กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที): SiamFishing : Thailand Fishing Community
<
1
2
3
4
5
>
>>
กระดาน
คห. 130 อ่าน 45,205 โหวต 14
Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที)
nattaromn
(231
)
คห.101: 21 พ.ย. 50, 00:47
เยี่ยมเลยครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ
เกงเลก้นโหว่
(2222
)
คห.102: 21 พ.ย. 50, 10:22
งามใจไปเลยน้องเลิฟ
herofluck
(1379
)
คห.103: 21 พ.ย. 50, 11:01
๛๏หมวยเถื่อน๏๛
(1410
)
คห.104: 21 พ.ย. 50, 11:54
ฝากเลคเชอร์ก่อง เด๋วมาตามเก็บ
มะหวายยยยย ปวดหัวกะงาน ขอเคลียร์ก่อง
trophy
(4982
)
คห.105: 21 พ.ย. 50, 12:56
เอามาเพิ่มให้ครับน้าลู เคยรวบรวมไว้เหมือนกันแต่นานแล้ว
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=25067
luzifer
(3326
)
คห.106: 22 พ.ย. 50, 13:13
เยี่ยมคับ
ก็อปของเขามาลงทั้งนั้นแหละครับ
ดีครับยอดเยี่ยมครับ โหวตครับ
ขอบคุณค๊าบ
มาดันไว้ก่องเดี๋ยวลืมอ่านอ่า ยังไม่ว่างเรยค้าบบ
ค๊าบ หรือจะเอาต้นฉบับ เด๋วผมไรท์ให้ก็ได้นะครับ
เยี่ยมเลยครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ
เอามาแบ่งปันกันครับ
งามใจไปเลยน้องเลิฟ
ฝากเลคเชอร์ก่อง เด๋วมาตามเก็บ
ได้เลยคร๊าบ
เอามาเพิ่มให้ครับน้าลู เคยรวบรวมไว้เหมือนกันแต่นานแล้ว
จัดไปเลยครับน้าเต่า
ปล. ขออภัย ถ้าไม่ได้ลิงค์ครบทุกกระทู้ (เพราะหาไม่เจอ) มีอะไรเพิ่มเติมก็ช่วยแนะนำด้วยคร๊าบ
luzifer
(3326
)
คห.107: 22 พ.ย. 50, 13:19
ระบบวัดแสง (Light Metering)
ในกล้องดิจิตอลจะมีระบบวัดแสงเช่นเดียวกับกล้องใช้ฟิล์ม ระบบวัดแสงทำหน้าที่ควรคุมปริมาณแสงที่จะตกลง
Image Sensor ให้เหมาะสมในแต่ละภาพ ทำให้ได้ภาพที่สว่างพอดี (Normal Exposure) ไม่มืดดำ (Under
Exposure) หรือขาวสว่าง (Over Exposure) เกินไป ระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอลจะมีอยู่ 2-ลักษณะคือ ใช้
Sensor สำหรับวัดแสงโดยตรง โดยจะมี Light Sensor แยกออกมาสำหรับควบคุมปริมาณแสงโดยเฉพาะ กับ
ใช้ Image Sensorในการกำหนดความมืดสว่างของภาพแทน Light Sensor
การปรับตั้งระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอล สามารถทำได้โดยเข้าไปที่ Menu>Metering
luzifer
(3326
)
คห.108: 22 พ.ย. 50, 13:19
ระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอลแบ่งออกเป็น 4 ระบบใหญ่ ๆ ให้เลือกใช้งานคือ
1. ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ ( Average Light-Meterting) เป็นการวัดแสงโดยการเฉลี่ยความสว่างของวัตถุใน
