สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 9 ม.ค. 68
ขอเชิญร่วมกันออกแบบ ปะการังเทียม ครับ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 89 - [28 มิ.ย. 51, 11:13] ดู: 20,546 - [9 ม.ค. 68, 10:18] โหวต: 2
ขอเชิญร่วมกันออกแบบ ปะการังเทียม ครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 16 ก.พ. 46, 22:23
ครับ ของผม ขอเสนอ ปลอกท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ที่เรียกกันอีกหลายๆชื่อว่าถังส้วมบ้าง รองบ้างตามแต่จะเรียกกัน  ด้วยเหตุผลที่ว่า ยกได้ด้วยคนเพียงสองคน หรือแค่ตั้งขึ้นแล้วกลิ้ง ราคาเพียง80-90บาทแล้วแต่ขนาด(80 ซม-100ซม - 120 ซม) 150 ซม 180 ซม สองอันหลังนี้ตอ้งสั่งทำแต่ก็คงไม่เกิน 200 บาทสูงสุด ถ้าซื้อเยอะๆก็น่าจะได้ราคาที่ดีกว่านี้ และก็หาซื้อได้ในทุกท้องที่แถมยกขึ้นเรือให้ด้วย  วิธีทิ้งหรือวางคงต้องอาศัยความแม่นยำของ GPS แล้วหย่อนลงไปด้วยเชือก
ผมว่าทั้งราคาและการวางและหรืออื่นที่จะมีตามมาวิธีนี้น่าจะดีที่สุด  และทุกครั้งที่ใครออกทริปตกปลาแล้วพอมีแรงเหลือก็สามารถพกไปโยนเลงนำเล่นได้ซักอันสองอัน พื้นที่1ไร่น่าจะทิ้งซัก5-8กองเป็นอย่างน้อย ว่างๆลองไปยืนดูตามร้านขายวัสดุก่อสร้างดูนะครับน่าจะได้ความคิดอะไรใหม่ๆบ้าง
ผมเห็นด้วยกับการจมเรือหรือการใช้วัสดุขนาดใหญ่เพราะทำหนเดียวแล้วรอดูผลเลย แต่ค่าใช้จ่ายก็เอาเรื่องนะครับ  ถึงตอนนี้แล้วน่าจะค่อยๆเอาเงินไปทิ้งทะเลนะ แล้วมีใครติดต่อบรรดาห้างร้านอุปกรณ์ตกปลาบ้างหรือยังครับ อาจจะมีรายการคืนกำไรให้ปลาบ้างนะ
กระทู้: 8
ความเห็น: 334
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-06-2545
ความเห็นที่ 27: 16 ก.พ. 46, 23:05
      เสนอนิดนึงนะครับ.....ถ้าเอาให้ชัวร์ครับ  ขออาสาสมัครที่มีความสามารถ...ที่จะขอความร่วมมือ หรือประสานงานกับ กรมประมง หรือกองทัพเรือ ในการนำอะไรก็ได้ใหญ่ๆไปทิ้งครับ แล้วเราจะได้เห็นผลงานทันตาทันใจครับ...
      อีกอย่างนึงครับ ปะการังจ้อยๆที่ลงทุนสูงนั้นจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเสียเปล่า ใช้ล้อยางแหละครับดีสุด ถูกสุด ถ้ากลัวเชือกเปื่อยขาดก็เอาเหล็กเส้นโตๆมัดซะ ส่วนปัญหาเรื่องไม่คงทนนั้นช่างมันเถอะครับ มีก็เอาไปทิ้ง ทิ้งให้เร็วกว่าที่มันพังก็พอ เถอะนะครับ เราคิดว่าสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือกันของชุมชนก็พอ
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ความเห็นที่ 28: 16 ก.พ. 46, 23:34
ไม่เห็นน้าปิ่นฯ ซะนาน......
