สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 8 ม.ค. 68
การธงปลาและปักเบ็ด: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 51 - [19 ก.ค. 52, 09:44] ดู: 26,870 - [7 ม.ค. 68, 20:28] โหวต: 12
การธงปลาและปักเบ็ด
กระทู้: 131
ความเห็น: 18,073
ล่าสุด: 03-01-2567
ตั้งแต่: 25-02-2550
khainui2511(8093 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 17 ก.ค. 52, 16:25
งั้น ไปด้วยกันเลย กำลังระลึกความหลังอยู่


โฮ่ๆๆๆๆๆ.....คงมันสสสสสสส์...น่าดูเลย ขนาดเมื่อปี 2542 ผมเอาเบ็ดกามาเนี่ยแหละเป็นตาเบ็ด กินตัวไหน เป็นเสร็จทุกราย....โดยเฉพาะเกี่ยวหางเหยื่อลูกอ๊อด....ปลาช่อนตัวโต ๆ ....หืออออ....ไม่อยากบรรยายเลยน้าดาว...
กระทู้: 4
ความเห็น: 314
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-07-2550
knchlrd(23 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 27: 17 ก.ค. 52, 16:33
ลุยเลยครับน้า ถ้าเป็นไส้เดือนเน่าได้ปลาไหลอีกด้วย
กระทู้: 72
ความเห็น: 7,791
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 03-05-2550
ความเห็นที่ 28: 17 ก.ค. 52, 16:46
แล้วจะคอยชมครับ...เป็นวิธีหาปลาเลี้ยงชีพที่นักตกปลาหลายคนอาจไม่เคยรู้และเคยเห็น
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,550
ล่าสุด: 04-01-2568
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 29: 17 ก.ค. 52, 18:07
ชิวๆครับ
กระทู้: 2
ความเห็น: 107
ล่าสุด: 10-09-2567
ตั้งแต่: 08-07-2551
ความเห็นที่ 30: 17 ก.ค. 52, 18:22
+ อยากเล้าใจต้องเบ็ดกบ รอย้อนอดีดเหมือนกันครับ
กระทู้: 101
ความเห็น: 12,290
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-01-2552
ความเห็นที่ 31: 17 ก.ค. 52, 18:48
มาเร็วเลยครับน้า...นึกถึงความหลัง...ตอนประจำอยู่อีสาน  สนุกมาก ปลาหมอนา ปลาไหล ปลาช่อนนา กบ ปลาดุก ฯ
กระทู้: 44
ความเห็น: 4,810
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 05-05-2551
tac18(2837 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 32: 17 ก.ค. 52, 19:58
กระทู้: 5
ความเห็น: 273
ล่าสุด: 04-07-2567
ตั้งแต่: 30-07-2548
ความเห็นที่ 33: 17 ก.ค. 52, 20:01
กระทู้: 12
ความเห็น: 376
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-09-2551
JIKKALO(110 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 34: 17 ก.ค. 52, 20:12
ผมใช้ขี้ตาแร่ครับ(ใส้เดือนชนิดหนึ่งตัวเล็กๆแดง)ปลาดุก ปลาช่อน เหยี่ยน(ปลาไหล) บางทีปักใกล้แม่น้ำก็ได้ปลาเค้าเด็กๆบ้าง ยิ่งช่วงหน้าฝนน้ำในนาขึ้นนะปักสัก 20-30 หลังก็อิ่มไปหลายวันแล้วครับ 
กระทู้: 15
ความเห็น: 11,050
ล่าสุด: 06-01-2568
ตั้งแต่: 05-01-2552
ความเห็นที่ 35: 17 ก.ค. 52, 20:35
วิถีไทย 
กระทู้: 6
ความเห็น: 656
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-05-2551
ball naja(75 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 17 ก.ค. 52, 23:44
เอามาเลย ครับน้า มันไม่จำเป็นต้องมีคันกับรอก  ชิงหลิวก็คล้ายๆ ธงปลาครับลงได้ครับผมอยากดู 
กระทู้: 25
ความเห็น: 1,300
ล่าสุด: 07-01-2568
ตั้งแต่: 13-02-2551
ความเห็นที่ 37: 17 ก.ค. 52, 23:50
ดีครับชอบดูชอบอ่านครับ วิถีชีวิดการหากินแบบเก่าๆครับ ทุ่งนาเขียวขจี และยอดข้าว มาวครับ
กระทู้: 10
ความเห็น: 432
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-06-2547
ความเห็นที่ 38: 18 ก.ค. 52, 02:49
ผมคิดถึงบ้าน
กระทู้: 12
ความเห็น: 1,247
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-01-2550
DC(159 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 39: 18 ก.ค. 52, 03:05
ผมว่ามันก็เป็นการตกปลาอีกแบบนะ..ผมก็เคยทำ ได้ปลาเยอะเลย...รอชมครับ...
กระทู้: 4
ความเห็น: 65
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-07-2552
aunaun(43 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 40: 18 ก.ค. 52, 04:23
"อยากถามหน่อยครับ
ภาพการปักเบ็ดและธงปลา สามารถเอาลงได้ไหมครับอยากรู้

