ความเห็น: 89 - [28 มิ.ย. 51, 11:13] ดู: 20,461 - [25 พ.ย. 67, 19:11] โหวต: 2
ขอเชิญร่วมกันออกแบบ ปะการังเทียม ครับ
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
1
จากกระทู้ http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=4270 เราได้ข้อมูลเบื้องต้นมาจำนวนหนึ่ง และคิดว่าน่าจะเริ่มต้นกันที่ตัวปะการังเทียมกันก่อนว่าจะมีน่าตาอย่างไร เมื่อได้แบบแล้ว จะได้นำไปสู่ขั้นตอนการปฎิบัติในลำดับต่อไปได้
แม้ปะการังเทียมจะมีหน่วยงานของกรมประมงเป็นผู้จัดทำเป็นประจำอยู่แล้ว แต่นั่นก็เป็นการกำหนดมาจากหน่วยราชการ หากทางเอกชน ชุมชน กลุ่มคน สามารถร่วมมือกันทำเองได้ ก็น่าจะสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะถิ่น หรือกลุ่มผู้สนใจได้ดี ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นหัวใจสำคัญต่อการส่งเสริมให้ชุมชน หรือกลุ่มคน ได้หันมาพึ่งพาตนเอง ทำให้เห็นว่าหากรวมตัวกัน เราก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
กรอบความคิดของการทำปะการังเทียมในความเห็นผมคือ "ปะการังเทียมที่ชุมชน หรือกลุ่มคน สามารถรวมตัวกันทำได้เอง"
คราวนี้ลองมาไล่ดูรูปแบบปะการังเทียมเท่าที่ทราบ
- ปะการังเทียมลูกเต๋าของกรมประมง: เป็นรูปแบบปะการังเทียมที่มีขนาดใหญ่และหนักมาก จำเป็นต้องใช้เรือที่มีเครนยก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำโดยชุมชน
- ยางรถยนต์มัด: เป็นรูปแบบที่ชุมชนมักจะทำกัน เพราะมีต้นทุนไม่สูง และสามารถขนย้าย ทิ้งลงทะเลได้ด้วยกำลังของชุมชนเอง ทิ้งทับซ้อนกันได้ โดยไม่ต้องระมัดระวังเรื่องการแตกหัก แต่มีข้อด้อยเรื่องความคงทน รวมทั้งพื้นผิวของยางเอง ก็ไม่เหมาะต่อการยึดเกาะของปะการัง
- reef ball: ปะการังเทียมรูปแบบนี้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ มีพื้นผิวให้ปะการังได้ยึดเกาะค่อนข้างมาก แต่ข้อจำกัดก็คล้ายกับปะการังเทียมของกรมประมง คือหนัก และต้องใช้เรือที่มีเครนในการทิ้ง
- ซากเรือ: หากเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ จะมีโครงสร้างที่เอื้อให้สิ่งมีชีวิตนาๆ ประเภท เข้ามาอาศัยอยู่ น่าจะเป็นปะการังเทียมที่ดีที่สุดในเรื่องของระบบนิเวศน์ทางน้ำ ข้อจำกัดอยู่ที่การหาซากเรือ และการเคลื่อนย้าย (นักดำน้ำที่ภูเก็ต ลงขันกันซื้อซากเรือ แล้วจ้างเรือลากไปทิ้ง - ที่มา:คุณวันชัย แจ้งอัมพร)
เท่าที่ประมวลจากความเห็นของหลายท่าน ข้อจำกัดสำคัญของสร้างปะการังเทียม อยู่ทีการขนย้ายและทิ้งทางน้ำ ค่าใช้จ่ายของเรือเครนอยู่ในระดับที่ไม่อาจจะทำได้โดยชุมชนเลย ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้ยึดเอาข้อจำกัดนี้เป็นเงื่อนไข
สำคัญอันดับแรกในการออกแบบปะการังเทียม คือ
1. เพื่อให้ชุมชุน หรือกลุ่มคน ทำกันเองได้ ปะการังเทียม จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีขนาดที่สามารถขนย้ายลงเรือด้วยคน ขนย้ายได้ด้วยเรือประมงทั่วๆไป และสามารถทิ้งลงน้ำโดยไม่ได้อาศัยเครน
การขนย้ายสิ่งของลงเรื่อ และทิ้งลงน้ำได้สะดวก ก็ควรจะมีขนาดและน้ำหนักที่คน 2 คน สามารถยกได้
