แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล (Brown widow spider)
สำหรับลักษณะทั่วไปของ แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล นั้น พบว่า ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล จะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน
นายประสิทธิ์ วงศ์พรม ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแมงมุม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีแมงมุมสายพันธุ์ต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทย ผ่านทางการซื้อขาย ของคนที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก
โดยเฉพาะแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ ซึ่งตอนนี้พบแพร่ระบาดอยู่ใน 20 จังหวัดของไทย เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ตาก กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงราย อุบลราชธานี มุกดาหาร นครศรีธรรมชาติ พัทลุง สงขลา และภูเก็ต เป็นต้น
โดย แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล พิษร้ายแรงกว่างูเห่าหลายเท่า มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบ
ได้ข้อมูลว่าแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลถูกพบอยู่ในพื้นที่มานานแล้วก่อนมีการพบที่ตลาดนัดจตุจักรเสียอีก แต่ชาวบ้านไม่ทราบว่าเป็นแมงมุมชนิดไหน จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งพบแมงมุมชนิดนี้ในเกือบทุกภาคของประเทศ ประกอบกับบันทึกอย่างไม่เป็นทางการของ Professor Konrad Thaler จากมหาวิทยาลัย Innsbruck ซึ่งเข้ามาสำรวจแมงมุมในประเทศไทยได้บันทึกการพบแมงมุมที่ระบุว่าเป็น brown widow ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงให้เห็นว่าแมงมุมชนิดนี้อาจกระจายเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วเพียงแต่ยังไม่มีใครพบเห็นหรือสนใจ จึงแทบไม่มีข้อมูลของแมงมุมชนิดนี้เลยก่อนหน้านี้
แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลจัดอยู่ในวงศ์ Theridiidae เรียกง่ายๆว่ากลุ่มแมงมุมขาหวี (comb-footed spiders) เนื่องจากแมงมุมในกลุ่มนี้มีขนลักษณะพิเศษคล้ายตะขอเรียงเหมือนซี่หวีอยู่บนขาปล้องสุดท้าย (tarsus) ของขาคู่ที่ 4 ใช้ในการสาวใยพันเหยื่อก่อนกินเป็นอาหาร ชื่อสกุลLatrodectus มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำให้ความหมายว่า หัวขโมยนักกัดเนื่องจากพฤติกรรมการล่าเหยื่อของแมงมุมชนิดนี้จะสร้างใยรูปทรง 3 มิติ ลักษณะพิเศษโดยมีใยดักเหยื่อเชื่อมจากรังนอนซึ่งมักทำอยู่ใต้วัตถุที่อยู่ไม่สูงจากพื้นแล้วนำมาเชื่อมติดกับพื้น เป็นเส้นใยเส้นเดียวเรียงราย ที่ปลายใยดักเหยื่อมีหยดกาวเหนียวติดอยู่ เมื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กวิ่งมาชนหยดกาว ใยที่เชื่อมกับพื้นจะขาดออก ทำให้ตัวเหยื่อถูกดึงขึ้นไปแขวนกลางอากาศ แรงสั่นสะเทือนจากการดิ้นรนของเหยื่อถูกส่งไปตามใยดักเหยื่อถึงรังนอนด้านบน เมื่อแมงมุมได้รับสัญญาณจะรีบไต่ลงมาแล้วใช้ขาคู่สุดท้ายสาวใยพันเหยื่อและลากกลับขึ้นไปยังรังนอนอย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงกัดปล่อยพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อเพื่อให้เป็นอัมพาต คล้ายพฤติกรรมของโจรที่ปล้นชิงทรัพย์นั่นเอง ส่วนที่มาของชื่อแมงมุมแม่หม้ายมาจากพฤติกรรมเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แมงมุมเพศเมียจะกินแมงมุมเพศผู้หลังการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น ในธรรมชาติเราจึงพบแมงมุมเพศเมียอยู่โดดเดี่ยวไร้คู่เหมือนชีวิตของแม่หม้ายนั่นเอง