แมงดาทะเลมีกี่ชนิด
แมงดาที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือแมงดาทะแลหางเหลี่ยม มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย และแมงดาถ้วย แมงดาทะแลหางกลม เห-รา หรือ แมงดาไฟ มีขนาดเล็กกว่า แมงดาจานและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลน
แมงดาชนิดไหนที่มีพิษ
ไข่ของเห-รา หรือแมงดาถ้วย และมีพิษในช่วงเดือน กพ.-มิย.
พิษของแมงดาทะเลอยู่ตรงไหน
พิษของแมงดาถ้วยน่าจะมาจาก 2 สาเหตุคือ
1. ตัวแมงดาถ้วยไม่มีพิษแต่เกิดจากแมงดาถ้วยไปกินตัวแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กิน แพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย
2. ตัวแมงดาถ้วยมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง
ความร้อนฆ่าพิษได้หรือไม่
เมื่อนำไข่หรือเนื้อมาปรุงหรือผัดให้สุกโดยเชื่อว่าความร้อนสามารถฆ่าพิษได้นั้น ความจริงแล้วความร้อนไม่สามารถ ฆ่าพิษได้เลย เนื่องจากเป็นพิษชนิดที่มีผลต่อระบบประสาทที่ความร้อนไม่สามารถทำลายเชื้อได้
กินแล้วจะมีอาการอย่างไร
อาการขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไปมากหรือน้อย มีอาการชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากพิษของ แมงดาทะเลเป็นพิษต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่
จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงที่ไม่กินแมงดาทะเลเพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอแมงดาทะเลที่มีพิษได้ แต่สำหรับคนที่ชอบกินแมงดาทะเลแล้วถ้าพบว่าหลังจากการกินแล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ทำการล้างท้อง ล้วงคอทำให้อาเจียน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้ หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ แบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดยทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล
ที่มาของข้อมูล ผศ.ดร.ผ่องศรี ทิพวังโกศล http://th.wikipedia.org/
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนตครับ