ช่วยตอบให้คับ เล่น ตระกูล DC เหมือนกัน
บทความที่ผมเคยบอกน้องคนหนึ่งในเวบเพื่อนบ้าน
CQ DC100 ชื่อเต็มๆของรุ่นนี้คือ CQ DC Calcutta Conquest Digital Control systemg รอกรุ่นนี้เป็นรุ่นบุกเบิกในเครื่องการควบคุมระบบเบรกสปูนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเจ้าแรกของโลก ชิมาโน่กระโดดข้ามความสำเร็จในเรื่องการทำระบบเบรกสปูน ด้วยแม่เหล็ก ไปอย่างรวดเร็ว โดนการนำ หลักการกำเนิดกระแสไฟฟ้าเข้ามา หลักการทำงานของแม่เหล็กผมจะอธิบายทีหลัง หลายคนบอกแค่ว่า แม่เหล็กตัดผ่านขดลวดแล้วทำให้มันหมุนช้าลง หรือไปต้านทาน อย่างไรจะได้รู้กัน CQ DC 100 /101 เป็นรุ่นแรกที่ชิมาโน่ ส่งชุด ควบคุมด้วยไฟฟ้า ระบบดิจิตอล แน่นนอน ระบบนี้ในคำโฆษณาของเขานั้นบอกว่า สามารถรองรับการหมุนของสปูนได้ถึง 30000 รอบภายในไม่ถึงวินาทีได้ ผมเองก็มะเคยลองอะนะ ตีเองยังคิดว่าไม่ถึง 5000 รอบต่อวิ ถึงป่าวยังไม่รู้เลย ความพิเศษของรอกรุ่นนี้ที่ชิมาโน่ใส่ใจมากขึ้นคือการนำลูกปืน A-RB เข้ามาใส่ ส่วนในของ CT และ CQ นั้น ยังเป็นลูกปืนสเตนเลด ธรรมดา ระบบเบรกก็เหมือนกันกับ CT และ CQ รอกรุ่นนี้ นังรวมและรองรับ SALT WATER นั่นหมายถึงลุยน้ำเค็มได้ 100% เต็ม แสดงว่าชิมาโน่ได้ใส่ใจถึงน้ำเค็มซึ่งเรารู้ๆกันว่า อิเล็กทรอนิกส์ กับ ความเค็ม ไปกันไม่ได้ แต่ชิมาโน่ รองรับว่าสามารถลงน้ำเค็มได้ เช่นกัน เฟรมของรอกตัวนี้เป็นอลูมินั่ม ชิ้นเดียว เหมือนกับ CQ ความจุของสายนี่อยู่ที่ 3-100,3.5-90,4-80 ส่วนน้ำหนัก ของตัวรอกไม่รวมสาย อยู่ที่ 240g ในรุ่น 100/101 DC สำหรังคนที่เล่น DC100 แล้วจะคิดไปเล่น Antares_DC นั้นแล้วบอกว่ามันหนักไปสำหรับรอกตัวนี้ ขอบอกได้เลยว่า ห่างกันเพียง 10g
ส่วนเรื่องชิพที่เสีย นั้นถ้ามันเสีย เวลาตีมันจะไม่มีเสียงคับ เพราะรอก DC จะมีเสียงเวลาชิพทำงาน ถ้ามันเสียตีได้ไหม ตีได้คับ ก็เหมือนไม่มีหน่วงอะไรเลย
โอกาศเสีย มีไหม ตอบว่า มีคับ ทุกวันนี้ผมใช้ รอก Antares_DC คับ เป็นรอกหยดน้ำ ที่นำชุด DC มาใส่ ก็เสียวๆเหมือนกัน แต่ก็ใช้อย่างรักษาที่สุด คือ
1 ไม่ไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับแม่เหล็ก คือไม่ควรนำแม่เหล็กแรงสูง มาเข้าใกล้ ชุดควบคุม
2 เมื่อใช้แล้วทุกครั้ง เน้นะคับ ควรถอดชุด Dc ออกมาเป่าน้ำออกให้หมด หรือใช้น้ำยาไล่ความชื้น ฉีด บริเวณที่โดนน้ำ แต่จากการแกะดู ชิมาโช่ ซีนมาค่อนข้างดี แต่ก็ยังมีบางจุดที่ความชื้นสามารถเข้าไปได้
ที่ชิฟเสียๆ ผมว่า เกิดจากการที่มีความชื้นสะสมเข้าไปมากคับ ถ้าคนที่ทำงานด้านไฟฟ้าจะทราบดีครับว่า ถ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เกิดความชื้น มันมักจะเกิดคราบที่เรียกว่า อ๊อกไซร์ ขึ้นมาทันทีทันใด ยิ่งความถี่ยิ่งสูง คราบเหล่านี้จะเกิดไวขึ้น มันจะเป็นคราบเขียวๆ ดำๆ ที่เกิดตามรอยเชื่อมบัดกรีตระกั่ว
3 ถ้ารอกตกน้ำ หรือตกลงบ่อ เมื่อนำขึ้นมาได้ควรล้างน้ำสะอาดทันทีเท่าที่ทำได้ แล้วถอดสายออก ผึ่งให้แห้ง แล้วรีบดำเนินการล้างทำความสะอาด
4 ที่เหลือ ก็อยู่กับผู้ดูแลเจ้าของรอกเองว่าจะดูแลดีขนาดไหน
ส่วนชุด DC ถ้าพังนั้นมีขายไหม ก็คงต้องถามทางร้านก่อนว่า เขามีบริการสั่งของให้ไหม หรือมีประกันไหม ราคาก็ไม่น่าเกิน 3000 เท่าที่ทราบนะคับ