2. เนื่องจากปะการังมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงไม่สามารถตั้งอยู่โดดเดียวเหมือนของกรมประมง และ reef ball เพื่อลดจุดด้อยนี้ ปะการังเทียมน่าจะมีการวางทับซ้อน และยึดเกาะกันได้ คล้ายกับกองหินได้น้ำ
3. ควรมีรูปร่างที่ไม่ต้านกระแสน้ำ และทำลายแรงยกตัวได้ดี
4. ใช้เงินลงทุนเบ็ดเสร็จทั้งโครงการอยู่ในระดับที่ชุมชน หรือกลุ่มคนในวงกว้าง รวบรวมกันได้
ผมคิดว่ารูปแบบที่ออกมา ไม่น่าจะเป็นปะการังเทียมที่ดีที่สุด ไม่น่าจะเป็นปะการังเทียมที่มีสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด และไม่ใช้ปะการังเทียมความความคงทนที่สุด
ผมคิดว่ารูปแบบที่ออกมา น่าจะเป็นปะการังเทียมที่มีพอใช้ได้ เป็นปะการังเทียมที่มีสิ่งแวดล้อมเอื้อให้เกิดระบบนิเวศน์ได้บ้าง และเป็นปะการังเทียมที่มีความคงทนเพียงพอในระดับ 10-20 ปี
xx
ผมว่าลองเอาคอนกรีตที่เขาทิ้ง มาทำ ก็น่าสนใจเหมือนกัน โดยคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งขนาดรูปร่างและน้ำหนัก ถ้ามีแหล่งที่ใกล้ๆทะเลก็ยิ่งดี
เผื่อว่าวันไหนเราไปชุมนุมกันที่ใกล้ๆทะเลหรือลงเรือตกปลา ขนมาคนละก้อน สองก้อน แล้วถมทิ้งบริเวณเดียวกันทุกๆเที่ยวที่เรามาตกปลาในบริเวณใกล้เคียง ทุกๆปี หลายๆปี กองคงใหญ่ขี้น คงจะพอช่วยได้บ้าง และเป็นสิ่งที่ใครๆก็ทำได้
ป.ประจิณ
ในฐานะสถาปนิก ผมมองวัสดุที่จะใช้ในการทำปะการังเทียมครั้งนี้ควรมาจากวัสดุที่เหลือใช้ก่อนการออกแบบหรือสั่งทำขึ้นโดยเฉพาะซึ่งจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากในการทำงาน ผมขอเสนอวัสดุทีเป็นส่วนผสมของอิฐ-หิน-ปูน-ทรายที่เป็นของจากธรรมชาติในรูปแบบของเศษวัสดุจำพวกหัวเสาเข็มคอนกรีต-ท่อ-แผ่นพื้น-ซากตึกอาคารที่ทุบทิ้งซึ่งส่วนมากจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานแน่นอนนับสิบปี ส่วนรูปแบบและขนานก็เลือกเอาตามความเหมาะสมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งโดยขอความร่วมมือได้จากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อีกความคิดหนึ่งคือช่วยกันขอให้รัฐช่วยทำเหมือนเอาเรือรบครามมาจมในขณะนี้ ยังมีเรืออีกหลายลำรวมถึงรถถัง-เครืองบิน-รถไฟ-โครงเหล็กสะพาน-ถังเหล็กขนาดใหญ่และวัสดุอีกหลายชนิดที่น่าคิดจะนำมาใช้ผสมกันไปสร้างบ้านใหม่ให้กับปลา
กระทู้: 36
ความเห็น: 2,300
ล่าสุด: 12-02-2567
ตั้งแต่: 28-01-2546
ผมสนับสนุนเรื่อง แรงงาน ครับ
กระทู้: 533
ความเห็น: 18,110
ล่าสุด: 01-05-2567
ตั้งแต่: 19-04-2545
เอาไงเอาด้วยครับ เดี๋ยวไปเสริพน้ำ อิอิ
กระทู้: 186
ความเห็น: 3,262
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-03-2545
เอาด้วยครับ เด๋วผมเป็นตากล้องห้ายยยยยยยยยย (ช่วยยกอิฐยกปูนด้วยคับ)
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ผมเสนอดูนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน
เคยเห็นเรือจมๆ ตามปากคลองไหมครับ หรือซากเรือที่เขาทิ้งๆ กันไว้ตามชายหาดที่ใช้งานไม่ได้แน่ๆ แล้ว เราไปตามหาเจ้าของแล้วขอให้เขาบริจาคให้เรา
กรณีเรือจมที่ปากคลอง .......
