สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 23 ธ.ค. 67
ปลาไทยในเเดนอีสาน(ความรู้ทั่วไป): SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 41 - [14 เม.ย. 57, 12:10] ดู: 50,072 - [23 ธ.ค. 67, 02:16]  ติดตาม: 1 โหวต: 10
ปลาไทยในเเดนอีสาน(ความรู้ทั่วไป)
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้งกระทู้: 12 เม.ย. 57, 16:42
กระทู้นี้จะเป็นการเเนะนำหมวดหมู่ปลาที่พบได้ในภาคอีสาน อาทิเช่น ปลากระสูบจุด ปลาตะเพียนทอง ปลาชะโด ปลาเก๋า....ขำขำครับ มาชมเลยครับ
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 1: 12 เม.ย. 57, 16:47
ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver b
ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbonymus gonionotus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก"

ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย[1]) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ[2]
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 2: 12 เม.ย. 57, 16:50
ปลาตะเพียนทอง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprini
ปลาตะเพียนทอง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน คือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบสีดำ

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี โดยบริโภคเป็นอาหารมายาวนาน และใช้สานเป็นปลาตะเพียนใบลาน พบอยู่ทั่วไปตามห้วยหนอง คลองบึง และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย มักจะอยู่ปะปนกับปลากระแห ปลาตะเพียนขาว (B. gonionotus) ด้วยกันเสมอ ๆ

ปลาตะเพียนทอง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ตะเพียนหางแดง" หรือ "ลำปำ" หรือ "เลียนไฟ" ในภาษาใต้ ซึ่งซ้ำกับปลากระแห จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2]
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 12 เม.ย. 57, 16:53
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า H
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร

เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 12 เม.ย. 57, 16:55
ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง (อังกฤษ: Sleepy goby, Marbled sleeper) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร
ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง (อังกฤษ: Sleepy goby, Marbled sleeper) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานลำตัว ส่วนหัวยาวเป็น 1 ใน 2.8 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15-16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน สีลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาบู่ทอง"

มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Oxyeleotris พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดทุกประเภทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำเพื่อล่าเหยื่อ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า

ปลาบู่ทราย จัดเป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมากชนิดหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากนิทานพื้นบ้านของภาคกลางเรื่อง ปลาบู่ทอง เป็นต้น จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมใช้เนื้อบริโภคกันมาช้านาน มีราคาขายที่แพง ปัจจุบัน นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้แล้วในตัวที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองหรือสีเงิน พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วยเช่นในภาคใต้จะมีการเลี้ยงไว้เพราะเชื่อว่าจะนำโชคลาภมาให้ และเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาครีบทอง ตามสีที่ปรากฏนี้เอง[2]
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 5: 12 เม.ย. 57, 16:56
ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว
ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว

นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในวงศ์ปลาช่อน และยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกปลาชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"

เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ[1]

นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 6: 12 เม.ย. 57, 16:58
ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead; ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa str
ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead; ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa striata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ

ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา

ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "หลิม" ในภาษาเหนือ "ค้อ" หรือ "ก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 7: 12 เม.ย. 57, 17:00
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ปลาซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "นางอ้าว" หรือ "อ้ายอ้าว" หรือ "ซิวควาย" เป็นต้น
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 12 เม.ย. 57, 17:06
ปลาซิวหนวดยาว (อังกฤษ: Flying barb, Striped flying barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทย
ปลาซิวหนวดยาว (อังกฤษ: Flying barb, Striped flying barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Esomus metallicus ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลำตัวยาวทรงกระบอก แบนข้าง นัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ปลายแหลม ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก มีหนวดที่มุมปากยาวมากหนึ่งคู่เห็นได้ชัดเจน มีแถบสีดำยาวตามลำตัวจากหลังตาจรดปลายหาง

มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7.2 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงนาข้าวหรือตามท้องร่องสวนผลไม้ต่าง ๆ ด้วย ในต่างประเทศพบได้จนถึงแหลมมลายู

เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นอาหารในพื้นที่ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 12 เม.ย. 57, 17:09
ปลาซิวหางแดง หรือ ปลาซิวแถบดำ หรือ ปลาซิวบอระเพ็ด (อังกฤษ: Blackline rasbora, Redline rasbora, Borap
ปลาซิวหางแดง หรือ ปลาซิวแถบดำ หรือ ปลาซิวบอระเพ็ด (อังกฤษ: Blackline rasbora, Redline rasbora, Borapet rasbora) ปลาน้ำจืดจำพวกปลาซิวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora borapetensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลักษณะเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาค่อนข้างโต ครีบหางแยกเป็นแฉก มีแถบสีดำพาดตามความยาวลำตัวจากหัวจนถึงโคนหาง และมีลายสีเขียวปนสีทองพาดตามแนวแถบสีดำ ครีบหางมีสีแดงสด

มีขนาดความเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด ในปี ค.ศ. 1934 จึงได้มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามสถานที่พบ ซึ่งนอกจากจะพบที่บึงบอระเพ็ดแล้ว ยังพบได้ที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร, แม่น้ำโขง, กว๊านพะเยา และป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาสอีกด้วย

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาช้านาน
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 12 เม.ย. 57, 17:11
ปลาตะเพียนทราย Puntius bimaculatus (Bleeker, 1863) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบบริเวณลำธารบนภูเขา ลำตัวรู
ปลาตะเพียนทราย Puntius bimaculatus (Bleeker, 1863) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบบริเวณลำธารบนภูเขา ลำตัวรูปไข่แบนข้างเล็กน้อย  ปากเล็ก เมื่อโตเต็มวัย ลำตัวป้อมสั้น มีสีเงินเหลือบเขียวอ่อนหรือสีเหลือง  บริเวณกลางลำตัว  โคนครีบหลัง  และโคนครีบหางมีจุดสีดำ  ครีบหลังสั้น  ครีบหางเว้าลึกสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล มีหนวด 2 คู่ มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัว 23-24 เกล็ด เมื่อโตเต็มที่ความยาวมาตรฐาน (standard length) ประมาณ 7.0 เซนติเมตร กินอินทรีย์สารหน้าดิน ตะไคร่น้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใส  พื้นเป็นทรายปนกรวดหรือหิน ตามลำธาร ลำห้วยในป่า การแพร่กระจายพบได้ตามลุ่มน้ำโขงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา สำหรับในประเทศไทย พบตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาและบริเวณลำธารที่มีน้ำสะอาดบนภูเขา  ไข่ปลาตะเพียนทรายมีลักษณะกลม  สีเหลืองใส  เป็นไข่จมแบบติดกับวัตถุ  เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.90+0.07  มิลลิเมตร  ไข่ปลาตะเพียนทรายมีการพัฒนาของคัพภะในระยะต่างๆ หลังจากไข่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อ สรุปได้ดังนี้  ระยะ cleavage  ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที  ระยะ blastula  ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 5 นาที  ระยะ gastrula ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที พัฒนาจนถึงขั้นเกิด somite ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 25 นาที  และใช้เวลาฟักเป็นตัวเวลา 16 ชั่วโมง 55 นาที  ที่อุณหภูมิน้ำ 25 องศาเซลเซียส  มีความยาวเฉลี่ย 3.37+0.09 มิลลิเมตร  ไข่ปลาตะเพียนทรายฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 16 ชั่วโมง 55 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 25 องศาเซลเซียส มีความยาวเฉลี่ย 3.37±0.09 มิลลิเมตร ลูกปลาวัยอ่อนมีการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร โดยมีการเจริญของท่อทางเดินอาหารสังเกตได้ชัดเจน และเริ่มกินอาหารได้เมื่ออายุ 3 วัน มีขนาดความกว้างของปากลูกปลา 0.58±0.04 มิลลิเมตร หลังจากนั้นมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ จนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย ใช้เวลา 45 วัน
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 11: 12 เม.ย. 57, 17:15
ปลายี่สกไทย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่สวยที่สุดชนิด หนึ่ง ลำตัวสีทองสดใส มีแถบสีดำพาดตามยาว 7 แถบ ตาสีแดง
ปลายี่สกไทย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่สวยที่สุดชนิด หนึ่ง ลำตัวสีทองสดใส มีแถบสีดำพาดตามยาว 7 แถบ ตาสีแดงสด เคยมีรายงานว่าปลาตัวที่ใหญ่ที่สุดมีลำตัวยาวถึง 1.35 เมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ลักษณะเด่นเฉพาะของปลายี่สกได้แก่มีฟัน 4 ซี่เรียงกันเป็นแถวเดียวในคอหอย และริมฝีปากบนมีหนวดสั้นๆ 1 คู่
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 12: 12 เม.ย. 57, 17:18
ปลายี่สกเทศเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้
ปลายี่สกเทศเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม

ที่อยู่
พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย

เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก จึงถูกจับเพื่อนำมาบริโภคและซื่้อขายกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ปลายี่สกกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย [2]

นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่ทำเป็นป้ายบอกชื่อถนนในตัวอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเคยเป็นถิ่นที่ได้ชื่อว่ามีปลายี่สกชุกชุมในอดีต [3
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 13: 12 เม.ย. 57, 17:21
ปลาหลด (อังกฤษ: Spotfinned spinyeel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis
ปลาหลด (อังกฤษ: Spotfinned spinyeel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่นแหลมยาว ครีบหางเล็กปลายมนแยกจากครีบหลังและครีบก้นที่ยาว ครีบอกเล็กกลม ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 ดวงตลอดความยาวลำตัว โคนครีบหางมีอีก 1 ดวง มีความยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบ 25 เซนติเมตร

อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค บริโภคโดยปรุงสด ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 14: 12 เม.ย. 57, 17:22
ปลากาดำ (อังกฤษ: Black sharkminnow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Labeo chrysophekadion) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ใ
ปลากาดำ (อังกฤษ: Black sharkminnow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Labeo chrysophekadion) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Labeoninae

มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร[1]

มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้

บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลาตัวอื่น[2]

ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "เพี้ย" ในภาษาเหนือ "อีตู๋" หรือ "อีก่ำ" ในภาษาอีสาน ปัจจุบันปลากาดำเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 15: 12 เม.ย. 57, 17:24
ปลาแป้นแก้ว (อังกฤษ: Siamese glassfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Parambassis siamensis) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็
ปลาแป้นแก้ว (อังกฤษ: Siamese glassfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Parambassis siamensis) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae)

มีลำตัวตัวใสหรือสีขาวคล้ายสีข้าวเม่า มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบแข็งเป็นหนานแหลมอยู่ 7 ก้าน ครีบหลังอันที่สองมีเฉพาะก้านครีบฝอย ครีบก้นมีก้านครีบที่เป็นหนานแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใสและหลุดง่าย ลักษณะเนื้อโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน ตามลำตัวมีจุดสีดำอยู่ทั่วไป

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย, ลาว , กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก

เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน มักจับได้ในปริมาณทีละมาก ๆ โดยใช้แสงไฟล่อเพื่อให้ปลามากินแมลงบนผิวน้ำ นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยการฉีดสีเข้าไปในตัวปลาเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีส้ม หรือสีแดง เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ปลาเรนโบว์" รือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งสีเหล่านี้ก็จะจางและซีดลงไปเองตามเวลา

ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาข้าวเม่า" หรือ "คับของ" หรือ "แว่น" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 12 เม.ย. 57, 17:26
ปลากระทุงเหวเมือง (อังกฤษ: Freshwater garfish, Asian freshwater needlefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ม
ปลากระทุงเหวเมือง (อังกฤษ: Freshwater garfish, Asian freshwater needlefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xenentodon canciloides อยู่ในวงศ์ปลากระทุงเหว (Belonidae)

มีรูปร่างเหมือนปลาเข็ม แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ลำตัวค่อนข้างกลมส่วนท้องแบน ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบก้นและอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกใหญ่และแหลมใช้สำหรับกระโดดพ้นจากผิวน้ำเพื่อหลบหลีกศัตรูและไล่จับอาหาร ครีบหางตัดตรงหรือบาง กระดูกแก้มไม่มีเกล็ด ไม่มีสันแข็งที่คอดหาง จะงอยปากแหลมยาวทั้งปากบนและปากล่าง มีฟันซี่แหลมคมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว

มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร และนับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Xenentodon

เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองทั่วไปหรือแม้กระทั่งส่วนที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง เช่น ท้องร่องสวน นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยเช่น ปากแม่น้ำที่ติดกับชายทะเลด้วย ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และใช้บริโภคเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงกันในบางพื้นที่ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเข็มแม่น้ำ" เป็นต้น
กระทู้: 5
ความเห็น: 535
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-10-2553
ความเห็นที่ 17: 12 เม.ย. 57, 17:27
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 18: 12 เม.ย. 57, 17:28
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami"
ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 19: 12 เม.ย. 57, 17:30
ปลาเค้า หรือ ปลาค้าว เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จำพวกหนึ่ง ใช
ปลาเค้า หรือ ปลาค้าว เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Wallago (/วอล-ลา-โก/)
มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ซึ่งสีสันและลักษณะลำตัวจะแตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด
พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงแหลมมลายู มีอุปนิสัยคือมักอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำ กินอาหารจำพวก ปลาขนาดเล็กกว่า และออกหากินในเวลากลางคืน
จัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และถือว่าใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสกุล Silurus ที่พบได้ในทวีปยุโรป โดยมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 20: 12 เม.ย. 57, 17:34
ปลาชะโอน (อังกฤษ: Butter catfish, One-spot glass catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสต
ปลาชะโอน (อังกฤษ: Butter catfish, One-spot glass catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร

อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก

ชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "สยุมพร", "เนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "เซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "โอน" เป็นต้น
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 21: 12 เม.ย. 57, 17:36
ปลาสลาด (เบงกาลี: ফলি) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopter
ปลาสลาด (เบงกาลี: ফলি) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus[1]
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก

ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ตอง", "ฉลาด" หรือ "ตองนา" เป็นต้น
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 22: 12 เม.ย. 57, 17:37
ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata) ปลาน้ำจืดชนิดห
ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม

มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 23: 12 เม.ย. 57, 17:39
ชื่อวิทยาศาสตร์   Mystus  mysticetus

ชื่อสามัญ   Iridescent  mysitus

ชื่อไทย  ปลาแขยงข้างลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Mystus  mysticetus

ชื่อสามัญ  Iridescent  mysitus

ชื่อไทย  ปลาแขยงข้างลาย

รูปร่างลักษณะ  มีหนวดยาวถึง 4 คู่  บางคู่ยาวถึงส่วนหางเลย  รูปร่างเพรียว  ลำตัวเพรียวแบนข้าง  สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเขียว  บริเวณส่วนท้องเป็นสีขาวเงิน  มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัวจำนวน 2 แถบ  มีจุดดำปรากฏอยู่หลังช่องเหงือก 
กระทู้: 3
ความเห็น: 54
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2557
LEO4578(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 24: 12 เม.ย. 57, 17:41
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ใ
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างเล็กกว่า สีข้างลำตัวเป็นสีเหลืองจึงเป็นที่ของชื่อ หรืออาจเป็นสีเทาคล้ำ สีท้องจาง ครีบหลังยาวจนถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน และครีบไขมันมีสีคล้ำ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 เซนติเมตร

พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ใช้บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง

นอกจากนี้แล้วยังมีปลากดในสกุลเดียวกันนี้ อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน คือ ปลากดขาว (H. nemurus) ซึ่งบางครั้งอาจสับสนกันและเรียกชื่อสามัญตรงกันว่า "ปลากดเหลือง" ด้วย

ซึ่ง 2 ชนิดนั้นยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง", "ปลากดนา", "ปลากดขาว", "ปลากดชงโลง" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น
กระทู้: 0
ความเห็น: 102
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 23-06-2556
ความเห็นที่ 25: 12 เม.ย. 57, 17:43
ได้ความรู้อีกแล้ว ^^
หน้าที่: 1 | 2 >
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?begin=0&onlyuserid=0&tid=666868