ผมยังตามเรื่องนี้อยู่นะครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 29: 17 ก.พ. 46, 19:41
น้าสิงห์ตามเรื่องไหนครับผมค้างไว้หลายเรื่องเลย  เรื่องแรกสำรวจหมาย ป ก ร ท (ประการังเทียม) นั้นผมยังไม่ได้ออกไปเองเลยได้แต่คอยสอบถามจาก ชาวประมงเรือเล็กอยู่เป็นประจำและปีนี้ก็มีข่าวดีว่าอินทรีชุมกว่าทุกปี แต่ขนาดไม่ใหญ่นัก ส่วนสัตว์นำประเภทอื่นก็มีประมาณามากขึ้นกว่าร้อยละ20(ข้อมูลจากสะพานปลา)แต่ที่น่าแปลกก็คือหมึกมีน้อยลง(อาจเป็นที่ฤดู)แต่กุ้งนี่นะซิเพียบโดยเฉเพาะตอนนี้และถ้าใครคิดจะตกปลาที่ชะอำตอนนี้กุ้งน่าจะเป็นเหยื่อตกปลาที่ดีที่สุดเพราะเห็นหลายคนผูกปลากระพงขาวจากสะพานหินมากับมอเตอไซด์กันตัวเอนอยู่บ่อยๆ และตอนนี้ที่วัดที่น้าสิงห์เคยมาถ่ายรูปก็กำลังทำ ป ก ร ท กันอีกคงไน่น้อยกว่าคราวที่แล้ว400-600ลูกนั่นแหละคงจะเป็นเพราะได้ผลดีกว่าที่คาดเอาไว้ครับ ร้านผมตอนนี้ย้ายไปอยู่ก่อนถึงหนองแจงเลยบ้านไต๋ตุ้มไปนิดนึง(เจ้าของร้านเดิมอิจฉาเห็นขายดีมั้งเลยอยากทำเอง)หน้าร้านก็เป็นที่เรือขึ้นอวนกันแถวนั้นพอดีเช็คข้อมูลได้ทุกวันครับ และอีกอย่างหาดบริเวณนั้นช่วงฤดูฝนตกปลากดทะเลค่อนข้างจะได้ตัวดีๆอยู่ประจำ ผมไม่แน่ใจว่ายังค้างเรื่องอะไรอยู่อีกบ้างยังไงแล้วขอความกรุณาช่วยเตือนความจำผมหน่อยนะครับ เกือบลืม กาแฟรสชาติเดิมๆยังมีให้ดื่มเป็นปรกติที่บ้านนะครับขับรถผ่านมาแวะมาดื่มซักแก้วแล้วค่อยไปต่อนะ
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ความเห็นที่ 30: 18 ก.พ. 46, 02:08
รับทราบครับผม แล้วจะไปเที่ยวร้านใหม่
น้าปิ่นฯ เวปน้าชื่ออะไรนะ มีอะไรใหม่ๆ ให้อ่านบ้างหรือยัง
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 31: 18 ก.พ. 46, 20:05
http://www.chaam-beach.com  ยังไม่มีอะไรใหม่เลยครับไม่ได้ทำเพิ่มเติมมาหลายอาทิตย์แล้วมัวแต่ยุ่งอยู่กับร้านครับน้าสิงห์
กระทู้: 10
ความเห็น: 933
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-06-2545
ความเห็นที่ 32: 18 ก.พ. 46, 22:02
คุณ ปิ่น มีบ้านพักสบายๆ ให้เช่าด้วย  ไว้มีโอกาสจะไปเยี่ยมครับ
  แบบที่พี่ ป.ประจิณ  ว่าก็ดีนะครับ  ประหยัดเงินได้มาก  เอาเงินมาจ้างรถบรรทุกขนอย่างเดียว  ซากตึกเขายกให้ฟรีอยู่แล้ว  (สถานที่สร้างตึกใหม่โดยทุบตึกเก่าทิ้ง)  หัวเสาเข็มก็จากสถานที่ก่อสร้างทั่วไป  เหล็กแผ่นก็ซื้อเหล็กเกรดบี หรือร้านขายของเก่า  ถ้าสมาชิกโหวตเห็นด้วย  เราก็เดินเรื่องไปอีกขั้น  คือหาสถานที่เก็บรวบรวมวัสดุ  ช่วยกันติดต่อขอวัสดุต่างๆที่กล่าวมา  ขณะเดียวกันก็รวบรวมเงินที่จะมาใช้จ่ายงานนี้  (หาผู้จัดการได้ก็จะดีนะครับ)
กระทู้: 36
ความเห็น: 2,300
ล่าสุด: 12-02-2567
ตั้งแต่: 28-01-2546
ความเห็นที่ 33: 19 ก.พ. 46, 08:14
สนับสนุนครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 34: 19 ก.พ. 46, 09:23
จากแบบที่ดูนี่ราคาคงจะไม่น้อยเหมือนกัน ความสูงจากท้องเรือถึงกราบบน แค่1.20เมตร ใส่ของลงไปเผื่อนำหนัก