มักจะเป็นเรือที่จมโคลนอยู่ตามสันดอน หรือไม่ก็จมน้ำเลย เราจะไปสำรวจตอนน้ำลงแล้วให้นักตกปลาที่มีความรู้เชิงช่างออกแบบโครงเกาะยึดไม่ให้มันทลายตัวลง จากนั้นเอาถึงน้ำมัน 200 ลิตรไปผูกไว้ให้รอบลำตอนน้ำลง
พอน้ำขึ้นเต็มที่ ก็สูบลมเข้าไปในถึง 200 ลิตรทุกใบ ถึงจะลอยแล้วดึงเรือให้ลอยขึ้นมา ขึ้นตอนนี้อาจต้องเอาเครื่องฉีดน้ำมาช่วยฉีดโคลนที่ยึดแน่นกับเรือออกบ้าง จะทำให้เรือลอยง่ายขึ้น
พอเรือลอยขึ้นมาได้ ก็ลากไปจมที่หมายที่เราต้องการ
กรณีซากเรือบนหาด.......
ก็ผูกถัง 200 ลิตรแล้วใช้เรือลากลงจากหาด ลากไปจมได้เลย
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
รายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิด
1. โครงยึดเกาะกันซากเรือพังทลายตอนดึงและลากไปจมน่าจะเป็นเหมือนนั่งร้าน คือถอดออกได้ เวลาจะจมก็ถอดออกบางส่วนและอาจไปถอดส่วนที่เหลือใต้น้ำ
2. ถังสำหรับทำให้เรือลอย คงต้องซื้อ ผมคำนวณไม่ถูก แต่ถัง 200 ลิตรสัก 6 ลูกอาจจะยกเรือหนัก 1 ตันได้
ค่าใช้จ่ายของโครงการ
1. นั่งร้านเหล็กที่เขาทำก่อสร้าง ที่จะครอบคลุมเรือที่กว้าง ยาว สูง ราวๆ 3X12X4 เมตร ได้ ซากเรือใหญ่กว่านี้ไม่น่าไปยุ่ง
2. ถัง 200 ลิตร และอุปกรณ์ผูกยึด
3. เครื่องสูบลม เครื่องสูบน้ำ
4. ค่าใช้จ่ายแรงงาน (จากคนงาน หรือถ้าลงแรงกันเองก็ต้องมีค่าข้าวค่าน้ำ)
5. ขนส่งเครื่องมือ ถัง นั่งร้าน ทางบก ค่าลากจูงทางน้ำ
5 . ฯลฯ ที่ผมยังมองไม่เห็น
ใครทราบลองคำนวณกันดู
ลองคิดเล่นๆนะ
เสาตอหม้อโทลเวย์ที่ยกเลิกโครงการไปแล้ว (แถวๆวิภาวดีเพียบ) ตัดแล้วยกไปเรียงเป็นปะการังเทียม เข้าท่ากว่าให้มันตั้งเด่ ให้เด็กๆ ถามว่า ลุงครับๆ นี่อะไรครับ??? ว่าไหม???
