สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 ธ.ค. 67
อดีต..........วันนี้ 08 สิงหาคม 2550: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 26 - [9 ส.ค. 50, 17:01] ดู: 26,985 - [21 ธ.ค. 67, 15:59] โหวต: 7
อดีต..........วันนี้ 08 สิงหาคม 2550
กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ตั้งกระทู้: 8 ส.ค. 50, 16:14
อดีต..........วันนี้ 08 สิงหาคม 2550
วันนี้เมื่อ 221 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2329
ฌาคส์ บัลมาต์ (Jacques Balmat) และ มิเชล แพ็คการ์ด (Michel-Gabriel Paccard) พรานล่าชามัวส์ (chamois) และนายแพทย์ชาวอิตาเลียน สามารถเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดเขา มงต์บลังค์ (Mont Blanc) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ ฮอเรซ เบเนดิกต์ (Horace-Benedict de Saussure) ผู้บุกเบิกกีฬาปีนเขา (Mountaineering) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้พยายามพิชิตยอดเขามงต์บลังค์มาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ประกาศให้รางวัลแก่นักปืนเขาที่สามารถพิชิตมงต์บลังค์ได้ จากนั้นในปี 2351 มารี พาราดิส (Marie Paradis) ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่พิชิตยอดเขามงต์บลังค์ ยอดเขามงต์บลังค์ มีชื่อในภาษาอิตาเลียนว่า "มองเต เบียงโก" (Monte Bianco) ทั้งสองชื่อนี้แปลว่า "ภูเขาสีขาว" และยังมีคำเรียกในภาษาฝรั่งเศสอีกคำหนึ่งว่า "ลา ดาม บลองเชอ" (La Dame Blanche) แปลว่า "หญิงสาวสีขาว" มงค์บลังค์เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขา แอลป์ (Alps) และสูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูงประมาณ 4,808 เมตร ตั้งอยู่บริเวณพรหมแดนฝรั่งเศส-อิตาลี ปัจจุบันได้มีนักปืนเขาและนักท่องเที่ยวปีละกว่าสองหมื่นคนที่เดินทางไปที่เทือกเขาเอลป์และพยายามพิชิตยอดมงต์บลังค์


กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 1: 8 ส.ค. 50, 16:16
วันนี้เมื่อ 131 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2419
โทมัส เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักประดิษฐ
วันนี้เมื่อ 131 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2419
โทมัส เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตร เครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไข หรือ เครื่องพิมพ์ปรุไข (mimeograph machine) ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์อัดสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นรูปภาพและลายเส้น ช่วยให้สามารถทำสำเนาจากต้นฉบับได้จำนวนมากไม่จำกัด รวดเร็วและและประหยัดยิ่งขึ้น กว่าการใช้ฝีมือคนเป็นผู้ลอกเหมือนแต่เดิม โดยเอดิสันเรียกว่า "Autographic Printing" จากนั้นในปี 2427 อัลเบิร์ต ดิ๊ก (Albert Blake Dick) ได้รับอณุญาติในสิทธิบัตรชิ้นนี้แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "mimeograph" พร้อมกับก่อตั้งบริษัท A.B. Dick company เพื่อผลิตเครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขออกจำหน่าย กลายเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในสำนักงาน ในโรงเรียน และตามบ้านเรือนทั่วไป ในขณะเดียวกันที่อังกฤษและเยอรมนีก็ได้มีนักประดิษฐ์คิดค้นเครื่องอัดสำเนาในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นมาด้วยเช่นกัน โดยเรียกชื่อต่างกันออกไป เช่น "Automatic Cyclostyle" และ "Stencil duplicators" ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา เครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขก็ถูกแทนที่ด้วย "เครื่องถ่ายเอกสาร" (Photocopy หรือ Xerox) แต่เครื่องเครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขก็ถูกพัฒนาจนเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถสร้างแม่พิมพ์และสั่งพิมพ์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งนิยมใช้ในบางพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 2: 8 ส.ค. 50, 16:18
วันนี้เมื่อ 26 ปีที่แล้ว
วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ.2524
วันเกิดโรเจอร์ เฟเดอเรอร์  เป็นนักเทนนิสอาชีพช
วันนี้เมื่อ 26 ปีที่แล้ว
วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ.2524
วันเกิดโรเจอร์ เฟเดอเรอร์  เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวสวิสมือวางอันดับ 1 ของโลกคนปัจจุบัน โดยขึ้นครองอันดับมาตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถิติการครองอันดับ 1 ติดต่อกันยาวนานที่สุดในบรรดานักเทนนิสชาย (สถิติตลอดกาลทั้งชายและหญิงเป็นของสเตฟฟี กราฟ ที่ 186 สัปดาห์)

