สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 23 ธ.ค. 67
ว่าด้วยพฤติกรรมของสัตว์กับการตกปลา: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 >
 กระดาน > ตีเหยื่อปลอม
ความเห็น: 121 - [20 ก.ค. 56, 01:18] ดู: 24,683 - [23 ธ.ค. 67, 00:07]  ติดตาม: 23 โหวต: 55
ว่าด้วยพฤติกรรมของสัตว์กับการตกปลา
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 26: 30 มิ.ย. 56, 02:52
ข้อสุดท้าย

5. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล ( Reasoning ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกโดยใช้สติปัญญาใ
ข้อสุดท้าย

5. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล ( Reasoning ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกโดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆโดยไม่ต้องทดลองทำ ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์หลายอย่างในอดีตมาช่วยในการแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ในครั้งแรก เช่น

นักตกปลาใช้ประสบการณ์เรียนรู้ว่ากะพงบ่อเนี๊ยเขี้ยวสุดๆ กินเฉพาะยิงจุดโทษเท่านั้น
ก็เลยแก้เกม(พฤติกรรมเรียนรู้ใช้เหตุผลดังนี้)


- ตีสคิปปิ้ง เลียนแบบการตกกระทบน้ำหลายๆครั้งของปลาทูแล่ที่ถูกสาด

- เอาขันน้ำมาตักน้ำริมขอบบ่อแล้วสาดเลียนแบบการสาดปลา

-แอบเอากุ้งมาเกี่ยวเหยื่อปลอมซะเลย

-แอบเอาปลาทูแล่มาเกี่ยวเหยื่อปลอมซะเลย

-ถูกทุกข้อ
กระทู้: 21
ความเห็น: 1,142
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-08-2549
rockygoby(428 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 27: 30 มิ.ย. 56, 02:59
กด like น้องจียอน

สาระดีครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 28: 30 มิ.ย. 56, 03:04
รอสักครู่กำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องสี กับการมองเห็นของปลาอยู่ครับ

ขอขอบคุณน้าๆทุกท่านเป็นอย่างมากที่ให้เกียรติมาอ่านกระทู้ของผมครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 29: 30 มิ.ย. 56, 03:15
ต่อไปจะเป็นเรื่องสีของเหยื่อปลอม

ปลามองเห็นสีหรือไม่??(แปลและสรุปความมาจาก internet และนิตยสาร mi
ต่อไปจะเป็นเรื่องสีของเหยื่อปลอม

ปลามองเห็นสีหรือไม่??(แปลและสรุปความมาจาก internet และนิตยสาร midwest outdoor เดือนกรกฎาคมปี 2010 ครับ)
กระทู้: 39
ความเห็น: 3,398
ล่าสุด: 16-09-2566
ตั้งแต่: 15-11-2548
n4612430023(748 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 30: 30 มิ.ย. 56, 03:19
กระทู้: 39
ความเห็น: 3,398
ล่าสุด: 16-09-2566
ตั้งแต่: 15-11-2548
n4612430023(748 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 31: 30 มิ.ย. 56, 03:20
น่าสนใจมากครับ...............ตามชมคร้าบบบบบบผม
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 32: 30 มิ.ย. 56, 03:34
เรามองเห็นสีได้อย่างไร?? 

เอาแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนนะครับเดี๋ยวจะงงไปใหญ่ :smile:


การที่เราจะมอง
เรามองเห็นสีได้อย่างไร??

เอาแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนนะครับเดี๋ยวจะงงไปใหญ่


การที่เราจะมองเห็นวัตถุต่างๆเป็นสีได้นั้นมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องหลักๆ 4 ประการ

1.แหล่งกำเนิดแสง เช่น ดวงอาทิตย์ หรือหลอดไฟ ไฟฉายอะไรก็แล้วแต่

2. ตัวกลางให้แสงวิ่ง เช่น ผ่านอากาศ หรือน้ำเป็นต้น ข้อนี้มีผลต่อการหักเหของแสง

3. ตัววัตถุ ซึ่งวัตถุแต่ละอย่างจะมีคุณสมบัติการดูดกลืนแสง การสะท้อนแสง การยอมให้แสงส่องผ่าน
หรือการหักเหของแสงไม่เท่ากัน