จากแบบที่ดูนี่ราคาคงจะไม่น้อยเหมือนกัน ความสูงจากท้องเรือถึงกราบบน แค่1.20เมตร ใส่ของลงไปเผื่อนำหนัก ด้วย เอาว่าจากผิวนำถึงกราบบนเหลือ80 ซม นำไปลากในทะเลเรียบๆคลืนสูง30-50ซม คลื่นมาลูกที่หนึ่งหัวเรือที่บรรทุกจะเชิดขึ้น ลูกที่สองจะหนุนกลาง พอลูกที่สาม หัวจะตักนำเข้าทันทีหรือไม่ก็มุดนำไปเลยครับไม่ทันออกจากท่าแน่ๆถ้าลากในเขื่อนหรือคลองได้ครับแต่ในทะเลต้องออกแบบใหม่ ผมไม่ใช่นักออกแบบแต่ก็เคยต่อเรือเล่นมาหลายลำ  ท่อคอนกรีต ปลอกถังสว้ม น่าจะทำได้ง่ายกว่าครับไม่ยุงยาก แค่สั่งแล้วคอยรับของที่ท่าเรือ เอาแค่สมาชิกช่วยกันบริจาคคนละสองลูกก็ขนกันไม่ไหวแล้วครับ
ป.ประจิณ
ความเห็นที่ 35: 19 ก.พ. 46, 13:19
  อธิบายเพิ่มเติมครับ
          ในเรื่องของรูปแบบเรือเหล็กข้างบนนี้ เป็นแค่แนวความคิดให้เห็นถึงปริมาตรและน้ำหนักที่สามารถบรรทุกได้ อาจไม่ต้องต่อขึ้นมาถ้าเราหาวัตถุอื่น ๆ ทดแทนได้ ผมเห็นเรือเอี้ยมจุ๊นเก่า ๆ หลายลำแถวเกาะสีชังคาดว่าบรรทุกได้หลายสิบตันต่อลำเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าพิจารณา
            ถ้าจำเป็นต้องต่อเรือเหล็กตามแบบร่างข้างบนนี้โดยยังไม่ทราบรูปแบบที่เหมาะสม เรือขนาดนี้รับน้ำหนักบรรทุกได้12ตัน ก่อนกราบเรือจะใกล้เคียงระดับน้ำ ถ้าเราใส่เศษวัสดุลงไปบวกกับน้ำหนักเรือไม่เกิน6-7ตันหรือ50%ของความสามารถบรรทุก กราบเรือจะสูงจากน้ำ50-60ซม.มีแรงยกตัวลอยอีกครึ่งหนึ่ง(6-7ตัน)
            การลากเรือไปจมคงต้องดูวันที่ทะเลเรียบหน่อยจะได้ทำงานสะดวก ถ้ามีคลื่นลมควรหาผ้าใบคลุมด้านบนกันน้ำเข้าเรือ
            ผมเห็นด้วยกับการใช้ยางรถยนต์หรือท่อคอนกรีต แต่น่าจะเ้ป็นบางส่วนของกองปะการังเท่านั้น ความแข็งแรงคงทนของวัสดุยังน้อยกว่าหัวเสาเข็ม แผ่นพื้น ซากอาคาร ซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนผสมพิเศษ และอีกอย่างหนึ่งเศษวัสดุพวกนี้เราไม่ต้องซื้อหา แค่ขอบริจาคจากหน่วยงานของเอกชนหรือภาครัฐก็จะขนกันไม่ไหว ปัญหาอยู่ขั้นตอนนำไปจมว่าจะทำกันอย่างไรมากน้อยขนาดไหน ?
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ความเห็นที่ 36: 19 ก.พ. 46, 15:02
น้าปิ่นฯ ผมเข้าไปดูแล้วครับ เมื่อไหร่จะได้ไปเที่ยวชะอำสักทีก็ไม่รู้
ว่างๆ น้าแวะมาบ้านผมบ้างก็ได้นะครับที่ www.phloen.com
เพลิน.คอม ผมกับเพื่อนๆ ทำเล่นๆ เอาสนุกน่ะครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 37: 19 ก.พ. 46, 20:30
หัวเสาเข็ม แผ่นพื้น ซากอาคาร ซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนผสมพิเศษ และอีกอย่างหนึ่งเศษวัสดุพวกนี้เราไม่ต้องซื้อหา แค่ขอบริจาคจากหน่วยงานของเอกชนหรือภาครัฐก็จะขนกันไม่ไหว ปัญหาอยู่ขั้นตอนนำไปจมว่าจะทำกันอย่างไรมากน้อยขนาดไหน ? ใช่ครับอันนี้ผมเห็นด้วยแต่ว่าค่าขนส่งจากสถานที่ที่จะไปนำวัสดุเหล่านั้นมาลงเรือห่างกันแค่ไหนมีในท้องที่ที่เราจะทำประการังเทียมหรือไม่ครับค่าแรงเท่าไรในการยกขึ้นยกลงลำพังใช้แต่แรงคนคงจะหนักหนาเอาเรื่องครับและค่าขนส่งเท่าไร นี่เป็นข้อปัญหาที่ยังต้องคิดกันต่อครับ ส่วนท่อคอนกรีตก็สามารถสั่งทำโดยใช้ส่วนผสมพิเศษได้เช่นกันแค่ยกโทรศัพท์มันก็จะไปกองอยู่บนเรือ ส่วนราคาก็คงจะต่อรองกันได้อีกหากสั่งในปริมาณมากๆ  ผมว่ากองละ30ลูก วางแนวสามเหลี่ยม 3 กอง รวม เป็น90 ลูก ต่อ1จุด  ใช้เงินค่าวัสดุ ไม่เกิน9,000บาทไม่รวมค่าเรือ ส่วนค่าขนส่งท่อคอนกรีตจากโรงงานมาท่าเรือไม่ควรจะต้องจ่ายเลยซึ่งรถที่มาส่งน่าจะขอแบบที่มีเครนตัวเล็กติดมาด้วยซึ่งเราน่าจะสามารถที่จะตกลงกับทางโรงงานได้ก่อนสั่งซื้อ  อีกเรื่องที่ยังไม่มีใครพูดถึงคือเรื่องเงินทุนบางทีถ้าเริ่มรับบริจาค ขายของ ประมูลของ ขอสปอนเซอร์ และหรืออื่นๆจนได้มาจำนวนหนึ่งแล้วบางทีอาจช่วยให้ทุกท่านตัดสินใจอะไรได้ง่ายขึ้นครับ
