น้าธนาวัส ผมตอบจากที่เจอกับตัวเองนะครับ อาจจะผิดกับหลักวิชาการ
1. ถ้าหมายน้ำตื้น โอกาสเจอตัวสูงเท่า ๆ กัน บ่อยครั้งที่ตีออกไป เหยื่อตกน้ำยังไม่ทันจมถึงพื้นดี ปลากัดเลยก็มี เหยื่อจมถึงพื้นแล้ว พอเริ่มลากยังไม่ทันเจิร์ค ปลากัดเลยก็มี
2. ถ้าหมายเป็นแบบบ่อทั่วไป คือลึกตรงกลาง ขอบตื้น ปลามักจะกัดแถว ๆ ขอบบ่อ ประมาณ 3 - 4 เมตร จากจุดที่เรายืน ยิ่งถ้าแถว ๆ นั้นเป็นแบบชายร่อง ยิ่งมีโอกาสเจอตัวสูง
3. หมายธรรมชาติรก ๆ หน่อย ถ้ามีตัว ตีไปแล้วต้องทิ้งระยะให้ทุกอย่างคืนสู่ความสงบสักพัก ตามปกติถ้ามีอะไรตกน้ำ ปลาล่าเหยื่อจะเข้ามาดูด้วยความสนใจ พอเริ่มขยับเหยื่อแล้วปลาเห็นว่าเป็นสิ่งที่กินได้ มันมักจะไม่ลังเลที่จะกัด
4. ช่วงเวลาก็คล้าย ๆ กับสูตรสำเร็จทั่วไป คือช่วงเช้า ๆ กับบ่ายแก่ ๆ
5. แสง + สภาพน้ำ (ขุ่น/ใส) มีส่วนกับสีของเหยื่อที่เลือกใช้แน่นอนครับ อีกประเด็นหนึ่งคือ เหยื่อยางแต่ละประเภทมีการสร้างคลื่นน้ำและคลื่นเสียงที่แตกต่างกัน สำคัญที่การสร้างแอคชั่น ผมสังเกตว่าปลามักจะเข้ากัดจังหวะที่เจิร์คเหยื่อโดดจนสุดแล้วเริ่มโรยตัวลง เพราะจังหวะนั้นหากเป็นเหยื่อประเภทมีหางหรือขา (กบยาง) จะพริ้วลงมาตามน้ำ ส่วนตัวที่ผมละเลยไม่ได้คือ หลังจากร้อยตะกั่วแล้ว ก่อนผูกเบ็ดต้องร้อยลูกปัดเม็ดจิ๋ว ๆ อย่างน้อย 1 เม็ด ให้มีเสียงกระทบตะกั่วเวลาเจิร์ค และช่วยไม่ให้ปมเงื่อนช้ำด้วยครับ
5. มีอีกเทคนิคหนึ่งที่กำลังพยายามเรียนรู้ คือ แคโรไลน่าริก แบบใช้ลูกหมุนสามทาง เทคนิคนี้ไม่ต้องลากเก็บสายเลย ตีไปแล้วสะบัดปลายคันเบา ๆ ไปสร้างแอคชั่นให้เหยื่อ (ต้องเป็นเหยื่อประเภทลอยน้ำ) เหมาะมากกับหมายที่น้ำไหลเอื่อย ๆ แต่ยังไม่มีโอกาสไปลองหมายที่น้ำไหลเลยครับ
ผิดถูกอย่างไร ท่านอื่น ๆ แนะนำกันได้ครับ