อาจจะเป็นครั้งแรก ที่นักตกปลา และนักดำน้ำ มาร่วมทำกิจกรรมวางปะการังเทียม เพื่อท้องทะเลไทย บนเรือลำเดียวกันจำนวนมากขนาดนี้ จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน แนวความคิดซึ่งกันและกัน ร่วมกันผลักดันกระแสอนุรักษณ์ ไห้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรณ์ธรรมชาติร่วมกันแบบยั่งยืน สืบต่อถึงลูก หลานเรา
สำหรับนักดำน้ำ เรือที่จะใช้ไปวางปะการังเทียม เป็นเรือประมงพื้นบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ความสะดวกสบาย จะไม่เหมือนกับเรือทัวร์ส่งแขกดำน้ำโดยตรง ใครอยู่ลำไหน คงต้องปรับตัวกันเอง โดยเฉพาะการขึ้น ลง จากน้ำ น้ำจืด หรือห้องน้ำ คงต้องใช้ตามวิถีชาวเรือ
สำหรับกิจกรรมของนักดำน้ำ นอกจากช่วยกันวางปะการังแล้ว งานใต้น้ำเป็นสิ่งพิเศษสุดสำหรับทุก ๆ ท่าน ผมขอเสนอเป็นแนวทาง ดังนี้ครับ
1. ควรแบ่งนักดำน้ำออกเป็นสองกลุ่ม อยู่บนเรือที่จะจอดทอดสมอที่ กองเหนือ( A ) และกองใต้ ( C ) ซากเรือป๋าจ๋า (B ) หรือใช้เรือเล็กช่วยทยอยก็ได้
2. ภายหลังจากทิ้งวัสดุเสร็จ ก็ถึงเวลานักดำน้ำเริ่มภาระกิจ ช่วยกันจัดวางกองวัสดุใต้น้ำให้เหมาะสม กับขนาดของพื้นที่ 3 X 10 ม. ยกบ่อพัก 1 ใน 3 หรือประมาณ 20 ลูก วางซ้อนกันสองลูก แบบกระจาย จนดูดี
3. ดำน้ำสำรวจ ถ่ายภาพ เก็บข้อมูล เท่าที่จะทำได้ โดยหัวหน้าทีมเป็นคนกำหนดกิจกรรม และเส้นทางการดำน้ำด้วยเข็มทิศ โดยแบ่งออกเป็น 3 เส้นทาง นอกเหนือจากกองของตัวเอง ตรงนี้สนุกมาก ๆ จะพบ ไม่พบหมาย หรือหลงทาง ขึ้นอยู่กับหัวหน้าทีมละครับ
- เส้นทางที่ 1 เริ่มดำน้ำจากจุด A ไปหาจุด B วนกลับ A ระยะทาง 54 เมตร
- เส้นทางที่ 2 เริ่มดำน้ำจากจุด C ไปหาจุด B วนกลับมา C ระยะทาง 54 เมตร
- เส้นทางที่ 3 เริ่มจาก A -B-C กลับมา A หรือเริ่มจาก C-B-A กลับมา C สำรวจพร้อมกัน 3 จุด ระยะทางไป กลับ 108 เมตร หรือจะขึ้นน้ำตรงไหนก็ได้ตามสะดวก
เป็นกิจกรรมในวันวาง ที่ขอฝากให้นักดำน้ำช่วยกันคิด วางแผน ที่จะทำ น่าทำ เพิ่มเติมจากที่ผมได้วางไว้เป็นแนวทางด้วยครับ.