พอดีไม่เคยเห็นมีใคร"                      ให้ใวเลยครับ
           
กระทู้: 2
ความเห็น: 557
ล่าสุด: 03-05-2567
ตั้งแต่: 22-07-2549
weasley(37 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 41: 18 ก.ค. 52, 05:21
จัดไปครับน้า++
กระทู้: 66
ความเห็น: 3,302
ล่าสุด: 15-12-2567
ตั้งแต่: 02-11-2548
ความเห็นที่ 42: 18 ก.ค. 52, 06:34
ปักเบ็ดนี่สุด ๆ เลยนะ  เอาลูกกบเกี่ยว  แต่เีสียวอ้ะ  บางทีมะช่ายปลาช่อน  เห็นตัวยาว ๆ นึกว่าปลาไหล  ที่ไหนได้ดั๊นเป็นงู๊ งู  ตัดเบ็ดทิ้งอย่างเดียวเลย


นอกจากปักเบ็ดแล้วก็  เอาป๋องสีมาทำลอบดักปลากด ปลาไหล    ขุดคันนาทำหลุมดักปลาช่อน(อันนี้โคตะระโกงปลาด้วย)

กระทู้: 7
ความเห็น: 40
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 22-08-2549
Surapong4(7 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 18 ก.ค. 52, 06:48
และได้ไปไส่เบ็ด หรือปักเบ็ดธง เพื่อหาปลา (กบ เขียด ก็มีนะ รวมทั้งตระกูลแมลงนาๆ ชนิดอีกเพียบ เช่น ลูก
และได้ไปไส่เบ็ด หรือปักเบ็ดธง เพื่อหาปลา (กบ เขียด ก็มีนะ รวมทั้งตระกูลแมลงนาๆ ชนิดอีกเพียบ เช่น ลูกออด (ฮ้อก) เขียดอีนา แมงดา แมงเมี่ยง แมงหน้าง้ำ (ตัวดักแด้ขอแมลงปอ) มังกรน้ำ ลูกปลาต่างๆ มากมาย ส่วนมากชาวนาเขาได้มาเยอะๆ จะเอามาแกง และห่อหมก หรือ หมกหรือ ย่างใส่ห่อใบตอง หอมมากๆ น่ากินสุดๆ ) ผมก็คนหนึ่งที่ชื่นชอบการปักเบ็ดธงไม่ว่าจะปักเบ็ดปลา หรือเบ็ดกบ ก็แล้วแต่ การปักเบ็ดหรือ ใส่เบ็ดนั้น การใส่จะนำคันเบ็ด ปักที่คันนา ซ้าย-ขวา สลับกันไปมา ระยะห่างราว 5 เมตร ต่อจุด พวกสัตว์ดุร้ายต่างๆ ก็พอมีอยู่บ้าง พวกงูเห่า ตะขาบ แมงป่อง การใส่เบ็ดเหยื่อที่นิยมสุดคือ
    อันดับ 1 คือ เหยื่อใส้เดือนแดง หรือใส้เดือนใหญ่ ปลาที่กินหรือ ติดเบ็ดคือ ปลาหมอ ช่อน ดุก หลด ไหล กบ การใส่เหยื่อจะทำการ
สับใส้เดือนเป็นท่อนๆ แล้วใช้มือจับท่อนเหยื่อมาใส่ที่ดวงเบ็ด และปักเบ็ดให้เหยื่อจมน้ำ
    อันดับ 2 คือ เหยื่อเขียด หรือลูกกบ ปลาที่กินหรือ ติดเบ็ดคือ ปลาหมอ ช่อน ดุก หลด ไหล กบ และก็มีงูมาแจมด้วย การใส่เหยื่อจะทำการนำดวงเบ็ดเกี่ยวตุดเขียด หรือต้นขา เป็นๆ และนำไปปักให้ห้อย โดยให้ขาโดนน้ำเล็กน้อย เพื่อหลอกล่อปลาช่อนให้มาตีเหยื่อ
    อันดับ 3 เหยื่อปลาหมึก ส่วนมากจะใส่ช่วงที่แดดร้อน และใส่กลางวัน ปลาที่ชอบมาก หมอ ช่อน การเกี่ยวเหยื่อก็ตัวเป็นแผ่นเล็ก นำเบ็ดเกี่ยวที่แผ่น หย่อนลงน้ำ
    อันดับ 4 เหยื่อสบู่ปลาดุก ปลาที่ได้ก็จะเป็นปลาดุก
    อันดับ 5 เหยื่ออื่นๆ เช่น ด้วง แมลง ไข่มดแดง อื่นๆ
                  * การใส่เบ็ดกบ เราจะใส่บนบกนะครับ และเหยื่อที่ใช้คือใส้เดือนครับ สำคัญมันต้องเป็นๆ และดิ้นไปมาได้ด้วย การใส่ต้องทำลานให้เหยื่อครับ เพราะกบมันจะได้เห็นชัดๆ และเอาใส่เดือน 1 ตัว สับเป็น 2 ท่อนเท่าๆ กัน นำดวงเบ็มมาเกี่ยวส่วนที่ตัด และปักเบ็ดให้แน่น โดยโยงไม่ให้ใส้เดือน
ถึงพื้นดิน ไม่งั้นมันมุดดินหายไป กบมันก็ไม่กินครับ......


