สวัสดีครับ น้า beer10160.......
ผมยังไม่เก่งแต่ขอเล่าประสบการณ์แบบที่ลองผิดลองถูกจนเป็นแบบที่ใช้บ่อยๆ......ผมมักตั้งทุ่นแบบนี้ครับ แบ่งง่ายๆเป็น
แบบบาล๊าส ให้ผูกเบ็ดโดยใช้สายหน้ายาวประมาณ 20 ถึง 30 ซมผุกที่ลูกหมุนขนาดของลูกหมุนขึ้นอยู่กับขนาดของทุ่น ( ทุ่นมีเบอร์ที่ตัวทุ่นเบอร์ยิ่งสูงขึ้นยิ่งมีแรงลอยตัวมากต้องถ่วงเยอะถึงจะจม ) ถ้าทุ่นเบอร์สูงอาจใช้ลูกหมุนตัวใหญ่แทนการถ่วงด้วยฟิวส์แล้วแต่ถนัด....
เมื่อจัดลายสต๊อปเบอร์เรียบร้อยแล้ว....
หลักการคือทุ่นต้องมีแรงยกให้ลูกหมุนลอยอยู่เหนือพื้นผิวดินใต้น้ำเมื่อลูกหมุนลอยอยู่กลางน้ำตัวเบ็ดจะอยู่ระดับผิวดินโดยที่ยังไม่ได้หุ้มเหยื่อที่ตัวเบ็ดทุ่นควรจะลอยโดยที่มองเห็นก้านทุ่นที่เป็นปล่องๆสีต่างๆ.....ถ้าทุ่นลอยสูงเกินก็ถ่วงด้วยฟิวส์จนทุ่นลอยตัวแค่ก้านดังที่กล่าวไว้....
เมื่อได้ระดับแล้วใส่เหยื่อทุ่นจะจมลงเพราะน้ำหนักเหยื่อถ่วงเพิ่มขึ้นก็ให้ปรับระยะห่างระหว่างทุ่นกับลูกหมุน( ตั้งระดับน้ำ ) จนทุ่นที่มีเหยื่อแล้วลอยตัวเหลือก้านประมาณ 3 ช่องสี เช่นปลายสีแดงแล้วต่อด้วยเขียวและเหลืองทั้งนี้ระยะที่เหลือของก้านขึ้นกับความเคยชินในการอ่านทุ่นดอกนั้นๆแบบนี้ผมเรียกว่าบาล๊าสหน้าดินครับ
....ที่นี้เมื่อต้องการตั้งทุ่นเป็นแบบบาล๊าส..กลางน้ำ ทำได้โดยการเปลี่ยนทุ่นให้เบอร์สูงขึ้นหรือลดน้ำหนักของฟิวส์ที่ถ่วงให้น้อยลงเพื่อเพิ่มแรงยกของทุ่นดอกเดิมให้ยกลูกหมุนและเหยื่อ.ที่นี้ผมจะปรับระยะห่างของทุ่นที่ผิวน้ำกับลูกหมุนอยู่ประมาณ สองฟุตก่อนแล้วจึงปรับขึ้นลงเพื่อหาระยะที่ปลาเริ่มตอดเหยื่อ
อาการกินเหยื่อของปลาในการตั้งทุ่นแบบบาล๊ลาสไม่ว่าหน้าดินหรือกลางน้ำจะมีอาการขยับลง ( ตอกลง ) มากกว่าที่จะยกขึ้น ( หนุน ) ผมไม่สามารถที่จะอธิบายลักษณะได้แบบกฎตายตัวเพราะปลาแต่ละบ่อกินเหยื่อแล้วมีอาการที่ต่างกันแบบว่าบ่อเก่าปลากินเคี้ยวแบบนั้นแหละครับ.......
ส่วนใหญ่เมื่อลงเหยื่อแล้วปลาเข้าทุ่นจะเริ่มมีการตอกลงกว่าข้อ( สี )ที่เราตั้งระยะไว้ส่วนใหญ่จะตอกไม่มากแล้วทุ่นจะหนุน ( เพราะเหยื่อเริ่มน้อยลงจากการที่ปลาตอดเหยื่อไป )ถ้าปลากินเบ็ดจะลากทุ่นจมลงช้าบ้างหายวับแบบเร็วบ้างแล้วแต่ประเภทปลาและบ่อนั้นๆ ส่วนแบบบาล๊าสกลางน้ำ....อาการส่วนใหญ่จะตอกลงแรงบ้างเบาบ้างถ้าเป็นหัวโตมักจะกินแล้งตอกลงไม่มากถ้าจะวัดจะวัดในจังหวะที่ตอกลงแล้วหยุดค้าง...ทุ่นหนุนโอกาสวัดติดได้น้อยเมื่อทุ่นหนุนขึ้นส่วนใหญ่จะวัดติดในจังหวะตอดลงเพราะลูกหมุนและสายหน้าลอยอยู่สูงจากผิวดินมากเมื่อปลาตอกลงคือมันลากเหยื่อไปข้างหน้าหรือดำน้ำ
ตัวเบ็ด.....ถ้าตกปลาแบบเบญจพรรณนั้น ( เอาหมดทุกอย่างที่แวะมากิน ) ตัวเบ็ดผมจะใช้ขนาดค่อนข้างเล็ก..แต่ถ้าเน้นเอาหัวโตจะใช้ตัวเบ็ดใหญ่ขนาดที่ใช้ตกสวายเพราะเบ็ดเล็กมักหลุดปลาหัวโตกว้างมาก
เหยื่อ....ในแง่ของชิงหลิวไม่มีกฎตายตัว ใช้รำเปล่าผสมน้ำ , ขนมบังขาวอย่างเดียวไม่เอาขอบ หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ถนัดครับ แต่ต้องผสมให้เหยื่อค่อนข้างนิ่มเอาแต่พอวางเหยื่อออกแล้วไม่แตกเป็นใช้ได้ เหยื่อยิ่งนิ่มและขนาดพอดีกับตัวเบ็ดปลายิ่งเข้าเร็ว....และการส่งเหยื่อขอให้ลงในบริเวณที่ใกล้เคียงเดิมที่สุด......เพราะเศษของเหยื่อจะตกลงผิวดินแถวนั้นเหมือนเราอ่อยไว้ตลอดดังนั้นปลาตัวที่ยังไม่ถูกเบ็ดก็ยังเข้ามาตอมเหยื่อต่อไปนี่เป็นเหตุผลที่ว่าคันชิงหลิวทำไมเมื่อปลาเข้าแล้วได้วัดตลอดครับน้า
หมาย ....เท่าที่ผมไปบ่อยๆหลายบ่อที่บ่อฟิตชิ่ง..นั้นถ้าจะหลิวหรือสปิ๋วปลาเกล็ดมักอยู่ใกล้...ตัวรหัสตีน้ำ...,ท่อทีใช้ส่งน้ำเข้าและออกจากบ่อ...,ตามมุมฉากของบ่อ...,บริเวณที่ตลิ่งมีต้นหญ้าหรือต้นแบบอื่นที่ชายน้ำ...,บริเวณใกล้ต้นไม้ที่ขึ้นชายตลิ่งแล้วกิ่งลงเลียดๆน้ำผมมักนั่งหลิวที่ด้านข้างๆนั้น...
ถ้าต้องการปลาใหญ่ต้องเดินหาหมายที่เป็นด้านน้ำลึกของบ่อนั้นๆส่วนใหญ่มักอยู่ใกล้ๆท่อที่ส่งน้ำเข้าหรือออก
ตั้งทุ่นแบบไม้ตาย...คือการถ่วงลูกหมุนให้ถึงพื้นแล้วค่อยผูกสายหน้าให้ยาวแค่10 ซมถึงตัวเบ็ด ยิ่งสั้นยิ่งส่งอาการได้เร็ว ส่วนทุ่นนั้นให้ปรับระยะให้ทุ่นถึงผิวน้ำเหลือตามที่ถนัดครับเช่น สามข้อ.....
อาการที่ปลากินนั้นตอกน้อยหรือถี่ผมจะยังไม่วัดแต่ถ้าทุ่นหนุนยกขึ้นสูงแบบเร็วๆหรือขยับขึ้นลงถี่แล้วยกสูงทันทีและค้างไว้( หนุนค้าง ) ผมจะวัดติดปลามากกว่าตอกลงครับ
เออ...พิมท์มาเสียยืดยาวนี้ผมเล่าจากประสบการณ์ที่ผมปรับไปปรับมา
หากต้องการศึกษาวิธีที่ผู้รู้นั้นน่าจะหาดูได้ที่หน้าเทคนิคอีกทีครับ
เดี๋ยวรอผู้รู้ตัวจริงมาอธิบายต่อครับ
หวังว่าคงพอช่วยได้บ้างครับ น้า....
+1 เป็นกำลังใจครับน้า.....