ทีนี้เรามารู้จักกับเจ้าวัวแดงกันบ้าง
วัวแดง (Bos Javanicus)
จัดอยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Order Artiodactyla) วงศ์มหิงสา (Family Bovidae)
วัวแดงมีลักษณะคล้ายวัวบ้าน (Bos Taurus) และคล้ายกับวัวเลี้ยงในเอซียตะวันออกเฉียงใต้มาก
ลูกวัวแดงที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลแดงเพศผู้ที่มีอายุมากๆ
มีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะที่แตกต่างจากวัวบ้าน หรือกระทิง
คือ ที่วงก้นมีสีขาวทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีเส้นสีขาวรอบจมูก ตา และรอบปาก
มีแถบสีดำกลางหลังชัดเจนจากไหล่จนถึงโคนหาง ระหว่างโคนเขาของเพศผู้ไม่มีขน
แต่มีหนังตกกระแข็ง เรียกว่า กระบังหน้า ส่วนเพศเมียมีขนที่โคนเขา ที่เท้าทั้งสี่จากปลายเท้า
จนถึงเข่ามีสีขาวลักษณะเหมือนสวมถุงเท้าคล้ายกระทิง เขาของวัวแดงไม่มีการผลัดเขา
และไม่มีการแตกกิ่ง มีเขาทั้ง 2 เพศ เขาของเพศเมียจะเล็กกว่าเพศผู้
เริ่มออกหากินตั้งแต่พลบค่ำไปยันเช้าตรู่ ชอบกินหน่อไม้ ลูกไม้ป่า ดอกไม้ป่า หญ้าอ่อนๆ
ใบไม้และยอดไม้ ส่วนเวลากลางวันจะหลบนอนตามพุ่มไม้หนาทึบ ในพื้นที่ป่าโปร่ง
หรือป่าทุ่ง ชอบกินดินโป่ง แต่ไม่ชอบนอนแช่ปลัก อุปนิสัยรักสงบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ
ประมาณ 10-15 ตัว เพศเมีย มีน้ำหนักมาก รูปร่างใหญ่ โตกว่าเพศผู้ ตัวเมียจึงกลายเป็น...จ่าฝูง
ความสำคัญของวัวแดงนั้น สามารถถ่ายทอดพลังหมุนเวียนธาตุอาหาร ในป่าเต็งรัง
ป่าเบญจพรรณ และ ป่าประเภทอื่นๆ ที่มีหญ้าขึ้นปะปน เนื่องจาก ระบบย่อยอาหาร
ของมันยังช่วย เร่งกระตุ้นให้เมล็ดพรรณไม้งอก ได้อย่างรวดเร็ว
กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย ได้ระบุว่า วัวแดงเป็น สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่หายาก
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ใกล้สูญพันธุ์ จึงนำไปสู่...โครงการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์
ไม่ให้สูญพันธุ์ ไปจากโลกนี้
นายวีรวัฒน์ ยมจินดา กรรมการองค์การสวน สัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
จังหวัดชลบุรี ได้ทำ โครงการวิจัยนิเวศวิทยาของวัวแดง ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
โดยมีการ เพาะพันธุ์ ให้เจริญเติบโต ก่อนนำไปปล่อยในป่าบริเวณ เขาอ่างฤาไน และอีกหลายพื้นที่
จากนั้นได้ ติดตามสถานภาพ ความเป็นอยู่ จำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงรวมไปถึง
เส้นทางการดำเนินชีวิต ในการเลือกใช้ พื้นที่อาศัย และ ขนาดพื้นที่หากิน ก่อนที่จะรวบรวม
ให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ บริเวณผืนป่า
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปางสีดาไปถึงอ่างฤาไน ในพื้นที่ที่เป็นมรดกโลกต่อไป