ขอบคุณน้าอิทครับที่มาตอบให้ก่อน อิอิ ไม่งั้นจะสงสัยกันมากไปอีก
กะพงแดงครับไม่ต้องสงสัย มันอยู่น้ำจืดได้ครับ มันถูกจัดอยู่ในประเภทปลาน้ำกร่อยนะครับ เจ้าตัวนี้
ปลากะพงแดง (Lutjanus argentimaculatus, Forskal) Red Snapper หรือ Mangrove snapper ปลากะพงแดงเป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ เลี้ยงง่าย โตเร็ว แข็งแรง ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว อัตรารอดตายสูง และราคาดีพอสมควร ที่พบทั่วไปในบริเวณทะเลชายฝั่ง ทางอ่าวไทยตอนใต้ ตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ระนองถึงสตูล สามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้ตามแหล่งน้ำบริเวณป่าชายเลน ตลอดจนแหล่งน้ำกร่อยปลากะพงแดงที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ Lutjanus johni และ Lutjanus argentimaculatus เป็นปลาที่ได้จากการรวบรวมลูกพันธุ์จากธรรมชาติอย่างเดียว โดยเฉพาะ Lutjanus johni สามารถรวบรวมได้ตั้งแต่ขนาดความยาว 2-3 นิ้วขึ้นไป การเลี้ยงปลาชนิดนี้ ในปัจจุบันนิยมเลี้ยงกันในกระชังเท่านั้น
ชีวประวัติ
ปลากะพงแดงน้ำกร่อยมีรูปร่างและลำตัวคล้ายปลากะพงขาวทั่วไปในวงศ์เดียวกัน ซึ่งอยู่บนขากรรไกรตอนหน้าเป็นฟันเขี้ยวมี 2 ซี่ ส่วนฟันบนขากรรไกรล่างเป็นฟันเล็ก คมเกล็ดค่อนข้างโต เกล็ดที่บริเวณแก้มมี 7-8 แถว ส่วนเกล็ดบนที่เส้นข้างตัวมีจำนวน 40-47 เกล็ด ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยว ครีบตอนหน้าเป็นด้านครีบแข็งมี 10-12 อัน ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางเว้าเล็กน้อย สำหรับปลาขนาดเล็กที่ยาวประมาณไม่เกิน 10 เซนติเมตร จะมีแถบลายขวาง 6-7 แถบ และแถบจะจางหายไปเมื่อปลาโตขึ้นกลายเป็นลำตัวสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลอมเทา บริเวณใต้ครีบตา และส้นท้องเป็นสีชมพูอมม่วง บริเวณแก้มเป็นสีส้ม ครีบอกสีขาวเหลือง ส่วนครีบอื่น ๆ มีสีน้ำตาลแดง เป็นปลาที่อยู่ตามหน้าดินและกองหินใต้น้ำในเขตทะเลตื้น ๆ ทางชายฝั่งทะเล
นิสัยการกินอาหารตามธรรมชาติ
โดยธรรมชาติปลากะพงแดงเป็นปลาที่ว่ายน้ำรวดเร็วในระยะสั้น ๆ ทั้งปลาขนาดเล็กและปลาใหญ่ แต่เมื่อตกใจจะมุดซ่อนตัวตามมุมกระชังหรือซอกหิน มีนิสัยดุเมื่อยังเป็นปลาวัยรุ่น ฉะนั้นถ้านำลูกปลาเล็กที่มีขนาดไม่เท่ากันมาเลี้ยงไว้ในที่เดียวกัน ปลาตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก ถึงแม้ว่าจะให้อาหารพอเพียงแล้วก็ตาม แต่นิสัยดังกล่าวจะหายไปเมื่อปลาโตขึ้น
ข้อมูลจากที่นี่ครับ
http://www.fisheries.go.th/coastal/th/index.php?option=com_content&task=view&id=134&Itemid=2&limit=1&limitstart=1