ความเห็น: 31 - [14 ส.ค. 46, 07:19] ดู: 7,644 - [15 ม.ค. 68, 21:52]
แนวความคิดเห็นเรื่อง การตกปลาอย่างยั่งยืน
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,124
ล่าสุด: 15-01-2568
ตั้งแต่: 17-03-2544
1
หลายท่านคงสังเกตุเห็นได้ว่า จำนวนปลาที่ตกได้นับวันยิ่งมีจำนวนน้อย หรือมีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด กระทั้งบางชนิดไม่สามารถพบเห็นได้แล้ว ปัจจัยที่ทำให้เป็นเช่นนี้ก็มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคือ การทำประมงผิดกฎหมาย
ถึงกระนั้นก็ตาม ผมคิดว่า เราน่าจะมาระดมความเห็นกันในเรื่องนี้ว่า อะไรเป็นสาเหตุบ้าง และอะไรบ้างที่เราในฐานะนักตกปลาจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข
หากมีสาเหตุที่ "นักตกปลายอมรับในวงกว้างและเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขได้" เราจะได้ทำการรณรงค์ในจุดที่มีแนวร่วมกันก่อน โดยเริ่มกันจากจุดเล็กๆ ที่นี่ครับ
อย่างน้อยผมคิดว่า เราจะได้สามารถยืดระยะเวลาของอนาคตการตกปลาออกไปให้เยาวชนรุ่นหลังได้สัมผัสเช่นเราบ้างครับ
กระทู้: 7
ความเห็น: 157
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 25-05-2546
ไม่ใช่แต่การทำประมงผิดกฎหมายเท่านั้น ทำประมงถูกกฎหมายก็มีส่วนใน
การทำให้จำนวนปลาน้อยลงไป เพราะความต้องการของ คน เกิดจากคนต้องแก้จากคน
กระทู้: 121
ความเห็น: 1,557
ล่าสุด: 29-04-2567
ตั้งแต่: 19-03-2544
เรื่องนี้มันเป็นปัญหาที่ใหญ่ และมีความซับซ้อน(อยากใช้คำว่าละเอียดอ่อนแต่เกรงใจพี่ติ่ง)
มูลฐานของการประมงล้างผลาญนั้น มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสัญชาตญาณล่าที่มีในตัว
เท่านั้น แต่ปัญหาของการล้างผลาญที่เกิดขึ้นมันมีเหตุมาจาก เมื่อการล่านั้นสามารถสนองต่อสภาพ
เศรษฐกิจของผู้ล่า กล่าวคือ เมื่อล่าแล้วได้เงิน การล่านั้นก็ไม่มีการจำกัด
เมื่อก่อนในสมัยที่มนุษยชาติ ล่าเพื่อเป็นอาหาร มนุษย์รู้จักล่าเพื่อการประทังชีพ ในสมัยนั้นเราล่า
เพียงพอต่อมื้อ จนกระทั่งมนุษยชาติได้มีพัฒนาสร้างอัตรากลางเพื่อการแลกเปลี่ยนความต้องการ
พื้นฐาน ที่เรียกโดยทั่วไปว่า เงินตรา มนุษย์ก็เริ่มมีความต้องการมากเหนือกว่าความจำเป็น
มนุษย์รู้จักสะสม รู้จักแสวงหา แต่มนุษย์กลับลืมความเพียงพอไป แล้วก็เริ่มตักตวงจากธรรมชาติ
อย่างไม่มีสิ้นสุด....
มาดูสภาพความเป็นจริงกัน ผมเคยอยู่ที่จังหวัดสตูลท่าเรือปากบารา ช่วงหนึ่งในชีวิต ผม
ใช้ชีวิตกับการตกปลาที่นั่นอยู่เป็นแรมเดือน ผมได้รู้จักคุ้นเคยกับชาวประมงผู้หนึ่ง ยูซูป
เป็นไทยมุสลิมนิสัยดี มีอัธยาศัยที่เอื้ออาทร แบ่งปันต่อผู้ผลัดถิ่นอย่างผมไม่ได้ขาด วันหนึ่ง
ผมได้มีโอกาสคุยกันถึงปัญหาเรื่องการทำประมงล้างผลาญกับเขา วันนั้น ยูซูปได้บอกกับผมว่า
เขาเองก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการระเบิดปลา เขาบอกต่อผมอย่างภาคภูมิใจ นั่นทำให้
ผมเฉลียวใจว่า คนที่มีอัธยาสัยไมตรีดีขนาดนี้ กลับมองการล้างผลาญระยะยาวเป็นเรื่องเล็กน้อย
จนกระทั่งได้พูดคุยกันมากขึ้นกเข้าใจกับยูซูปได้ว่า การระเบิดปลาใช้ทุนต่ำได้ผลสูง แล้วยูซูป
ก็เข้าใจว่า หินกองในท้องทะเลนั้นมีอยู่ดาษดื่น อีกทั้งหากเราไม่ระเบิด อีกไม่นานก็จะมีคนอื่น
มาระเบิดเหมือนกัน นี่ไม่ใช่เป็นดัชนีที่บ่งชี้ว่า ยูซูปเป็นคนไร้น้ำใจไม่ยี่หระต่อสภาพธรรมชาติ
ในทางกลับกัน ยูซูปรู้ดีว่าปลานั้นต้องอาศัยหินกองปะการัง ยูซูปจึงได้มาระเบิดปลาที่นี่
แต่ยูซูปไม่เข้าใจว่า กว่าหินกองแต่กอง กว่าปะการังแต่ช่อจะเกิดนั้น มันใช้เวลา และมันมีค่า
ต่อระบบนิเวศน์แค่ไหน ผมได้อธิบายความผูกพันของระบบนิเวศน์ต่อเขา ยูซูปได้แต่มองหน้าผม
ออกจะแคลนๆผมอีกด้วยว่า เด็กน้อยเมืองกรุงจะรู้เรื่องเหล่านี้ดีกว่าเขาได้อย่างไร แต่สิ่งหนึ่ง
ที่ผมสะดุดหูจากคำพูดของยูซูปมากที่สุดก็คือ ให้ผมหยุดระเบิดปลาก็ได้ แต่เรือผมมีดอกที่ต้องส่ง
บ้านก็ยังไม่มีทีวี ตู้เย็น หากยูซูปเพียงแต่หาปลาจากการวางลอบวางอวน ลงเบ็ดตกปลา ของเหล่านี้
เขาจะได้มาได้อย่างไร ด้วยวัยผมในตอนนั้นผมก็สุดปัญญาที่จะสรรตอบต่อยูซูป
เอาว่าว่า นี้เป็นเพียงเรื่องเล่าพอสังเขปเกี่ยวกับ เหตุที่ทำให้เกิดการประมงอย่างล้างผลาญก็แล้วกัน
เอื้อนเอ่ยมาเสียยืดยาว รู้สึกว่าจะหลงประเด็นไป เอาเป็นว่าต่อไปจะมาเพิ่มเติมให้ว่า ทำอย่างไร
การตกปลาจึงสามารถเป็นไปอย่างยั่งยืนได้ ...