ภาพทั้งหมด แล้วใช้ค่าเฉลี่ยที่ได้ในการเปิดรับแสง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพตามแสง ไม่มีส่วนมืดหรือสว่าง
มากเกินไป ใช้งานได้ดีกับภาพทิวทัศน์
luzifer
(3326
)
คห.109: 22 พ.ย. 50, 13:21
2. ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลางภาพ (Center-weight Average-Light-Metering) คล้าย ๆ กับระบบเฉลี่ยทั้ง
ภาพ แต่มีการเน้นความสำคัญในบริเวณกลางภาพมากกว่าส่วนอื่นๆ ทำให้วัตถุที่อยู่กลางภาพมีผลต่อการวัดแสง
มากกว่าส่วนอื่นๆ เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสภาพแสงไม่ยุ่งยากมากนัก ไม่มีส่วนมืดหรือสว่างมากจนเกินไป
ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล หรือถ่ายภาพตามแสงได้ดี
luzifer
(3326
)
คห.110: 22 พ.ย. 50, 13:26
3. ระบบวัดแสงแบ่งพื้นที่ (Multi-segment Light-Metering) ระบบนี้จะมีการแบ่งพื้นในช่องมองภาพออกเป็น
ส่วนเล็ก ๆ ตั้งแต่ 64 ถึง 1000 ส่วน แต่ละส่วนจะวัดแสงในพื้นที่ของตนเอง แล้วนำค่าแสงมาประมวลผลเพื่อหา
ความเปรียบต่าง ความสว่างของพื้นที่จุดสนใจ ความสว่างของพื้นที่ส่วนใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะภาพที่ควรจะ
เป็น และกำหนดค่าการเปิดรับแสงออกมา เป็นระบบวัดแสงที่ทันสมัยและชาญฉลาดมากที่สุด เหมาะกับการถ่าย
ภาพในทุกสถานะการณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล ภาพเคลื่อนไหว ภาพกลางคืน ภาพมีความแตก
ต่างของแสงมาก ๆ สามารถวัดแสงได้แม่นยำ เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว หรือผู้ใช้ไม่ชำนาญ
ในด้านการวัดแสงมากนัก
luzifer
(3326
)
คห.111: 22 พ.ย. 50, 13:28
4. ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Light-Metering) เป็นการวัดแสงจากพื้นที่ส่วนกลางภาพเท่านั้น เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ชำนาญในการถ่ายภาพมาก ๆ ใช้งานยาก แต่มีความแม่นยำสูงมากหากใช้งานได้ถูกต้อง
luzifer
(3326
)
คห.112: 22 พ.ย. 50, 13:29
5. ระบบวัดแสงเฉพาะส่วนกลางภาพ (Partial Light -Metering) คล้ายระบบวัดแสงเฉพาะจุด วัดแสงเฉพาะ
ส่วนกลางภาพ แต่พื้นที่ใหญ่กว่าแบบเฉพาะจุด ให้ความแม่นยำสูง แต่ใช้งานยากพอ ๆ กับระบบเฉพาะจุด
luzifer
(3326
)
คห.113: 22 พ.ย. 50, 13:30
หากกล้องดิจิตอลที่ใช้งาน มีระบบถ่ายภาพแบบปรับตั้งเอง หรือ Manual, M ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถปรับตั้ง
ค่าความเร็วชัตเตอร์ และขนาดช่องรับแสงได้ด้วยตนเอง ผู้ใช้จะทราบได้อย่างไรว่าปริมาณแสงที่มีอยู่ในขณะ
นั้น หากตั้งความเร็วชัตเตอร์ค่านี้ จะต้องใช้ค่าช่องรับแสงเท่าไรเพื่อให้ภาพที่ได้พอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไป
หน้าที่ในการหาค่าความเร็วชัตเตอร์ หรือขนาดช่องรับแสงนี้เป็นหน้าที่ของเครื่องวัดแสง ผู้ใช้ต้องตั้งความเร็ว
ชัตเตอร์ที่ต้องการใช้งาน ทำการวัดแสง และดูสเกลวัดแสง ถ้าสเกลวัดแสงอยู่ในทางแสดงว่าแสงน้อยเกินไป
ต้องเปิดช่องรับแสงกว้างขึ้น (ตัวเลข F-Number น้อย) เพื่อให้สเกลวัดแสงมาอยู่ที่ตรงกลางหรืออยู่ในระดับ 0
คือ พอดี หรือผู้ใช้อาจจะตั้งขนาดช่องรับแสงที่ต้องการก่อนก็ได้ แล้ววัดแสงดูสเกล จากนั้นปรับความเร็ว
ชัตเตอร์ให้ได้สเกล 0 แทน
การวัดแสงจะกระทำต่อเมื่ออยู่ในระบบถ่ายภาพแบบปรับตั้งเองเท่านั้น หากเป็นระบบถ่ายภาพอัตโนมัติต่างๆ
การวัดแสงและการปรับตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ หรือขนาดช่องรับแสง หรือทั้งสองส่วนจะเป็นแบบอัตโนมัติตาม
ระบบการทำงานที่เลือกใช้
luzifer
(3326
)
คห.114: 22 พ.ย. 50, 13:31
การตั้งระบบชดเชยแสง (Exposure Compensation)
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ตั้งแต่มือสมัครเล่นไปจนระดับมืออาชีพ จะมีระบบชดเชยแสงอยู่ด้วย เพื่อควบคุมความ
มืดสว่างของภาพ แม้ว่ากล้องตัวนั้นจะไม่สามารถเลือกระบบวัดแสง หรือระบบถ่ายภาพได้ก็ตาม ระบบชดเชย
แสงจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบชดเชยแสงต่อเนื่อง สำหรับควบคุมความสว่างของแสงต่อเนื่อง และแสง
ธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนท์ แสงจากไฟทังสเตน ซึ่งถือเป็นแสงที่ส่องสว่างเป็น
เวลานานต่อเนื่อง และระบบชดเชยแสงแฟลช สำหรับควบคุมความสว่างของแฟลชให้ได้ตามที่ต้องการ การใช้
ระบบชดเชยแสงของกล้องดิจิตอลใช้งานได้ง่ายมาก โดยอาศัยดูภาพจากจอ LCD ถ้าภาพมืดเกินไปให้เพิ่ม
ปริมาณแสง และถ้าแสงน้อยเกินไปให้ลดปริมาณแสงลง แต่การดูภาพจากจอ LCD อาจจะไม่แม่นยำมากนัก ถ้า
ใช้ควบคู่กับระบบ Preview หรือ Postview จะทำงานได้แม่นยำกว่า
luzifer
(3326
)
คห.115: 22 พ.ย. 50, 13:34
การเข้าสู่ระบบชดเชยแสง ส่วนใหญ่จะเข้าที่ Menu > Exposure Compensation หรือเครื่องหมาย +- > ตั้งค่าชดเชยแสง หรือกดปุ่มชดเชยแสงแล้วหมุนวงแหวนเลือกค่าชดเชยแสงก็ได้
การชดเชยแสงจะกระทำเมื่อการทำงานของระบบวัดแสงไม่สามารถให้ภาพได้ดีอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ เช่น ภาพมืด
เกินไปหรือสว่างเกินไป จากที่ต้องการ หาก
1.ภาพมืดเกินไป มักเกิดจากการถ่ายภาพย้อนแสง มีวัตถุสว่างในภาพมาก ๆ ทำให้ระบบวัดแสงทำงานผิดพลาด
ภาพมืดกว่าที่ต้องการ ผู้ใช้กล้องต้องเพิ่มค่าแสง โดยการชดเชยแสงไปทาง + ภาพจะสว่างขึ้น
2. ภาพสว่างเกินไป มักเกิดจากวัตถุมีสีเข้ม หรือฉากหลังมีสีเข้มกว่าตัวแบบ ทำให้เครื่องวัดแสงทำงานผิด