4.ตาของเราเอง
กระทู้: 9
ความเห็น: 119
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-08-2555
kanomkoung(104 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 33: 30 มิ.ย. 56, 03:48
ตามชมมาติดๆครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 34: 30 มิ.ย. 56, 03:53
กลไกการมองเห็นวัตุเป็นสีต่างๆเป็นดังนี้

1. แสงออกจากแหล่งกำเนิดแสง

2. แสงเดินทางผ่านตัวกลาง เช
กลไกการมองเห็นวัตุเป็นสีต่างๆเป็นดังนี้

1. แสงออกจากแหล่งกำเนิดแสง

2. แสงเดินทางผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ หรือน้ำ ถ้าผ่านตัวกลางที่แตกต่างกันสองชนิด จะเกิดการหักเหของแสง
เช่นดินสอแท่งตรงๆ ถ้าใส่ไปในแก้วน้ำเราจะเห็น ดินสอเหมือนจะเบี๊ยว นี่คือ "ปรากฏการณ์หักเหของแสง"ครับ

3.แสงไปกระทบกับวัตถุ ซึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่า วัตถุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการดูดกลืนแสง การสะท้อนแสง การยอมให้แสงส่องผ่าน
หรือการหักเหของแสงไม่เท่ากัน


เอาง่ายๆนะครับ

ถ้าวัตถุนั้นดูดกลืนแสงไว้ได้หมด  >>>> เราจะเห็นวัตถุนั้นเป็นสีดำ เนื่องจากไม่มีแสงใดสะท้อนจากวัตถุนั้นมาเข้าตาเราเลย

ถ้าวัตถุนั้นดูดกลืนแสงไว้ได้บางส่วน >>>>>สีที่เรามองเห็นอาจจะออกเทาๆ หรือ แดง,เขียว, ส้ม, เหลืองก็ได้

อธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งแสงจากดวงอาทิตย์นี่เรียกว่า "สเปกตรัม" เราจะเห็นเป็นแสงไม่มีสี

แต่หารู้ไม่ว่าในแสงที่มองเหมือนไม่มีสีนั้น ล้วนมีหลากหลายสีสันหลอมรวมกันเป็นแสงเดียว

ดังรูปบนกระทู้


คราวนี้ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เราเห็นกล้วยเป็นสีเหลือง ก็เพราะกล้วยมันดูดเอาทุกสีเข้าไปในตัวมัน
แต่มันไม่สามารถ "ดูดซับสีเหลืองไว้ได้"

จึงได้ยอมปล่อยสีเหลืองมาเข้าตาของเรา

ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้น ดูดซับได้ทุกสียกเว้นสี "ชมพู"
เราจะเห็นวัตถุนั้นเป็นสีอะไรครับ >>> ถูกต้องสีชมพูครับ

กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 35: 30 มิ.ย. 56, 04:00
4.มาถึงข้อสุดท้าย คือ จอรับภาพ "ตา"ของเรานั่นเองครับ

ซึ่งตาของเรานี่จะมีจอรับภาพเรียกเป็นทางการ
4.มาถึงข้อสุดท้าย คือ จอรับภาพ "ตา"ของเรานั่นเองครับ

ซึ่งตาของเรานี่จะมีจอรับภาพเรียกเป็นทางการว่า "RETINA"

เรียกภาษาไทยว่า"จอประสาทตา" ทำหน้าที่รับภาพและส่งสัญญาณไปยังสมองของเรา

กระทู้: 41
ความเห็น: 6,623
ล่าสุด: 20-12-2567
ตั้งแต่: 01-06-2552
atis14(2218 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 30 มิ.ย. 56, 04:01
+1
ได้ความรู้ขึ้นอีกครับ
กระทู้: 21
ความเห็น: 1,142
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-08-2549
rockygoby(428 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 37: 30 มิ.ย. 56, 04:03
เริ่มเห็นโคนเซลล์กับรอดเซลแว้ว
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 38: 30 มิ.ย. 56, 04:09
คราวนี้ในชั้น retina ของเราจะมีเซลล์ประสาทรับแสงอยู่สองชนิด
คือ

1.เซลล์รูปแท่ง(rod cell) มีหน้าท
คราวนี้ในชั้น retina ของเราจะมีเซลล์ประสาทรับแสงอยู่สองชนิด
คือ

1.เซลล์รูปแท่ง(rod cell) มีหน้าที่รับรู้ความเข้มของแสง

2.เซลล์รูปกรวย(cone cell) มีหน้าที่รับรู้สีสันต่างๆ


แล้วเค้ารู้ได้ไงล่ะว่าปลามองเห็นแสงสีต่างๆหรือไม่ และรู้ได้ยังไง

ง่ายๆเลยครับเค้าเอาตาปลา(ไม่ใช่ที่เท้าเรานะครับ)