กระทู้: 1
ความเห็น: 125
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-02-2546
ลองไปอ่านบทความเรื่อง"เกาะติดสถานการณ์โลก"ตอน"ห่วงโซ่อาหาร"
ของคุณ..วันชัย แจ้งอัมพร..ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร FISH and GAMESฉบับที่12 ปีที่2 ประจำเดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งได้กล่าวถึงวงจรการตัดตอนห่วงโซ่อาการของประชากรสัตว์น้ำไว้ได้อย่างน่าเป็นห่วง และเห็นภาพพจน์ของการทำลายความสมดุลย์ของธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ผมเห็นว่าเป็นบทความที่ดี..ให้ความรู้และสาระเหมาะแก่พวกเรานักตกปลาควรได้อ่านไว้เป็นความรู้ ทั้งนี้เนือ้หาบางส่วนยังได้เอ่ยถึงนักตกปลาไว้ให้เป็นอุทาหรณ์อีกด้วย ผมเองก็อยากจะนำบทความบางส่วนมาเผยแพร่..แต่เกรงว่าจะเป็นการละลาบละล้วงเนื่องจากยังมิได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าของบทความ ... แต่เห็นว่ามีส่วนที่เกี่ยวพันกับหัวข้อกระทู้..ที่น่าจะเป็นข้อมูลให้รู้ที่มาที่ไปของสาเหตุของการลดน้อยถอยลงของประชากรสัตว์น้ำ เพื่อที่จะได้หาทางอนุรักษ์ไว้ให้ได้มีปลาตกกันอย่างยั่งยืนต่อไป....ลองหาอ่านกันดูก่อนนะครับ...
ผมคิดว่างานนี้ยาวแน่ๆ...เพราะ WEB ได้ให้การบ้านพวกเรามาทำกันแล้ว....ใครจะอยู่เฉยได้ไง...จริงไม๊ครับ.ทุกท่าน... แล้วเจอกันใหม่..หวัดดี.
กระทู้: 244
ความเห็น: 10,696
ล่าสุด: 14-01-2568
ตั้งแต่: 03-06-2544
- ตอนหนึ่งแห่งพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถที่ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2546 พระองค์ท่านยังได้รับสั่งถึงวิกฤตการณ์ของทรัพยากรทางทะเล โดยทรงอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากนิตยสารต่างประเทศโดยสรุปว่า จำนวนสัตว์ทะเลที่เป็นอาหารของมนุษย์ร่อยหรอลงตามจำนวนประชากรโลกที่มีมากขึ้น ความต้องการอาหารมากขึ้น ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ทะเลทั้งในวัยอ่อนและเติบโตแล้วถูกทำลายลง ทั้งที่รู้ถึงผลกระทบที่ตามมา และทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
- ทุกวันนี้ผมพูดได้เต็มปากเลยว่า
"พวกเราตกปลากันตามมีตามเกิด"
"คนทำมาหากิน เขาห่วงเฉพาะลูกหลานตัวเอง ไม่ห่วงลูกหลานคนอื่นหรอกครับ ธุระไม่ใช่"
"คนรู้ ไม่อยากทำ คนอยากทำ ไม่มีแรง คนมีแรง ไม่มีอำนาจ คนมีอำนาจ ไม่สนใจ คนสนใจ แต่ไม่อยากเกี่ยวข้อง ทะเลน่ะรึ....ของฉันคนเดียวซะเมื่อไหร่?" วนเวียนอยู่อย่างนี้
"นักตกปลาส่วนใหญ่ รู้ดีครับว่าควรจะทำอะไร อย่างไร อยู่ที่จะทำหรือไม่ เท่านั้น"
- ข้อเสนอ ผมอยากให้ช่วยกันคิดร่าง "จรรยาบรรณ ของนักตกปลา" ขึ้นมาเป็นคู่มือสำหรับนักตกปลา นอกเหนือจากคู่มือวิธีการตกปลาทั่วไป โพสท์ถาวรไว้ที่หน้า website ใครอ่านแล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายคอขาดบาดตายหรือถึงขั้นต้องถูกประนามแต่อย่างใด ขอเพียงรู้สึกตะขิดตะขวงในใจนิด ๆ รู้สึกแปลกแยกจากสังคมหน่อย ๆ ก็ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่งแล้วครับ
- ถ้าเกิดขึ้นได้จริง เมื่อต้องการสร้างจิตสำนึกให้ส่วนรวม ก็ขอให้ส่วนรวมช่วยกันกำหนดและแสดงความเห็นครับ แล้วสรุปเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย
กระทู้: 34
ความเห็น: 1,213
ล่าสุด: 10-08-2567
ตั้งแต่: 01-02-2546
ผมจำได้ตอนเด็กเรียนหนังสือ ป. อะไรจำไม่ได้แล้ว
จำได้ว่า ช่วงนั้น ประเทศไทยจับปลาทะเล ได้ มากเป็นอันดับต้น ของโลก หรือไงเหนี่ยและ ติดอันดับ 1 2 3 ตลอด
ไหงพอผมโตแล้วออกตกปลาทะเล มันไม่ค่อยจะมีตัวให้ตกเลยอ๊ะ
ผมชอบ สโลแกนเฮีย ติ๊ "ปล่อยปลาไม่ได้ขนาด นำปลาขึ้นแต่พอกิน ไม่ทิ้งขยะลงสายน้ำ"
โลกกว้างเล่มใหม่ ก็มีการพูดถึง การพัฒนาวงการตกปลาใน เมกา ที่แยก Fishing กับ Angling ออกจากกัน แล้วทำให้ ได้อะไรดีๆเหยอะมาก
กระทู้: 182
ความเห็น: 2,222
ล่าสุด: 08-09-2566
ตั้งแต่: 07-08-2544
