ความเห็น: 41 - [15 ม.ค. 56, 14:55] ดู: 7,461 - [15 ม.ค. 68, 16:55] ติดตาม: 1 โหวต: 9
เรื่องเก่ามาเล่าใหม่...... "Hyperfocal" ครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
1
เรื่องของเรื่องก็คือเวลาที่ออกไปเที่ยวแล้วถ่ายวิวกลับมาปรากฏว่า "สอบตก" กับการโฟกัสภาพทุกที เวลาไม่ได้ออกไปไหนก็ลืมไปว่าตัวเองสอบตก วันนึง ไปเดินร้านหนังสือไปเจอเอา อสท. เล่มนี้แหละเป็นต้นเหตุให้เริ่มทำความเข้าใจกับเรื่องของการโฟกัสในภาพวิว แล้วก็มาเจอคำว่า "Hyperfocal Distance" กับสมการหน้าตาแปลกๆ อีก 1 เอาล่ะลองทำความเข้าใจอย่างจริงๆ จังๆ ดูบ้างซิ เผื่อว่าจะสอบผ่านกับเค้าบ้าง ขอเชิญเข้ามาร่วมติดตามชี้แนะได้เลยครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
คำออกตัว
ผมไม่ใช่โปรนะครับ บังเอิญว่าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง "Hyperfocal Distance" ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคนิคการโฟกัส และผมคิดว่าถ้านำมาแชร์ในส่วนรวมจะทำให้เกิดประโยชน์กับพี่ๆ น้องๆ ป้าๆ น้าๆ ที่ชอบถ่ายรูปต่อไปได้ ขอขอบคุณไว้ ณ. ที่นี้ครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
เคยสังเกตุมั๊ยครับในรูปถ่ายโดยทั่วไปข้อมูลที่มีให้ จะมีเฉพาะ ค่ารูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์, ค่า ISO, ค่าชดเชยแสง พอเราปรับค่าของกล้องตามไปเพื่อหวังผลให้ออกมาดีเหมือนกับภาพของโปรที่เราเคยดู แต่กลับไม่เหมือนดั่งที่ใจนึก โดยเฉพาะกับภาพวิวที่ผมกำลังจะพูดถึงนี่แหละครับ มีค่าไหนที่หายไป ถ้าสังเกตุดูจะพบว่าค่าที่หายไป และมีคนพูดถึงน้อยมากคือ ตำแหน่งโฟกัส หรือ "ระยะโฟกัส" นี่แหละครับ ซึ่งในการนี้จะเกี่ยวพันโดยตรง และสามารถคำนวณเป็นตัวเลขได้ และสามารถนำไปไช้ต่อได้ทันทีครับผม นั่นคือ ค่า "Hyperfocal Distance" หรือ "ค่าที่ทำให้ระยะชัดเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ต้องการไปจนถึงระยะอนันต์" พูดง่ายๆ ก็คือ ระยะชัดที่เกิดขึ้นจะกินพื้นที่ระหว่างวัตถุที่เป็นฉากหน้าไปจนถึงอนันต์กันเลยทีเดียว ("ระยะชัด" กับ "ตำแหน่งโฟกัส" อาจจะเป็นจุดเดียวกันหรือไม่ก็ได้, ตำแหน่งโฟกัสคือตำแหน่งที่ให้ความคมชัดสูงสุด)
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
สมการที่ใช้คำนวณ หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
อันที่จริงผมเปลี่ยนตัวอักษรเพื่อให้เกิดความสับสนน้อยที่สุด โดยให้
FL = Focal Lenght (mm.) - ทางยาวโฟกัส
f = f / stop ค่ารูรับแางที่เราคุ้นเคยทั่วไปนั่นแหละครับ
c = ค่า circular of confusion แปลว่าอะไรก็ไม่รู้รู้แต่ว่าเป็นค่าคงที่ที่ได้มาจากการคำนวณขนาดของเซนเซอร์ในกล้องแต่ละรุ่นครับผม (รายละเอียดมีให้ทั้งหมดที่ www.dofmaster.com ในที่นี้ผมใช้ D7000 ซึ่งมีค่า c = 0.02)
ในตอนต่อไปจะเอาวิธีคำนวณกับรูปประกอบที่ทดลองถ่ายมาลงต่อให้นะครับ ตอนนี้ต้องขอตัวไปทำงานก่อนครับผม.......
