สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 2 ม.ค. 68
เกิดอะไรขึ้นเมื่อสร้างเขื่อน?: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 32 - [16 ม.ค. 56, 23:11] ดู: 4,384 - [1 ม.ค. 68, 13:29]  ติดตาม: 4 โหวต: 17
เกิดอะไรขึ้นเมื่อสร้างเขื่อน?
กระทู้: 1
ความเห็น: 25
ล่าสุด: 20-01-2567
ตั้งแต่: 25-08-2555
teemodify9(17 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้งกระทู้: 16 ม.ค. 56, 23:11
เกิดอะไรขึ้นเมื่อสร้างเขื่อน?
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 4 มิถุนายน 2555 00:14
เรื่อง/ภาพ: ดช. นาย และ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ 

(ใครขี้เกียจอ่านทั้งเรื่องก็อ่านเฉพาะ บทเรียนของแต่ละตอนนะครับ)

ออกตัว(Disclamer): สิ่งที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ ไม่ใช่รายงานทางวิชาการ และอาจจะไม่สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ๆมีการสร้างเขื่อน เพราะการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติโดยมนุษย์ ยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่ผมเขียนนี่ได้มาจากประสบการณ์ตรงตั้งแต่เมื่อครั้งอายุได้ 11 ขวบ ตั้งแต่ปี 2530 เป็นครั้งแรกที่คุณพ่อพาผมไปเที่ยวตกปลาที่เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตอนนั้นเขื่อนเพิ่งสร้างเสร็จเก็บกักน้ำมาได้ 2-3 ปีแล้ว ผมขอเริ่มเรื่องราวตั้งแต่วันแรกก็แล้วกันครับ

ก่อนอื่น ข้อมูลเขื่อนครับ
เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย เททับหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เขื่อนสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร มีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนเอนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอท้องผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,720 ตารางกิโลเมตร

เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2522 เสร็จในปี 2527 แต่เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม หลังสร้างเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2529 และพระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนวชิราลงกรณ



ปี 2530 (หลังเขื่อนเก็บกักน้ำได้ 3 ปี)
สิ่งแรกที่เด็กชายนณณ์เห็นคือ ซากต้นไม้ การขับเรือในเขื่อน ยังต้องขับตามร่องน้ำเดิม ยังต้องมีป้ายบอกทางว่าร่องน้ำเดิมไปทางไหน เพราะอาจจะขับหลงเข้าป่า ใบพัดเรือฟันตอไม้ได้ ต้นไม้ที่เห็นคือตายหมดแล้ว แต่ยังมีพวกกล้วยไม้และเฟิร์นบางชนิดที่เกาะพ้นน้ำอยู่ยังไม่ตาย ปลาเยอะมาก มาเข้าใจตอนโตว่าปลาเยอะ เกิดจากการที่ มีตอไม้ ต้นไม้ กอไผ่ ถูกน้ำท่วมเยอะแยะ พวกนี้เป็นแหล่งหลบภัย และหาอาหารของปลาได้ดี

ตอไม้ตะไคร่เกาะก็มีปลามากิน จำได้ว่าตอนกลางคืนจะพายเรือออกไปกับคนกระเหรี่ยงเจ้าของแพที่เราไปพัก ตามตอไม้จะมีพวกปลากา ปลาสร้อย ที่มาแทะเล็มตะไคร่ กุ้งฝอยก็จะเกาะอยู่ตามตอไม้ ตาแดงๆของมันจะสะท้อนแสงให้เห็นเยอะแยะ กุ้งฝอยนี่ก็อาหารของปลาชั้นดี ตอนเช้าเป็นเวลาหาอาหาร เราจะไปช้อนกุ้งฝอยจากกอสาหร่ายริมตลิ่ง (ไว้จะเขียนถึงกอสาหร่ายอีกที) จากนั้นก็เอาไปตกปลาหมอโค้วในกอไผ่ที่จมน้ำอยู่ริมตลิ่ง พวกปลาหมอโค้วจะอยู่กันเยอะมาก บางทีน้ำใสๆมองเห็นตัวเป็นฝ่ามือกางๆเลยก็มี เนื้อปลาชนิดนี้รสชาติดีมาก ไม่คาว เหมือนปลาทะเลเลย

