เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันนะฮะ ผมกราบขออนุญาตเรียนอย่างนี้ว่า
ความผิดทางอาญาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดต่อส่วนตัว และ ความผิดต่อแผ่นดิน(ผิดต่อรัฐ)
1. ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงต้องเข้าดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้แม้ผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้วก็ตามเพื่อป้องกันสังคม เช่น ลักทรัพย์ กล่าวคือ เป็นความผิดอันยอมความมิได้
2.ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้น เมื่อผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จำต้องเข้ไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอีกต่อไป เช่น หมิ่นประมาท ในหมวดนี้ยอมความได้ฮะ
คดีลักทรัพย์มีอายุความ 10 ปีนะคับ
ขออนุญาตกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินคดีทางอาญาเพื่อเป็นความรู้ทั่วไปเล็กน้อยนะฮะ
1. ผู้เสียหายร้องทุกข์ ลงบันทึกประจำวัน
2. ตำรวจผู้รับผิดชอบสำนวน จะทำการรวบรวมพยานหลักฐาน หมายรวมถึงการเรียกพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์เพื่อสอบปากคำและจัดทำบันทึกคำให้การ (หากทราบตัวผู้ก่อเหตุเป็นอย่างดี(เนื่องจากทราบทะเบียนรถ) เดี๋ยวหมายเรียกก็จะไปที่หน้าบ้านมัน หากมันยังคงไม่มา หมายจับจะปรากฎ) จากนั้นจะทำการสรุปสำนวนลงความเห็นสั่งว่า ฟ้อง หรือ ไม่ฟ้อง และส่งต่อไปยังพนักงานอัยการ
3. พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวนจะทำการตรวจสำนวน เพื่อพิจารณาอีกทีว่า มีมูลเหตุในคดีเพียงพอที่จะ สั่งฟ้องหรือไม่
4. หากพนักงานอัยการมีคำสั่ง ฟ้อง ก็จะฟ้องคดีต่อศาลที่เกิดเหตุ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทางศาลต่อไปฮะ
ขอกราบรบกวน จขกท. ด้วยนะคับ ผมเป็นน้องใหม่ อยากจะขออธิบายเพื่อให้น้า ๆ ทุกท่านได้มีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับคดีอาญา ปล. หลายคดีที่ยังคงค้างอยู่ที่ สน. เนื่องจากหายตัวผู้ต้องหา(จำเลย) ไม่ได้คับ จึงยังไม่สามารถฟ้องเป็นคดีได้ หากน้าทราบทะเบียนรถ รูปพรรณสันฐาน(เขียนงี้ป่าวไม่รุ้) เด็ดฮะเด็ด รอดยาก ^^