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
อันดับแรกเลย อุปกรณ์ที่ใช้ D7000 + sigma 8-16 + ขาตั้งกล้อง เพื่อความชัวร์ ใบแรกทดสอบด้วยค่า FL ที่ 8 mm. Full auto ค่าที่กล้องเลือกให้ f/9 ครับ จะเห็นได้ชัดเจนครับว่า กล้องพยายามที่จะทำให้ได้ความชัดเกิดขึ้นทั่วทั้งภา พสังเกตุที่แก้วน้ำเป็นวัตถุที่เป็นฉากหน้า รถบดถนนเป็นระยะกลาง และตึก + แนวสายไฟด้านหลังเป็นฉากหลังระยะไกล แต่ก็ยังไม่สุดอยู่ดี โดยเฉพาะในระยะไกลความคมชัดจะน้อยมาก
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ใบนี้เปลี่ยนมาเป็นโมด A กำหนด f / 8 ส่วนทางยาวโฟกัสใช้เท่าเดิมเพื่อดูความแตกต่าง ปรากฏว่าความคมชัดที่ฉากหน้าชัดเจนมากขึ้น แต่ระยะกลาง + ไกลก็ยังไม่เข้าตาอยู่ดี
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
โดยทั่วไปที่ผ่านมาผมรับรู้มาตลอดว่าถ้าจะถ่ายเอาความชัดลึกสูงๆ ต้องปรับ f แคบๆ จะทำให้ได้ความชัดลึกสูง แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องความคมชัดที่อาจจะลดลงบ้างอันเนื่องมาจาก effect ของเลนส์แต่ละตัว แต่เพื่อให้หายสงสัย ใบนี้ f/22 สุดเพดานกันไปเลยดูซิว่าจะชัดได้ถึงไหน.......... ระยะชัดมากขึ้นจริง แต่ในการใช้งานกับภาพวิวที่มีช่วงเวลาในการถ่ายเป็นช่วงเช้า หรือช่วงเย็นเพื่อที่จะเก็บแสงสวยๆ ของพระอาทิตย์ f แคบขนาดนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ๆ ได้ แต่ก็มีขาตั้งกล้องมาช่วยได้ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
จากภาพใน คห. 6 เห็นได้ชัดว่าระยะใกล้ กลาง และไกลมีความคมชัดสูงขึ้น โดยเฉพาะสายไฟหลังสุดของภาพก็ยังสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีกี่เส้น !!! เมื่อเปรียบเทียบกับใบแรกๆ มองไม่ออกเลยว่าเป็นแนวสายไฟ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ขอตัวไปทำงานก่อนครับ......... ตอนค่ำๆ มาต่อใหม่
กระทู้: 27
ความเห็น: 35,920
ล่าสุด: 17-01-2568
ตั้งแต่: 08-08-2551
กระทู้: 0
ความเห็น: 3
ล่าสุด: 17-01-2568
ตั้งแต่: 04-09-2553
กระทู้: 10
ความเห็น: 4,611
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-10-2555
กระทู้: 10
ความเห็น: 4,556
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 31-10-2553
กระทู้: 21
ความเห็น: 3,469
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-08-2555
กระทู้: 18
ความเห็น: 1,163
ล่าสุด: 22-10-2567
ตั้งแต่: 25-10-2550
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ต่อกันต่อครับ คราวนี้มาถึงคิวพระเอกของเราครับ "Hyperfocal Distance" ในเมื่ออยากจะให้ระยะชัดมีค่าสูงที่สุดตามคำกล่าวอ้าง งั้นก็มาลองแทนค่าในสูตรดูตามที่ตั้งไว้ โดย กำหนดค่า FL = 8 mm. , f/8 , และ c = 0.02 (ค่าคงที่สำหรับเซนเซอร์ APS-C ของนิคอน)
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
หลังจากที่แทนค่าตามสมการเรียบร้อยก็ได้ค่า H = 0.41 m. หรือ 41 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะโฟกัสที่จะทำให้เกิดค่าความชัดลึกสูงสุดจนถึงระยะอนันต์ตามที่ว่า แต่ระยะของวัตถุฉากหน้าที่ตั้งไว้เมื่อใช้ AF ของกล้อง ก็ได้ความว่าวัตถุนั้นมีระยะห่างประมาณ 0.27 m. ตามสเกลบนเลนส์
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