      เมื่อตะวันคล้อยลับขอบฟ้าแล้ว ชาวนาบางคนก็จะนำไฟตะเกียงถ่านแก๊ซ ออกไปส่องปลาที่ทุ่งนา อุปกร์ ก็มีฉมวก ตะเกียง ไฟแช็ก หมวง เท้าเปล่าหรือบูทก็ได้ ลงไปหาส่องในท้องนาน้ำใส หรือข้างที่นา ข้างๆ บึง คลองก็ได้ โดยมากจะได้ปลา ช่อน หมอ ดุก ไหล แต่การส่องต้องระวังงูให้มากหน้าที่ต้นข้าวตั้งครรภ์ ก็ต้องเร่งปุ๋ย จนออกดอกและ ติดรวง ผืนนาก็จะเปลี่ยนตัวเองจากสีเขียว ไปเป็นสีน้ำตาลอ่อนและ เป็นสีทองเต็มที่นา
(ฤดูนานี้ พวกวัว ควาย ชาวนาจะนำไปเลี่ยงในคอก ป้องกันพวกมันไปแอบกินข้าว) สีทองสว่าง เพิ่มบรรยากาศที่เย็นแหละเริ่มสัมผัสบรรยากาศลมหนาวพัดแล้วพัดเล่า น้ำที่เคยเต็มที่นาก็จะค่อยระเหยออก เป็นไปตามฤดูการ เมื่อลมพัดหวล แรงเข้า แหละรวงข้าวเริ่มโน้มต้นข้าวด้วยน้ำหนักของมัน ปลาต่างๆ มันเหมือนจะรู้ว่าหน้าหนาวได้เข้ามาเยีอนแล้ว พวกมันจะพากันหาแหล่งน้ำใหญ่ บึง สระ เพื่อดำรงอยู่ ช่วงนี้ชาวนาก็หัวใสมากก็ทำหลุมเพื่อหลอกให้ปลาตกลงไป เพื่อนำมาเป็นอาหาร (พ่อบอกว่าต้องนำดินใต้บ่อลึกๆ บ่อบัว ซึ่งน้ำไม่เคยแห้งมาหลอกปลา หรือล่อปลาที่ปากหลุม
เพราะดินใต้น้ำเหล่านี้มันจะมีกลิ่นหอมและ ชักชวนให้ปลาตกไปในหลุมเยอะมาก เช่น ดุก หลด หมอ ช่อน ) เมื่อน้ำเริ่มแห้ง ปลาที่โชคร้ายหนีสู่บ่อหรือ บึงไม่ทัน มันก็จะแทรกอยู่ในโคลน ที่มุมที่นา เป็นอาหารนก นาๆ ชนิดและ คนต่อไป พอข้าวเริ่มสุกและแห็ง ชาวนาจะเกี่ยวข้าวด้วยเคียวลงแขก หรือ เกี่ยวเอง การเกี่ยวจะยืนเรียงหน้า แหละเดินเกี่ยวไปด้านหน้าเรื่อย ต้องระวังเคียวเกี่ยวนิ้วเพราะมันคมมาก เกี่ยวเสร็จชาวนาก็นะ