กระทู้: 26
ความเห็น: 211
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2545
ความเห็นที่ 38: 20 ก.พ. 46, 01:06
ลองปูน ก็น่าสนใจดีนะครับ ผมดูๆ แล้วเห็นว่าซื้อลองปูนอย่างที่น้าปิ่นฯ ว่าดูจะเป็นเรื่องง่ายที่สุด แต่ผลที่ได้จะเป็นอย่างไรทั้งทางด้านความคงทน และการจมทรายก็ยังไม่ทราบ
แต่ผมมีข้อสงสัยว่าต้องสั่งหล่อเป็นพิเศษหรือไม่ครับ อาจจะต้องใช้พวกปูนฉลามที่กันการกัดกร่อนของทะเล ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปรึเปล่า ไม่เห็นมีใครสนใจเรื่องการกัดกร่อนของทะเลต่อปูน ลองดูตามเสาปูนที่อยู่ในทะเลสิครับ ขนาดเป็นปูนสำหรับทะเลยังพังเลย ถ้าเป็นปูนธรรมดาคงยิ่งพังเร็วมากขึ้นอีก ดูคห. 19 ของน้าป้อมประกอบนะครับ (แต่ไม่รู้จะตามหาดร. ชัยได้ไหมเนี่ย)
ฝากน้าปิ่นฯ แวะไปดูแถววัดเนฯ หน่อย ว่าเขาใช้ปูนพิเศษหล่อ ป ก ร ท รึเปล่า
POMBINTHAI
ความเห็นที่ 39: 20 ก.พ. 46, 10:46
น้าสิงห์ฯ น้าเวป น้าปิ่น อาประจิณ ครับ
        ผมทำได้แค่เพียงเช็คข้อมูลและฝากเมล์ไว้ครับ แต่มีรายละเอียดดังนี้ครับ
        ผู้ทำวิจัย รศ.ดร. ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
        ตำแหน่ง รองศาสตาจารย์ / รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
        โทรศัพท์ 02 - 24709137 โทรสาร 02 - 4279063
        EMAIL chai.ja+@kmutt.as.th
        เวปสถาบัน www.k mutt.ac.th/tindex.html
        การศึกษาเรื่อง
      การกัดกร่อนของกรดซัลฟูริกต่อมอร์ต้าร์ และผลกระทบของน้ำทะเลต่อระยะหุ้มของคอนกรีตที่ผสมเถ้าลิกไนต์แม่เมาะ
        ยังไงถ้าสรุปผลแล้ว ลองติดต่อกับทาง ม. และกับท่านอาจารย์ดูครับ เผื่อจะได้ให้ผลในการทำงานของพวกน้าๆ ทั้งหลายให้ประสบความสำเร็จดังที่หวังไว้ครับ 
กระทู้: 10
ความเห็น: 933
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-06-2545
ความเห็นที่ 40: 20 ก.พ. 46, 23:33
  ตอนนี้เห็นเพื่อนๆให้ความเห็นกันมามากขึ้นเรื่อยๆ  ถือเป็นสิ่งที่ดีครับ  ผมเองก็กำลังคิดว่า  น่าจะใช้แนวทางที่ น้าไม่รู้ บอกไว้  คือทำแบบผสมผสานครับ  ผมเองยังอยากให้พวกเราที่มีเวลา  ช่วยกันหาปัญหาและแนวทางแก้ไข  ซึ่งถ้าคนนี้พูดที คนโน้นพูดที  ก็จะไม่จบ  แล้วจะหาข้อสรุปไม่ได้  แต่ถ้ามีซัก 5-10  คนมานั่งถกปัญหาและเอาแนวทางต่างๆที่เพื่อนสมาชิกเสนอเข้ามา  มากรองดูก็จะได้ข้อสรุปนะครับ 
  ยกตัวอย่าง  แบบที่คุณป.ประจิณว่า  ก้ถือว่าได้แบบผสมผสานแล้ว  และยังได้ไอเดียวิธีขนเอาซากไปจมลงทะเล  มาคิดกันดูถ้าจะใช้ประดาน้ำลงไปเรียงวัสดุต่างๆใต้น้ำ  คงจะลำบาก แค่วัสดุหนักซะ 50 กก. อยู่ใต้น้ำก็เคลื่อนย้ายลำบากแล้ว  ถ้าวัสดุเบามาก  เคลื่อนย้ายง่ายก็คงปลิวไปกับกระแสน้ำ  เราคงต้องทิ้งๆๆลงไป  หรือจมเรือลงไปเป็นลำๆ  เพราะจะถูกกว่าจ้างเรือเครน  แต่อย่างที่คุณ ปิ่นโตว่า  การขนเอาซากเพื่อมาลงทะเล  มันไม่ง่ายนัก  และเรายังไม่รู้ว่าซากจะอยู่สถานที่ใด  ใกล้กับแหล่งที่เราจะทำหรือไม่  แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่เราน่าจะเอาด้วย  เผื่อจะเจอซากอยู่ใกล้ๆพอดี 