ดีครับ ดีทั้งหัวข้อกระทู้ และความเห็นของทั้ง 4 ท่าน ผมก้อเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีความคิดเห็นแบบเดียวกับเวป ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่ประสบด้วยตัวเอง และฟังคำบอกเล่าของผู้อื่น ประชากรของปลามีน้อยลง แต่ผู้ล่าซึ่งเป็นมนุษย์มีมากขึ้น แหล่งตกปลาน้ำจืดตามสถานที่ต่างๆ ได้มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ปลา ปล่อยพันธ์ปลา เช่นปลาบึก เป็นต้น แต่สำหรับปลาทะเลในน่านน้ำของประเทศไทยนับวันมีน้อยลง เราไม่สามารถ เพาะพันธ์ หรือขยายพันธ์ปลาทะเล เหมือนปลาน้ำจีดได้ เพียงแต่ สร้างห่วงโซ่อาหาร , ปลูกจิตสำนึกของนักตกปลา ( ตกปลาแต่พอเพียง )
กระทู้: 533
ความเห็น: 18,110
ล่าสุด: 01-05-2567
ตั้งแต่: 19-04-2545
ตัวผมเองเพิ่งมาหัดตกปลาได้เกือบสองปีแล้ว เท่าที่ผ่านมาเห็นการตกปลาเป็นเรื่องไร้สาระ เวลาผมต้องการล่าปลาเพื่อเอามากิน ผมใช้วิธีทอดแห ดักข่าย วิดบ่อ สารพัด หลังจากที่ได้มาสัมผัสกับการตกปลา ก็ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และจากเว็ปแห่งนี้มากมาย ทำให้เข้าใจได้ถ่องแท้ว่า คันเบ็ดรอกและตัวเบ็ดไม่สามารถทำให้ปลาหมดหรือสูญพันธุ์ไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ให้คุณขุดบ่อ กว้างสัก10 เมตร ยาว 10 เมตร แล้วดูดน้ำแม่น้ำใส่ไป มีพันธุ์ปลาใส่ลงไปบ้างหรือไม่ต้องใส่เลย ปลาที่มากับน้ำจากแม่น้ำจะโตและแพร่พันธุ์ ตอนนี้ให้คุณใช้เบ็ดตกปลากี่คันก็ได้ให้ตกทุกวันด้วยรับรองว่าปลาไม่มีทางหมดไปจากบ่อนั้นได้ ผมจึงเชื่อมั่นว่าการใช้เบ็ดตกปลาไม่สามารถทำให้ปลาสูญพันธุ์ได้ แต่จากการที่ได้เห็นการประมงด้วยวิธีอื่น หลาย ๆ วิธี น่ากลัวมาก เช่นระเบิดปลา ลากอวน ฯลฯ ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่กินไม่ได้ก็ต้องมาตายเน่าเสียจนน่าใจหาย
แต่ผมก็มีความภาคภูมิใจอยู่อย่าง หลังจากที่ได้ไปตกปลาที่ แพตาเหน่ง เขื่อนเขาแหลม บ่อย ๆ ครั้ง ได้คุยกับไต๋เรือหลายคน ก็ทราบถึงอาชีพเดิมก่อนจะมาเป็นไต๋ให้พวกเราตกปลากัน คือ ดักข่าย หาปลา สารพัดวิธี แม้กระทั่ง ช้อนลูกครอกปลาชะโดมาขาย ผมได้ยินอันนี้แล้วใจหาย เพราะที่ผมไปเขื่อนก็เพราะอยากตกปลาชะโดนี่แหละ เลยอยากอนุรักษ์ชะโดไว้ตกกันนานๆ ผมเลยคุยกับไต๋หลายคน คุยกันยาว ๆ ว่าช้อนครั้งหนึ่งได้เงินเท่าไหร่ เขาบอกว่า ได้เกือบพัน บางคลอกได้เป็นพันบาท แต่ถ้าดักข่ายประจำวันอยู่นี้ วันละประมาณ 60-100 บาท หลังจากที่ผมไปตกปลาที่นั่นบ่อย ๆ เริ่มมีอาชีพใหม่ให้กับชาวบ้านแถวนั้นก็คือ เป็นไต๋ให้พวกเราออกตกปลา ผมได้มีโอกาสคุยกับไต๋หลายคนว่า ตอนนี้เป็นไต๋ได้วันละ 300 บาท ผมไปครั้งหนึ่ง 4-5 วัน เขาได้ พันกว่าบาท เท่ากับช้อนลูกครอกแล้ว ถ้าเขาช้อนลูกครอกหมด ปลาก็ไม่มีให้ตก นักตกปลาก็ไม่มาเงินที่ได้วันละ 300 บาท ก็หมดไป แต่ถ้าไม่ช้อนลูกครอกก็จะมีปลามาให้ตกบ่อย ๆ นักตกปลาก็มาตกกันมากมาย หลาย ๆ ครั้งที่ผมไปที่ แพตาเหน่ง แล้วมีนักตกปลาออกไปตกปลามาก เหมือนเราไปสร้างอาชีพให้เขา วันหนึ่ง ๆ (เสาร์อาทิตย์ มีเรือออก 7-10 ลำ) นั่นคือการสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน
ชาวบ้านพวกนี้ที่เคยช้อนลูกครอกแหละ ผมได้คุยกับ ตาเหน่ง และให้ ตาเหน่ง เรียกไต๋เรือพวกนี้มาประชุมกันแล้วเสนอเงื่อนไขไปว่า อย่าช้อนลูกครอกอีกต่อไปเลย เพื่อในอนาคตพวกเราจะได้มีนักตกปลามาใช้บริการมาก ๆ และ นักตกปลาอย่างพวกเราจะแอนตี้ไม่ลงเรือลำที่ไต๋ออกช้อนลูกครอก อันนี้ได้คุยกับไต๋เรือแล้ว และผมเองก็เริ่มแล้ว อาจจะเป็นประโยชน์ต่อนักตกปลาได้บ้าง ผมเป็นเพียงคนหนึ่งที่ตกปลา หลายอย่างอาจจะทำไม่ถูกไม่ควรนัก แต่ก็ยินดีถ้าสามารถทำบางสิ่งบางอย่างให้แก่วงการได้บ้าง สนิทกับที่นี่ก็ทำได้แต่ที่นี่แหละครับ ส่วนที่อื่น ๆ คงต้องฝากพวกเราอ่ะครับ
กระทู้: 3
ความเห็น: 19
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 04-10-2544
รู้สึกยินดีมากจริงๆครับที่มีคนคิดถึงเรื่องนี้แล้วแสดงกันออกมาที่เมืองกาญจน์บ้านผม