นำมาวางเป็นชุดๆ เพื่อตากแดด และเช้ามือก็จะใช้ไม้ตอก จากไม้ไผ่รัดเป็นฟ้อนๆ แหละตากแดดจนได้ที่ นำมากองบนลานข้าว ลานข้าวหรือ ที่วางฟ้อนข้าวเปลือกจะทำจากขี้วัว ขี้ควาย ก่อนอื่นต้องถางพื้นที่ให้เรียบ จากนั้น นำขี้วัว ขี้ควายมาเท เอาน้ำรดและ จากนั้นขึ้นไปเหยียบและละเลงให้เป็นลานข้าว (ฮ่าๆ คิดไม่ออกก็ดูตอนที่ช่างปูนเขาผสมปูนและ เทปูนพื้นครับ อย่างนั้นแหละครับ) ตากแดดให้แห้ง


    จากนั้นชาวนาจะตื่นแต่เช้าและ ไปรัดรวงข้าวให้เป็นฟ้อน จากนั้นก็ขนมาวางเป็นชั้นไว้บนลานข้าว ขนฟ้อนข้าวหมดแล้ว ทุ่งนาก็จะเหลือแต่ต้นข้าวที่ค่อยๆแห้ง ชาวนาก็จะทำการนวดข้าว ภาษาถิ่นเขาเรียก ตีข้าว เพื่อจะนำเมล็ดข้าวเปลือกออกจากรวง โดยใช้ไม้ล๊อกที่คอของฟ้อนข้าว และตีฟ้อนข้าวลงบนลานข้าวจนฟ้อนข้าวหมด ทีนีมันจะมีกองข้าวเปลือกกับ เศษกองฟาง จากนั้นก็จะนำกระสอบป่านที่ทำจากต้นปอมาใส่ข้าวเปลือกเพื่อ
เก็บในยุ้งฉางต่อไป ช่วงเวลาต่อไปนี้ ได้เข้าสู่หน้าแล้งอย่างเต็มตัว ลมพายุฤดูร้อนก่อขึ้นมีให้เห็นในท้องนาโดยทั่วไป มันจะพัดเอาเศษใบไม้แห้งเศษฟาง เศษดิน ปลิวไปใกลมาก (แถวบ้านเขาเรียก ลมหัวด้วน ฮ่าๆ เวลาผมพบทีไร ผมจะวิ่งเขาไปในกลางลมพายุนี้ พร้อมหลับตาครับ มันคงเป็นความรู้สึกที่สนุกมากกว่าครับ )
กิจกรรมที่ชาวนาทำในฤดูแล้ง โดยส่วนมากก็จะเกี่ยวกับการทำมาหากินครับ บางครอบครัวก็ขนกันเข้าไปเป็นจับกัง ก่อสร้างในตัวจังหวัดหรือ กรุงเทพ วันละไม่กี่ร้อยครับ บางครอบครัวก็ไปรับจ้างตัดไม้ เก็บกาแฟ หรือผลไม้ โดยมากแล้วเราจะพบคนแก่ และเด็กๆ ที่จะอยู่ที่บ้าน หากเป็นผู้ใหญ่งานที่ทำบ่อยก็เป็นพวก จักรสาน หว่านแห ลงแหปลา (อยากบอกว่าอากาศมันร้อนมากๆ ครับ) ท่านคิดดูก็แล้วกันตอนผมเด็ก ในตอนเที่ยงผมเคยนำไข่นกไปอบ หรือที่บ้านเรียกหมกใน ดินทรายที่ร้อน ประมาน 5-10 นาที เชื่อไหมครับว่า ไข่ขาวมันสุกเลยที่เดียว