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ผมได้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า กรมเจ้าท่าจะมีของบางอย่างที่เรียกว่า "บอลลูน" สามารถเอามายัดใส่ตัวเรือแล้วเป่าลมเข้าไป สำหรับกู้เรือจมโดยเฉพาะ เขามีให้ยืมใช้ แต่อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายบ้าง ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักคนของกรมเจ้าท่าบ้าง ช่วยตามเรื่องหน่อยครับ
อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอีก
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
ผมคุ้นๆ ว่าเคยเห็นที่ต่างประเทศใช้ปูนหล่อลักษณะนี้ทิ้งบริเวณชายฝั่ง
ลักษณะที่สมมาตร มีขา 3 ขา น่าจะรักษาสมดุลย์ได้ดี และขาที่ยื่นออกมาช่วยให้เกิดการเกาะเกี่ยวระหว่างกันได้
ผมไม่ทราบว่าจะสามารถสร้างแม่แบบได้หรือไม่
แต่มีข้อสังเกตุว่า หากขาแต่ละขาไม่ยาวนัก อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงเหล็กก็ได้ ซึ่งน่าจะทำให้การสร้างง่ายขึ้น
หนึ่งก้อนสร้างให้มีน้ำหนักที่ 2 คนแบกได้ น่าจะไม่เกิน 50 โล
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
ทดลองทำขึ้นมาทั้งหมด 15 อัน แยกสีเพื่อให้เห็นชัดเวลานำมากองรวมกัน
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
หากสามารถหาวิธีทิ้ง เช่นผูกกว้านสมอเรือ แล้วค่อยๆ ปล่อยลงไป และคิดวิธีปลดเชือกออกได้ (มิฉะนั้นก็ต้องมีนักดำน้ำช่วย) ก็น่าจะสามารถทิ้งกองทับซ้อนกันได้โดยไม่แตก กลายเป็นกองหินใต้น้ำ ที่น่าจะยึดเกาะกันได้ดี ช่องว่างที่ระหว่างก้อนปะการังเทียมแต่ละก้อน อาจจะเล็กไปหน่อย ในรูปแบบนี้
หากวางลักษณะนี้ 1 กองมีประมาณ 15 ก้อน วางทับกัน 3 ชั้น ความสูงของกองไม่น่าจะเกิน 1 เมตร
หากก้อนละ 50 กิโลกรัม 15 ก้อนก็มีน้ำหนักรวม 750 กิโลกรัม
อาจจะได้ใช้เรือตกปลาขนาดกลาง 2 ลำ
ลำแรก ขนของ ลำที่สอง ขนคน
กระทู้: 36
ความเห็น: 2,300
ล่าสุด: 12-02-2567
ตั้งแต่: 28-01-2546
แบบนี้ก็ดีครับ พี่เวป ง่าย สะดวก ดีครับ ผมคิดว่ายังงัยก็ต้องมีโครงสร้างเหล็ก เพื่อความแข็งแรงครับ
กระทู้: 66
ความเห็น: 19,072
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 25-04-2545
อิอิ...เอาไงเอาด้วยครับ...เพื่ออนุชนรุ่นหลังครับ...
neptune
มาร่วมสนับสนุนด้วยอีกแรงค่ะ
ป.ประจิณ
ถึง. webmaster ผมได้ทดลองออกแบบsketchรูปแบบของปะการังเทียม ซึ่งคงจะเป็นหนึ่งในหลายแนวคิด ผมจะเอาไปให้ที่งานแข่งตกปลาบางเสร่เสาร์นี้ครับ
มะเหมี่ยว
ขอบบ่อของห้องนําราคาไม่แพงขนส่งง่ายไม่หนัก
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
พี่ ป.ประจิณ ครับ งานวันแข่งผมอาจไม่ได้ไป เนื่องจากจะมีงานวันแต่งที่จำเป็นต้องไป
ยังไงรบกวนฝากพี่ให้พี่สุชน (ใต๋ต่วย) ด้วยครับ
ขอบคุณมากครับพี่
กระทู้: 234
ความเห็น: 18,004
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 03-10-2545
