สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 17 ม.ค. 68
ศึกษาไว้มีข้อห้ามเฉพาะเป็นกฏหมายตกปลาก่อนโดนจับติดคุก: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 59 - [25 ก.พ. 53, 01:37] ดู: 20,452 - [17 ม.ค. 68, 12:58] โหวต: 17
ศึกษาไว้มีข้อห้ามเฉพาะเป็นกฏหมายตกปลาก่อนโดนจับติดคุก
กระทู้: 27
ความเห็น: 35,920
ล่าสุด: 17-01-2568
ตั้งแต่: 08-08-2551
fishingjoke(1263 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)online
ความเห็นที่ 26: 28 ม.ค. 53, 09:28
++เห็นด้วยครับ
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 27: 28 ม.ค. 53, 09:29
อุปกรณ์ตกปลา ก็ถือเป็น อุปกรณ์ประมง ตาม พรบ การประมง นะครับ ตามท้ายประกาศของกฤษฏีกา
กระทู้: 87
ความเห็น: 15,712
ล่าสุด: 12-11-2567
ตั้งแต่: 01-12-2549
ความเห็นที่ 28: 28 ม.ค. 53, 09:32
อ้างถึง: maltza posted: 28-01-2553, 09:09:46

ส่วนอันนี้ ไม่ได้ห้ามจับนะครับ แต่ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร

บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.  ๒๕๔๗

1 ปลาปากกลม (Hagfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Myxiniformes
2 ปลาแลมเพรย์ (Lamprey)  และปลาทุกชนิดใน Order Peteromyzontiformes
3 ปลาคาวชาร์ก (Cow Shark)  ปลาฟริล์ชาร์ก (Frill Shark )  และปลาทุกชนิดใน Order Hexanchiformes
4 ปลาฉลามหัวทู่ (Bullhead Shark และ Horn Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Orectolobiformes
5 ปลมฉลามวาฬ (Whale Shark)  ฉลามกบ (Nurse Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Orectolobiformes
6 ปลาฉลามเสือ (Sand Tiger Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Lamniformes
7 ปลาฉลามหัวค้อน (Hammerhead Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Charchariniformes
8 ปลาด็อกฟิชชาร์ก (Dogfish Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Squaliformes
9 ปลาซอว์ชาร์ก (Saw Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Pristiophoriformes 
10 ปลาแองเกิลชาร์ก (Angle Shark)  และปลาทุกชนิดใน Order Squatiniformes 
11 ปลาฉนาก (Sawfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Pristiformes
12 ปลากระเบนไฟฟ้า (Electric Ray)  และปลาทุกชนิดใน Order Torpediniformes 
13 ปลากระเบน (Skate Ray)  และปลาทุกชนิดใน Order Rajiformes
14 ปลาโรนัน (Guitarfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Rhinobatiformes
15 ปลากระเบนธง (Stinggray)  ปลากระเบนผีเสื้อ (Butterfly Ray)  และปลาทุกชนิดใน Order Myliobatiformes
16 ปลาไคมีรา (Chimaera)  และปลาทุกชนิดใน Order Chimaeriformes
17 ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon)  และปลาทุกชนิดใน Order Acipenseriformes 
18 ปลาไบเคอร์ (Bichir)  และปลาทุกชนิดใน Order Polypteriformes
19 ปลาการ์ (Gar)  และปลาทุกชนิดใน Order Lepisosteiformes
20 ปลาโบว์ฟิน (Bowfin)  และปลาทุกชนิดใน Order Amliformes
21 ปลาตะพัด (Bonytongue)  ปลากราย (Featherback)  และปลาทุกชนิดใน Order Osteoglossiformes
22 ปลาตาเหลือก (Tarpon)  และปลาทุกชนิดใน Order Elopiformes
23 ปลากระบอกยน (Bonefish)  และปลาทุกชนิดใน Order Albuliformes
24 ปลาฮาโลเซอร์ (Halosour)  และปลาทุกชนิดใน Order Notocanthiformes
25 ปลาตูหนา (True Eel)  ปลาหลดหิน (Moray)  และปลาทุกชนิดใน Order Anguilliformes
26 ปลาบ็อบเทลอีล (Bobtail Eel)  และปลาทุกชนิดใน Order Saccopharyngiformes 
27 ปลาหลังเขียว (Sardine)  ปลากะตัก (Anchovy)  และปลาทุกชนิดใน Order Clupeiformes
28 ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Gonorynchiformes 
29 ปลาซิว (Minnow)  ปลาตะเพียน (Carp)  ปลาหมู (Loach)  และปลาทุกชนิดใน Order Cypriniformes
30 ปลาแคแรซิน (Characin)  และปลาทุกชนิดใน Order Characiformes
31 ปลาเนื้ออ่อน (Sheat catfish)  ปลาสวาย (Catfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Siluriformes
32 ปลาไนต์ฟิช (Knightfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Gymnotiformes
33 ปลาแซมอน (Salmon)  ปลาเทราต์ (Trout)  และปลาทุกชนิดใน Order Salmoniformes
34 ปลาไพก์ (Pike)  และปลาทุกชนิดใน Order Esociformes
35 ปลาไข่ (Smelt)  และปลาทุกชนิดใน Order Osmeriformes
36 ปลาบริสเทิลเมาท์ (Bristlemouth)  ปลาแดรกอนฟิช (Dragonfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Stomiiformes
37 ปลาปากคม (Lizardfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Aulopiformes
38 ปลาเรืองแสง (Lantenfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Myctophiformes 
39 ปลาเทราต์เพิร์ช (Trout-Perch)  และปลาทุกชนิดใน Order Percopsiformes 
40 ปลาค็อด (Cod)  ปลาแฮดด็อก (Haddock)  และปลาทุกชนิดใน Order Gadiformes
41 ปลาเพิร์ลฟิช (Pearlfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Ophidiiformes 
42 ปลาคางคก (Toadfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Batrachoidiformes
43 ปลากบ (Frogfish)  ปลาตกเบ็ด (Anglerfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Lophiiformes
44 ปลาเกาะหิน (Clingfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Gobiesociformes
45 ปลากระบอก (Mullet)  และปลาทุกชนิดใน Order Mugiliformes
46 ปลาหัวแข็ง (Silverside)  ปลาเรนโบว์ฟิช (Rainbowfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Atheriniformes
47 ปลาหัวตะกั่ว (Panchax)  ปลาคิลลิฟิช (Killifish)  และปลาทุกชนิดใน Order Cyprinodontformes
48 ปลาเข็ม (Needlefish)  ปลากระทุงเหว (Haltbeak)  และปลาทุกชนิดใน Order Beloniformes
49 ปลาดาบทะเลลึก (Ribbonfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Lampriformes 
50 ปลาตาเรืองแสง (Lanterneye Fish)  ปลาข้าวเม่าน้ำลึก (Soldierfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Beryciformes
51 ปลาเรดเมาท์ (Redmouth)  และปลาทุกชนิดใน Order Cetomimiformes
52 ปลาดอรี (Dory)  และปลาทุกชนิดใน Order Zeiformes
53 ปลาม้าน้ำ (Sea horse)  ปลาปากแตร (Cornetfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Gasterosteiformes
54 ปลาไหล (Swamp eel)  ปลากระทิง (Spiny eel)  และปลาทุกชนิดใน Order Synbranchiformes
55 ปลาช้างเหยียบ (Flathead)  ปลาสิงโต (Scorpionfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Scorpaeniformes
56 ปลาทูน่า (Tuna)  ปลากะพง (Snapper)  และปลาทุกชนิดใน Order Perciformes
57 ปลาซีกเดียว (Flounder)  ปลาลิ้นหมา (Sole)  และปลาทุกชนิดใน Order Pleuronectiformes
58 ปลากล่อง (Boxfish)  ปลาวัว (Triggerfish)  ปลาปักเป้า (Puffer)  และปลาทุกชนิดใน Order Tetraodontiformes
59 ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth)  และปลาทุกชนิดใน Order Coelacanthiformes 
60 ปลาปอดออสเตรเลีย (Australian Lungfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Ceratodontiformes
61 ปลาปอดอเมริกาใต้ (South American Lungfish)  และปลาทุกชนิดใน Order Lepidosireniformes