      ส่วนในวันหยุดเด็กๆ โดยมากก็จะออกหายิงนก กิ้งก่า (กะปอม) ขุดตัวแหย้ เพื่อนำมาทำเป็นอาหารมือเที่ยงกันครับ (พอโตมาตอนนี้ผมได้รู้ว่าตอนเด็กผมทำบาปฆ่าสัตว์ไว้เยอะเหมือนกัน แย่จริงๆ ) พอเย็นและ ค่ำลงบรรกาศรอบๆ มันจะเงียบมากครับ ไอ้เสียงรถ เสียงเครื่องเสียง เครื่องไฟต่างๆ มีน้อย ฮ่าๆ ขนาดผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเครื่องเสียงเลย ใช้กะลอ เรียกลูกบ้านประชุม อีกเรื่อง วิทยุ ทีวีสมัยนั้น ก็มี วิทยุ AM เท่านั้นครับ  และทีวีขาวดำเท่านั้น ในหมู่บ้านมีประมาณ 2-3 เครื่องได้ครับ ส่วนมากชาวบ้าน แฟนละครจะไปดูที่วัดอะครับ..... บรรยากาศ
ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ กลัวผีอะครับ  ส่วนมอเตอร์ไซด์ไม่ค่อยมีหรอกครับ จักรยานนั้นมีเยอะหน่อย บางทีก็ไม่มีเบรคครับ ใช้รองเท้าแตะไว้แตะเบรค ล้อหน้าแทนครับ หวาดเสียวมากเลย (วันสงกรานต์ สำหรับผมจะถีบจักรยาน ข้ามหมู่บ้านไปเล่นสงกรานต์ ปะแป้งสาวๆ เที่ยวกับเพื่อนแหละก็สงน้ำพระครับ )


        เมื่อล่วงเลยมาถึงปี 2527 ผมจำภาพได้ว่า เห็นรถเกรด แมคโฮ รถดั้ม มาทำถนน ตัดหมู่บ้าน และเห็นการไฟฟ้าเอาเสาไฟฟ้ามากอง และเริ่มขุดหลุมฟังเสาไฟฟ้า และตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีไฟฟ้าใช้กัน รถไถนาคูโบต้าก็เริ่มเข้ามาแทนไอ้ทุยครับ ก่อนหน้านี้ผมจำได้เสมอว่าเคยไปเลี้ยงวัว ควายกับเพื่อน บางคนเขามีควายเป็น 10 ตัวครับ เวลาไปก็ต้องห่อข้าว น้ำกินไปด้วย เมื่อมีรถไถนาเดินตาม วัวควายเหล่านั้นก็ได้ถูกนำไปขายโดยชาวบ้าน และขายโรงฆ่าสัตว์ก็มีไม่น้อย ผมโชคดีที่เคยขี่ควาย เลี้ยงควาย และเคยตกควายด้วย มันยอดมากๆ เลย ...จุกมากๆ
ว่าแล้วก็สงสาร วัว ควาย มันต้องจากสังคมนี้ไปโดยไม่มีทางเลือก ปัจจุบันก็มีบางครอบครัวที่เลี้ยงเอาไว้เหมือนกัน แต่มีน้อยมากๆ เลยครับนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มเข้ามากก็มีมากมายขึ้น เช่น อิสานเขียว ธกส ปลุกผักสวนครัว กำจัดยุงลาย สหกรณ์ ปุ๋ย ปลูกพืชไร่นาสวนผสม เลี้ยงปลา เพาะเห็ด เลี้ยงหมู ไก่ (หลายๆ อย่างที่กล่าวมานี้ ปัจจุบันก็มีไม่กี่องกรณ์ที่ มีความชัดเจน) แหละหน้าแล้งนี้ ชาวนาก็จะไปสูบน้ำออกจากสระในที่นาของแต่ละคน เพื่อจับปลา ความร้อนของแดดยังคงแผดเผาตั้งแต่เช้าจนค่ำทุกวัน จนบางทีก็มีไฟใหม่ต้นข้าวแห้งในท้องนา ก็เกิดจาก
มนุษย์เราครับ ชีวิตชาวนาที่แสนเรียบง่าย แต่ไม่สบาย มีอุปสรร ก็เฝ้ารอคอยฝนในฤดูการใหม่อีกครั้ง