ตอไม้ย่อยสลายผุพังก็มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากิน แล้วก็มีปลามากินสัตว์ตัวเล็กๆพวกนี้อีกที และเมื่อมีปลาตัวเล็กๆมากิน ก็มีปลาใหญ่ๆมากินปลาเล็ก จำได้ว่าปลากระสูบ ซึ่งเป็นปลาล่าเหยื่อมีเยอะมาก เด็กชายนณณ์ยังตกปลาไม่ค่อยเป็น เงื้อเบ็ดจะเหวี่ยงปรากฏว่าทำหลุดมือตกน้ำไปข้างเรือๆ หันกลับไปเงอะๆงะๆ สาวกลับขึ้นมาจากใต้เรือ ปลากินเหยื่อเฉยเลย...

หน้าแพที่ไปพักตอนนั้นจะยังเต็มไปด้วยซากต้นไม้ เต็มไปหมด มองเลยออกไป จะเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่ บริเวณนั้นเป็นจุดที่ลึกที่สุดของเขื่อน เรียกว่า สามประสบ เป็นจุดที่แม่น้ำสามสายหลักที่ไหลลงเขื่อนมารวมตัวกัน คือแม่น้ำรันตี บีคี่ และ ซองกาเลีย ตรงนี้เคยเป็นที่ตั้งของตัวอ.สังขละบุรี วัดวังวิเวการาม ของหลวงพ่ออุตตมะ เกจิชาวมอญ เป็นเหมือนศูนย์รวมจิตใจให้คนต่างเผ่าพันธุ์ ทั้ง ไทย มอญ พม่า กระเหรี่ยง ต่างอยู่ร่วมกันในแผ่นดินไทยอย่างมีความสุขพอน้ำท่วมตัวอำเภอ ทุกคนก็ถูกอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูงขึ้น มอญอยู่ฝั่ง ไทยอยู่ฝั่ง หลวงพ่ออุตมะเลยให้สร้างสะพานเชื่อมสองฝั่งให้ไปมาหาสู่กันได้ ผมน่าจะเป็นคนกรุงเทพฯไม่กี่คนที่ได้เห็นสะพานไม้ชื่อดังที่กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญตั้งแต่ตอนที่เริ่มสร้าง ที่ดินถูกจัดสรรตั้งเป็นเขตนิคมต่างๆ พื้นที่ๆเคยเป็นป่าเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ ค่อยๆถูกจับจองแผ้วถ่างไปเรื่อยๆ น้ำทำให้การเดินทางไปมาสะดวกขึ้น เข้าถึงป่าด้านในได้ง่ายขึ้น