เฟเดอเรอร์ ชนะการแข่งขันประเภทเดี่ยวในรายการแกรนด์สแลม 11 ครั้ง, รายการเทนนิสมาสเตอร์คัพ 3 ครั้ง, รายการเอทีพีมาสเตอร์ซีรีย์ 13 ครั้ง และรายการเอทีพีทัวร์ 22 ครั้ง อีกทั้งยังชนะการแข่งขันประเภทคู่อีก 7 ครั้ง และเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 เฟเดอเรอร์ซึ่งเอาชนะราฟาเอล นาดาลในการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน ทำให้เขาครองสถิติชนะเลิศติดต่อกัน 5 สมัย เทียบเท่าบิยอร์น บอร์ก

กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 3: 8 ส.ค. 50, 16:22
ปล.  ขอโทษครับเมื่อกี้ลงรูปผิด

ปล. ชอบจริงๆผู้ชายคนนี้ครับ
กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 4: 8 ส.ค. 50, 16:24
วันนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉี
วันนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "สมาคมอาเซียน" (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน "คำประกาศอาเซียน" (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาสา" (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งจะดำรงตำในวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่จะถึงนี้
กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 5: 8 ส.ค. 50, 16:25
 [q]8888[/q]
 :cry: :cry: :cry:
8888

กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 6: 8 ส.ค. 50, 16:26
 [q]8888[/q]
 :cry: :cry: :cry: :cry:
8888

กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 7: 8 ส.ค. 50, 16:28
วันนี้เมื่อ 19 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531
เกิด "เหตุการณ์ 8888" ("8888 Uprising" ชื่อมาจ
วันนี้เมื่อ 19 ปีที่แล้ว
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531
เกิด "เหตุการณ์ 8888" ("8888 Uprising" ชื่อมาจากวันที่เกิดเหตุคือ 18/8/1988) ในประเทศ เมียนมาร์ (พม่า) โดยนักศึกษา ประชาชนและพระสงฆ์รวมกันนับล้านคนได้ออกมาชุมนุมอย่างสันติที่กรุงย่างกุ้งและตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการทหารของ นายพล เน วิน (Ne Win) ที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 26 ปี ทั้งนี้เมียนมาร์ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2491 โดยมี นายพล อู นุ (U Nu) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก จากนั้นก็ถูกนายพล เน วินทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2505 ตลอดเวลา 26 ปีที่นายพลเนวินยึดอำนาจปกครองประเทศพม่า ภายใต้นาม พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) หรือที่เรียกขานกันว่า "ระบอบเนวิน" นำพาประเทศพม่ามาสู่ภาวะที่สภาพการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตกต่ำอย่างถึงที่สุด จากครั้งหนึ่งเมียนมาร์เคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ ในขณะที่ตัวเองสะสมความมั่งคั่งจนมีเงินฝากไว้ในธนาคารต่างประเทศถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของโลก ในที่สุดประชาชนก็ไม่อาจทนได้อีกต่อไป พร้อมใจกันออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยพร้อมกันในวันที่ 8 สิงหาคม 2531 (1988) ตกดึกฝ่ายรัฐบาลจึงส่งทหารพร้อมอาวุธครบมือออกมามาปราบปรามผู้ชุมนุม และปฏิบัติการสังหารโหดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 4 วัน ทางการออกมาให้ข่าวว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คน แต่เจ้าหน้าที่ทางการทูตและผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าวว่าตัวเลขที่แท้จริงอยู่ราว ๆ เกือบ 10,000 คน ทหารที่ยิงประชาชนต่างถูกผู้บัญชาการกล่อมให้เชื่อว่านักศึกษาเป็น "กบฏคอมมิวนิสต์" จากนั้นในวันที่ 15 สิงหาคม หลังจาก นางออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) กลับมาถึงพม่า ก็ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จากนั้น นายพล ซอว์ หม่อง (Saw Maung) ก็ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองและประกาศตั้ง "สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือรัฐบาล "สล็อร์ค" (The State Law and Order Restoration Council- SLORC) และประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า ซึ่งในครั้งนั้น พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy-NLD) ของ นางออง ซาน ซู จีได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น 392 ที่นั่งจาก 455 ที่นั่ง โดยที่พรรค National Unity Party ของรัฐบาลทหารได้เพียง 10 ที่นั่ง แต่รัฐบาลทหารกลับบิดพลิ้ว ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้ผู้ชนะ และจับกุมตัวออง ซาน ซูจี คุมขังไว้จนถึงวันนี้ แม้ระยะเวลาจะผ่านไปเกือบยี่สิบปีแต่สถานการณ์ทางการเมือง และประชาธิปไตยของพม่าก็ยังคงอยู่ในวังวนของอำนาจเผด็จการทหารอยู่เช่นเดิม ยังมีการควบคุมตัวและจับกุมคุมขังนักการเมือง นักกิจกรรม และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยมาโดยตลอด


กระทู้: 125
ความเห็น: 3,739
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2547
ความเห็นที่ 8: 8 ส.ค. 50, 16:33
หมดครับ
ขอบคุณครับ



น้าๆท่านไดที่มีข้อมูลเพิ่มเติมเชิญนะครับ

ปล.ไม่ได้มาตั้งกระทู้นี้นานพอสมควรครับหากมีผิดพลาดขออภัยนะครับ(มือมันแข็งครับอิอิ)
กระทู้: 23
ความเห็น: 354
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-09-2549
JBL(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 8 ส.ค. 50, 18:08
เยี่ยมยอด
กระทู้: 21
ความเห็น: 1,052
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 07-02-2550
tee non2(279 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 8 ส.ค. 50, 18:15
กระทู้: 42
ความเห็น: 5,950
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 18-08-2548
aum126(539 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 11: 8 ส.ค. 50, 18:15
ขอบคุณครับ
กระทู้: 2
ความเห็น: 120
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-10-2545
ความเห็นที่ 12: 8 ส.ค. 50, 19:07
ให้ความรู้ดีครับ
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,725
ล่าสุด: 09-12-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 13: 8 ส.ค. 50, 22:13

กระทู้: 10
ความเห็น: 839
ล่าสุด: 21-12-2567
ตั้งแต่: 02-03-2550
ความเห็นที่ 14: 8 ส.ค. 50, 22:16
กระทู้: 10
ความเห็น: 4,417
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 05-09-2549
ความเห็นที่ 15: 8 ส.ค. 50, 23:49
กระทู้: 18
ความเห็น: 7,352
ล่าสุด: 30-06-2567
ตั้งแต่: 11-11-2549
did158(100 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 9 ส.ค. 50, 01:33
กระทู้: 56
ความเห็น: 16,495
ล่าสุด: 20-12-2567
ตั้งแต่: 07-08-2549
ความเห็นที่ 17: 9 ส.ค. 50, 08:23


ได้ความรู้อีกแล้ว..ขอบคุณน้าอินปั๋น
กระทู้: 20
ความเห็น: 130
ล่าสุด: 28-03-2567
ตั้งแต่: 20-05-2547
yut(53 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 18: 9 ส.ค. 50, 08:45
หายไปนานเลยครับเยี่ยมเหมือนเดิม
กระทู้: 115
ความเห็น: 8,588
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 09-02-2550
ความเห็นที่ 19: 9 ส.ค. 50, 08:47
เย้ กลับมาอีกแล้ว
คิดถึงกระทู้แบบนี้ของน้าอินปั๋นจังเลยยยยย
กระทู้: 153
ความเห็น: 4,220
ล่าสุด: 03-05-2567
ตั้งแต่: 30-08-2547
ความเห็นที่ 20: 9 ส.ค. 50, 08:57
สถานการณ์หลังเกิดเหตุการณ์ 8888
12 สิงหาคม 1988 (2531) เส่ง ลวิน ลาออกจากการเป็นผู้นำรัฐบาล และ ด.ร.หม่อง หม่อง อดีตผู้พิพากษาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายพลเนวิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าแทนเส่ง ลวิน

