เอากรณีการวางตะกั่วถึงพื้นแล้วยกก่อนครับ
การที่ไต๋บอกว่าพอตะกั่วถึงพื้นแล้วให้ยกเมตร-สองเมตร คือบริเวณนั้นอาจมีหินหรือกัลปังหา ตะกั่วอาจติดได้เวลาเรือเคลื่อนที่ หรือหมายนั้นมีปลาเล็กมากอาจรุมกินโต๊ะหมึกเรา ยกให้พ้นฝูงปลาเล็ก
กรณีที่ให้เอาตะกั่วผูกหนังยาง
การที่เราใช้ตะกั่วผูกหนังยางแล้วไปมัดสายเอ็น มีประโยชน์ 2 อย่างคือ 1.เราสามารถผูกสายตรงไหนก็ได้ จะวางชิ่งเท่าไหร่ก็ได้ สามารถเพิ่มหรือลดขนาดตะกั่วได้ตลอดเวลาไม่ต้องตัดเอ็นเหมือนแบบรอยรู หรือจะเปลี่ยนระยะการวางชิ่งก็ทำได้สะดวกเช่นกัน 2.เวลาตะกั่วติดหินก็ขาดแต่ตะกั่ว หรือเวลาปลากินเราอัดมาตะกั่วจะขึ้นมาก่อนเราก็ดึงหนังยางขาดเก็บตะกั่วมาก่อน จะได้อัดปลาแบบสายไม่เคลียด เพราะไม่มีตะกั่วคอยถ่วง ผมชอบใช้วิธีนี้เวลาตกปลาฉลาม หรือปลาที่กินเหยื่อยากๆ
กรณีที่สายเอ็นร้อยตะกั่ว
เหมาะกับการตกปลาที่กินง่ายๆวางชิ่งไม่ยาวและน้ำไหลคงที่ไม่ต้องเปลี่ยนตะกั่วบ่อยๆ แต่มีข้อเสียมากกว่าแบบใช้หนังยางผูก
1.รูตะกั่วอาจคมกัดสายเอ็นขาดได้
2.เวลาตะกั่วติดหินหรือซากสายเอ็นมักจะขาดเสียทั้งเบ็ดและตะกั่ว
3.เวลาปลากินต้องอัดปลาพร้อมตะกั่วจนกว่าปลาจะขึ้น
4.เวลาวางชิ่งยาวๆจะคุมปลายากเพราะตะกั่วถึงปลายคันแล้วยังไม่เห็นปลาต้องไล่จับสายเอ็นหาปลาอาจโดนสายเอ็นบาดได้
5.การเปลี่ยนตะกั่วต้องตัดผูกไม่ทุกครั้งอาจไม่สะดวกเวลาปลากินดีๆ
กรณีปลากินเบ็ดอย่างไหนดีกว่า
ผมว่าวัดกันยากแต่ขนาดตะกั่วเหมาะกับกระแสน้ำจะมีผลกับการกินเหยื่อมากกว่า หรือการวางชิ่งยาวเท่าไหร่ปลากินเบ็ดดีกว่ากันจะมีผลมากกว่า