ความสุขอย่างหนึ่งของดช.นณณ์ ในตอนเช้าคือการพายเรือท้องแบนออกไปหลังแพ บริเวณนี้มีสาหร่ายหางกระรอกขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ปลาตัวเล็กตัวน้อยแหวกว่ายเข้าออกกันเยอะมาก โดยเฉพาะปลาเสือข้างลาย ปลาซิวหางกรรไกร และ ลูกปลาแรด ตัวหลังนี่เป็นชนิดโปรด ปลาแรดในธรรมชาติจะตัวสีแดงๆส้มๆ มันชอบว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ คอยกินแมลงเม่าที่ตกลงบนผิวน้ำในตอนเช้า ปลาเสือข้างลายกับปลาซิวชอบกินข้าวสวยที่โปรยไปให้พวกมัน พอตกลงไปถึงด้านล่างที่ลึกจนมองไม่เห็นอะไรนอกจากเม็ดข้าวสีขาวจางๆ แทนที่ข้าวจะตกดิ่งลงไป จะเห็นว่ามันถูกปลาอีกกลุ่มหนึ่งไล่ตอดส่ายไปมา จนในที่สุดก็ลับตาหายไป  บนฟ้า นกกาฮังฝูงใหญ่ยังบินผ่านไปเป็นรูตัววีให้อ้าปากค้างได้เกือบทุกเช้า
ตกสายๆเราจะออกไปตกปลากัน ส่วนใหญ่ก็จะขับทวนน้ำขึ้นไปตามแม่น้ำสามสายที่กล่าวถึงไปแล้ว ตอนนั้นเป็นยุคที่เหยื่อปลอมที่ทำจากเหล็กบ้าง ไม้บ้าง เพิ่งเริ่มเข้ามาในเมืองไทย ชาวบ้านแถวนั้นยังไม่เคยมีใครเห็นเบ็ดฝรั่งกันมากนัก ตอนนั้นปลาเยอะ ตกได้วันหนึ่งหลายสิบตัว ก็เก็บมาเฉพาะเท่าที่จะเอาไปกิน ที่เหลือก็ปล่อยไป อุปสรรคอย่างหนึ่งในการขับเรือและตกปลา คือตะคัดจับปลาของชาวบ้าน โดยเฉพาะในฤดูน้ำหลากที่ปลาจะขึ้นไปวางไข่ตามต้นน้ำ จะมีตะคัดผืนใหญ่ๆ ขวางลำน้ำเยอะมาก ผลงานของตะคัดเหล่านี้จะไปกองรวมกันอยู่บนตลาดในตัวอำเภอ ปลายี่สก ปลาตะโกก ปลากระสูบ ชะโด กราย ตัวใหญ่ๆ ใหญ่มากกองรวมกันเป็นภูเขา กองหนึ่งสูง 3-4 เมตร หนักรวมกันคงเป็นตันๆ เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ มานึกดูตอนนี้ ปลาขนาดใหญ่ระดับพ่อแม่พันธุ์พวกนั้นคงกำลังจะขึ้นไปผสมพันธุ์วางไข่ แต่ต้องมาติดตะคัดเสียก่อน น่าเสียดาย พวกปลาเล็กๆจะถูกจับด้วยแหตาถี่แต่วงใหญ่มาก เรือลอยกันหลายๆลำ ทอดแหทีหนึ่งติดปลาขึ้นมาจนแทบดึงขึ้นเรือไม่ไหวเลยทีเดียว



พวกที่รอดไปได้จะไปถึงลำธารต้นน้ำ ฝนที่ตกลงมาหนักๆ จะชะเอาหน้าดินลงมาทำให้ลำห้วยหลักมีน้ำสีแดงขุ่น ชาวบ้านเรียกว่าหน้าน้ำแดง ปลาจะขึ้นมาออกันเยอะมากเวลาเรือแล่นผ่านเคลื่อนจะซัดปลาขึ้นไปบนหาดทรายริมน้ำดิ้นกันจนเป็นสีเงินระยับ ลำธารสายเล็กสายน้อยที่ไหลลงมาจากบนเขาหลายสายน้ำจะใสมาก พวกปลาซิวเล็กซิวน้อยจะพากันว่ายทวนน้ำเข้ามาในลำธารก่อนที่จะแยกย้ายกันหายไปในทุ่งน้ำท่วมใหญ่เพื่อสืบพันธุ์ ยังจำได้ดีถึงภาพปลาหมอโค้วตัวใหญ่ๆ หลายสิบตัวที่นอนแผ่ค้างอยู่ในทุ่งหญ้า พวกมันคงสืบพันธุ์กันจนหมดแรงอยู่บนนั้น