  พี่เวปเองก็กำลังศึกษาแบบที่จะใช้หล่อแบบที่พี่เวปเสนอเข้ามา   
  ส่วนคุณปิ่นโตที่ว่า  ใช้ท่อหรือปลอกถังส้วม  ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่คงจะเอาด้วย  ข้อดีข้อเสียของท่อซีเมนต์หรือปลอกถัง....  ผมก็เคยให้ความเห็นไว้  ว่ามีทั้งข้อดี-ช้อเสีย  คือท่อหรือปลอกที่มีขายทั่วไป  ไม่แข็งแรง  รับแรงกระแทกไม่ได้  เนื่องจากการอัดขึ้นรูป  ซึ่งถ้าโยนสมอเรือลงไปกระทบท่อก็จะแตก  หรือเวลาโยนลงทะเล  ท่อก็จะชนกันแตก  ถ้าเอาประดาน้ำลงไปเรียงก็คงจะยาก  แค่ผมวางท่อขนาด 30 ซม. ยังต้องใช้รถเครนหิ้ว  แล้วค่อยๆวาง อาศัยมีรถเครนเอง  ก็เลยสบาย  แรงคนยกไม่ไหวครับ  ร้อยกว่าท่อน  ขณะเดียวกันก็มีข้อดีที่เป็นที่อยู่ของปลาได้ดี 
    การขนซากตึก  ถ้าเจอที่อยู่ไม่ไกลจากจุดที่จะทำ  เราก็ทำแบบขนดิน  จ้างแบลคโฮตักใส่รถ 10 ล้อขนดิน  แล้วไปเทรวมไว้ตรงจุดที่เราจะทำ  เพื่อการขนต่อไป  ค่ารถขนพวกนี้ไม่แพง  เที่ยวหนึ่งไม่กี่ร้อยบาท  รวมทั้งวัสดุอื่นๆด้วยนำมารวมกันเพื่อรอขนลงเรือต่อไป 
  ส่วนเรือต่อเพื่อทุกซาก  ถ้ากลัวจะจม  ก็ต่อสูงให้พอที่จะทุกได้  โดยคำนวณจากการแทนที่ของสะสาร  ของอคิมิริส  (ไม่รู้เรียกถูกรึเปล่าจำไม่ได้แล้ว) 
    ผมว่าการจมเรือลงไปเป็นลำำๆ  น่าจะทำให้วัสดุไม่กระจาย  ไม่ต้องจ้างเรือเครนหิ้วทิ้ง  อาศัยเรือลากไปก็น่าจะสะดวกกว่าวิธีอื่น  เช่นขนลงเรือ  จุดหนึ่งอาจจะจมซัก 1-3 ลำ  ทิ้งพิกัดใกล้ๆกัน  หรืออาจจะทิ้งเรียงเป็นทางยาวไปเรื่อยๆ
    เป็นอีกความคิดและอีกแนวทางหนึ่งนะครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 41: 21 ก.พ. 46, 00:25
ครับผมขอเวลาซักสองวันผมจะรองสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับปูนและการสั่งทำและราคาเบื้องต้นของลองปูนดูซึ่งก็มีหลายขนาดและความหนาและราคาก็ไม่เท่ากันตามแต่ละท้องที่ด้วยครับ(ชลบุรี ระยอง น่าจะถูกกว่ากรุเทพ)ต่อข้อคิดของที่ว่า" ข้อดี-ช้อเสีย  คือท่อหรือปลอกที่มีขายทั่วไป  ไม่แข็งแรง  รับแรงกระแทกไม่ได้  เนื่องจากการอัดขึ้นรูป  ซึ่งถ้าโยนสมอเรือลงไปกระทบท่อก็จะแตก  หรือเวลาโยนลงทะเล  ท่อก็จะชนกันแตก  ถ้าเอาประดาน้ำลงไปเรียงก็คงจะยาก  แค่ผมวางท่อขนาด 30 ซม. ยังต้องใช้รถเครนหิ้ว  แล้วค่อยๆวาง  " รองปูนควรจะสั่งทำพิเศษครับ ส่วนตอนวางลงบนเรือให้วางตามแนวนอนใช้ไม้หนุนกันกลิ้งส่วนตอนวางก็กลิ้งลงไป พยุงดว้ยทุนเป็นแกลอนพลาสติกขนาด100ลิตร ผูกเชือกดว้ยเงื่อนกระตุกมันจะจมลงอย่างช้าๆจนถึงพื้นทรายแล้วดึงเชือกช่วงเวลาที่เหมาะสมคือตอนนำลงตำสุดแล้วหยุดนิ่งครับ วิธีนี้ตอนที่ได้ทำได้ผลดีแต่ตอนนั้นผมไม่ได้คิดถึงการกัดกร่อนของนำทะเลเลยแต่มันก็ยังอยู่จนถึงวันนี้ เรือที่ใช้ในตอนนั้นเป็นเรือหางยาวครับ เอาไม้กระดานพาดขวางลำเรือบรรทุกลำละ6อันบริเวณนั้นนำลงตำสุดราวๆ18-25เมตรถึงพื้นทราย บริเวณหลังเกาะกวางซึ่งเป็นเกาะเล็กๆติดชายหาดแต่มีร่องนำผ่านเฉียดๆเกาะผมเลยวางตรงกลางร่องนำนั้นเลย  เกาะกวางอยู่ในหวัดกระบี่บริเวณหาดคลองม่วงเป็นหมายตกปลาส่วนตัวของผมตอนที่ทำงานอยู่ที่นั่นประมาณ2ปีกว่า  สมอเรือไม่ควรโยนในบริเวณที่ทำประการังเทียมครับควรจะใช้วิธีผูกทุ่นแทน ที่ไม่ควรโยนไม่ใช่เพราะมันจะแตกนะ แต่จะถอนสมอขึ้นไม่ได้ถ้าลงไปติดกับกองป ก ร ท ที่ทำไว้คนเรือจะไม่ลงสมอเด็ดขาดถ้ารู้เพระถ้าเขาไม่อยากเสืยสมอก็ต้องดำลงไปปลดมัน แนวความคิดที่ผมนำเสนอนี้เป็นเพียงอีกหนึ่งทางเลือกที่เคยทำและได้ผลและได้รับการชมเชยจาก W W F(World Wild Life)