      ผลที่ได้จากการทำนาปีที่แล้วของชาวนาโดยมาก บางคนก็มีข้าวในยุ้งฉางเล็กๆเอาไว้กิน บางคนก็นำไปขายเพื่อใช้หนี้ บางคนก็นำไปให้เจ้าของที่นาที่เช่าทำ บางคนก็ไปซื้อข้าวเขามากิน หรือไปยืมข้าวเขามากิน ผมเคยเจอคนต่างหมู่บ้าน มาขอข้าวสารก็มีมากมายครับ บางทีก็เอาพวกมัน พวกสิ่งของมากแลกเปลี่ยนข้าวสารก็มีมากมาย
สิ่งที่จะเล่าสู่กันฟังอีกเรื่อง ก็เกี่ยวกับงานประจำปีต่างๆ สมัยนั้นมันไม่ได้พัฒนา หรือวุ่นวายเหมือนสมัยนี้นะครับ ไม่ว่าจะงานปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา งานวัด งานประจำปี โดยส่วนมากจะเป็นการร่วมกันทำกิจกรรม และเรียบง่าย ไม่ได้วุ่นวายมากขนาดนี้  ค่านิยมดื่มเหล้า กับสูบบุหรี่ ยาเสพติด ไม่ได้รุนแรงเหมือนปัจจุบัน (อย่างว่าแหละครับ....เวลาเปลี่ยนไป....อะไรๆ มันก็ต้องเปลี่ยนไป....เป็นเรื่องธรรมดา)งานวัดหรือ งานบุญในภาษาชาวบ้านได้แก่ หมอลำวงใหญ่ ลำกลอนซิ่ง เพลงโคราช หนังกางแปลง เทคตั้งบนดิน สตริงดิ้นกันบนดินจนฝุ่นตลบครับ (มีรอบให้เลือกและ เหมาได้ด้วย) สอยดาว มหาลัยก.ไก่  โยนห่วง ส่วนมากจะเป็นงาน ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หารายได้เพื่อสร้างศาลา หรืออื่นๆ เพื่อนๆ จะเห็นว่ามันค่อนข้างต่างจากปัจจุบันมาก บรรยากาศที่ผมชอบมากๆ และที่
จำความได้แม่นคือ เวลากินข้าวจะมี พ่อ แม่ ลูกๆ นั่งล้อมวง มีตะเกียงน้ำมันก๊าซอันหนึ่งวางตรงกลาง และวันที่พระจันทร์เต็มดวง มันสวยงามมาก เงียบสงบ เย็น แสงจันทร์ที่สองตามทางต่างๆ เราสามารถเดิน หรือมองเห็นหลายๆได้ชัดเจนโดยไม่ต้องติดตะเกียง