อีกความทรงจำที่ยังชัดเจนคือมีวันหนึ่งขณะที่เรากำลังนั่งเรือไปตกปลา คนขับเรือเหลือบไปเห็นตัวอะไรสักอย่างว่ายน้ำอยู่ พอเราขับเข้าไปดูถึงเห็นว่ามันเป็นสัตว์หน้าตาประหลาดมาก ตัวเตี้ยล่ำหน้าเหมือนหมูตีนเหมือนหมี มันกำลังว่ายน้ำจากเกาะที่ถูกน้ำท่วมไปหาแผ่นดิน มันคงติดอยู่บนเกาะตั้งแต่ตอนน้ำเริ่มท่วม อยู่มาหลายปีไม่มีอาหารไม่มีที่อยู่เพียงพอ ธรรมชาติคงบังคับให้มันต้องยอมว่ายน้ำข้ามไป โชคร้ายที่มาเจอเราเสียก่อน มันถูกจับไปเลี้ยงอยู่ที่ท่าเรืออยู่หลายปี จนเชื่อง ไปทุกครั้งก็ต้องเอากล้วย เอาขนมมาฝากมัน มีอยู่ครั้งหนึ่งไปก็ไม่เจอมันแล้ว เห็นเค้าบอกว่าหลุดไป แล้วโดนชาวบ้านยิงตาย ผมมารู้ตอนหลังว่ามันคือหมูหริ่ง

อาหารในช่วงนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะในตลาดจะมีอาหารป่าขายตลอด ทั้งเนื้อ เก้ง กวาง หมูป่า และ กบทูด เนื้อกระทิงลมควันวางขายกันเป็นก้อนใหญ่ๆ รวมไปถึงเนื้อเลียงผาก็ยังมีให้กิน

บทเรียนในช่วงนั้นของชีวิตเมื่อย้อนกลับมาทบทวนหลังจาก 26 ปีผ่านไปก็คือ
ตอนสร้างเขื่อน พอน้ำท่วมป่าต้นไม้ตายเหลือแต่ตอ กลายเป็นที่อยู่ และแหล่งอาหารของสัตว์น้ำที่ดี ช่วงแรกที่สร้างเขื่อนจะมีปลาเยอะเพราะเหตุนี้ แต่ในช่วงที่กักเก็บน้ำ ถ้าเอาไม้ออกไม่มากพอน้ำจะเน่าเสียในช่วงแรกๆ ส่งผลต่อคุณภาพของน้ำที่ปล่อยลงด้านล่าง สมัยนี้ถ้ามีการสร้างเขื่อนมักจะทำการตัดต้นไม้ทั้งหมดออกจากป่า (clear cut) เพื่อให้น้ำไม่เสีย
ตอนที่น้ำท่วมใหม่ๆ หน้าดินในป่ายังมีความสมบูรณ์ ตรงไหนน้ำตื้นมีแดดส่องถึงก็จะมีสาหร่ายขึ้น สาหร่ายเป็นที่อยู่และอาหารของปลาหลายชนิด ทำให้เขื่อนมีปลาเยอะมาก
สัตว์ป่าหลายชนิดติดเกาะและปรับตัวไม่ได้ พวกที่ว่ายน้ำหาทางขึ้นฝั่งได้ก็รอดไป ตัวไหนโชคร้ายก็โดนจับ จมน้ำไป กรณีการอพยพสัตว์ตอนสร้างเขื่อนรัชประภา ของคุณสืบ ชัดเจนมาก ตอนเห็นภาพคุณสืบช่วยสัตว์ที่ติดเกาะ สมองส่งภาพหมูหริ่งว่ายน้ำตัวนั้นเข้ามาทันที

ปลาหมอตะกรับขึ้นวางไข่ในทุ่งน้ำท่วม


ปลาซิวหางกรรไกรว่ายทวนน้ำท่วมทุ่งขึ้นไปวางไข่


น้ำท่วมทำให้ป่าริมน้ำตาย พอน้ำลงตลิ่งก็ถูกกัดเซาะ ต้นไม้ใหญ่ก็ล้ม ดินทรายก็ลงไปถมในเขื่อนทำให้ตื้นเขิน