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 42: 21 ก.พ. 46, 00:28
จะทำกันตรงไหนครับ
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,124
ล่าสุด: 09-01-2568
ตั้งแต่: 17-03-2544
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 21 ก.พ. 46, 07:15
หลายวันมานี้ ผมมัวแต่คิดหาวิธีผูกเงื่อนที่จะปล่อยปะการังเทียมให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่แตก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึงนักดำน้ำ ซึ่งจะทำให้โครงการมีเงื่อนไขน้อยลง ดูจากความเห็นของคุณ pinto2 แล้ว ก็เป็นอันว่า เรื่องการทิ้งปะการังเทียมโดยการใช้เชือกโรยตัวลงไป เป็นอันว่าจัดการได้แน่

ความเห็นของพี่ ป.ประจิณ ในการบรรทุกปะการังเทียมใส่เรือ แล้วปล่อยให้จมทั้งลำ ก็น่าสนใจตรงที่ เราไม่ต้องใช้เรือเครน แต่เงื่อนไขสำคัญคือเราต้องต่อเรือ ซึ่งการต่อเรือดังกล่าว เกรงว่าหากคนที่ต่อให้เราก็อาจจะไม่มีความชำนาญ หรือแบบที่ออกมาหากประสบปัญหาในระหว่างบรรทุกกลางทะเล ก็จะทำให้โครงการผิดพลาดไปทั้งหมด

เรื่องเศษวัสดุก่อสร้าง หากใช้วิธีรวบรวมจากหลายๆ แห่ง ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายจะสูง รวมทั้งต้องมีที่เก็บ และผู้ดูแลการขนย้ายอยู่ทุกครั้ง หากได้ในที่เดียว ก็ต้องหาที่เก็บ และคัดขนาดของวัสดุอีก เพราะหากเป็นวัสดุขนาดใหญ่ เราจะขนลงเรือได้อย่างไร ส่วนที่มีขนาดใช้ไม่ได้ จะทิ้งไว้ที่ใหน

วิธีการสร้างขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็จะมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องมีสถานที่เก็บ ใช้ระยะเวลาและแรงงานในการทำ

วิธีที่ซื้อวัสดุก่อสร้างที่ทำกันอยู่แล้ว ที่มีน้ำหนักในระดับใช้แรงงานคนยกได้ เราตัดปัญหาเรื่องการสร้างและสถานที่จัดเก็บไปได้เลย หลักๆ คือนัดเรือนัดวัสดุ นัดคนให้พร้อม แล้วก็ลงมือได้เลย ในส่วนของท่อน้ำว่า ลักษณะที่เป็นท่อ จะถูกกระแสน้ำพัดให้เคลื่อนไหวได้มั้ยครับ หรือว่ามีวิธีแก้ไข

เรื่องสถานที่ จะตั้งกระทู้คัดเลือกสถานที่อีกทีหนึ่งครับ
กระทู้: 10
ความเห็น: 933
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-06-2545
ความเห็นที่ 44: 21 ก.พ. 46, 15:12
เห็นคุณปิ่นโต  พูดแบบนี้แสดงว่ามีประสบการณ์การวาง  ปกรท  มาก่อน  ถ้าเป็นอย่างนี้  ก็เข้าล๊อคเลยครับ  เรากำลังหาคนที่มีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่    ถ้าอย่างงี้ คุณปิ่นลองสรุปแนวทางและวิธีการตลอดจน ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ทั้งหมด  ให้เพื่อนๆสมาชิกพิจารณา  แล้วค่อยโหวตหาสถานที่วางอีกที  เรื่องท่อระบายน้ำ  ก่อนหน้านี้พี่หมู โอเชี่ยน  ก็เคยเสนอให้ใช้เหมือนกัน  แต่ก็ยังไม่ได้สรุป  เพราะอยู่ช่วงการวิเคราะห์หาสิ่งที่ดีที่สุดอยู่
ป.ประจิณ
ความเห็นที่ 45: 21 ก.พ. 46, 16:06
                            เบื้องหลังการออกแบบ
    แนวความคิดในการออกแบบปะการังเทียมครั้งนี้ ผมมีแรงบันดาลใจและยึดหลักเช่นเดียวกับการออกแบบบ้าน อาคารทั่วไปคือปลูกบ้านตามใจผู้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นกระต๊อบหลังเล็ก ๆ กลางทุ่งหรือตึกสูงใหญ่ ถ้าผู้อยู่อาศัยพอใจตามเงื่อนไขส่วนตัวอยู่แล้วมีความสุขบ้านเล็กบ้านใหญ่ก็ไม่แตกต่างกัน
    สำหรับบ้านของหมู่ปลาน้อยใหญ่ ถึงจะออกแบบให้ดีที่สุดอย่างไร ก็ยังไม่เท่าเศษเสี้ยวหนึ่งที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ผมได้ศึกษาว่ายน้ำดำดู ปะการังเล็กใหญ่เห็นมีซอกเหลือบรู กว้างบ้างแคบบ้างล้วนเป็นที่อยู่สูงต่ำมองดูแตกต่างกันไป
    จึงนำความคิดใช้อิฐใช้ปูนรูปร่างนูน ๆ ผสมปนเปกันไป ใครชอบบ้านไหนอยู่ในอยู่นอกว่ายเวียนตามซอกก็แล้วแต่ความพอใจ
    ถ้ามีเวลาพร้อมทุนอยู่บ้างอย่าปิดหนทางหาบ้านใหญ่ให้ปลา อาจจะยากเข็นในการทำงานแต่กรุงโรมก็มิได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว......!!!  เห็นด้วยมั๊ยครับ
  (  ผมเห็นด้วยกับการใช้ท่อคอนกรีตสั่งพิเศษ ง่ายและสะดวกในการนำไปจมเพียงแต่จะขาดความหลากหลายในมิติของรูปทรงที่จะเลียนแบบปะกาัรังจริง ลองคิดมองดูเหมือนบ้านจัดสรรหรืออาหารจานด่วน คือพอได้อาศัยแต่ถ้าจะคิดการใหญ่ก็น่าจะใจเย็น ๆ ประเมินความคิดเห็นต่าง ๆ ของมวลสมาชิกว่าจะเอาแบบไหนน่าจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเิงินทุน วัสดุ ระยะเวลา ขนาดของโครงการ ประโยชน์สูงสุด และเงื่อนไขที่จะตามมา ไม่ทราบว่าวางแผนเอาใว้อย่างไร ? จะได้ช่วยกันคิดติดตามทัน.....)
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 46: 21 ก.พ. 46, 17:55
ประสพการณ์การวาง ป ก ร ท ของผมคงไม่ต่างจากชาวนาสร้างกระท่อมเท่าไรนักโปรดอย่าได้ถือเอามาเป็นบรรทัดฐาน เท่าที่เสนอมาก็เป็นเพียงอีกแนวทางหนึ่งเท่านั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับบางพื้นที่ซึ่งอาจจะต้องการอะไรที่มั่นคงหรูหรากว่า เทียบกันน่าจะเป็นได้แค่  บ้านเอื้ออาทร  ครับ ต่อข้อถามที่ว่า  “ ในส่วนของท่อน้ำว่า ลักษณะที่เป็นท่อ จะถูกกระแสน้ำพัดให้เคลื่อนไหวได้มั้ยครับ หรือว่ามีวิธีแก้ไข” ครับสองหรือสามกองแรกจะล้มครับแต่จะเป็นด้านตรงข้ามกับกระแสน้ำเนื่องจากทรายจะโดนน้ำพัดพาไปแล้วจะล้มลงซึ่งมันจะโดนทรายทับกลายเป็นสันทรายทำหน้าที่บังให้กองอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการไหลของกระแสน้ำ ในบางที่ไม่ว่าน้ำจะขึ้นหรือลงก็จะไหลไปทางเดียวกันเสมอ หากเจอแบบนี้สันทรายที่ว่าจะใหญ่ขึ้นในระดับหนึ่งส่วนด้นหลังจะกลายเป็นแอ่งคล้ายๆสันทรายในทะเลทรายตามที่เห็นกันในหนัง ถ้าน้ำขึ้นลงไหลสวนทางกันสันทรายที่ว่านี้จะย้ายไปมาประมาณทุกๆ4-5ปี ท่อคอนกรีตไม่เหมาะที่จะวางในบิรเวณที่น้ำไหลแรงมาก(มากๆ) พื้นทะเลควรเป็น กรวด กองหินเล็กๆเตี้ยๆติดพื้นเดิมเพื่อที่จะเพิ่มพื้นที่หลบอาศัยของสัตวน้ำ การสร้างหรือวาง ป ก ร ท บนพื้นทราย  ทรายปนเลนหรือที่น้ำไหลแรงๆนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานราชการมากกว่าเพระาต้องเป็นแบบลูกเต๋าอย่างเดียวเท่านั้นและต้องกองแบบมหึมา อย่างที่ชะอำกำลังทำกันอยู่ตอนนี้ วางตั้งแต่บ้านแหลมจนถึงหัวหินแล้วครับตอนนี้ พื้นทะเลที่นี่เป็นทรายบางช่วงเป็นทรายปนเลนต้องนำไปวางซ่อมเพื่มเติมในบางจุดแล้ว ต้องกำหนดจุดวางก่อนแล้วจึงหารูปแบบของ ป ก ร ท ครั้งแรกที่ผมเห็นกระทู้นี้รู้สึกดีใจครับแต่ลึกๆในความรู้สึกนั้นมัน Mission Impossible เพราะกลุ่มสมาชิกยังเล็กเกินไป องค์กรยังไม่เข้มแข็งพอที่จะทำงานนี้ครับ และต่างคนก็ยังอยู่ต่างพื้นที่เหมาะที่จะนัดรวมกันไปตกปลาหรือทำกิจกรรมอื่นที่เล็กกว่านี้ ความหมายของผมก็คือลองอะไรที่เล็กกว่านี้ก่อนดีไหม หรือถ้าจะเดินหน้างานนี้ ก็ควรจะเริ่มที่การหาสถานที่วาง หาผู้สนับสนุน หาเงินทุน จัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานฝ่ายต่างๆ เพราะที่ผ่านมานั้นเรามองข้ามตรงนี้มาตลอด  งานนี้คงต้องรบกวนท่านประธาน ท่านเลขา และท่านอื่นๆที่อยู่ในคณะ ของ SFC ลงมาทำหน้าที่กันได้แล้วครับถ้าให้ดีนะ lock in ใช้username ประธาน หรือตำแหน่งต่างๆเลยครับ ส่วนเรื่องรูปแบบนั้นควรจะหยุดเอาไว้ก่อนไว้มีคณะทำงาน มีทุนแล้วค่อยว่ากันอีกทีดีกว่าครับไม่งั้นก็สรุปอะไรกันไม่ได้    รบกวนท่านประธานครับ
กระทู้: 699
ความเห็น: 11,124
ล่าสุด: 09-01-2568
ตั้งแต่: 17-03-2544
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 47: 22 ก.พ. 46, 07:25
ในเรื่องของสถานที่ ผมคิดว่าเราควรเลือกสถานที่ที่ทำได้ง่าย (พื้นทรายหรือหิน กระแสน้ำไม่แรง ไม่เป็นแหล่งทับถมของตะกอน เป็นต้น) เหมาะกับการทำปะการังเทียมไว้ก่อน เพราะเรามีข้อจำกัดอยู่มาก อย่าง ที่พี่ pinto เสนอ รายละเอียดความเห็นอยู่ในกระทู้ของพี่สิงห์http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=4270

ปัจจัยสำคัญที่เหลือในการเลือกแบบใดแบบหนึ่ง จึงเป็นเรื่องของเงินทุน และกำลังคน หากมีน้อยเราก็เลือกทำในรูปแบบที่สะดวกสุดอย่างของพี่ pintoหากมีมากเราก็รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นไป แต่หากมีไม่พอ เราก็หยุดโครงการนี้ไว้ก่อน เอาไว้รอเวลาที่เหมาะสม

ถึงจุดนี้ผมขอเสนอความเห็นว่า น่าจะตั้งกระทู้
1. เสนอสถานที่ที่เหมาะกับการวางปะการังเทียม ภายใต้เงื่อนไขที่เรามี
2. รับอาสาสมัครร่วมกันทำปะการังเทียม ทั้งในด้าน ทุนทรัพย์ และกำลังคน หลังจากจบกระทู้อาสาฯ ก็มาสรุปแบบกันอีกที

ไม่ทราบว่าทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

(ส่วนกระทู้นี้ก็เปิดไว้ ให้เสนอแบบกันได้เรื่อยๆ)
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 48: 22 ก.พ. 46, 08:34
ดีครับ ใครช่วยเปิดบัญชีรับบริจาคด้วยครับโอนเงินเข้าบัญชีแต่ส่งสลิปให้ทางWEBMASTER check  กับยอดเงินครับยอดบริจาคอาจมีเป็นล้านบาท
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 49: 22 ก.พ. 46, 13:09
แบบที่กำลังเตรียมหล่อ ขนาด 1.50ซมx1.50ซม
แบบที่กำลังเตรียมหล่อ ขนาด 1.50ซมx1.50ซม
กระทู้: 45
ความเห็น: 672
ล่าสุด: 24-11-2567
ตั้งแต่: 06-06-2545
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 50: 22 ก.พ. 46, 13:11
เหล็กที่ใช้เป็นเหล็กขนาด3หุน
เหล็กที่ใช้เป็นเหล็กขนาด3หุน
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 >
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=4437&begin=25