ทุกวันนี้หาปลาตกยากขึ้นทุกวันๆเห็นเด็กรุ่นใหม่ๆเขามาตกปลากันผมนึกชมในใจ
ที่น้องๆเหล่านี้มีความรักในการตกปลาเพราะแหล่งปลาแม่น้ำที่ดีๆหายไปเกือบหมดแล้ว
สมัยผมเด็กๆตอนเย็นขี่จักรยานจากตลาดมาแม่น้ำก็มีปลาให้ตก แต่เดี๋ยวนี้ขนาดปลากระมังยังหาตกได้ยากเลยแถวๆตลาด
เรื่องของการทำประมงที่ผิดกฎหมายหรือทำประมงแบบผิดวิธียกตัวอย่างใกล้ตัวผมก็ที่เขื่อนศรีนครินทร์กับเขื่อนวชิราลงกรณ์(เขาแหลม)
เดี๋ยวนี้ตกกระสูบต้องเขื่อนศรีฯ ชะโดต้องเขื่อนเขาแหลม เพราะเขื่อนศรีช้อนลูกครอกหมดกับนักตกปลาเอาตัวใหญ่ๆกลับบ้านกันหมดแล้ว
แล้วยังพวกดำยิงเอามาขายตลาดเมืองกาญจน์อีก เขื่อนเขาแหลมสมัยก่อนลุงสงบบอกปลากระสูบเยอะมากแต่โดนช็อตหมด
เดี๋ยวนี้ตกปลากระสูบที่เขาแหลมต้องไปต้นน้ำหรือตามหาฝูง ตกมั่วๆไม่มีแล้ว
จริงๆแล้วนักตกปลามีส่วนช่วยอย่างมากในการอนุรักษ์ การตกแล้วปล่อยเก็บไว้เพียงรูปภาพก็เป็นสิ่งดี
และนักตกปลายังเป็นคนสร้างรายได้ให้กับชาวประมงท้องถิ่นอีกด้วย เพราะเราตกปลาก็ต้องการที่พัก อาหาร เรือ ไต๋ หรือไกด์ แต่ถ้าไม่มีปลามันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
สมัยก่อนไปสังขละหาเรือตกปลายากมาก อยากได้ชัวร์ๆก็หาลุงสงบ ทุกวันนี้ลุงไม่สบายแต่คนพาเข้าหมายฝีมือดีๆมีเยอะ
เพราะนักตกปลามากขึ้นคนที่หารายได้พิเศษก็มากตาม
การลดจำนวนการทำประมงที่ผิดหรือประมงล้างผลาญนั้นต้องช่วยกันหลายฝ่าย
เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปากท้องของคนทำประมง หากเราสามารถทำให้เขาอยู่รอดได้โดยที่ไม่ต้องทำประมงล้างผลาญ
การทำประมงแบบผิดๆก็จะลดน้อยลง เราอาจจะช่วยเหลือเขาได้ไม่มาก เพราะเราไม่สามารถสร้างอาชีพใหม่ๆให้เขาได้ทุกคน
แต่เราสามารถใช้การท่องเที่ยว และ ตกปลา ช่วยเขาได้ เช่นเรือตกปลาในทะเล หรือในเขื่อน
เพราะคนที่มาเที่ยวก็ต้องกินต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเมื่อคนเที่ยวเยอะก็เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น
หากเราก็ลองหันมาตกปลาเข้าหาธรรมชาติกันมากขึ้น เที่ยวชมธรรมชาติกันมากขึ้นก็เป็นการช่วยอีกทางหนึ่ง
และเวลาพวกเราไปตกปลาที่ไหนหากมีโอกาสก็ช่วยกันพูดคุยกับนักตกปลาคนอื่นๆ ให้เห็นความสำคัญก็ช่วยได้มาก
ตามต่างจังหวัดร้านขายอุปกรณ์ก็เป็นสถานที่ที่นักตกปลามาคุยกันเยอะ หากเจ้าของร้านช่วยประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังจิตสำนึกกับนักตกปลา
ก็จะเป็นสิ่งดีมากเพราะ ตามต่างจังหวัดจะตกปลาตามหมายธรรมชาติกันมาก ถ้านักตกปลารู้จักตกแต่พอเพียงก็ช่วยได้เยอะแล้ว
กระทู้: 1
ความเห็น: 104
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 05-08-2546
หยอดน้ำยาอุทัยฯ สัก 2-3 หยดสิครับ เผื่อน้ำมันจะสะอาดขึ้น
ป.ล. ล้อเล่นน่ะครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 268
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-03-2545
อืม...ผมชอบความคิดน้าหลามเรื่อง "จรรยาบรรณ" นี่แหละครับ...
มันควรที่จะเริ่มกัน ในหมู่นักตกปลาก่อน เป็นอันดับแรก ก่อนที่พวกเรานี่แหละ ที่จะเป็นผู้ผลักดันไปสู่ยังวงการอื่น ๆ
อยากใช้คำว่าสปิริตครับ....
สัญญาณไฟจราจร....ไฟแดงก็คือไฟแดง...ทุกคนทราบดีว่าควรจะหยุดเมื่อไร หรือจะไป ก็ไม่มีใครว่า(ถ้าไม่มีตำรวจนะ..) ถ้าหากว่าสัญญาณเหล่านี้ไม่มีผู้เคารพ มันก็จะเป็นเพียงแค่ไฟดวงเล็ก ๆ ดวงเดียวเท่านั้นเอง
เปรียบเทียบกับการตกปลา......ทำอย่างไรดีครับ ถึงจะให้นักตกปลา หันมาเคารพกฏ กติกา มารยาท ดังกล่าว นอกจากจะมีข้อบังคับทางกฏหมาย...
อยากให้สังคมภายนอก มองเห็นว่านักตกปลาคือนักอนุรักษ์เสียก่อน
แต่ไม่ทราบว่า คิดไปเองรึเปล่า ทุกวันนี้ผมมองจากนิตยสารตกปลาหลาย ๆ ฉบับ "การเรียงปลาถ่ายรูป" ดูเหมือนจะน้อยลง ตามกระแสอนุรักษ์ที่ยังมีผู้เหน็บแนมกันตลอดเมื่อมีโอกาส
ผมไม่อยากให้มันเป็นกระแสครับ อยากให้มันเป็นเรื่องธรรมดาของนักตกปลาคนหนึ่ง ที่ตกปลาขึ้นมาได้แล้วปล่อยปลากลับคืนท้องน้ำ ที่ไม่ใช่อัศวินมาจากไหน..ใคร ๆ ทุกคนก็ทำกันแบบนี้......ครับ.