ปี 2540
ไปมาหลายปี ในที่สุดพ่อเลยซื้อแพเสียเลย ด้านหลังแพเป็นป่าเบญจพรรณ มีต้นไผ่ขึ้นเยอะ เราเอาปั๊มน้ำเอาเครื่องปั่นไฟไปตั้งบ้าง แต่ก็ไม่เคยรบกวนป่าจนเกินงาม มีคนมาแนะนำว่าถ้าจะยึดที่ดินตรงนี้ ต้องถางป่า เก็บไว้แบบนี้ไม่มีทางออกเอกสารสิทธิ์อะไรให้ได้ แต่เราก็ตกลงกันว่าเราไม่ได้ต้องการที่ดินเราต้องการป่ามากกว่า แล้วป่าหลังแพก็เลยอยู่อย่างนั้น รู้กันว่าป่านี้เขานี้ของแพเรา ไม่มีใครมายุ่งมาบุกรุก ไม่เหมือนกับเขาลูกติดๆกันที่มีคนอื่นมาจับจอง แผ้วถางกันไปเรื่อย จนในที่สุดก็ออกเอกสารสิทธิ์กันไปได้ ขายเปลี่ยนมือกันหลายสิบล้านบาท จนกลายเป็นรีสอร์ทชื่อ Nature อะไรสักอย่าง รีสอร์ทนี้มาถึงสิ่งแรกที่ทำคือ ไถดันป่าที่เหลือออกจนเกือบหมดแล้วเอาปาล์มน้ำมันมาปลูกแทน ป้าย Nature อะไรสักอย่างของรีสอร์ทอันใหญ่ถูกนำมาติดตั้งท่ามกลางดินโล่งๆ ธรรมชาติอะไรของเค้าก็ไม่แน่ใจ เราไม่เคยเสียใจสักนิดเดียวที่ไม่ได้เงินจากการขายที่ ป่าหลังแพยังอยู่ในสภาพดี ยังมีนกแก๊กมากินลูกไทร ยังมีเหยี่ยวดำฝูงใหญ่มาเกาะนอนในหน้าอพยพ แม้ว่าจะไม่เห็นนกกาฮังมาหลายปีมากแล้วก็ตาม

ในน้ำ ต้นไม้จมน้ำเริ่มพุพังไปตามกาลเวลา บ้างก็ถูกตัดไปใช้งาน ทำแพ ทำยอ ไปตามเรื่องตามราว กอไผ่หมดไปแล้ว ไม่มีที่ตกปลาหมอโค้วแล้ว ด้วยการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้น หมู่บ้านในป่าต้นน้ำ ขยายตัวขึ้นมาก ปลาในน้ำลดจำนวนลงมาก จากการระดมจับกันอย่างไม่เคยมี กฏเกณฑ์ ขอบเขต วิธีการ หรือ ฤดูกาล อยู่ในอ่างเก็บน้ำก็โดนจับ ขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำก็โดนจับ ข้อสำคัญก็คือ ต้นไม้เริ่มหมดลง แหล่งอาหาร ที่หลบภัยก็ลดลง สาหร่ายริมตลิ่ง เริ่มมีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด คงจะเป็นเพราะว่าหน้าดินเริ่มหมดความอุดสมบูรณ์ พวกธาตุอาหารที่น้ำพัดมาในหน้าน้ำแดง ก็ตกจมอยู่ที่ก้นอ่างไม่ได้ติดอยู่ที่ขอบอ่างบริเวณที่แสงแดดส่องถึง ในบริเวณที่ยังพอเหลือสาหร่ายอยู่หล่อมแหล่ม ชนิดปลาก็เริ่มเปลี่ยนไป มีปลาของแหล่งน้ำนิ่งเข้ามาอาศัยอยู่เยอะขึ้น เช่น ปลาซิวหางแดง ปลากริมควาย และ ปลากระดี่ ตอนนี้การตกปลาเริ่มไม่สนุกเหมือนตอนเด็กๆ ปลาหายากขึ้น ออกไปตกวันหนึ่งบางทีไม่ได้สักตัวเลยก็ยังมี

