หน้าแรก
|
กระดาน
|
รีวิว
|
ประมูล
|
ตลาด
|
เปิดท้าย
login
|
สมัครสมาชิก
|
วิธีสมัครสมาชิก
|
ลืมชื่อ/รหัส
|
login ไม่ได้?
|
23 พ.ย. 67
Genus Osteoglossum ; Osteoglossum ferreirai or Black Aruana.: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:
1
กระดาน
>
น้ำจืด
ความเห็น: 7 - [17 ต.ค. 54, 11:20] ดู: 2,926 - [22 พ.ย. 67, 17:58] โหวต: 5
Genus Osteoglossum ; Osteoglossum ferreirai or Black Aruana.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ตั้งกระทู้: 16 ต.ค. 54, 21:37
1
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน เรื่องเล่าของผมในวันนี้เกี่ยวข้องกับปลาที่หลายท่านรู้จักกันดี ใน สกุลปลาอะโรวาน่าอเมริกาใต้ ก่อนอื่นต้องขออนุญาตใช้คำว่า ปลาอะรูอาน่า(Aruana) ซึ่งปรากฏอยู่ในงานบรรยายน่ะครับ. สาเหตุที่หยิบประเด็นนี้ขึ้นมา จำได้ว่าผมเคยทราบข่าวที่เกี่ยวข้องกับวงการปลาสวยงามทั้งในต่างประเทศ และ ในประเทศ พูดถึงปลาอะรูอาน่าที่เรียกว่า Blue Aruana เห็นว่าหลังจากที่ได้มีการนำปลาดังกล่าวเข้ามา สามารถสร้างกระแสความฮือฮาอยู่สักพักก็เงียบหายไป. ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสกุลและชนิดของปลาอะรูอาน่าผ่านทางเว็บไซท์ต่างๆ ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากทีเดียว. นอกจากนี้ในทางวิชาการ ก็ไม่มีงานบรรยายในชนิดดังกล่าวออกมาสู่สาธารณะ. ดังนั้นผมเลยคิดว่า เช่นนั้นเราลองนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปลาอะรูอาน่าที่เรามีอยู่เข้าร่วมกับทุกท่านอีกสักนิดน่าจะดี.
http://www.pantown.com/board.php?id=52308&area=4&name=board3&topic=40&action=view
กระทู้: 2
ความเห็น: 2,074
ล่าสุด: 14-12-2566
ตั้งแต่: 18-08-2553
อาร์มBG
(80
)
ความเห็นที่ 1: 16 ต.ค. 54, 21:40
บทความดีมากๆครับ....
กระทู้: 7
ความเห็น: 2,197
ล่าสุด: 26-09-2567
ตั้งแต่: 09-05-2553
krieng
(278
)
ความเห็นที่ 2: 16 ต.ค. 54, 21:50
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,533
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO
(12950
)
ความเห็นที่ 3: 17 ต.ค. 54, 06:14
+1
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,725
ล่าสุด: 19-11-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21
(2434
)
ความเห็นที่ 4: 17 ต.ค. 54, 09:37
กระทู้: 0
ความเห็น: 159
ล่าสุด: 12-06-2567
ตั้งแต่: 26-02-2546
pooh
ความเห็นที่ 5: 17 ต.ค. 54, 09:39
เอาเรื่องปลามาลงเรื่อยๆ นะครับผมติดตามกระทู้น้าอยู่
กระทู้: 45
ความเห็น: 6,635
ล่าสุด: 11-05-2567
ตั้งแต่: 13-07-2553
exitaha
(1494
)
ความเห็นที่ 6: 17 ต.ค. 54, 10:10
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 7: 17 ต.ค. 54, 11:20
ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามชม ก่อนอื่นต้องขออภัยจริงๆครับ ผมไม่ใช่นักเขียนที่มีพรสวรรค์ เพียงแต่สิ่งที่ต้องการจะสื่ออกไปนั้น เรียนตามตรงว่า อย่างน้อยในประเทศนี้ก็มีข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับปลาให้คนไทยได้อ่านเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง.
งานบรรยายที่อยู่ในมือผม ทุกท่านไม่ต้องห่วงน่ะครับ หากแปลให้อ่านได้ทุกวัน คงใช้เวลานับปีทีเดียว บางท่านสงสัยว่าทำไมไม่ทำปลาไทยบ้าง คือ ปลาไทยมีครับ เพียงแต่ตอนนี้กำลังจับประเด็นบางประเด็นขึ้นมา โดยตั้งข้อสงสัยเล็กๆ เช่น ทำไมปลาไทยถึงใช้ชื่อปลาทางอินโดนีเซีย เอาล่ะเข้าใจได้ว่า ตามหลักใครเขียนปลาชนิดนี้ หรือ สกุลนี้ขึ้นมาก่อน เมื่อมีการตรวจสอบว่าตรงกัน ให้ใช้ชื่อที่ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเป็นเกณฑ์ หลายท่านคงไม่ทราบว่า อาจารย์หลายๆท่านที่เป็นนักอนุกรมวิธานจะเดินทางเข้าสำรวจประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศตนก่อน งานบรรยายจึงถูกกล่าวถึงก่อน แต่ต่อมา นักอนุกรมวิธานหลังมีการกล่าวถึงเรื่องของ ความแตกต่างในระดับโมเกุล ซึ่งพิจารณาควบคู่ไปกับงานตรวจสอบโครงสร้างลักษณะภายนอก ผมเรียนถามทุกท่านว่า ท่านคิดว่า ความแตกต่างในระดับโมเลกุล หรือ จะเป็น DNA ของสิ่งมีชีวิต ระหว่างพื้นที่ๆมีความห่างกันในระดับหนึ่ง จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? หากนำเอาอดีตกาลมากล่าวว่า พื้นที่ทั้งสองเคยเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ความแตกต่างทางDNAอาจจะมีอยู่จริง แต่ความเกี่ยวพันธุ์ทางระดับโมเลกุล ต้องมีบางส่วนที่ยังเกี่ยวโยงกันอยู่ ดังนั้นจึงมีคำถามต่อมาว่า เช่นนั้น ทำไมเราต้องแยกออกเป็นชนิดใหม่? และทำไมในบางชนิดไม่นำมารวมกัน? หรือ มันขึ้นกับเรื่องระดับวงศ์ของสิ่งมีชีวิต.
เอาล่ะครับ คนไทยเรามักจะอวดว่าเรามีบางอย่างดีกว่าแจ๋วกว่า ซึ่งประเทศอื่นสู้เราไม่ได้ ไม่ทราบว่าทุกท่านทราบหรือไม่ครับว่า ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตของเรา ประเทศที่เขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับพวกนี้เขามีของเราหมด แต่เรากลับไม่มีอะไรของเขาเลย และเวลาที่เราขอข้อมูลเขา บางครั้งไม่ได้น่ะครับ ทุกท่านว่ามันตลกมั๊ย?
ส่วนตัวผมเคยมีความคิดเล็กๆ แต่ตอนนี้เลิกคิดไปแล้วครับ ผมหวังว่าจะได้เห็นการจัดสัมนาเชิงวิชาการในเว็บแห่งนี้.
หน้าที่:
1
กรุณา
ลงทะเบียน
และ
login
ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?begin=0&tid=638162