ไปผ่าแล้วย้อมสี เอาไปดูใต้กล้องจุลทรรศน์

ถ้าพบว่าปลาชนิดไหนมี cone cell ก็สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าตัวนี้มองเห็นสีได้ครับ

ซึ่งปลาที่เค้าศึกษาว่าน่าจะเห็นสีได้ก็มีปลาทอง ปลา black bass เป็นต้น

ส่วนปลาช่อนผมไม่มีข้อมูลครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 39: 30 มิ.ย. 56, 04:20
ความลึกของน้ำก็มีผลต่อการดูดกลืนแสงของตัวเหยื่อ และน้ำ

ดังรูปคร่าวๆข้างบนครับ

จะเห็นว่าสีแดงจะ
ความลึกของน้ำก็มีผลต่อการดูดกลืนแสงของตัวเหยื่อ และน้ำ

ดังรูปคร่าวๆข้างบนครับ

จะเห็นว่าสีแดงจะลงไปได้ไม่ลึกแค่ไม่ถึงสิบเมตรก็ถูกดูดกลืนไปจนหมดแล้ว>>>เพราะฉะนั้นถ้าเหยื่อเป็นแดงล้วนก็ํจะเห็นเป็นสีดำ ที่ระดับความลึก 10 เมตรครับ


อ้าวแล้วสีเขียวหล่ะ จาก chart ก็จะเห็นได้ว่าที่ความลึก 10 เมตร สีเขียวยังคงเป็นสีเขียวอยู่

แต่ถ้าลงลึกไปอีกเป็น 30 เมตร ก็ไม่รอดครับ "ดำเหมือนกัน"
กระทู้: 2
ความเห็น: 1,120
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 12-07-2554
bank16766(42 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 40: 30 มิ.ย. 56, 04:23
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 41: 30 มิ.ย. 56, 04:38
มาถึงคำถามเด็ดที่น้าท่านนึงถามว่า "เอ แล้วเหยื่อสีชมพูล่ะ ทำไมปลากินดี๊ดี??"

ตอบเลยครับ "ผมไม่
มาถึงคำถามเด็ดที่น้าท่านนึงถามว่า "เอ แล้วเหยื่อสีชมพูล่ะ ทำไมปลากินดี๊ดี??"

ตอบเลยครับ "ผมไม่รู้"

แต่ถ้าจะสัณนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

เท่าที่นึกได้ก็มีดังนี้

1. สีเมื่อของเหยื่อเมื่อถูกหักเหแล้ว มีลักษณะความเข้มสีคล้ายปลาเหยื่อ หรือ อาหารตามธรรมชาติของมัน

2. สีมันถูกใจ แม้จะไม่มีในธรรมชาติ แต่ถูกใจสุดๆ
ยิ่งกว่าของจริง

เรียกว่า"สิ่งเร้าเหนือธรรมชาติ"

เคยมีนักวิทยาศาสตร์ท่านนึงได้ทำการทดลองกับนก "Herring gull"

โดยตามปกติแล้วนกชนิดนี้

แม่นกจะใช้จงอยปากกระตุ้นให้ลูกจิกกินอาหารจากปากของมัน

ด้วยความสงสัยเค้าจึงทำโมเดลขึ้นมาสามอัน

1.หัวนกเลียนแบบของจริง

2.จงอยปากอย่างเดียว

3.ดินสอสีแดงที่เอาทาสีขาวสลับสามขีด(สงสัย ADIDAS แอบเป็น sponsor ) 

กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 42: 30 มิ.ย. 56, 04:44
แล้วลองเอาไปให้
ลูกนกจิกดูว่าอันไหนจะโดนชาร์จ(จิก)ถี่กว่ากัน


ไม่น่าเชื่อครับ :ohno:


ผลออก
แล้วลองเอาไปให้
ลูกนกจิกดูว่าอันไหนจะโดนชาร์จ(จิก)ถี่กว่ากัน


ไม่น่าเชื่อครับ


ผลออกมาหักปากกาเซียนทุกสำนัก จากตอนแรกตั้งสมมติฐานว่าไอ้เจ้าหัวเลียนแบบของจริงน่าจะ"แบเบอร์" เข้าวินถูกชาร์จมากสุด