อย่ากระนั้นเลยเมื่อเราทราบว่าระยะ "Hyperfocal" อยู่ที่ 0.41 m. นั้นตามทฤษฎี ระยะชัดในส่วนหน้าเข้ามาหากล้องจะมีค่าเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของระยะ H โดยประมาณ หมายความว่าที่ระยะ ประมาณ 0.20 - 0.41 ซึ่งเป็นระยะด้านหน้าจะคลุมมาถึง ถ้าพิจารณาตามรูปวัตถุของเราที่อยู่ที่ระยะ 0.27 m. ทำให้วัตถุยังชัดอยู่ ก็ตาม แต่ก็อย่างว่าวัตถุของเราก็ไม่ได้อยู่ที่ระยะโฟกัสที่จะให้ความคมชัดสูงสุดอยู่ดี
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ในเมื่อเป็นอย่างที่ว่า ลองมาดูกันดีกว่าว่าจะทำอะไรได้บ้างกับค่า H ที่หามาได้เราสามารถแก้สมการเพื่อหาค่าที่ต้องการได้ จากข้อมูลดังนี้ FL = 8 mm. ใช้ค่าเดิมเพราะจัดองค์ประกอบภาพไปเรียบร้อยลงตัวแล้ว, ค่า H ก็ใช้ระยะที่เป็นที่อยู่ของวัตถุแทนเข้าไปเลย, ค่า c = 0.02 เหลือค่า f/stop ที่ต้องหา อันนี้แหละที่เป็นเรื่องชวนปวดหัว เนื่องจากเป็นการแก้สมการ และความรู้เรื่องนี้ก็ได้ทำการส่งคืนให้กับคุณครูเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยสิ ต้องเดือดร้อนน้องข้างบ้านมาทำการแก้สมการให้ได้เป็นสูตรตามนี้ครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
สำหรับสมการนี้ก็เพื่อหาค่า f ที่จะทำให้ค่า H ย้ายที่มาทับวัตถุได้พอดีเพื่อให้วัตถุที่เป็นฉากหน้ามีความคมชัดสูงสุด ดังนั้นมาลองแทนค่ากันครับ
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
เรื่องจริงคือว่า f/12.214 มันไม่มีในกล้องตัวไหน เพราะฉะนั้นเราจะใช้ f/13, FL=8 และตั้ง แมนนวลโฟกัส ไปที่ 0.27 โหมด A เพื่อให้กล้องทำการคำนวณ Speed shutter ให้เรา (ส่วนการทดสอบค่าที่ได้ ให้เอา ค่า f/stop ที่ได้ไปแทนค่าในสูตรแรกเพื่อทดสอบค่า H ว่าตรงตามที่เราต้องการหรือไม่)
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ ง่วงแล้ว สำหรับรูปหลังการตั้งค่าใหม่ และสรุปรายละเอียดอีกเล็กน้อย ติดเอาไว้เป็นวันพรุ่งนี้นะครับ ราตรีสวัสดิ์.............. ขอบคุณน้าๆ ทุกท่านครับสำหรับการเยี่ยมชม
กระทู้: 44
ความเห็น: 2,748
ล่าสุด: 17-01-2568
ตั้งแต่: 24-05-2551
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ครับ หลังจากการกดชัตเตอร์โดยการตั้งค่าที่คำนวณไว้ ความคมชัดที่ได้สูงมากกว่าการใช้ f/22 นะผมว่า สังเกตุได้ทั้งระยะกลาง และระยะไกลไม่ว่าจะเป็นตึก เสาสัญญาณ หรือสายไฟฟ้าที่อยู่หลังสุด รวมทั้งแก้วน้ำซึ่งเป็นฉากหน้าก็ชัดเจนมากๆ ด้วย มันได้ผลจริงๆ ด้วย "จอร์จมันยอดมาก"
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
ลองดูรอยแตกที่พื้นดินในระยะใกล้ครับ ความเห็นผม ภาพจากการปรับค่าที่ได้จากการคำนวณ รอยแตกที่ว่าคม และชัดเจนมากกว่าทั้งรอยทางด้านซ้าย และขวา
กระทู้: 22
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-12-2550
เกี่ยวกับเรื่องของข้อจำกัดบ้างนะครับ
1. ระยะของฉากหน้า (วัตถุ) ที่ต้องการให้ชัดจะต้องอยู่ในระยะที่ไม่เกิน 1.00 m. จากกล้อง หากเกิน 1.00 m. ไปแล้วระยะชัดจะไม่สามารถคลุมถึงระยะอนันต์ได้ (จากการคำนวณด้วยสมการ) หมายความว่า สามารถใช้สมการนี้ได้ก็ต่อเมื่อเลนส์ที่ใช้สามารถโฟกัสภาพที่ตำแหน่งใกล้สุดต่ำกว่า 1 m. เท่านั้น
2. ทางยาวโฟกัสที่มากที่สุดที่สามารถใช้สมการ "Hyperfocal" นี้ได้ เท่ากับ 21 mm. ที่ f/22 ค่า H ที่ได้จะเท่ากับ 1.00 m. พอดี หากทางยาวโฟกัสมากกว่านี้จะไม่สามารถคำนวนระยะฉากหน้าไปหาระยะอนันต์ได้ ถึงได้ก็จะมีค่า f/stop ที่มากเกินกว่าจะสามารถตั้งให้กล้องตัวไหนทำงาน
3. เมื่อได้ค่า H หรือ f ที่ระยะ hyper เรียบร้อยแล้วจะต้อง manual focus เท่านั้นไม่อย่างนั้นกล้องจะโฟกัสไปที่ตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ hyperfocal อาจจะทำให้ความคมชัดโดยรวมของฉากหลังเปลี่ยนไปได้