อ้างถึง: แปลกจิง ๆ posted: 17-06-2553, 22:32:35
ลมพัดคลื่นซัดหาฝั่ง
แต่เหตุไฉนไยกระแสน้ำ
กลับฉุดดึงลงสู่ก้นบึ้งแห่งทะเล
คลื่นทะเล (wave) คลื่นเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำทะเล ซึ่งเป็นผลจากการกระทำของลม แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การหมุนตัวของโลกการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเกลือและความหนาแน่นของเกลือ
การเคลื่อนที่ของคลื่นเมื่อเข้าใกล้ฝั่งทะเลความเร็วจะสูงมากขึ้น และแตกออกเป็นคลื่นเล็ก ๆ เรียกว่า คลื่นหัวแตก (surf or breker) เกิดซ้ำ ๆ กันจนกว่าคลื่นจะเข้าถึงชายหาด
คลื่นมีอิทธิพลมากทั้งในกระบวนการสร้างและกระบวนการทำลายสภาพภูมิประเทศ คลื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด คือ ซึนามิหรือคลื่นใต้สมุทร (tsunami) คลื่นชนิดนี้เกิดจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุใต้ทะเล หรือเกิดจากการเลื่อนตัวของหินใต้พื้นหาสมุทร บางครั้งเรียกว่า คลื่นไทดอล (tidal wave) แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำขึ้นน้ำลงเลย ซึนามิมีช่วงความยาวคลื่นประมาณ 130-150 กม. อัตราเร็วประมาณ 600-1,000 กม./ชม. ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำทะเล ในทะเลปิดคลื่นจะสูงเพียง 30 ซม. เมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ฝั่งจะมีความสูงประมาณ 15 ม. ขึ้นไป
แรงกระทำของคลื่น (wave action) อิทธิพลของคลื่นมีส่วนทำให้เกิดการกัดกร่อนโดยตรง การกัดกร่อนชายฝั่งทะเลเกิดจากคลื่นกระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลามีหลายลักษณะ คือ
การชะหรือการซัดหาด (washing) หมายถึง การกัดกร่อนในช่วงการแตกตัวของคลื่นหัวแตก ซึ่งจะดันให้น้ำเคลื่อนที่ขึ้นมาและคืนถอยหลังลงสู่ทะเล
การเสียดสี (abrasion) เป็นลักษณะการกัดกร่อนของคลื่นน้ำซึ่งมีทรายและกรวดอยู่ด้วยเกิดจากทรายและกรวดครูดถูไปกับหินตามชายฝั่ง ทำให้หินสึกกร่อน
การถอนหลุดของหิน (plucking) เป็นการกัดกร่อนของคลื่นในลักษณะที่หินถูกคลื่นกระทบหลุดร่วงออกมาหรือถอนให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางของคลื่น
การบากเข้าไปหรือการเซาะหิน (notching) ได้แก่การที่คลื่นกัดกร่อนให้หินกิ่วลึกเข้าไปบริเวณหน้าผาริมฝั่งทะเลที่ถูกคลื่นกระทบอยู่เป็นประจำ จะมีลักษณะเป็นโพรงลึกเข้าไป
สรุปว่า
คลื่นไม่ได้ซัดเข้าฝั่งอย่างเดียวแต่มีการคืนถอยหลังลงสู่ทะเลด้วย