ในช่วงหลังๆ น่าดีใจที่เริ่มมีการดูแลและควบคุมการจับปลาในเขื่อนมากขึ้น ยอจับปลาเล็ก ถูกกำจัดจำนวน ต้นน้ำบีคลี่ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ ถูกกำหนดเป็นเขตอนุรักษ์ห้ามมีการทำประมง ถึงแม้ว่าจะห้ามไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็น่าจะช่วยได้บ้าง นกน้ำที่หายากอย่างนกอ้ายงั่วเริ่มกลับมา แต่ปลาที่น้อยลงทำให้ชาวบ้านที่ยึดอาชีพประมงเริ่มหมดไป จากที่เคยมีการเลี้ยงปลาในกระชังกันมาก เมื่อปลาเหยื่อเริ่มมีน้อยลง การเลี้ยงก็เริ่มมีน้อยลง ปลาในตลาดสังขละ จากเดิมที่เคยกองเป็นภูเขา ปัจจุบันเริ่มมีปลาเลี้ยงเข้ามามากขึ้น  ทั้งปลานิล ปลาสวาย ปลาเปคู และ ปลาดุกบิ๊กอุย ยังมีปลาท้องถิ่นปะปน แต่จำนวน ชนิด และ ขนาด ลดลงอย่างน่าใจหาย

บทเรียนในช่วงนี้คือ
พอต้นไม้ กอไผ่ที่ถูกน้ำท่วม ย่อยสลายผุพังไปหมด ปลาและสัตว์น้ำจะลดจำนวนลงไปมาก
พอหน้าดินที่สมบูรณ์ถูกใช้ไปจนหมด สาหร่ายริมน้ำจะไม่ค่อยขึ้นแล้ว ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆก็จะลดจำนวนลง
อ่างเก็บน้ำทำให้การเดินทางด้วยเรือสะดวกสบาย เข้าถึงแหล่งต้นน้ำและป่าได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการบุกรุกและล่าสัตว์ได้ง่ายขึ้น

มุมใกล้เคียงกับภาพด้านบน ปัจจุบันไม่เหลือซากต้นไม้แล้ว

ปี 2550-ปัจจุบัน
เขื่อนกลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เวิ้งว้างสาหร่ายริมน้ำก็ไม่ค่อยขึ้นแล้ว ปลาเหลือน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนขึ้นบ้างก็ในบางปี ที่แล้งนาน ระดับน้ำในเขื่อนลดลงเร็วมาก ทำให้ต้นหญ้าและพืชต่างๆขึ้นอยู่ตามริมอ่าง พอฝนตกเริ่มกักเก็บน้ำ ก็จะมีปรากฏการณ์คล้ายน้ำท่วมทุ่ง ทำให้ปลาพอมีที่ผสมพันธุ์ วางไข่ และ ลูกปลามีที่อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปีและไม่ได้ทำให้ปลามีจำนวนมากมายเท่าไหร่นัก ในเขื่อนเริ่มมีสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้ามารุกรานมากขึ้น เช่น ปลานิล ปลาซัคเกอร์ ปลาซิวเขียว และ หอยเชอรี่ รวมกับพืชต่างถิ่นอีกหลายชนิด เช่น สาบหมา ย่านขี้ไก่ มัยราพยักษ์ เมล็ดของพืชเหล่านี้ ลอยไปตามน้ำ ปลิวไปตามลม ข้ามอ่างเก็บน้ำไปง่ายๆ รุกรานเข้าไปในป่าได้ลึกกว่าที่ควรจะเป็น

ป่าที่ถูกทำลาย ทั้งที่อยู่ในเขตนิคมซึ่งถูกกฏหมาย และที่บุกรุกป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ  ทั้งริมน้ำ และถนนทางเข้าโดยเฉพาะเส้นจาก อ.ทองผาภูมิ เข้าสู่ อ.สังขละบุรี จากเดิมที่เป็นป่าดั้งเดิม สลับกับป่าสักปลูก เคยเห็นกาฮังเกาะกินผลไม้อยู่ริมถนน ทุกวันนี้กลายเป็นพื้นที่เกษตรไปเกือบหมด เมื่อมีพื้นที่เกษตรมากขึ้น หน้าแล้งจะมีการเผากันทั้งพื้นที่เกษตรและเผาป่า ทำให้มีกลิ่นควันคลุ้งอยู่ตลอดเวลา จนแทบจะไม่อยากไปในฤดูแล้ง