ปล ไม่ได้ห้ามนำเข้าเด็ดขาดนะครับ การจะนำเข้าได้ ต้องได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น สังเกตุชื่อปลาสิครับ มีปลาที่เราๆ ตกกันหลายอยู่นา




ขอบคุณมากครับน้า maltza มีหลายชนิดเลยห้ามนำเข้าแต่ไม่ได้ห้ามตก มีแต่หมูอารีย์งงอีกแล้ว หน้าตามันเป็นยังไงเดี่ยวผมหาข้อมูลดูหน้าตามันก่อนครับน้า ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่ผมและชาวเวปสยามยังไม่ทราบกันครับ.......ไปพม่าหรือต่างประเทศไปตกมาอย่างนี้ก็โดนซิครับถ้าเจ้าหน้าที่จ้องจะจับ....ต้องปลาเป็นหรือตายครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 34
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 03-12-2552
ความเห็นที่ 29: 28 ม.ค. 53, 09:52
เห็นด้วย+++++
กระทู้: 15
ความเห็น: 11,050
ล่าสุด: 06-01-2568
ตั้งแต่: 05-01-2552
ความเห็นที่ 30: 28 ม.ค. 53, 13:05
กระทู้: 87
ความเห็น: 15,712
ล่าสุด: 12-11-2567
ตั้งแต่: 01-12-2549
ความเห็นที่ 31: 28 ม.ค. 53, 16:14
สงสัยจะไม่มีกฏหมายห้ามตกปลาแน่เลยบ้านเรา...คงมีแต่จะใช้รวมกับของส่วนสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกับข้อห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ของประมงหรือในเขตอุทยานหรือเขตรักษ์พันธุ์เท่านั้นเองใช่ไหมครับน้าๆ....




รอผู้รู้ต่อครับ


กระทู้: 20
ความเห็น: 3,062
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 03-06-2550
acconet(361 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 32: 28 ม.ค. 53, 16:28
ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ  ถ้าในกรณีที่กฏหมายเกี่ยวกับการตกปลาของไทยยังไม่ชัดเจน
อยากให้เพื่อนสมาชิกที่ได้มีโอกาสไปตกปลาเมืองนอกมาเล่ากฏหมายหรือระเบียบการตกปลาที่ต้องปฏิบัติตามให้ได้เป็นความรู้รอบตัวกันบ้างก็จะดีไม่น้อยเลยครับ
ยังไงก็รบกวนน้าเก่ง กับน้าเจ็กยอดด้วยครับ