พลาด ภาพสว่างกว่าที่ต้องการ ผู้ใช้กล้องต้องลดปริมาณแสงลง โดยการชดเชยแสงไปทาง - ภาพจะมืดลง
luzifer
(3326
)
คห.116: 22 พ.ย. 50, 13:35
วัตถุขาวให้ปรับแสงไปทาง +
วัตถุมีสีเข้มมาก ให้ปรับไปทาง -
luzifer
(3326
)
คห.117: 22 พ.ย. 50, 13:36
การชดเชยแสงจะมากหรือน้อยขึ้นกับความต้องการให้ภาพเป็นอย่างไรเป็นสำคัญไม่มีค่าตายตัวหรือข้อ
กำหนดในการใช้งาน ซึ่งเมื่อใช้งานระบบชดเชยแสงไปนาน ๆผู้ใช้จะเริ่มรู้ว่าควรชดเชยแสงเท่าไรในภาพนั้น
ๆ แต่ถ้าไม่ต้องการใช้ความชำนาญ ให้ใช้ระบบถ่ายภาพแบบ Preview ซึ่งกล้องจะแสดงภาพที่ถ่ายได้ก่อน
บันทึกลงการ์ด หากภาพเป็นที่พอใจค่อยบันทึกลงการ์ด แต่ถ้าไม่พอใจ สามารถปรับเปลี่ยนค่าชดเชยแสง
เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการได้ จะได้ภาพที่มีความสว่างดังใจ ส่วนกล้องที่ไม่มีระบบ Preview อาจจะต้องถ่าย
ภาพ บันทึกลงการ์ด แล้วค่อยดูภาพ หากไม่พอใจก็ต้องลบภาพทิ้งแล้วถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะเสียเวลา
มากกว่า
ระบบชดเชยแสงแฟลชจะแยกออกจากระบบชดเชยแสงต่อเนื่อง สามารถเข้าไปใช้ระบบนี้ได้โดยการเข้าที่
Menu > Flash >Exposure Compensation หรือ +- การใช้งานเหมือนการใช้ระบบชดเชยแสงต่อเนื่อง แต่
ให้ดูที่แสงแฟลชแทนว่าแสงแฟลชมากหรือน้อยเกินไป ไม่ใช่ดูภาพทั้งภาพ
ข้อจำกัดของระบบชดเชยแสงแฟลชก็คือ หากแสงแฟลชน้อยเกินไปเพราะแฟลชอยู่ห่างจากวัตถุมากเกินไป
แม้จะชดเชยแสงแฟลชเพิ่ม ภาพก็จะไม่สว่างขึ้น เพราะเกินกำลังการทำงานของแฟลช
luzifer
(3326
)
คห.118: 22 พ.ย. 50, 13:38
ระบบถ่ายภาพคร่อมค่าการเปิดรับแสง (Bracketing)
ระบบถ่ายคร่อมค่าการเปิดรับแสงจะมีอยู่ในกล้องดิจิตอลเกือบทุกรุ่นเช่นเดียวกับระบบชดเชยแสงสามารถเข้าสู่
ระบบถ่ายภาพคร่อมได้โดยการเลือก Menu > Bracketing หรือเข้าไปที่ระบบถ่ายภาพคร่อมโดยตรง ซึ่งมักจะ
แยกออกเป็นระบบถ่ายภาพต่างหากที่ระบบการทำงานหลัก สัญลักษณ์จะเป็นสี่เหลี่ยมสามอันซ้อนกัน เป็นขาว
เทา และดำ
เมื่อเข้าสู่ระบบถ่ายคร่อม กล้องจะให้เลือกค่าการถ่ายคร่อม เช่น +-0.3 EV หมายถึงจะถ่ายภาพทั้งหมด 3 ภาพ
โดยมีค่าการเปิดรับแสง น้อยกว่าที่วัดแสงได้ 0.3 EV ตามค่าการวัดแสง และมากกว่าที่วัดแสงได้ 0.3 EV เป็น
ต้น จากนั้นกล้องจะเก็บภาพทั้ง 3 ภาพเอาไว้ ซึ่งผู้ใช้สามารถไปเลือกภายหลังได้ว่าภาพใดให้สีดีที่สุด
luzifer
(3326
)
คห.119: 22 พ.ย. 50, 13:39
ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง
พรุ่งนี้ครับ
luzifer
(3326
)
คห.120: 26 พ.ย. 50, 21:35
อิอิ
หลังจากที่ดองมาหลายวัน
ช่วงนี้งานเข้าบ่อยเหลือเกิน
วันนี้จึงได้ฤกษ์ ได้ รปภ.(ยาม)
มาโพสต่อสักที
luzifer
(3326
)
คห.121: 26 พ.ย. 50, 21:39
ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง
เป็นระบบถ่ายภาพหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกัน ซึ่งมักจะมีในกล้องดิจิตอลราคาปานกลางถึงราคาสูง ใช้ในการถ่าย
ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันหลายๆ ภาพ สามารถเข้าสู่ระบบถ่ายภาพต่อเนื่องได้โดยการเข้าไปที่ Menu >
Continue จะมีรูปสี่เหลี่ยมหลายรูปซ้อนกัน หรืออาจจะมีปุ่มตั้งระบบถ่ายต่อเนื่องอยู่ที่ตัวกล้องโดยตรงก็ได้
ระบบถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้องแต่ละรุ่นจะทำงานไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้ใช้ต้องอ่านรายละเอียดให้เข้าใจด้วย เช่น
กล้องบางตัวถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 1 ภาพ/วินาทีต่อเนื่องกัน 3 ภาพ บางตัวได้ 5 ภาพ/วินาทีต่อเนื่องกัน 5 ภาพ
บางตัวได้ 5 ภาพ/วินาทีต่อเนื่องกัน 20 ภาพ แต่ต้องตั้งความละเอียดแค่ 1 ล้านพิกเซลเท่านั้น ฯลฯ จึงควร
ศึกษาระบบการทำงานของกล้องที่ตนเองใช้เอาไว้ด้วย
luzifer
(3326
)
คห.122: 26 พ.ย. 50, 21:42
ระบบถ่ายภาพซ้อน (Multiple-Exposure)
เป็นระบบที่ทำให้สามารถถ่ายภาพหนึ่ง ซ้อนลงไปบนอีกภาพหนึ่งได้ เช่น ซ้อนดวงจันทร์บนวิวกลางคืน ซึ่งการ
ซ้อนจะดูแนบเนียนเสมือนจริงมากน้อยขนาดใดนั้น ขึ้นกับลักษณะภาพที่ซ้อนกัน การเข้าสู่ระบบถ่ายภาพซ้อน
โดยการเข้าไปที่ Menu > Multiple-Exposure หรือไปที่ปุ่มเลือกระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง ระบบถ่ายภาพซ้อนมัก
จะอยู่ที่ปุ่มนี้ด้วย
luzifer
(3326
)
คห.123: 26 พ.ย. 50, 21:47
ระบบแฟลช
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีแฟลชขนาดเล็กในตัว ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีในระยะไม่เกิน 3-4 เมตร หากไกลกว่า
นั้นปริมาณแสงแฟลชจะไม่เพียงพอ ต้องใช้แฟลชภายนอกซึ่งมีขนาดใหญ่และให้ความสว่างสูงกว่าติดตั้งเข้าไป
ที่ฐานเสียบแแฟลช ส่วนกล้องดิจิตอลราคาประหยัดอาจจะไม่มีฐานเสียบแฟลชที่ตัวกล้อง ทำให้ไม่สามารถใช้
แฟลชภายนอกเข้ามาช่วยได้ ยกเว้นแต่ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ตาแมว ลักษณะเป็นตัวเสียบเข้าที่ฐานของแฟลช
ภายนอก เมื่อแฟลชที่ตัวกล้องทำงานตาแมวจะทำให้แฟลชนอกตัวกล้องทำงานไปพร้อมกับแฟลชที่ตัวกล้อง
ด้วย
โดยทั่วไป การเปิดระบบแฟลชของกล้องดิจิตอล จะมีปุ่มกดที่ตัวกล้องให้แฟลชทำงาน จากนั้นจึงเข้าเมนูของ
ตัวแฟลช เลือกระบบการทำงานของแฟลช ซึ่งมักจะมีให้เลือกดังนี้
1. Auto ระบบแฟลชอัตโนมัติ ทำงานเมื่อแสงไม่พอ หากแสงพอแฟลชจะไม่ทำงาน โดยปกติจะตั้งแฟลชไว้ที่
Auto
2. Force Flash แฟลชทำงานตลอดเวลาแม้แสงจะพอหรือไม่พอ ใช้เมื่อถ่ายภาพย้อนแสง หรือต้องการให้
แฟลชทำงานเป็นกรณีพิเศษ
3. Red-eye reduction แฟลชแก้ตาแดง ใช้ถ่ายภาพบุคคลในที่มืดมาก ๆ ซึ่งม่านตาจะเปิดกว้าง โอกาสที่จะ
เกิดจุดสีแดงในดวงตามีมาก แฟลชจะทำงาน 2-ครั้งหรือมากกว่าแสงแฟลชครั้งแรกแสงจะถูกส่องสว่างออกมา
เพื่อให้ม่านตาหรี่ลง-ส่วนแสงแฟลชครั้งสุดท้ายจะเป็นการถ่ายภาพจริง ๆ
4. OFF สำหรับปิดแฟลชไม่ให้แฟลชทำงาน เพื่อเก็บบรรยากาศของแสงตามความเป็นจริง
5.Slow-sync ใช้แฟลชร่วมกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เพื่อเก็บบรรยากาศของแสง ไม่ให้ฉากหลังมืดเกินไป ใช้
ความเร็วชัตเตอร์ต่ำร่วมกับแฟลช ต้องระวังการสั่นไหวของกล้อง
รัฐ
(162
)
คห.124: 26 พ.ย. 50, 21:49
ไม่เข้าใจอ่ะ งง ว่าแต่ว่ามีเลนส์ส่องทะลุเสื้อผ้าบ้างป่าวอ่า ฝากซื้อหน่อยจิ
luzifer
(3326
)
คห.125: 26 พ.ย. 50, 21:49
ระบบปรับความชัด
ภาพที่ดีควรมีจุดสนใจคมชัด ดังนั้นผู้ใช้กล้องควรปรับความชัดที่จุดสนใจให้ชัดทุกๆ ภาพ
ระบบปรับความชัดของกล้องดิจิตอลจะเป็นแบบปรับความชัดอัตโนมัติแบบทีละภาพเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้
กล้องดิจิตอลในระดับมือสมัครเล่นส่วนใหญ่ต้องการความสะดวก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่ง ใน
สภาพแสงไม่น้อยเกินไปนัก ในที่สลัวอาจจะมีปัญหาในการปรับความชัดบ้าง ต้องเอาไฟส่องหรือหาวิธีเพิ่มแสง
ตรงตำแหน่งจุดปรับความชัด เพื่อให้กล้องสามารถปรับความชัดได้ส่วนกล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือกล้อง
ดิจิตอลรุ่นสูงอาจจะมีระบบปรับความชัดโดยผู้ใช้ให้เลือกใช้งาน สามารถปรับความชัดได้ทั้งแบบทีละภาพ
สำหรับวัตถุที่อยู่นิ่ง และแบบต่อเนื่อง สำหรับวัตถุเคลื่อนไหว รวมทั้งมีระบบดักระยะชัดและเปลี่ยนตำแหน่งปรับ
ความชัดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระบบปรับความชัดอัตโนมัติอาจจะมีปัญหาบ้างในสภาพแสงน้อย ๆ วัตถุไม่มีความเปรียบต่าง ถ่ายภาพผ่านลูก
กรงหรือกระจก ให้ใช้ระบบปรับความชัดด้วยมือ หรือปรับระยะชัดที่วัตถุอื่น ๆ ที่มีระยะใกล้เคียงกันก็ได้
ในกรณีที่ถ่ายภาพในระยะใกล้มากเกินไปจนไม่สามารถปรับความชัดได้กล้องจะขึ้นสัญลักษณ์แสดงการเตือนว่า
ไม่สามารถปรับความชัดได้ เช่น เป็นเครื่องหมายตกใจ หรือคำว่า AF กระพริบหากกล้องมีระบบมาโครให้เปิด
ระบบมาโคร โดยเข้าไปที่ Menu หรืออาจจะเป็นปุ่มรูปดอกไม้
<
1
2
3
4
5
>
>>
siamfishing.com © 2024