สวัสดีครับทุกท่าน. จริงๆแล้วปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ถูกเขียนบันทึกไว้นานนับร้อยปี โดยมี Sudis gigas ถูกเขียนบรรยายครั้งแรกในปี ค.ศ.1822 ถัดจากนั้นมาราวๆ 25 ปี หรือตรงกับปี ค.ศ. 1847 มีการบรรยายปลาช่อนอเมซอนขึ้นมาอีก 3 ชนิด (จริงๆมีการบรรยายไว้มากกว่านี้ เพียงแต่ปลาดังกล่าว ไม่มีตัวอย่างปรากฏ) ได้แก่ Vastres agassizii , Vastres arapaima และ Vastres mapae
เป็นไปได้ว่าในอดีตการตรวจสอบรายละเอียดทางอนุกรมวิธานอาจจะมีความละเอียดในระดับนึง จึงเห็นพ้องว่าปลาช่อนอเมซอน 3 ตัวที่บรรยายหลัง ไม่ได้มีความแตกต่างจากตัวที่บรรยายไว้ครั้งแรก ซึ่งก็คือ Sudis gigas จึงได้ทำการยุบทั้ง3ตัวให้อยู่ในสถานะภาพเป็นเพียง "ชื่อพ้อง" ของ Sudis gigas เท่านั้น. จากความเห็นส่วนตัวผมตั้งข้อสงสัยเพียงแค่.
1. ในเมื่อ Sudis gigas ถูกบรรยายไว้ตั้งแต่ต้น แล้วทำไมจึงมีการบรรยายอีก 3 ชนิดต่อมาในภายหลัง ในเมื่อสัณฐานภายนอกเหมือนกัน นั่นเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้เขียนเห็นในข้อแตกต่าง?
2. ผมลองค้นหาเอกสารเพื่อยืนยันว่า ในเมื่อปลาทั้ง 3 ชนิดถูกยุบรวม แล้วใครเป็นคนยุบรวม เพราะตามหลักแล้ว หากเราจะยุบรวม ควรจะมีการเขียนเปเปอร์ออกมาเพื่อแสดงสถานะของปลา หลังจากการค้นหาพบหลักฐานชิ้นนึง คือ Check list of the freshwater fishes of South and Central America.
คำว่า อนุกรมวิธาน สำหรับผม คือ การหาความจริงให้ปรากฏ โดยการตรวจสอบปลาที่เราตั้งข้อสงสัยว่า ปลาดังกล่าวมีการบรรยายไว้ก่อนอยู่แล้ว และ/หรือ ภายหลังถูกเปลี่ยนสถานะให้อยู่ในรูปของ "ชื่อพ้อง" ใช่ หรือ ไม่? หรือ บางครั้งปลาที่เราตั้งข้อสงสัยนั้นเป็นเพียงความแปรปรวนทางธรรมชาติเท่านั้น หากตรวจสอบแล้วเราไม่พบว่าตรงกับข้อสันนิษฐานใดๆเลย นั่นแหละครับ เราถึงจะคิดว่า ความน่าจะเป็นชนิดใหม่
ไม่ใช่เอะอะแปลกหู แปลกตา ชนิดใหม่ไว้ก่อน อย่างนี้เขาเรียกพวกปาหี่ครับ มีไว้คุย ไว้อวดภูมิ ไว้ข่ม อย่างนี้ไม่ใช่วิถีทางของนักอนุกรมวิธานครับ นอกจากนี้การผลักดันปลาช่อนอเมซอนทั้ง 3 ชนิดว่าสมควรจะทำสถานะของพวกเขาให้ถูกต้อง ผู้บรรยายซึ่งก็คือ Dr.Donald J. Stewart ท่านต้องการบรรยายโดยมีจุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ครับ เนื่องจากปลาช่อนอเมซอนถูกขึ้นบัญชีคุ้มครอง สาเหตุจากปริมาณปลาในธรรมชาติลดลงอย่างมาก คงเป็เพราะ คุณภาพของเนื้อปลาชนิดนี้ แถมรูปร่างที่ใหญ่โตง่ายต่อการจับนั่นเอง.