กระทู้: 9
ความเห็น: 1,137
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-10-2550
tanit(138 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 33: 28 ม.ค. 53, 16:32
รับทราบ ครับ
กระทู้: 87
ความเห็น: 15,712
ล่าสุด: 12-11-2567
ตั้งแต่: 01-12-2549
ความเห็นที่ 34: 29 ม.ค. 53, 12:28
สงสัยจะไม่มีกฏในบ้านเราแบบตายตัว.....ในกระทู้หนึ่งผมอ่านเจอน้าท่านหนึ่งในเวปฯบอกว่าถ้าจะตกกระเบนราหูที่แม่น้ำแม่กลองหรือบางประกงหรือแม่น้ำในประเทศไทยนักตกปลาต้องมีใบอนุญาติในการตกปลาชนิดนี้ในประเทศไทยมีกลุ่มเดียวที่ตกได้(เฉพาะปลาชนิดนี้เท่านั้น)ผมเลยเกิดความสงสัยและครับกลัวเพื่อนๆในเวปเรา....ถ้าตกได้จะผิดกฏหมายเพราะผมเองก็เคยได้มาแต่ปล่อยไปครับไม่ใหญ่มากเลยงงครับ....จึงเกิดเป็นกระทู้เกิดขึ้นมาครับ


ไม่แน่ใจว่าสัตว์พวกนี้จัดอยู่ใน(สัตว์คุ้มครอง)หรือไม่แต่ค้นข้อมูลดูไม่เห็นมีบอกไว้เลยครับ...มีแต่พยูนที่เป็นสัตว์สงวน



ศึกษาไว้ก็ดีนะครับจะได้ไม่ติดคุกเวลาโดนจับ
กระทู้: 87
ความเห็น: 15,712
ล่าสุด: 12-11-2567
ตั้งแต่: 01-12-2549
ความเห็นที่ 35: 29 ม.ค. 53, 12:33
สัตว์ป่าจำพวกปลา
๑ ปลาจาดถ้ำ (Poropuntius speleops)
๒ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
๓ ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus)
๔ ปลาผีเสื้อถ้ำ (Cryptotora thamicola)
๕ ปลาค้อถ้ำ (Nemacheilus troglocataractus)
๖ ปลาค้อตาบอด (Schistura oedipus)
๗ ปลาค้อจารุธานินธร์ (Schistura jaruthanini)
๘ ปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi)
๙ ปลาค้อถ้ำพระไทรงาม (Schistura deansmarti)
๑๐ ปลาชะโอนถ้ำ (Pterocryptis buccata)
๑๑ ปลาตะพัด หรือ ปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
๑๒ ปลาติดหิน หรือ ปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
๑๓ ปลาเสือตอ หรือ ปลาเสือ หรือ ปลาลาด (Coius microlepis)







จะมีประเภทปลาพวกนี้ครับที่เป็นสัตว์คุ้มครองจับหรือตกผิดกฏหมายครับ....มีสิทธิติดคุกครับ.....เพื่อนๆ....ถ้าได้ก็รีบๆกินให้หมดไว้ๆครับ
กระทู้: 87
ความเห็น: 15,712
ล่าสุด: 12-11-2567
ตั้งแต่: 01-12-2549
ความเห็นที่ 36: 29 ม.ค. 53, 12:47
๑๕๘ โลมากระโดด (Stenella longirostris)
๑๕๙ โลมาแถบ (Stenella coeruleoalba)
๑๖๐ โลมาธรรมดา (Delphinus delphis)
๑๖๑ โลมาปากขวด (Tursiops aduncus)
๑๖๒ โลมาฟราเซอร์ (Lagenodelphis hosei)
๑๖๓ โลมาฟันห่าง (Steno bredanensis)
๑๖๔ โลมาลายจุด (Stenella attenuata)
๑๖๕ โลมาหลังโหนก (Sousa chinensis)
๑๖๖ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides)
๑๖๗ โลมาอิรวดี (Orcaella brevirostris)
๑๖๘ วาฬคูเวียร์ (Ziphius carvirostris)
๑๖๙ วาฬนำร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus)
๑๗๐ วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
๑๗๑ วาฬเพชรฆาต (Orcinus orca)
๑๗๒ วาฬเพชรฆาตดำ (Pseudorca crassidens)
๑๗๓ วาฬเพชรฆาตเล็ก (Feresa attenuata)
๑๗๔ วาฬฟันสองซี่ (Mesoplodon ginkgodens)
๑๗๕ วาฬฟิน (Balaenoptera physaius)
๑๗๖ วาฬหัวแตงโม (Peponocephala electra)
๑๗๗ วาฬหัวทุย (Physeter macrocepalus)
๑๗๘ วาฬหัวทุยแคระ (Kogia simus)
๑๗๙ วาฬหัวทุยเล็ก (Kogia breviceps)











ส่วนอันนี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเลเป็นสัตว์คุ้มครองเหมือนกันครับ
กระทู้: 23
ความเห็น: 5,423
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 06-02-2552
ความเห็นที่ 37: 29 ม.ค. 53, 13:35


สวัสดีครับน้า 
กระทู้: 83
ความเห็น: 1,402
ล่าสุด: 25-08-2567
ตั้งแต่: 02-11-2550
ความเห็นที่ 38: 29 ม.ค. 53, 15:53
ขออนุญาตนะครับน้า

