แมงดาทะเล หรือ แมงดา จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 4 ชนิด ใน 3 สกุล แต่พบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย และแมงดาจาน
แมงดาถ้วย หรือ แมงดาทะเลหางกลม มีรูปร่างกลมและกระดองนูนเหมือนชามหรือถ้วยคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม หางเรียวยาวเป็นทรงกลม กระดองมีสีเขียวเหลือบเหลืองคล้ำ ใช้สำหรับปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ พบอาศัยในทะเลโคลนแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ อาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร รวมหาง ในบางครั้งแมงดาถ้วยบางตัวและในบางฤดูกาลในประเทศไทยพบได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล แมงดาทะเลชนิดนี้ทั้งเนื้อและไข่มีพิษทุกฤดูกาล จึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด สาเหตุของการเกิดพิษในตัวแมงดาทะเลนั้น สันนิษฐานว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการที่ตัวแมงดาไปกินแพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ และตัวแมงดาเองมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง โดยอาการเมื่อรับพิษเข้าไป คือ มีอาการชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากเป็นพิษที่ผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
แมงดาจาน มีลักษณะกระดองแบนราบและกว้างกว่าแมงดาถ้วย หางมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยม มีสันซึ่งมีหนามเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวตามความยาวอยู่ตรงกลางด้านบนของหาง ตัวผู้มีขอจับพองออกเป็นกระเปาะ 2 คู่ พบกระจายทั่วไปในเขตชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย,สำหรับในประเทศไทยซึ่งพบแพร่กระจายชุกชุมทั้ง 2 ฟาก ในฝั่งทะเลอันดามันพบได้ตั้งแต่บริเวณ จังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรีถึงชุมพร ในฝั่งอ่าวไทยพบได้ที่ จังหวัดสมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรีจนถึงจันทบุรีจัดเป็นแมงดาทะเลชนิดที่รับประทานได้ โดยนิยมนำไข่และเนื้อมาย่าง หรือทำเป็นห่อหมก โดยที่พิษของแมงดาจานนั้น ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบ แต่ทว่าในต่างประเทศ มีรายงานพบประมาณ 10 เปอร์เซนต์ เช่นที่ สิงคโปร์
ทางจังหวัดชลบุรี เข้าจะไม่นิยมรับประทานในช่วง กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน คับ มีคำสั่งจากจังหวัดเตือนทุกปี
ซึ่งเป็นช่วงฤดูวางไข่ของแมงดา ซึ่งจะเป็นช่วงที่แมงดาจะชุกชุมมาก
ขอบคุณความรู้ข้างต้นจาก วิกีพีเดีย คับบบบบบ