ปลาน้อยลง จนเดี๋ยวนี้ไปก็ไปนั่งๆนอนๆ เล่นน้ำ ดำน้ำดูปลาตัวเล็กตัวน้อย ไม่ได้ออกไปตกปลาตัวใหญ่เหมือนก่อนแล้ว

บทเรียนในช่วงนี้
1.    พอถึงจุดหนึ่ง เขื่อนก็เป็นแค่ที่เก็บน้ำจริงๆ เป็นอ่างเวิ้งว้าง น้ำเยอะจริงๆ แต่ไม่มีที่อยู่ให้ปลา ซึ่งจะพออยู่ได้ก็ตามริมตลิ่งนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ต้องหวังเรื่องการประมงใดๆ    ทุกวันนี้ไม่สามารถมีใครยึดเป็นอาชีพได้แล้ว แม้แต่พวกที่เลี้ยงปลากระชัง ก็ต้องไปซื้ออาหารสำเร็จรูปมาให้ปลากิน
2.    ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกทำลายหนักมาก การปลูกพืชเกษตรเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะที่เป็นพืชล้มลุกทำให้หน้าดินเปิดโล่ง เมื่อฝนตกหน้าดินถูกชะล้างลงไป ดินทรายถูกชะล้างลงไปทำให้ แหล่งต้นน้ำเสื่อมสภาพ ต้นไม้ใหญ่ๆริมฝั่งหักโค่น

ขอบคุณ อ. ชัยวุฒิ กรุดพันธ์  ที่ร่วมถกความเป็นไป



กระทู้: 43
ความเห็น: 6,268
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 22-02-2553
saosawat(941 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 1: 16 ม.ค. 56, 23:28
กระทู้: 1
ความเห็น: 1,111
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-02-2552
fufu23(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 2: 17 ม.ค. 56, 01:37
กระทู้: 16
ความเห็น: 1,769
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 09-10-2553
xzuka(947 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 17 ม.ค. 56, 02:01
กระทู้: 4
ความเห็น: 267
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 19-10-2554
bassan(106 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 17 ม.ค. 56, 04:45
กระทู้: 0
ความเห็น: 2
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-12-2555
ความเห็นที่ 5: 17 ม.ค. 56, 06:02
กระทู้: 0
ความเห็น: 292
ล่าสุด: 05-08-2567
ตั้งแต่: 28-01-2555
ความเห็นที่ 6: 17 ม.ค. 56, 06:19
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,730
ล่าสุด: 29-12-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 7: 17 ม.ค. 56, 11:02
กระทู้: 8
ความเห็น: 1,130
ล่าสุด: 05-12-2567
ตั้งแต่: 25-03-2546
KricsanM(24 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 17 ม.ค. 56, 11:13
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ 
กระทู้: 93
ความเห็น: 19,567
ล่าสุด: 20-11-2566
ตั้งแต่: 15-05-2549
ความเห็นที่ 9: 17 ม.ค. 56, 12:30


ขอบคุณครับสำหรับบทความดี ๆ แต่อ่านกันเหนื่อย...........5555
กระทู้: 39
ความเห็น: 6,869
ล่าสุด: 26-12-2567
ตั้งแต่: 24-09-2550
188(898 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 17 ม.ค. 56, 12:44
+++ ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับน้า 
กระทู้: 0
ความเห็น: 87
ล่าสุด: 08-10-2567
ตั้งแต่: 26-05-2551
ความเห็นที่ 11: 17 ม.ค. 56, 12:48
ทุกอย่างไม่มีดี100%ไม่มีเลว100% แล้วแต่คุณว่าอยากจะบอกด้านไหน....
กระทู้: 0
ความเห็น: 172
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-04-2555
ความเห็นที่ 12: 17 ม.ค. 56, 13:38
กระทู้: 0
ความเห็น: 31
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 27-11-2555
ความเห็นที่ 13: 17 ม.ค. 56, 14:14
ขอบคุณครับสำหรับบทความดี ๆ
กระทู้: 8
ความเห็น: 502
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 10-12-2552
DangermaN(160 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 14: 17 ม.ค. 56, 14:26