นี่คือหน้าตาเจ้าหมูอารีย์ครับ  อยากรู้เลยไปค้นมา :grin:
ขออนุญาตนะครับน้า

นี่คือหน้าตาเจ้าหมูอารีย์ครับ  อยากรู้เลยไปค้นมา
กระทู้: 83
ความเห็น: 1,402
ล่าสุด: 25-08-2567
ตั้งแต่: 02-11-2550
ความเห็นที่ 39: 29 ม.ค. 53, 15:56
พึ่งรู้เหมือนกันครับ  ได้ยินชื่อแต่ไม่เคยเห็นตัวสักที ตกปลามาก็นานเห็นแต่หมูแม่น้ำธรรมดาตัวสีส้มๆ เจ้านี่ลาย มาเลยครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 2,292
ล่าสุด: 17-01-2568
ตั้งแต่: 16-04-2551
a40(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 40: 29 ม.ค. 53, 16:03
กระทู้: 95
ความเห็น: 9,946
ล่าสุด: 02-01-2568
ตั้งแต่: 04-12-2551
noch(888 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 41: 30 ม.ค. 53, 06:25
กระทู้: 2
ความเห็น: 1,083
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-01-2552
ความเห็นที่ 42: 22 ก.พ. 53, 23:07
ปลาเสือตอ ปลาตะพัด(มังกรไทย) ก็ห้ามเหมือนกันครับ แต่กฎหมายก็ยังไม่ชัดเจนเท่าใหร่ ว่าห้ามจับ ห้ามซื้อขาย หรือห้ามครอบครองด้วย เท่าที่รู้เสือตอไทยไม่มีแล้ว(ผมไม่ได้ข่าวมาเกิน10ปีแล้ว เศร้าจริงๆๆ) แต่ตะพัดถึงมีก็เหลือน้อยเต็มทีครับ อยากรู้เหมือนกัน 
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 22 ก.พ. 53, 23:17
บัญชีราย ชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ

สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม
1 โลมากระโดด Stenella longirostris
2 โลมาแถบ Stenella coeruleoalba
3 โลมาธรรมดา Delphinus delphis
4 โลมาปากขวด Tursiops aduncus
5 โลมาฟราเซอร์ Lagenodelphis hosei
6 โลมาฟันห่าง Steno bredanensis
7 โลมาลายจุด Stenella attenuate
8 โลมาหลังโหนก Sousa chinensis
9 โลมาหัวบาตรหลังเรียบ Neophocaena phocaenoides
10 โลมาอิรวดี Orcaella brevirostris
11 วาฬคูเวียร์ Ziphius cavirostris
12 วาฬนำร่องครีบสั้น Globicephala macrorhynchus
13 วาฬบรูด้า Balaenoptera edeni
14 วาฬเพชฌฆาต Orcinus orca
15 วาฬเพชฌฆาตดำ Pseudorca crassidens
16 วาฬเพชฌฆาตเล็ก Feresa attenuate
17 วาฬฟันสองซี่ Mesoplodon ginkgodens
18 วาฬฟิน Balaenoptera physaius
19 วาฬหัวแตงโม Peponocephala electra
20 วาฬหัวทุย Physeter macrocepalus
21 วาฬสเปอร์มแคระ Kogia simus
22 วาฬหัวทุยเล็ก Kogia breviceps


สัตว์ เลื้อยคลาน
1 จระเข้น้ำเค็ม Crocodylus porosus
2 จระเข้น้ำจืด Crocodylus siamensis
3 ตะโขง Tomistoma schleglii
4 ตะพาบหรือปลาฝา Amyda cartilaginea
5 ตะพาบหัวกบหรือกราวเขียดหรือกริวดาว Pelochelys bibroni
6 ตะพาบแก้มแดงหรือ ปลาฝาดำ Dogania subplana
7 ตะพาบข้าวตอกหรือตะพาบดาว Amyda cartilaginea nakornsritamaratensis
8 ตะพาบพม่า Nilssonia formosa
9 ตะพาบม่านลายหรือกราวลายหรือกริวลาย Chitra chitra
10 เต่ากระ Eretmochelys imbricata
11 เต่ากระอาน Batagur baska
12 เต่าตนุ Chelonia mydas
13 เต่าทะเลลอกเกอร์เฮดหรือเต่าหัวฆ้อนหรือเต่าหัวโต Caretta caretta
14 เต่ามะเฟือง Dermochelys coriacea
15 เต่าหกหรือเต่าหกเหลือง Manouria emys
16 เต่าหญ้าตาแดงหรือเต่าสังกะสีหรือเต่าทะเลริดเลย์ Lepidochelys olivacea
17 เต่านา Malayemys subtrijuga
18 เต่าลายตีนเป็ดหรือเต่าหัวแดง Callagur boneoensis
19 เต่าจาน Batagur baska ranongensis


ปลา
1 ตะพัดหรืออโรวาน่า Scleropages formosus
2 ติดหินหรือค้างคาว Oreoglantis siamensis
3 เสือตอหรือเสือหรือลาด Datnioides microlepis
4 หมูอารีย์ Botia sidthimunkii
5 จาดถ้ำ Poropuntius speleops
6 ฉลามวาฬ Rhincodon typus
7 พลวงถ้ำ Neolissochilus subterraneus
8 ผีเสื้อถ้ำ Cryptotora thamicola
9 ค้อถ้ำ Nemacheilus troglocataractus
10 ค้อตาบอด Schistura oedipus
11 ค้อจารุธานินธร์ Schistura jaruthanini
12 ค้อถ้ำพระวังแดง Schistura spiesi
13 ค้อถ้ำพระไทรงาม Schistura deansmarti
14 ชะโอนถ้ำ Pterocryptis buccata

สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
1 กบเกาะช้าง Rana kohchangae
2 กบดอยช้าง Rana aenea
3 กบท่าสาร Ingerana tasanae
4 กบทูดหรือเขียดแลว Rana blythii
5 กบอกหนาม Rana fasciculispina
6 กะทั่งหรือกะท่างหรือจักกิ้มน้ำ Tylototriton verrucosus
7 คางคกขายาว Leptophryne borbonica
8 คางคกต้นไม้ Pedostibes hosii
9 คางคกเล็กหรือคางคกแคระ Bufo parvus
10 คางคกห้วยมลายู Ansonia malayana
11 คางคกหัวเรียบ Bufo macrotis
12 จงโคร่ง Bufo asper


สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
1 กัลปังหาดำทุกชนิดในอันดับ (Order) Antipatharia
2 กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ (Order) Gorgonacea
3 ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) Scleractinia และในอันดับ (Order) Stylasterina
4 ปะการังไฟทุกชนิดในสกุล (Genus) Milleporina
5 ปะการังสีฟ้าทุกชนิดในอันดับ (Order) Heliopracea
6 ปะการังอ่อนทุกชนิดในอันดับ (Order) Alcyonacea
7 ดอกไม้ทะเลทุกชนิดในอันดับ (Order) Actinaria
8 หอยมือเสือทุกชนิด Tridacna spp.
9 หอยสังข์แตร Charonia tritonis
10 ปูเจ้าฟ้า Phricotelphusa sirindhorn
11 ปูราชินี Demanietta sirikit
12 ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง Thaipotamon chulabhorn

ครบแระครับ ดูเอาครับ ประเภทปลา กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดูให้ดีๆนะครับ
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 44: 22 ก.พ. 53, 23:20
แถมท้ายนะครับ ยาวหน่อยครับ แต่ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่สงสัยกันแน่นอนครับ
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 45: 22 ก.พ. 53, 23:21
ชนิดปลาที่เป็นสัตว์ป่าซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มี 4 ประเภทดังนี้
    1. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง มี 4 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
          2) ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
          3) ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
          4) ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
    2. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ มี 2 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
          2) ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    3. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ กำหนดมี 13 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาสเตอร์เจียนจมูกสั้น (Acipenser brevirostrum)
          2) ปลาสเตอร์เจียนแอตแลนติค (Acipenser oxythynchus)
          3) ปลาสเตอร์เจียน (Acipenser sturio)
          4) ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด (Chasmistes cujus)
          5) ปลาปอดออสเตรเลีย (ปลาโบราณ) (Neoceratodus forsteri)
          6) ปลาซีลาแคนท์ (ปลาโบราณ) (Latimeria chalumnae)
          7) ปลาตะเพียนตาบอดอาฟริกา (caecobabus geertsi)
          8) ปลายี่สก (Probabus jullieni)
          9) ปลาช่อนยักษ์, ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas)
          10) ปลาตะพัด, ปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
          11) ปลาจวดแมคโดนัล (Cynoscion macdonaldi)
          12) ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodon spathula)
          13) ปลาบึก (Pangasianodon gigas)
    4. ปลาที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญา CITES
      ก. ปลาที่อยู่ในบัญชี 1 มีจำนวน 8 ชนิด
          1) ปลาสเตอร์เจียนจมูกสั้น (Acipenser brevirostrum)
          2) ปลาสเตอร์เจียน (Acipenser sturio)
          3) ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด (Chasmistes cujus)
          4) ปลาซีลาแคนท์ (ปลาโบราณ) (Latimeria chalumnae)
          5) ปลายี่สก (Probabus jullieni)
          6) ปลาตะพัด, ปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
          7) ปลาจวดแมคโดนัล (Cynoscion macdonald)
          8) ปลาบึก (Pangasianodon gigas)
      ข. ปลาที่อยู่ในบัญชี 2 มีจำนวน 6 รายการ
          1) ปลาสเตอร์เจียนแอตแลนติค (Acipenser oxythynchus)
          2) ปลาปอดออสเตรเลีย (ปลาโบราณ) (Neoceratodus forsteri)
          3) ปลาช่อนยักษ์, ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas)
          4) ปลาตะเพียนตาบอดอาฟริกา (Caecobabus geertsi)
          5) ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodon spathula)
          6) ปลาสเตอร์เจียนในอันดับ ACIPENSERIFORMES
หมายเหตุ ปลา ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด เป็นชนิดเดียวกับปลาที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญา CITES

กิจกรรมที่กฎหมายควบคุม มีจำนวน 7 ประเภท ดังนี้
    1. การล่า
    2. การเพาะพันธุ์
    3. การครอบครอง
    4. การค้า
    5. การนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน
    6. การเคลื่อนย้าย
    7. สวนสัตว์สาธารณะ

แนวทางการตรวจ สอบกิจกรรมที่กฎหมายควบคุม
    1. การตรวจสอบการล่า
    2. การตรวจสอบสถานที่เพาะพันธุ์
    3. การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครอง
    4. การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
    5. การตรวจสอบการค้า
    6. การตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน
    7. การตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ

การ ตรวจสอบการล่า
    "ล่า" หมายความว่า เก็บ ตัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึงการไล่ การต้อน การเรียก หรือการล่อ เพื่อการกระทำดังกล่าวด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามล่า
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
    4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ข้อยกเว้น
    1. การกระทำของทางราชการเพื่อวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครอง การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ โดยต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน
    2. ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์หรือผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการ สวนสัตว์สาธารณะ ที่ให้ทางราชการกระทำการล่า เพื่อกิจการเพาะพันธุ์ หรือกิจการสวนสัตว์สาธารณะของตนและได้รับรับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมง ก่อนเช่นกัน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
    มาตรา 7, มาตรา 16, มาตรา 26, มาตรา 47, และมาตรา 57

การตรวจ สอบสถานที่เพาะพันธุ์
    "เพาะพันธุ์" หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงไว้โดยวิธีผสมพันธุ์สัตว์ป่าและหมายความรวม ถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยวิธีผสมเทียม หรือการย้ายฝากตัวอ่อนด้วย
ชนิด ปลาที่ห้ามเพาะพันธุ์
    1. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
    2. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ชนิด ปลาที่เพาะพันธุ์ได้
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
เอกสารที่ตรวจสอบ
    ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.9)

