล็กอย่างปลาหัวแข็งและหัวอ่อน ไปจนถึงตัวอ่อนสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
เนื้อมีรสชาติดี นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายตามแต่ขนาดตัว
ตกสนุก สามารถตกเป็นปลาเกมประเภทอาจิ(Aji) ได้ ตกได้ด้วย
ชุดเบ็ดโสก(ซาบิกิ) เหยื่อจิ๊กขนาดเล็กจิ๋ว และเหยื่อยางจิ๋วประกอบ
ชุดตกรูปแบบต่างๆ
ถิ่นอาศัยหากินทั่วไปบริเวณชายฝั่ง สะพานเทียบเรือ ข้างเกาะ
รอบกองหิน ลานปะการัง แนวทุ่น และซั้ง
ปลาสีกุนข้างเหลือง, ข้างเหลือง, ข้างลวด, กิมซัว
ด้านข้างลำตัวซีกบนมีแถบสีเหลืองเด่น
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Yellow-stripe scad, Yellow-stripe trevally, Thinscaled trevally
ชื่อวิทยาศาสตร์: Selaroides leptolepis
ปลาสีกุนครีบดำ, สีกุนเกาะ, หน้ามอม
ครีบหลังดำ เวลาตายสักพักหน้ามักจะมีสีคล้ำขึ้นชัดเจน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Brownback trevally
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carangoides praeustus
ปลาสีกุนแก้มดำ, จูล่ง, พิกุล, สีขนแก้มดำ, หางเหลือง
(บางท้องที่เรียก “สีขน” ซึ่งชื่อสีขนนั้นบางที่ใช้เรียกชื่อปลาชนิดอื่น
เช่น กะมงตาแดง)
ลำตัวค่อนข้างแบน พบง่ายและบ่อยกว่าเพื่อนบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Shrimp scad
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alepes djedaba
ปลาสีกุนกลม, สีกุนกบ, สีขนกลม, หางแข็งบั้ง, เซ็กล่า
ลำตัวอวบกลมกว่าเพื่อน เวลาตายไปสักพักลายบั้งจะจางลงกว่าขณะมีชีวิตมาก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Yellowtail scad, Banded crevalle, Deep trevally
ชื่อวิทยาศาสตร์: Atule mate
ค่อยๆเพิ่มครับ