ผู้นำคนใหม่ได้พยายามลดความร้อนแรงของสถานการณ์ โดยการตั้งคณะกรรมการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่า ต้องการวิถีทางการเมืองอย่างไร? หลังจากประกาศตั้งคณะกรรมการได้ 3 วัน คณะกรรมการประกาศให้ความสนใจเรื่องการเมืองแบบหลายพรรค แต่ไม่ได้ระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการจัดการเลือกตั้งขึ้น สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนจนเกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้มีการทำประชามติเรื่องการเมืองแบบหลายพรรคขึ้น และสถานการณ์ได้ลุกลามไปเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอัดอั้น ความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองแบบเผด็จทหาร

15 สิงหาคม 1988 (2531) ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ยึดอำนาจในการปกครองพม่า เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป. ออง ซาน ซูจี เดินทางกลับมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อมาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยหนัก ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 จดหมายฉบับนี้คือการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกของเธอ

26 สิงหาคม 1988 (2531) ออง ซาน ซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยครั้งแรกกับประชาชนหลายแสนที่มาชุมนุมกันอยู่บริเวณด้านหน้าของเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องประชาธิปไตย ความสมานฉันท์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเท่าเทียมกันระหว่างชนชาติพม่า และกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆในประเทศพม่า

28 สิงหาคม 1988 (2531) มิงโกนาย (Ming Ko Naing) นักศึกษาปี 3 คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยร่างกุ้ง จัดการประชุมครั้งแรกของ สหภาพนักศึกษาแห่งสหพันธ์พม่า (All Burma Federation of Students Union - ABFSU) และจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชุมนุมใหญ่ ซึ่งมีผู้แทนนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นสูง จำนวน 119 คน

เดือนกันยายน 1988 (2531) นักศึกษาอดข้าวประท้วง เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เพื่อจัดเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป

17 กันยายน 1988 (2531) ทหารยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ ในเมืองร่างกุ้ง ฝูงชนประมาณ 5,000 คนโกรธแค้น ฮือเข้าแย่งอาวุธจากทหาร มิงโกนาย และผู้นำนักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้าเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์

18 กันยายน 1988 (2531) กลุ่มทหารนำโดยนายพล ซอว์ หม่อง (Saw Maung) เข้ายึดอำนาจการปกครอง และประกาศตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) สมาชิกของคณะปฏิวัติ ประกอบด้วยนายทหารระดับนำจำนวน 21 นายซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารผู้ใกล้ชิดกับนายพลเนวิน

23 กันยายน 1988 (2531) นายพลซอว์ หม่อง ประกาศว่า "กองทัพไม่อาจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของรัฐ เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ในประเทศตกอยู่ในภาวะที่จะเป็นอันตรายต่ออนาคต". เขายังได้ให้คำมั่นสัญญาว่า "กองทัพของเราจะสานต่อหน้าที่ดั้งเดิมในการปกป้องและรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ และการรักษากฎหมายและระเบียบหลังจากการส่งผ่านอำนาจให้กับรัฐบาล ที่ได้มาจากการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งประชาชนได้ใช้สิทธิประชาธิปไตยอย่างเต็มเปี่ยม"

หลังคำประกาศของนายพลซอว์ หม่อง นักศึกษาบางส่วนทยอยเดินทางออกจากเมืองหลวงร่างกุ้ง สู่ชายแดนในเขตพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ฝึกอาวุธเพื่อตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร

24 กันยายน 1988 (2531) ออง ซาน ซูจี ร่วมจัดตั้งพรรคแนวร่วมแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League of Democracy - NLD) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค

เดือนมีนาคม 1989 (2532) มิงโกนายผู้นำนักศึกษาถูกจับ และถูกพิพากษาโทษจำคุก 20 ปี ตามมาด้วยการสั่งกักบริเวณออง ซาน ซูจี ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลเผด็จการของนายพลซอว์ หม่อง สั่งกักบริเวณดอว์ ซูจี โดยไม่มีความผิดใด พร้อมทั้งจับกุมสมาชิกพรรคเอ็น แอล ดี ไปควบคุมตัวไว้ที่คุกอินเส่ง

27 พฤษภาคม 1990 (2533) พรรคเอ็น แอล ดี ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย ได้ 392 ที่นั่งจาก 455 ที่นั่ง โดยที่พรรค National Unity Party ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลทหาร ได้เพียง 10 ที่นั่ง แต่ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้ผู้ชนะ

23 เมษายน 1992 (2535) นายพลซอว์ หม่อง อ้างปัญหาสุขภาพเพื่อลาออกจากตำแหน่งประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC) อย่างกะทันหัน โดยมีนายพลตาน ฉ่วย (Than Shwe) ขึ้นรับตำแหน่งแทน. ตาน ฉ่วย เป็น 1 ใน 21 สมาชิกของคณะปฏิวัติ และเป็นนายทหารมือขวาของ ซอว์ หม่อง เมื่อรับตำแหน่งช่วงแรก ตาน ฉ่วย ปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง

ปี พ.ศ.2536 (1993) เขาเปลี่ยนชื่อประเทศจากพม่า (Burma) เป็นเมียนมาร์ (Myanmar) ดำเนินนโยบายเปิดประเทศ สั่งให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพยายามผลักดันให้พม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอาเชียน (Association of South East Asian Nations-ASEAN)

แต่ขณะเดียวกัน นายพล ตาน ฉ่วย ยังคงดำเนินนโยบายปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้ ระหว่างปี พ.ศ.2532 (1989) จนถึงปี พ.ศ.2537 (1994) รัฐบาลทหารจะสามารถเจรจา"หยุดยิง" (ceasefire) กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้ถึง 13 กลุ่ม. ปี 1994 (2537) มีผู้อพยพลี้ภัยจากสถานการณ์การเมืองและการสู้รบในประเทศพม่า มาอาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทยประมาณ 71,000 คน

เดือนมีนาคม 1994 (2537) สมาคมอาเชียนเชิญพม่าเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์

10 กรกฎาคม 1995 (2538) ออง ซาน ซูจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักของตัวเองมานานถึง 6 ปี

ปี 1997 (2540) นายพล ตาน ฉ่วย สั่งปลดรัฐมนตรีหลายตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาพัวพันกับการคอรัปชั่น เขายังอนุญาตให้ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross) และ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) เข้าพม่า
กระทู้: 16
ความเห็น: 1,066
ล่าสุด: 20-07-2567
ตั้งแต่: 26-03-2550
nooktamon(26 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 21: 9 ส.ค. 50, 09:01
คม ชัด ลึก
กระทู้: 194
ความเห็น: 3,654
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 04-09-2547
ความเห็นที่ 22: 9 ส.ค. 50, 10:05
...ไม่ได้เข้ามาตั้งนานยังเหมียนเดิมนะน้าอิปั๋น....
...ไม่ได้เข้ามาตั้งนานยังเหมียนเดิมนะน้าอิปั๋น....
กระทู้: 7
ความเห็น: 232
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-07-2550
ความเห็นที่ 23: 9 ส.ค. 50, 11:01
อย่างนี้ต้องเปิดสอนพิเศษ  วิชา สังคมศาตและการเมือง เพิ่มเลยครั้บอิอิ....รวย.......



ป.ล.ขอบคุณที่ให้ความรู้และความเป็นมา,,,,เป็นไปครั้บ
กระทู้: 113
ความเห็น: 14,178
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 05-03-2550
ความเห็นที่ 24: 9 ส.ค. 50, 11:40
ความรู้รอบตัว ชอบค่ะ

ตาเฟดเด๋อเรอ เกิดปีเดียวกัน แต่ทำไมใบหน้าถึงได้ออฟไซค์ไปเยอะฟระ??

กระทู้: 20
ความเห็น: 1,567
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 01-07-2548
more(80 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 25: 9 ส.ค. 50, 12:17
ขอบคุณครับ 
หน้าที่: 1 | 2 >
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?tid=30312&begin=0