ขอสนับสนุน
- ตกปลาแต่พอกิน
- ไม่ทิ้งขยะลงสู่สายน้ำ
- ปล่อยปลาที่ไม่ได้ขนาด กลับคืนสู่ถิ่นเดิม.....ครับผม..
กระทู้: 69
ความเห็น: 2,065
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 01-10-2544
สนับสนุนด้วยคนครับ
เห็นความเปลี่ยนแปลงแล้ว...เป็นห่วงเหมือนกัน
กระทู้: 32
ความเห็น: 1,046
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-06-2545
คืนบาปทะเลไทย
เมื่ออนาคตของท้องทะเลถูกไล่ล่าอย่างหนักในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสมบูรณ์ของมวลชีวิตก็สูญหาย ปลาน้อย ใหญ่ ยากจะหาที่ปลอดภัย ถึงแม้จะอาศัยอยู่ในเขตห้ามล่า
วิกฤตการณ์ของท้องทะเลไทยในวันนี้ นับเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าใครจะทำได้เพียงลำพัง เพียงแค่หวังจะยืดระยะเวลาที่อับเฉาให้ยั่งยืน เรามามองดู หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขกันดีกว่า
มองออกไปสุดขอบฟ้ากว้าง ตามความแตกต่างของโลกใบนี้ ดูเหมือนเทคโนโลยี จะไร้จริยธรรมกระนั้นหรือ.! ที่ทำให้เกิดเครื่องมือทั้งการทำลายล้าง และสร้างสรรค์ อยู่ในเครื่องเดียวกัน
ในปีนี้มีประชากรร่วมโลกกว่า 6 พันล้านคน มี70 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ช่องว่างของรายได้ระหว่างประเทศรวยกับจน เมื่อสองศตวรรษประมาณ 5 เท่า เพิ่มเป็น 400 กว่าเท่าในปัจจุบัน ประเทศที่เจริญแล้ว หรือบริษัทผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ไอที ดิจิทัล พันธุกรรม มีคนระดับมันสมองของโลกไม่มากนักร่วมงาน ก็มีรายได้รวมกันมากกว่า จีดีพี ของหลายประเทศรวมกัน มากกว่าบางทวีปที่สมบูรณ์เสียอีก แต่ก็ไม่ได้เผื่อแผ่
อย่าได้แปลกใจที่ สิงคโปร์ ประเทศเป็นเกาะเล็ก ๆ มีรายได้และมาตรฐาน ความเป็นอยู่เทียบเท่าคนในสหรัฐอเมริกา ทั้ง ๆ ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากมันสมองคน แต่คนไทยพอลืมตาอ้าปากก็เป็นหนี้ 80,000. บาท และมีทรัพยากรที่ต้องแย่งชิงกันก้อนสุดท้ายใกล้จะหมด
หลายสิบปีมาแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเกษตร พืชไร่ ป่าไม้ แร่ธาตุ ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ทะเล
เมื่อเข้ายุคอุตสาหกรรมสิบกว่าปีมานี้ พื้นที่ป่าชุ่มน้ำ ชายเลน สวน ไร่นา รอบ ๆ อ่าวไทยตอนบน กลายป็นเมืองขนาดใหญ่ แหล่งของโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม พาณิชนาวี ธุรกิจบริการ ตั้งแต่ ด้านจังหวัด ประจวบ ถึง ระยอง
ทุก ๆ กิจกรรมล้วน เป็นแหล่งผลิตมลภาวะ มลพิษ ชนิดต่าง ๆ ไหลลงสู่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลของอ่าวไทย จนเกินกว่าน้ำทะเลใส ๆ จะรองรับความสกปรก โสโครก จะกำจัดได้ทัน จนตัวเองต้องเน่าเสีย
อ่าวไทยพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์ทะเลขนาดใหญ่ เป็นได้แค่เพียง บ่อบำบัดน้ำเสีย ยังจะมีความหวังว่าจะมีอะไรมาเกิดเหมือนก่อนอีกหรือ ..
เรือประมงมากมายในอ่าวไทย ทั้งถูกต้อง และผิดกฎหมาย ช่วยเร่งให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์เร็วขึ้น จนเกินกว่าจะแก้ไขด้วยวิธีธรรมดา เรือขนาดใหญ่นับพันลำ อยู่เต็มน่านน้ำอินโดนีเซีย ทั้งเหนือ ใต้ จะมีปลาใหญ่สักกี่ตัวรอดมาถึงอ่าวไทย และได้พบกับนักตกปลาผู้โชคดี แต่จะใจดีหรือเปล่าไม่รู้..
มันเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข เมื่อไทยส่งออกอาหารเป็นอันดับ 8 ของโลก ในนั้นมีอาหารทะเลอยู่ด้วย ถึงจะได้มาจากเพื่อนบ้าน แต่เราก็ไม่เคยสงวนรักษาทะเลบ้านเรา ถ้าเราไม่คิดที่จะเป็นไทในวันนี้ อาจจะต้องขายปลาทั้งท้องทะเลไทย เพื่อซื้อเรือดำน้ำใหม่สักลำ แล้วยังไม่รู้ว่าจะรบเอาชนะความยากจนได้อย่างไร..
สิ่งเฉพาะหน้าที่ต้องทำ ผมเห็นด้วยกับความคิดของหลายท่าน แต่ระยะยาวต้องเร่งการศึกษา พัฒนาคน ไอที วิทยาศาสตร์ คิดค้น ประดิษฐ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม รบกวนธรรมชาติให้น้อยลง เก็บเอาไว้เพื่อพักผ่อนให้มากกว่าเค้นเอามาใช้ อาจอยู่ยั่งยืนถึงลูกหลาน
งานใหญ่ขนาดนี้ คงต้องอาศัยพลังทั้งแผ่นดินร่วมด้วยช่วยกัน ไถ่บาปทะเลไทย..
ู
กระทู้: 2
ความเห็น: 39
ล่าสุด: 11-11-2567
ตั้งแต่: 30-03-2545
ขอสนับสนุน
- ตกปลาแต่พอกิน
- ไม่ทิ้งขยะลงสู่สายน้ำ
- ปล่อยปลาที่ไม่ได้ขนาด กลับคืนสู่ถิ่นเดิม.....ครับผม..