กลับกลายเป็นปากกาแดงครับ ที่ไม่ได้เหมือนของจริงเล๊ย

แต่กลับถูกใจลูกนกที่สุด

และนี่ก็คือ "สิ่งเร้าเหนือธรรมชาติ" ครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 43: 30 มิ.ย. 56, 05:01
3. อาจเป็นพฤติกรรมฝูงหรือสังคมของมันเอง ที่มันต้องแข่งขันกับนักล่าตัวอื่นๆ 
ถ้ามัวตัดสินใจจะอดกิน
3. อาจเป็นพฤติกรรมฝูงหรือสังคมของมันเอง ที่มันต้องแข่งขันกับนักล่าตัวอื่นๆ
ถ้ามัวตัดสินใจจะอดกิน "ก็เลยงับไว้ก่อน พ่อ(พันธุกรรม)สอนไว้"

น้าที่ชอบตกปลาทะเลจะทราบดีว่าปลาที่อยู่เป็นฝูง
ถ้าตัวไหนได้เหยื่อแล้ว จะวิ่งหนีออกจากฝูงไปเลยเพราะมันกลัวเพื่อนแย่ง
กระทู้: 3
ความเห็น: 1,187
ล่าสุด: 21-12-2567
ตั้งแต่: 13-03-2551
nophappy(166 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 44: 30 มิ.ย. 56, 05:05
ชอบๆความรู้ทั้งนั้น
กระทู้: 8
ความเห็น: 681
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-12-2552
ความเห็นที่ 45: 30 มิ.ย. 56, 05:07
4. เหตุผลอื่นๆ อยากแชร์ประสบการณ์นิดนึง

น้าๆคงเคยได้ปลาช่อน ปลาบู่ กะพง หรือแม้กระทั่งชะโด   จาก
4. เหตุผลอื่นๆ อยากแชร์ประสบการณ์นิดนึง

น้าๆคงเคยได้ปลาช่อน ปลาบู่ กะพง หรือแม้กระทั่งชะโด  จาก"ตะกร้อไข่มดเอกซ์"

ใช่มั๊ยครับ ซึ่งเราๆท่านๆมักลงความเห็นว่ามันมาชารจ์ลูกปลา แล้วมาติดเบ็ดโดยบังเอิญ

แต่ผมเคยเจอมากับตัวสองกรณีในสามสถานที่คือ

1. ที่สวนสันติภาพอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ผมไปให้อาหารปลานิลกับแฟน ซักพักมี "ไอ้ช่อน" ตัวประมาณสองโลขึ้นมาแจมขนมปังกับเขาเฉยเลย

ตอนแรกคิดว่าไม่มีลูกปลา แต่ขอโทษลูกปลาเต็มบ่อครับ

ใครไม่เชื่อไปลองดูได้ บ่อฝั่งติดถนนรางน้ำนะครับ


2.ที่พระราชวังบางปะอินครับ "ชะโด" กินขนมปังกะโหลกครับ

ไปลองดูได้

3.ตลาดน้ำดอนหวาย "ชะโด" กินขนมปังกะโหลกเหมือนกันครับ


ขอขอบคุณน้าๆทุกๆท่านที่ทนอ่านจนจบนะครับ

ขอบคุณทุกๆโหวต

หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณอีกครั้งครับ
กระทู้: 29
ความเห็น: 2,457
ล่าสุด: 13-10-2567
ตั้งแต่: 05-01-2556
ความเห็นที่ 46: 30 มิ.ย. 56, 05:23
ความรู้ล้วนๆ ตามชมครับ
กระทู้: 66
ความเห็น: 5,791
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-03-2555
Spin_Fisher(1373 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 47: 30 มิ.ย. 56, 05:30
+++ได้ความรู้ครับ+++
กระทู้: 14
ความเห็น: 4,073
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 24-08-2551
solapak(258 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 48: 30 มิ.ย. 56, 05:30
กระทู้นี้โดนใจเต็มๆครับ
กระทู้: 29
ความเห็น: 8,641
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-08-2551
ความเห็นที่ 49: 30 มิ.ย. 56, 06:05
กระทู้แบบนี้นานๆมาทีแจ่มๆ
กระทู้: 9
ความเห็น: 708
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 05-11-2552
byut22(192 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 50: 30 มิ.ย. 56, 06:12
ตามติดๆเลยคับน้า
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 >
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?tid=659682&begin=25