ลองคิดในทางกลับกันดูว่าหากไม่มีการสร้างเขื่อน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อน การกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและชลประทาน และกั้นน้ำเพื่อป้องันอุทกภัยก็จะไม่มี ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นมากมายพอกันๆ ทุกๆอย่างไม่ได้มีแต่ด้านดีๆ มันต้องมีด้านเสียและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน มากหรือน้อยเท่านั้นเอง       
กระทู้: 50
ความเห็น: 11,511
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-05-2554
ความเห็นที่ 15: 17 ม.ค. 56, 14:30
+++++++

             
กระทู้: 1
ความเห็น: 19
ล่าสุด: 01-01-2568
ตั้งแต่: 07-12-2555
BunGum(9 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 17 ม.ค. 56, 14:32
ฟังแล้วเศร้าครับ...ทำในนึกถึงภาพที่เคยไปสัมผัสในวัยเยาว์  สมัยที่ยังเรียกเป็นเขื่อนเขาแหลม
กระทู้: 0
ความเห็น: 27
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-10-2555
ความเห็นที่ 17: 17 ม.ค. 56, 14:51
กระทู้: 4
ความเห็น: 864
ล่าสุด: 24-06-2567
ตั้งแต่: 21-06-2554
entom9(123 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 18: 17 ม.ค. 56, 15:17
ขอบคุณบทความดีๆ มันไม่ใช่เฉพาะที่เขื่อนหรอกครับ ความเจริญมันทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป
ทุกคนต่างเร่งรีบหาเงินเพื่อที่จะได้มีเหมือนคนอื่นๆ ทำให้ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มือใครยาวสาวได้สาวเอา จะมาสนใจสิ่งแวดล้อมก็ต่อเมื่อไม่เหลืออะไรแล้วเท่านั้น 
กระทู้: 131
ความเห็น: 9,106
ล่าสุด: 26-05-2567
ตั้งแต่: 29-06-2548
phayao(4105 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 19: 17 ม.ค. 56, 21:48
กระทู้: 4
ความเห็น: 260
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-11-2555
Hiko(41 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 20: 17 ม.ค. 56, 22:40
กระทู้: 4
ความเห็น: 463
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-08-2553
ความเห็นที่ 21: 20 ม.ค. 56, 07:04
    +++ ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับน้า    ผมก็ เป็นคนนึงที่ชื่นชอบการตกปลาที่เขื่อนเขาแหลม  ตั้งแต่สมัย  ปี  35  คับ  ตอนนั้น  ปลาที่นั้น  เยอะจริงๆ   
กระทู้: 16
ความเห็น: 3,253
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-03-2555
F24(1302 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 22: 20 ม.ค. 56, 07:05

Fishn2gthr4ever
กระทู้: 27
ความเห็น: 35,920
ล่าสุด: 01-01-2568
ตั้งแต่: 08-08-2551
fishingjoke(1263 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 23: 20 ม.ค. 56, 07:18
กระทู้: 194
ความเห็น: 10,784
ล่าสุด: 01-01-2568
ตั้งแต่: 13-02-2549
ความเห็นที่ 24: 20 ม.ค. 56, 07:26
กระทู้: 12
ความเห็น: 1,319
ล่าสุด: 06-07-2567
ตั้งแต่: 30-06-2553
totea_t(304 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 25: 20 ม.ค. 56, 07:27
คนริมเขื่อนจงภูมิใจเถิด ที่คุณได้เสียสละวิถีชีวิตของคุณ เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ

หลายพันปีที่มนุษย์ต้องปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายรูปแบบ ไม่ปรับตัวก็ไม่มีชีวิต

ใครมองเห้นโอกาศกับการเปลี่ยนแปลงตรงหน้าได้ก่อน คนนั้นรวย ครับ 
หน้าที่: 1 | 2 >
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=655122&begin=0