ว่าด้วยเรื่องปลากระพงหัวกะโปง หรือ ปลาอังเกย ... กับปลากระพงข้างปาน .. มันคนละชนิดกันนะครับน้าๆ
ปลาตัวบน คือ กระพงข้างปาน
ปลาตัวล่าง คือ ปลาหัวกะโปง หรือ ปลาอังเกย
มีน้าๆหลายท่าน และตัวผมเองที่เคยคิดว่า ข้างปาน โตไปมันก็คืออังเกยนั่นแระ ... จริงๆ มันคนละชนิดครับ จึงเอารูปมาให้ดูเปรียบเทียบครับ
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
วงศ์ปลากะพงแดง หรือ วงศ์ปลากะพงข้างปาน (วงศ์: Lutjanidae, อังกฤษ: Snapper) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะคือ มีครีบหลังยาวต่อเนื่องไปจนถึงโคนหาง แบ่งเป็นครีบแข็ง 10-12 ซี่ ครีบอ่อน 10-17 ซี่ ครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 7-11 ซี่ ส่วนหัวใหญ่ ปากมีลักษณะกว้างยาว ยืดหดได้ ฟันมีลักษณะเล็กแหลมคมและมีหลายแถวในขากรรไกร ซึ่งบางชนิดอาจมีฟันเขี้ยวได้เมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา
พบทั้งหมด 17 สกุล มีมากกว่า 160 ชนิด โดยมีสกุลใหญ่คือ Lutjanus โดยพบในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อาศัยและหากินในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ เช่น ปลากะพงแดง (Lutjanus argentimaculatus) หรือ ปลากะพงข้างปาน (L. russellii) เป็นต้น
เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เนื่องด้วยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง และนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ในน่านน้ำไทยพบประมาณ 25 ชนิด
สำหรับชื่อสามัญในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "อังเกย" (จีน: 紅鱷龜)