ธรรมชาติเป็นของเราทุกคน ช่วยกันรักษาเพื่อไม่ให้แย่ลงไปกว่านี้นะครับ
fish sleep
เห็นด้วยครับ ว่าควรมีการริเริ่มที่จะทำได้แล้ว ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจเกือบจะสายเกินไป แต่ก็ยังดีที่ได้ริเริ่มครับ ผมเองก็เห็นการเปลี่ยนแปลงมานาน จากที่มีปลาอยู่มากมายให้เราได้ตกกัน ปัจจุบันหาตัวได้ยากเต็มที คงเป็นพราะว่าบ้านเรา ในน้ำมีปลาในนามีข้าว กระมั้ง จึงไม่ค่อยได้สนใจที่จะอนุรักษ์ หรือรักษาพันธุ์ปลากันสักเท่าไหร่ อีกคงไม่นาน เราเองก็คงเหมือนประเทศอื่นๆ ที่ต้องไปตกปลายังต่างประเทศกัน เพราะปลาบ้านเราจะไม่มีให้ตก ผมว่าเราควร เริ่มทำอะไรสักอย่างได้แล้วเพื่อที่จะให้มีปลาได้ตกกันอย่างยั่งยืน
ไม่ว่าจะเป็นการออกกฏหมาย(ยาก) การรวมกลุ่มกันเป็นชมรม การมีกิจกรรมส่งเสริมการตกปลาจากภาครัฐและเอกชน จะได้เป็นการห่างไกล จากยาเสพติด มีการให้ความรู้ความเข้าใจด้านการตกปลา รวมทั้งขจัด ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดีในการตกปลา ไม่ว่าการโกงกัน การเอาเปรียบกัน จะได้ทำให้วงการการตกปลาของเรายั่งยืน เด็กๆ หรือนักตกปลามือใหม่จะได้เกิดขึ้นมาแทนนักตกปลารุ่นเก่าๆ วงการจะได้พัฒนา ก็ขอออกความเห็นแต่เพียงเท่านนี้น่ะครับ และเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับ การตกปลาอย่างยั่งยืน เมื่อเราแก่ตัวลงไปในอนาคต หวังว่าลูกหลาน ของพวกเราคงยังมีการตกปลาและมีปลาให้ตกกันอยู่ ขอบคณครับ
กระทู้: 108
ความเห็น: 3,104
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-04-2545
ตอน6โมงเย็น เมื่อกี้นี่คับดูช่องแอนิม่อน แพลนเน็ท ที่ฟอริด้า อเมริกาซากเรือใกล้ๆฝั่งที่ทางการเอาไปจมไว้ไม่นานนัก ทีมสำรวจดำน้ำลงไปหาปลาหมอทะเลยักษ์ พบว่าอาศัยอยู่บริเวณซากเป็นกลุ่มๆละ2-3ตัว น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ250-400ปอนด์ กินเหยื่อปลาสากป๊อกจากมือทีมดำน้ำสำรวจ ดูดเหยื่อเข้าปากแต่ละทีใต้น้ำเสียงดัง ปั๊บ ปั๊บ...
เมเกรนหนึ่งในทีมดำน้ำบอกว่าปลายักษ์พวกนี้จะดูแลตัวเองเมื่อยังวัยอ่อนอยู่บริเวณใกล้ฝั่ง เธอเคยดำน้ำเพื่อได้เห็นว่าใต้เรือของพ่อเลี้ยงเธอที่จอดไว้ที่มารีน่าก็มีลูกปลาเก๋าพวกนี้อาศัยอยู่ เมเกรนดำน้ำลงไปอีกครั้งพร้อมทีมกล้องเพื่อถ่ายทำสารคดีเก็บไว้
ที่ผมเห็นเชื่อม่ะ ใต้ผืนน้ำลงไปแนวบริเวณที่ท่าจอดเรือใบ-เรือเร็วหรูหราชายฝั่งเหล่านี้ เมเกรนพบกับปลาเก๋าขนาดไซส์ที่คนไทยเรียกติดปากว่า"ลูกหมู" ไซส์ตัวที่อยู่ใต้ท่าเรือต้องมีไม่ต่ำกว่า8กิโลฯแน่นอน 555 บ้าชะมัด!!!
กระทู้: 49
ความเห็น: 1,320
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 17-05-2545
ผมทำธุระกิจอุปกรณ์ประมง ถือว่าเป็นสายตรงของเครื่องมือของชาวประมง มีเรื่องน่าตกใจคือ ปัจจุบันนี้ขนาดตาข่าย หรืออวนลากที่ใช้ จะใช้เส้นเล็กลง และขนาดตาก็เล็กลงด้วยครับ
และเรื่องที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ไม่ว่าสินค้า หรือน้ำมันที่ใช้ในการออกหาปลาขึ้นเท่าไหร่ แต่ราคาปลาที่ขายไม่เคยขึ้นเลย หรือขึ้นน้อยๆมากๆ ตอนที่น้ำมัน ลิตรละ 6 บาท ราคาปลาเท่าไหร่ ตอนนี้ 15 บาท ราคาปลาที่ขายก็เท่าเดิม หรืออาจขึ้น 10 - 15 %
นี่อาจเป็นสาเหตุให้ชาวประมง ต้องจับมากขึ้นเพื่อให้ได้ รักษาต้นทุนตัวเองไว้ เมื่อทุกคนต้องทำวิธีนี้ ทำให้ต้องจับปลาเล็กลง ปลาโตไม่ทันให้จับแน่นอนครับ ที่จริงแล้ว ผมว่าชาวประมงหลายท่านไม่ต้องการจับปลาขนาดเล็ก เนื่องจากไม่ได้ราคา แต่ต้องทำเนื่องจากถ้าไม่ได้ต้นทุน วันนั้นต้องกลับมากินทุนเก่า
ผมเสนอว่าควรส่งเสริม และสร้างกลุ่มนักตกปลารุ่นใหม่ๆ ให้มากขึ้นเพื่อขยายความคิดแนวทางการอนุรักษ์ ให้คนรุ่นใหม่ๆ
กระทู้: 8
ความเห็น: 334
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2545
คงต้องรอให้อวสาน....ไม่มีปลาให้จับ....จับปลาไม่พอค่าโสหุ้ย จึงสามารถออกกฎหมายคุ้มครองได้ โดยไม่มีใครเดือดร้อน (แค่กำหนดเขตห้ามจับปลากะตัก พวกปิดอ่าวประท้วง) เขาว่ารังแกคนจน ... เอาว่าถ้าบ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ เหลือแต่น้ำ..แล้วค่อยเริ่มกันใหม่