เมื่อคืน ผมได้ดูข่าวทางช่อง 7 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับเรื่อง การหล่อคอนกรีตแบบต้านการกัดเซาะของน้ำเค็ม จากอาจารย์ท่านหนึ่ง ชื่อ ดร.ชัย ( ขออภัยที่ผมจำนามสกุลไม่ได้ครับ ) ท่านได้ทดลองหล่อคอนกรีตโดยทดลองนำส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ มาหล่อรวมกัน และได้นำไปวางตามชายทะเล ตามที่ต่างๆ ( ทั้งทิ้งจม และวางตามจุดที่มีการกัดเซาะสูงๆ ) แช่สารละลายต่างๆ ทั้งกรดที่มีความเข้มข้นสูงก็มี มาลงตัวเอาที่สารผสมที่มีชื่อว่าซัลเฟต ( ขออภัยหากเอ่ยชื่อผิดพลาดนะครับ ) นำมาใช้โดยการผสมกับปูนซีเมนต์ ตามอัตราส่วนที่ทดลอง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ซึ่งในรายละเอียดบอกว่าโครงการนี้ทดลองมานานแล้ว เพื่อใช้ในการหล่อกำแพง เสา อาคารเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำเค็ม มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนี้มาก น่าจะลองติดต่อกับอาจารย์ท่านนี้ดูนะครับ ( ผมหมายถึงถ้าได้แบบที่จะหล่อแล้วครับ ) และคิดว่าทาง สถาบันน่าจะให้ความร่วมมือด้วยแน่ เพราะโครงการของเราก็เป็นโครงการที่มีประโยชน์มาดเช่นกันครับ
จืด
ผมเคยไปดูงานที่ญี่ปุ่น เห็นเขาใช้ทำเป็นทั้งประการัง แนวกันคลื่น แนวกันเคเบิลใต้น้ำ ในอ่าวโตเกียว และยังเห็นเขาลอยเรือตกปลาบริเวณนั้นด้วย เกือบลืมแบบที่ว่านั้นเป็นเดียวกับของพี่เวป แต่ขนาด ผมประมาณด้วยสายตาน่าจะก้อน100-200โล
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ใช้เศษวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง เช่น หัวเสาเข็มที่ตัดออก แผ่นพื้นคอนกรีต ท่อนคอนกรีตขนาดต่างๆ ซากตึกอาคารที่ทุบทิ้ง ส่วนผสมของวัสดุมากจาก อิฐ หิน ปูนทราย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแรงมาก เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่มีมลภาวะ การนำไปทิ้งทำได้โดย
1. หาเรือประมงเก่าๆ เรือเอี้ยมจุ๊น ทุ่นหรือถังขนาดใหญ่บรรทุกเศษวัสดุจากฝั่ง ใช้เรือลากจูงออกไปจม หรือต่อเรือเหล็กขึ้นมาง่ายๆ ตามแบบประกอบ (ความเห็น 24) หลังจากจมไม่นาน เรือเหล็กจะผุพังไปเอง เหลือแต่เศษวัสดุ และยังช่วยกั้นกระแสน้ำให้ปะการังยึดเกาะในช่วงแรก
2. หาเรือพ่วงลากจูงบรรทุกเศษวัสดุไปทิ้ง โดยใช้ทั้งแรงคนงาน รอกยกน้ำหนัก หรือเครนช่วยยก ในกรณีเป็นของหนักจำพวกหัวเสาเข็ม คานคอนกรีต ฯลฯ ทิ้งต่อเนื่องกันได้หลายกอง
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ต้นแบบเรือบรรทุก
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ภาพตัดเรือบรรทุกเศษวัสดุก่อนสร้างเมื่ออยู่ใต้น้ำ
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,123
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 17-03-2544
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
กระทู้: 84
ความเห็น: 4,939
ล่าสุด: 25-11-2567
ตั้งแต่: 11-01-2545
วิธีที่พี่ป.ประจิณ แนะนำก็เป็นทางเลือกที่น่าทดลองครับ และเราอาจจะอาศัยเรือเก่าๆที่ไม่มีคนใช้แล้วตามชายฝั่งตามที่พี่สิงห์ แนะนำมาเป็นเรือบรรทุกก้อน่าจะได้ครับ อย่างน้อยก้ออาจจะมีส่วนเซฟค่าใช้จ่ายในการหาเรือบบรทุกวัสดุไปจมครับ (ขอบริจาคเรือเก่าที่ไม่ใช้งานแล้ว)