ขอบคุณน้าศักดิ์เช่นกันค่ะ
ขอบคุณพี่หนูนาด้วยค่ะ
ขอบคุณป้าแป้งด้วยค่ะ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มาเปิดดูถึงได้รู้ว่าตกหล่นไป 1 ภาพ คือ ประวัติวัดพุทธเอ้น (เดิมเรียกว่า พุทธเอิ้น เอิ้น=เรียก)
อ่านแล้วเกิดความสงสัยไปหาความหมายมาเผื่อมีคนสงสัยเหมือนกัน
ประวัติย่อ ๆ ของวัด มีอยู่ 1 คำที่ไม่รู้ความหมาย เลยไปคุ้ยมาเผื่อมีคนไม่รู้เหมือนกันค่ะ
เวเนยสัตว์ หรือ เวไนยสัตว์
เวไนยสัตว์
อ้างอิงจากเว็บสกุลไทย
เวไนยสัตว์ มาจากคำภาษาบาลีว่า เวเนยฺย กับคำภาษาสันสกฤตว่า สตฺตว
แปลรวมกันว่า สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน สัตว์ที่พึงแนะนำได้ สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้
ในบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง มีสติปัญญา
สามารถคิดและไตร่ตรองได้ แต่การจะเข้าใจสิ่งใดได้นั้น มีมากน้อยแตกต่างกันไป
และความเข้าใจธรรมะของมนุษย์ก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก
ความเข้าใจธรรมะนี้ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้วิชาการแขนงต่างๆ
ในทางโลก เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเรียนเก่งอาจจะไม่สามารถเข้าใจธรรมะได้ ในขณะที่ผู้ที่เรียนไม่เก่ง
อาจจะสามารถเข้าถึงธรรมะอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้า ได้อย่างถ่องแท้และรวดเร็ว
มนุษย์บางคนเป็นเวไนยสัตว์ เพราะเป็นผู้ที่สามารถฟังธรรมะในพระพุทธศาสนา
แล้วนำไปปฏิบัติฝึกอบรมตนตามธรรมะนั้นได้ แต่บางคนไม่อาจเรียกว่า
เวไนยสัตว์
เพราะไม่มีปัญญาแม้ว่าจะฟังธรรมกี่ครั้งกี่หนก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติตามได้
++++++++++++++++
เวไนยสัตว์
จากลิงค์นี้คลิกที่นี่ค่ะ
- สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน
- ผู้ที่พอจะแนะนำสั่งสอนได้ ผู้ที่สามารถดัดได้สอนได้ สามารถบรรลุธรรมหรือได้รับความสำเร็จได้
เป็นคำเรียกคนที่มีกิเลสเบาบางซึ่งอาจบรรลุธรรมได้เมื่อได้ฟังธรรมบ่อยๆ เหมือนดอกบัวที่อยู่ในน้ำ
เมื่อได้รับแสงอาทิตย์หลายวันเข้าก็จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาบานได้
- บุคคลประเภทที่ ๓ ในบุคคล ๔ ประเภทที่เปรียบเหมือนบัว ๔ เหล่า
คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ และปทปรมะ