ให้ดี น่าจะมีการกำหนดโซนตกแบบจ่ายตังค์ของกรมประมง หรือป่าไม้ หรือการไฟฟ้าก็ได้เอ้า..(ไม่ใช่ตังค์ค่าปรับนะครับ) กำหนดจำนวนปลาเอาออก กำหนดขนาด และพวกเราในฐานะนักท่องเที่ยวต้องทำ ให้ชาวบ้านเขาเห็นว่า เขาทำเงินจากปลาได้มากขึ้นอีก ถ้ามันรอดตาย ในเมือ่บ้านเราเมืองเราเป็นประเทศยากจน เงินกำหนดวิถีชีวิต เราก็น่าจะใช้เงิน...เป็นเครื่องมือในการสร้างการตกปลาแบบยั่งยืนได้ครับ
กระทู้: 10
ความเห็น: 933
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-06-2545
ปัญหานี้เกิดขึ้นมานาน และก็มองไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไข ที่ออกกฏหมายมามากมายแต่ก็เปล่าประโยชน์ ด้วยสา้หตุที่เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง (ไม่ได้บอกว่าเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจนะครับ ) วันที่ 16-17 ส.ค. ที่ผ่านมา ผมออกไปตกปลากับพวกคุณต้น คุณนะ และเพื่อนๆคุณต้น กับกับตันพงษ์ แถวเกาะคราม เกาะเป็ด แห้วสนิทเลยครับ ปลาใหญ่หายากจริงๆ คุณนะได้กระเบน 1 ตัว นอกนั้นต้องตกปลาเล็กหน้าหินกองแก้เซ็ง สิ่งที่เห็นและทำให้นั่งวิเคราะห์อยู่นานก็คือ
เครื่งไม้เครื่องมือการทำประมง ได้วิวัฒนาการไปมาก จากเดิมการหาปลาขึ้นกับความเชี่ยวชาญของชาวประมง + ความเฮงหรือโชคช่วย แต่ปัจจุบันไม่ใช่เป็นเช่นนั้นแล้ว เรือสมัยนี้จะติดตั้งซาวเดอร์ โซน่าร์ จีพีเอส และยังอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆอีกมากมาย เวลาเรือวิ่งไปทางไหนก็จะปรากฏภาพฝูงปลาใต้น้ำให้เห็น สิ่งที่ผมเห็นคือชาวประมงจะทิ้งอวนลงน้ำแล้ววิ่งเรืออ้้อมล้อมฝูงปลาฝูงนั้น แล้วก็ลากขึ้นเรือ ตลอดคินวันเสาร์จนถึงเย็นวันอาทิตย์ ผมเห็นเรือแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 5-6 ลำ นี่ยังไม่นับวิธีอื่นๆที่ผมไม่ได้เห็น และเรือลำอื่นๆทั่วอ่าวไทย ความคิดฉุกขึ้นมาทันที แล้วอย่างงี้จะเหลือปลาที่รอดจากอวนล้อมซักกี่ตัว แล้วปลาที่ล้อมจับขึ้นไปจะตัวใหญ่เล็กขนาดไหน
" ปลาในท้องทะเลไม่มีใครเป็นเจ้าของ มือใครยาวสาวได้สาวเอา " นี่เป็นคำพูดของไต๋พงษ์ ผู้มีอาชีพตกปลาขาย + รับนักท่องเที่ยวตกปลา ที่เฝ้ามองว่าปลาจะหมดทะเลในอนาคต
และถ้าเมื่อไหร่ประเทศเวียดนาม และกัมพูชา ชาวประมงของเขามีความสามารถเก่งกาจอย่างชาวประมงไทย เมื่อนั้นแหละ พวกเราจะไม่มีโอกาสได้เห็นปลาใหญ่ๆอีกต่อไป
เพราะจากสาเหตุข้างต้น ทำให้ผมสงสัยและอยากรู้แหล่งที่มาของปลา และกำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ แต่เบี้องต้น รู้มาว่าปลาจะว่ายหากินเป็นฝูงไปตามเส้นทาง เช่นปลาอินทรี (ผมยังไม่รู้ถิ่นกำเนิดแน่ชัด พอดีมาอ่านเจอกระทู้นี้เสียก่อนที่ผมจะได้ข้อมูล ) จะว่ายมาจากทางเวียดนามผ่านกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทย จากตราด มาจันทบุรี ระยอง ชลบุรี กรุงเทพ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และที่พูดคุยกับไค๋พงษ์ ปลาที่มาถึงประจวบก็แทบหมดฝูงแล้ว แต่ยังไงผมก็ว่าจะมีปลาเหลือที่จะว่ายกลับไปวางไข่ที่แหล่งต้นกำเนิด แต่ถ้าหากปลาฝูงดังกล่าวไม่หลงเหลือกลับไปสู่แหล่งต้นกำเนิด อะไรจะเกิดขึ้น เพื่อนๆลองคิดดูซิครับ
ช่วงพิมพ์อยู่นี้ยังเมาคลื่นทะเลอยู่เลย ขอบายก่อนครับ
เห็นด้วยกับทุกความคิดเห็นครับ ช่วยๆกันหาวิธีการเพื่อชนรุ่นหลังของชาวโลกครับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 167
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-06-2545
ผมอยากให้ นักตกปลา เป็นหูเป็นตา ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง เกี่ยวกับการ ปู้ยี่ปู้ยำ แหล่งน้ำหรือ ทรัพยากรสัตว์น้ำมากกว่าครับ ลำพังแค่นักตกปลา ถามจริงๆเถอะ จะได้ซักกี่ตัวกัน มันเทียบกับการ ประมง สารพัดชนิดไม่ได้หรอกครับ ถ้าพวกเราร่วมใจกัน คอยสอดส่องดูแล ให้การทำประมงผิดกฏหมาย อยู่ในความควบคุมได้รวมไปถึงการทิ้งน้ำเสียลงแหล่งน้ำทำได้ แค่นั้น อะไรๆ ก็ยั่งยืนได้เองครับ
กระทู้: 10
ความเห็น: 11
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-09-2546
เห็นด้วยกับคุณเล็กแปดริ้วมากๆเลยครับ
ปลานี่ใช้ตกมันไม่หมดหรอก
เห็นได้ชัดเลย บ้านผมติดริมเจ้าพระยากลางกรุง
เมื่อ5-6ปีก่อน มีลุงคนนึงแถวบ้านชอบช็อตปลาทุกวัน
ทำให้คนตกปลาเกดือดร้อนไปด้วยเพราะปลามันหายหมด
พอเขาย้ายบ้านไป ปลามันก็มาครับ