        วีถีชีวิต การดำรงอยู่ เรื่องราวการต่อสู้ และวัฒณธรรมที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมเชื่อแน่ว่านี่คือ วัฒณธรรมของบรรบุรุษของคนแถวบ้านผมอย่างแน่นอน เพราะคนสมัยก่อนจะถ่ายทอด สั่งสอน ให้ความรู้ จากพ่อ สู่ ลูก เป็นรุ่นๆ มาเรื่อยๆ ดังนั้น คาดว่าวัฒณธรรมหลากหลายนี้เป็นวัฒณธรรมที่ดีงาม มีค่า คู่ควรที่เชื้อสายคนอิสานจะต้องลำลึกถึง และภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝรั่งเขามีเครื่องจักรคิดค้นเทคโนโลยีมากมาย  อันนี้ก็เป็นส่วนดีส่วนหนึ่ง แต่บรรบุรุษเราเขาก็ไม่ได้นิ่งเฉยเหมือนกัน ก็คิดค้นวิธีการหลายอย่าง เป็นศาสตร์และศิลป์ในการเอาตัวรอดและ ดำรงอยู่เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าฝรั่งกับบรรบุรุษเราไม่ได้มีใครเก่งกว่าหรือ ก้าวหน้ากว่าใครก็ว่าได้ หากไม่มีปู่ย่าทวด พ่อทวดยายทวด พ่อแม่เรา คิดดูซิครับว่า เราจะดำรงอยู่และ มีชีวิตเป็นอย่างไร นี่ก็เป็นบทสรุปชีวิตหนึ่งที่เป็นจริงในสังคมเกษตรในพื้นที่ภาคอิสานติดเขตบุรีรัมย์ในสมัยอดีตที่ผ่านมา การถ่ายทอดคงไม่ต้องสละสลวยอะไรมาก เพราะสายเลือดของชาวไร่ ชาวนามันอยู่ในตัวของคนอิสานทุกคนครับ หากไม่มีเขาในวันนั้น วันนี้อาจไม่มีเราและ ความทรงจำที่ดีอย่างวันนี้ 

กระทู้: 1
ความเห็น: 270
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 27-11-2551
ความเห็นที่ 44: 18 ก.ค. 52, 09:07
เยี่ยมครับ เป็น วัฒณธรรม ประเพณี ก็ว่าได้



กระทู้: 5
ความเห็น: 3,880
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 09-05-2551
pee.pon(166 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 45: 18 ก.ค. 52, 10:31
+3  วีถีไทย...เยี่ยมมาก...ทำให้คิดถึงเมื่อวัยเด็ก ชอบมาก ปักเบ็ด ราวเบ็ด ตอนน้ำนองหรือตามคันนา..... 
กระทู้: 67
ความเห็น: 5,592
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-11-2551
poobiley(2804 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 46: 18 ก.ค. 52, 11:06
มันอยู่ในกลล้องฟิมฟ์อะดิ..........แต่นึกถึงแล้วก็สนุกไม่หายนะครับ.....

ยิ่งธงเบ็ดตามซอกหินริมแม่น้ำนี่......ซู๊ด....ได้อัทรสจริง ๆ...ไว้แสกนภาพมาให้ดูละกันคับ


กระทู้: 13
ความเห็น: 2,083
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-04-2552
ความเห็นที่ 47: 18 ก.ค. 52, 11:34
ซู๊ด....ได้อัทรสจริง ๆ...ไว้แสกนภาพมาให้ดูละกันคับ



รอชมครับน้า ปู ไบเล่ย์
กระทู้: 21
ความเห็น: 2,818
ล่าสุด: 06-01-2568
ตั้งแต่: 06-10-2550
ความเห็นที่ 48: 18 ก.ค. 52, 22:37
กระทู้: 10
ความเห็น: 737
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 04-08-2551
ความเห็นที่ 49: 19 ก.ค. 52, 09:00
อ่านแล้วอยากไปเลย ปักเบ็ดธง

เสียตรงที่ไม่มีเบ็ดธง เอาคันตกบ่ ตีเหยื่อปลอมไปปัก จะได้มั้ยน้อ
กระทู้: 14
ความเห็น: 1,596
ล่าสุด: 07-01-2568
ตั้งแต่: 28-01-2549
ความเห็นที่ 50: 19 ก.ค. 52, 09:24
อาวุธประจำกายตอนเด็กๆ
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 >
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=68686&begin=25