เงื่อนไข
          1) ต้องดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาตามโครงการเพาะพันธุ์ที่ยื่นไว้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
          2) ต้องมีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำ ควบคุมและดูแลรักษาปลา
          3) ดูแลปลาให้อยู่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่
          4) จัดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงดูปลาให้เหมาะสม มิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่บุคคลที่อยู่ใกล้เคียง
          5) ต้องจัดทำบัญชีแสดงชนิดและจำพวกปลาที่มีอยู่ไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ เพื่อให้พนักงานเจ้า  หน้าที่ตรวจสอบได้ และต้องยื่นบัญชีประจำปีให้ยื่นปีละสองครั้ง โดยยื่นในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ของแต่ละปี
          6) กรณีผู้รับใบอนุญาตจะเพาะพันธุ์ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ เพิ่มเติมในระหว่างที่ดำเนินกิจการ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งข้อมูลและจัดทำบัญชีของปลาดังกล่าว ก่อนที่จะดำเนินการเพาะพันธุ์
          7) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้ง ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
          8) ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราช บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ข้อยกเว้น
    1. ผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ไม้ต้องแจ้งการครอบครองปลาที่มีไว้เพื่อการเพาะ พันธุ์หรือปลาที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
    2. ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ สามารถเพาะพันธุ์ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองได้ทุก ชนิด แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงให้เพาะพันธุ์ปลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่กิจการสวนสัตว์สาธารณะของตน
บทบัญญัติที่เกี่ยว ข้อง
    มาตรา 18, มาตรา 19, มาตรา 26, มาตรา 47, และมาตรา 48

การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครอง
ชนิดปลา ที่ห้ามครอบครอง
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
    4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ผู้มีสิทธิครอบครอง
    1. ผู้ครอบครองอยู่ก่อนที่วันที่ 9 มกราคม 2538 และมาแจ้งการครอบครองต่อกรมประมง ใน
ระหว่างวันที่16 มกราคม ถึงวันที่ 15 เมษายน 2538 ให้ตรวจสอบเอกสาร ดังนี้
          1) กรณีเป็นสัตว์น้ำมีชีวิต - ใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.2)
          2) กรณีเป็นสัตว์น้ำไม่มีชีวิต - ใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง (สป.3)
    2. ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.9) ดูการตรวจสอบสถานที่เพาะพันธุ์
    3. ผู้รับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) ดูการตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
    4. ผู้รับใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11) ดูการตรวจสอบการค้า
    5. ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21) ดูการตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ
    6. หน่วยราชการที่ทำการศึกษาและวิจัยทางวิชาการการคุ้มครองสัตว์ป่า หรือการเพาะพันธุ์
โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
เงื่อนไข
    1. ผู้รับใบอนุญาต สป.2 ต้องเลี้ยงดูปลาดังกล่าวไว้ในครอบครอง ในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตและดูแลด้วยความเอาใจใส่ในสภาพอันสมควรและ ปลอดภัยตามชนิดของปลานั้น
    2. ผู้รับใบอนุญาต สป.3 ต้องเก็บรักษาซากของปลานั้นไว้ในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบ รับรอง
กรณีผู้ รับใบอนุญาต สป.2 หรือ สป.3 มีความจำเป็นต้องนำปลาหรือซากของปลาไปเก็บไว้
สถาน ที่อื่นที่มิใช่สถานที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือใบรับรอง ต้องยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสถานที่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงดำเนินการ ย้ายได้
    3. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนปลาแตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือใบ รับรอง ผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
    มาตรา 19, มาตรา 26 และมาตรา 47

การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากเพาะ พันธุ์
ชนิดปลาที่ครอบครองได้
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus) ที่ได้มาจากเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
เอกสาร ที่ตรวจสอบ
ใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจาก การเพาะพันธุ์ (สป.15)
เงื่อนไข
    1. ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตต้องดูแลปลาให้อยู่ในสภาพอันสมควรและ ปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่
    2. ต้องจัดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงปลาให้เหมาะสม มิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่บุคคลที่อยู่ใกล้เคียง
    3. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้งต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้ครอบครอง
    4. ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราช บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
    5. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนปลาหรือซากปลาดังกล่าวไปจากจำนวนที่ได้รับอนุญาต ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
บท บัญญัติที่เกี่ยวข้อง
    มาตรา 19, และมาตรา 49

การตรวจสอบการค้า
    "ค้า" หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามค้า
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreglanis siamensis)
    4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ชนิดปลา ซากของปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากปลาดังกล่าวที่ค้าได้
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
เอกสาร ที่ตรวจสอบ
          1) ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11)
          2) บัญชีรับและจำหน่ายสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดตามแบบที่ อธิบดีกรมประมงกำหนด โดยเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่รับหรือจำหน่ายสัตว์ป่า ซากหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
เงื่อนไข
          1) ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
          2) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้งต้องแสดงใบอนุญาตในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้ครอบครอง
          3) ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราช บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
          4) ผู้รับอนุญาตต้องทำบัญชีรับและจำหน่ายสัตว์ป่าดังกล่าวโดยมีรายละเอียดตาม แบบที่อธิบดีกรมประมง
          5) กำหนด โดยเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ใช้ดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่รับหรือจำหน่ายสัตว์ป่า ซากหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
          6) หากนำสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้าต้องได้รับใบ อนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13) โดยมีอายุไม่เกิน 5 วันนับแต่วันออกใบอนุญาต
ข้อยกเว้น
ผู้รับใบอนุญาต ไม่ต้องขออนุญาตครอบครองปลาที่ได้รับอนุญาตให้ค้า
บทบัญญัติที่ เกี่ยวข้อง
มาตรา 20, และมาตรา 47

มาตรการตรวจสอบการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน
    "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
    "ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
    "นำผ่าน" หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักร
    พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ควบคุมการนำเข้าส่งออกหรือนำผ่านสัตว์ป่าจำพวกปลาและซากของปลาดังกล่าว จำนวน 4 ประเภท ดังนี้
          1) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 4 ชนิด
          2) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ จำนวน 2 ชนิด
          3) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด จำนวน 13 ชนิด
          4) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าในบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จำนวน 14 รายการ
(ดูชนิดปลาที่ เป็นสัตว์ป่าซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย)
    โดยแบ่งการตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ชนิดปลาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    1. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เอกสารที่ตรวจสอบ
          การนำผ่าน - ใบอนุญาตนำผ่าน (สป.6)
          การนำเข้าหรือส่งออก - ไม่สามารถกระทำได้
- ยกเว้น ดำเนิน การโดยทางราชการซึ่งได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมง
    2. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
        เอกสารที่ตรวจสอบ
          การนำผ่าน - ไม่ต้องขออนุญาต
          การนำเข้าหรือส่งออก - ใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก (สป.5)
    3. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกร ณประกาศกำหนดและปลาที่เป็นสัตว์ป่าตามบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
        เอกสารที่ตรวจสอบ
          การนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน - ใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน (สป.5)
เงื่อนไข
          1) ผู้รับใบอนุญาต ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า
          2) ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านตามที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จสิ้นภายในระยะเวลากำหนดไว้ในใบ อนุญาต
          3) กรณีที่สัตว์ป่าที่นำเข้ามามีจำนวนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นเป็นกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนิน กิจการสวนสัตว์สาธารณะ
          4) ใบอนุญาต 1 ฉบับ ใช้ขนส่งได้เพียงเที่ยวเดียว
          5) การขนส่งปลามีชีวิต จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดอันตรายหรือเกิดการบาดเจ็บหรือเป็น การทารุณ
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
    มาตรา 23, มาตรา 24, มาตรา 26, มาตรา 28, มาตรา 47, มาตรา 48 และมาตรา 52

การตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ
    "สวนสัตว์สาธารณะ" หมายความว่า สถานที่ หรือบริเวณซึ่งรวบรวมสัตว์ป่าไว้ เพื่อประโยชน์แก่การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา การค้นคว้า หรือวิจัยของประชาชนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ป่า
ชนิด ปลาที่ควบคุม
    ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 4 ชนิด รวมทั้งปลาชนิดอื่นด้วย
เอกสารที่ตรวจสอบ
    ใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21)
เงื่อนไข
          1) ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจลงนามในใบอนุญาต การต่ออายุอาจจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาตหรือจะออกใบอนุญาตตามแบบเดิมให้ ใหม่ก็ได้
          2) ต้องมีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำ ประจำสวนสัตว์สาธารณะ
          3) จำนวนและขนาดของปลาต้องมีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับขนาดของบ่อตู้ หรือสิ่งอื่นที่เป็นที่อยู่
          4) จัดสภาพสถานที่อยู่ของปลาให้มีความเหมาะสมและดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติได้โดย ปกติสุขตามชนิดของปลานั้น
          5) ในกรณีที่มีการจัดให้มีการแสดงของปลา ต้องไม่เป็นการทรมานหรืออาจเป็นอันตรายต่อปลา
          6) จัดให้มีระบบป้องกันมลพิษตามมาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่ง แวดล้อม
          7) จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับประชาชนที่เข้าชมและที่อาศัยอยู่บริเวณ ใกล้เคียงสวนสัตว์สาธารณะ
          8) ต้องยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาต โดยต้องอำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตาม หน้าที่ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพะอาทิตย์ตก
          9) สวนสัตว์สาธารณะต้องมีสถานที่และบริเวณที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้ เคียง
          10) ต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
          11) ต้องจัดทำเครื่องหมาย หรือหลักฐานประจำตัวตามระเบียบที่อธิบดีกรมประมงกำหนด
          12) กรณีผู้รับใบอนุญาตประมงจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังของสถานที่อยู่ของ ปลาหรือบริเวณที่ตั้งของสวนสัตว์สาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ของสัตว์ป่าหรือความปลอดภัยของประชาชนที่เข้าชมและที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ เคียง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิปดีกรมประมง
ข้อยกเว้น
    1. ไม่ต้องมีใบอนุญาตให้ครอบครองปลาหรือซากปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองสามารถ เพาะพันธุ์ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองได้ทุกชนิด แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงให้เพาะพันธุ์ปลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่กิจการสวนสัตว์สาธารณะของตน
บทบัญญัติที่เกี่ยว ข้อง
มาตรา 29, มาตรา 30, มาตรา 31 , มาตรา 32 และมาตรา 48
เครื่อง หมายประจำตัวปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
    ปลามีชีวิต - ใช้วิธีบันทึกภาพหรือฝังไมโครชิป
    ปลาไม่มีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์ - ใช้วิธีติดแผ่นโลหะหรือแผ่นพลาสติกหรือติดสติกเกอร์หรือฉลาก

ผู้ที่ต้องทำเครื่องหมายประจำตัวปลา
    1. ผู้ขออนุญาตเพาะพันธุ์
    2. ผู้ขออนุญาตครอบครอง
    3. ผู้ขออนุญาตค้าปลาตะพัด
    4. ผู้ขออนุญาตนำเข้า
    5. ผู้ขออนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ

แนวปฏิบัติการดำเนินการเกี่ยวกับปลาที่เป็นของกลาง
    โดยปกติการเก็บรักษาของกลางเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งพนักงานสอบสวน แต่เนื่องจากปลาที่ตกเป็นของกลางอาจจะเป็นปลาที่มีชีวิตหรือเสียชีวิตใน ระหว่างการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สะดวกในการเก็บรักษา อีกทั้งปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นจัดอยู่ในประเภทของกลางที่เจ้า หน้าที่ตำรวจไม่ควรขาย เนื่องจากหากเป็นของกลางที่ได้มาจากการกระทำผิด ศาลจะสั่งริบทั้งสิ้น และบุคคลไม่อาจมีได้โดยไม่ผิดกฎหมาย โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งมอบของกลางให้เจ้าหน้าที่ประมงไปเก็บรักษา ซึ่งสมควรดำเนินการดังนี้
    1. กรณีเป็นปลามีชีวิต - ให้สถาบัน ศูนย์ หรือสถานีประมงที่มีงานที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของกลาง เช่น กรณีของกลางเป็นปลาน้ำจืดก็ควรเป็นสถานีประมงน้ำจืด เป็นต้น ซึ่งเป็นุหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่เป็นผู้ดูแลรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย โดยให้อาหารเลี้ยงดูตามปกติที่หน่วยงานเลี้ยงดูปลาชนิดอื่นที่มีอุปนิสัย ใกล้เคียงกัน
    2 หากปลาเสียชีวิตในระหว่างการจับกุมหรือการดูแลรักษาให้แช่แข็งหรือดองฟอร์มา ลีนไว้
    3 เมื่อศาลมีคำพิพากษาตัดสินให้ริบของกลางและคดีสิ้นสุดลงแล้ว ให้ผู้ดำเนินการจับกุมรายงานและเสนอความเห็นในการดำเนินการเกี่ยวกับของกลาง ดังกล่าวต่ออธิบดีกรมประมงต่อไป
กระทู้: 42
ความเห็น: 5,950
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 18-08-2548
aum126(539 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 46: 22 ก.พ. 53, 23:24
มาเก็บความรู้
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 47: 22 ก.พ. 53, 23:26
ยาวหน่อยนะครับ แต่ครบถ้วนชัวร์ 100% จริงๆ กระทู้นี้เคยตอบไปนานแล้ว พอดีเห็นกระทู้วนขึ้นมาอีก เลยขอเติมให้ครบเลยนะครับ
ย้อนมาข้อสงสัย ที่บ่อตกปลาหลายๆที่ ดังๆ ที่มีปลาตะพัด ให้ตก อิอิ อันนี้ก็เป็นเทคนิคในทางกฎหมายแล้วนะครับ
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 48: 22 ก.พ. 53, 23:33
เฉลยดีกว่า เด๋วน้าๆทั้งหลายจะตาลายแล้วงง พาลจะไม่กล้าไปตกกันซะหมด

ดูบรรทัดท่อนนี้นะครับ

***************************************************************


    "ล่า" หมายความว่า เก็บ ตัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึงการไล่ การต้อน การเรียก หรือการล่อ เพื่อการกระทำดังกล่าวด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามล่า
    1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
    2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
    4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ข้อยกเว้น
    1. การกระทำของทางราชการเพื่อวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครอง การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ โดยต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน
    2. ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์หรือผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการ สวนสัตว์สาธารณะ ที่ให้ทางราชการกระทำการล่า เพื่อกิจการเพาะพันธุ์ หรือกิจการสวนสัตว์สาธารณะของตนและได้รับรับหนังสืออนุญาตจากอธิบดี

************************************************
เห็นไหมครับว่ากฎหมายเปิดช่องไว้ว่า "ล่า" หมายความว่า เก็บ ตัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่เป็นอิสระ ดังนั้นหากปลาตะพัดนั้น มีเจ้าของ และเพาะพันธุ์หรือได้รับอนุญาตครอบครองด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ก็ล่าได้ครับ บ่อ.... และบ่อ.......... ไม่ต้องตกใจนะครับ เว้นแต่ บ่อนั้นๆ ไม่มีใบอนุญาตครับ  ในทางกลับกัน เพื่อนๆ น้าๆ ทั้งหลายไปตกปลาตามเขื่อน หรือแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วเจอปลาตะพัด มากินเบ็ด ก็ตัวใครตัวมันครับ(แต่ต้องดูองค์ประกอบความผิดในเรื่องของเจตนาด้วยครับ หากไม่มีเจตนาก็ไม่ผิด) เพราะ การตกปลาถือเป็นการล่าในความหมายทางกฎหมายนี้แล้วครับ การตกปลาก็คือการ ล่อ ตามความหมายของการล่าครับ 
กระทู้: 0
ความเห็น: 32
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 30-10-2551
ความเห็นที่ 49: 23 ก.พ. 53, 00:40
ความรู้ใหม่ครับ....
กระทู้: 73
ความเห็น: 1,360
ล่าสุด: 21-11-2567
ตั้งแต่: 28-07-2552
maltza(1135 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 50: 23 ก.พ. 53, 08:20
ลืมบอกไปว่าใบอนุญาตนั้น ไม่ใช่ว่าได้มาง่ายๆ นะครับ เพราะ ยังไงก็ผิดอยู่ดีครับ ทำได้แต่อาจต้องใช้เทคนิคทางกฎหมายเพิ่มเติมครับ (กฎหมายก็ยังมีช่องโหว่อยู่)
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 >
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=77867&begin=25