แต่แล้วพอมีการสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม ผมเข้าใจว่าน้ำมันไม่ท่วม แต่ระบบนิเวศน์เปลี่ยนไปหมด ไม่มีเวิ้ง อ่าว ตลิ่งให้เป็นที่อยู่ปลา ตอนนี้ปลาเลยหนีไปที่อื่นกันหมด การพัฒนาเมืองเหมือนเป็นการทำลายธรรมชาติอย่างนึงนะ
กระทู้: 12
ความเห็น: 379
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-10-2546
คือ...ผมว่า ไหนๆก้อมีการทำลายกันแบบหลีกเลี่ยงได้ยากและควบคุมได้ลำบากแล้วจากการประกอบอาชีพ.....ก้อควรจะมีการสร้างอย่างจริงจังบ้างน๊ะครับ...คือหน่วยงานที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำก้อเพาะกันให้เต็มกำลังไปเลย...สร้างระบบนิเวศน์ของปลา(พวกแหล่งอาศัยแบบปะการังเทียมให้มันเยอะๆๆๆ)และก้อทำให้พร้อมๆกับการสร้างสำนึกไปด้วย.น่าจะดี...ถ้าสร้างกันแต่สำนึกมันจะทรุดลงเรื่อยๆมากกว่ากับความรุดหน้าของอุปกรณ์จับปลาและกระแสวัตถุนิยมที่ครองหัวใจคนไทยแทบทั้งประเทศแล้ว...คือ..เพาะปล่อยๆๆๆให้ระบบนิเวศน์พุงกระฉูดไปเลย(ผมเคยคุยกับเพื่อนๆว่าทำไมเค้าไม่เพาะพันธุ์แล้วปล่อยให้มันเยอะๆตามแหล่งน้ำ..คำตอบที่ได้มาคือ ระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจะเสียสมดุลย์หากสัตว์น้ำมีอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสม)
กระทู้: 74
ความเห็น: 3,230
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-03-2544
ผมนั่งเฝ้าอ่าน ความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่านในนี้ด้วยความชื่นชม ความเห็นที่จะปกป้องทรัพยากร ให้กับลูกหลานเรา
นักตกปลารุ่น เก่า ๆ อย่างเฮียถัง คงจะได้ซึบซับถึงความเปลี่ยนแปลงของท้องทะเล ในวันเก่า ๆ เปรียบเทียบกับวันนี้ได้อย่างดี นักตกปลารุ่นพี่ๆ อีกหลายท่านที่ได้ผ่านวันเวลามา คงได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของจำนวนปลาในแหล่งน้ำ
ผมขอเสนอคำถามคำถามนึงที่เป็นประเดนว่า "ปลาหายไปไหน" คือ
มีใครแปลกใจมั๊ยครับ ว่าเราเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำเป็นปริมาณมหาศาล ติดอันดับต้น ๆ ของโลก?
เราทำเพื่ออะไรหรือครับ?
เรากำลังจะภูมิใจกับคำว่า เราคือแหล่งผลิตอาหาร เป็นครัวของโลก สิ่งเหล่านี้ กระทบอย่างไรกับปริมาณสัตว์น้ำในบ้านเรา?
อยากฟังความคิดเห็นจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เหมือนกันครับ
กระทู้: 36
ความเห็น: 2,300
ล่าสุด: 12-02-2567
ตั้งแต่: 28-01-2546
ขอสนับสนุน
- ตกปลาแต่พอกิน
- ไม่ทิ้งขยะลงสู่สายน้ำ
- ปล่อยปลาที่ไม่ได้ขนาด และปลาไกล้สูญพันธุ์ กลับคืนสู่ถิ่นเดิม.....ครับผม.. แฮ่ะๆๆๆ ก๊อป พี่บอส 27 มาฮะ
กระทู้: 2
ความเห็น: 22
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-10-2546
ผมก็เป็นคนหนึ่งซึ่งหลงไหลการตกปลามาตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กๆผมตกปลาได้เยอะมากๆในแบบของชาวบ้านทั่วไป คือถือไม้ไผ่ 1 คันเดินไปตามคลองมีปลาแทบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปลาหลด ปลากระทิง ปลาช่อน ปลากด ปลาแขยง ปลาดุก อื่นๆ แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีปลาบางชนิดที่ผมสามารถตกได้ทั่วไปเหมือนเมื่อก่อน เช่น ปลากระทิง และปลาหลด ดังนั้นการที่เรารักกีฬาตกปลาแล้วนั้นเราควรช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ปลาไปในตัวด้วยเช่น ไม่ตกปลาในฤดูวางไข่ หรือในกรณีที่ตกปลาตัวเล็กก็ควรปล่อยไปให้มีการเจริญพันธุ์ต่อไป โม้มาเยอะไปดีกว่า ขอให้ทุกๆคนตกปลาอย่างมีจิตสำนึก
Fisher
การเริ่มอนุรักษ์ผมว่านักตกปลานี่แหละครับไม่ว่า น้ำจีด หรือ น้ำเค็ม ตกปลาเพื่อความสนุก หรือ เพลิดเพลิน ดีกว่า อย่าคิดว่าได้ปลากลับบ้านน้อย เดี๋ยวไม่คุ้มค่าเรือ ถ้าเรายังติดที่ค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องสำคัญของการตกปลา ก็หาอย่างอื่นทำเถอะ ผมเห็นหลายคนบ่นขาดทุนเวลากลับมาจากทะเล ตกปลาน่ะครับ ไม่ได้ลงทุนทำธุรกิจน่ะครับ และอีกอย่างหนึ่งที่อยากฝากทุกท่านไว้ก็คือ เวลาไปตกปลาหมายธรรมชาติ กรุณาอย่าเอาปลากลับบ้านเลยครับ เพราะว่ามันใก้ลหมดแล้วยิ่งตัวใหญ่ ก็ถ่ายรูปไว้เป็นความทรงจำเถอะครับ อย่างชะโด เนื้อไม่ค่อยอร่อยหรอกครับ ปล่อยเขาไปเถอะเราจะได้มีตกในวันข้างหน้า เห็นว่าเป็นกีฬาเถอะครับ