สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 25 เม.ย. 67
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ. : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 9 - [19 ม.ค. 53, 16:58] ดู: 16,050 - [22 เม.ย. 67, 21:08] โหวต: 3
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
1 พ.ค. 51, 21:24
1
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
ภาพที่ 1
ก่อนอื่นต้องขอโทษน้า sakchai_418. ไว้ ณ. ที่นี้ด้วยน่ะครับ ที่นำภาพของน้ามาใช้เป็นหลักในการอ้างถึงประเด็นที่ผมจะนำมาเปรียบเทียบชนิดของปลาที่น้าๆทายกันในกระทู้ดังกล่าว หลักๆจะมีการกล่าวถึง ปลาบ้า หรือ ปลาโพง Leptobarbus hoevenii ( Bleeker,1851) กับ ปลาเฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า Ctenopharyngodon idella ( Valenciennes, 1844) น้าๆทุกท่านต่างคนก็ต่างเคยประสบพบเห็นปลาทั้ง 2 ชนิดมาแล้ว มาคราวนี้ผมเลยอยากหยิบยกหลักง่ายๆที่ผมสามารถหาได้และพอที่จะสนับสนุนหรือยืนยันถึงปลาทั้ง2. หลายท่านบอกให้ดูที่ขนาดของเกล็ด จริงๆแล้วขนาดของเกล็ดสามารถหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างได้  สีที่ครีบต่างๆ หรือ แม้กระทั่งสีของลำตัว ก็ถูกพูดถึงว่าสามารถจำแนกชนิดของปลาได้ แต่ความเห็นส่วนตัวสีเหล่านี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมได้บ้าง คราวนี้ถ้าพูดถึงการกระจายหรือแหล่งที่พบ ก็อาจจะได้บ้างแต่ก็ยังไม่ใช่เสียทีเดียว ก่อนที่จะเลยเถิดไปกว่านี้ กลับมาเข้าเรื่องก่อนก็แล้วกันครับผม.
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
ภาพที่ 2
ปลาบ้า ปลาโพง Leptobarbus hoevenii ( Bleeker,1851) ในหนังสือ Fishes of the Cambodian Mekong. ของ Walter J. Rainboth. กล่าวถึงลักษณะเด่นๆของปลาชนิดนี้ว่า.
1) ครีบหลัง - ก้านครีบแรกไม่ใช่ก้านครีบแข็ง และ นับก้านครีบอ่อนเพิ่มอีก 7 ก้านครีบ.
2) ครีบก้น- 5ก้านครีบ
3) เส้นข้างลำตัว -  ถ้าสังเกตุจะเห็นรอยประประ หรือ เป็นรูบนเกล็ดปลา นี่แหละครับ เกล็ดที่มีรูนี้จะยาวไปสุดขอดหาง เหมือนแบ่งครึ่งตัวปลา โดยที่รูนี้จะเริ่มจากหลังเหงือก จะเป็นเส้นตรง โค้งขึ้น หรือ ลาดลง ก็แล้วแต่ แต่จะไปสุดที่ปลายขอดหาง เราเรียกรอยประนี้ว่า เส้นข้างลำตัว ดังนั้นเกล็ดที่มีรูเหล่านี้จะถูกเรียกว่า เกล็ดเส้นข้างลำตัว โดยที่เกล็ดเส้นข้างลำตัวของปลาบ้าจะลาดชันตกลงไปยาวถึงขอดหาง แต่เส้นนี้จะดูต่ำกว่า ถ้าลองลากเส้นตรงแบ่งครึ่งไปจนถึงขอดหาง ของปลาบ้าจะอยู่ใต้เส้นแบ่งครึ่งดังกล่าวครับผม.
4) มีหนวด 4 เส้น บริเวณจมูก และ ขากรรไกรบน.
5) แถบสีดำพาดตามแนวเส้นข้างลำตัว จะปรากฎในวัยเยาว์ แล้วจะค่อยๆเลือนจาง จนถึงขนาดหายไป ในตัวเต็มวัย.
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
ภาพที่ 3
นอกจากนี้ปลาบ้ายังถูกกล่่าวถึงในหนังสือ Fishes of  Laos. ของ Maurice Kottelat. ไว้ดังนี้ครับ.
1) หากนับเกล็ดตั้งฉากลงมาจนถึงเกล็ดเส้นข้างลำตัวครึ่งท่อนบน = 4 เกล็ดครึ่ง.
2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัวที่นับได้ = 35-38 มีบวกเผื่อไว้ 2-3 เกล็ดครับผม
อยากให้ดูภาพที่ 3 ที่เป็นภาพวาด จะเห็นได้ชัดขึ้นครับผม.
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
ภาพที่ 4
ภาพที่ 4 นี้เป็นภาพวาดของปลาเฉาฮื้อ ปลากินหญ้า Ctenopharyngodon idella ( Valenciennes,1844) ครับผม ข้อมูลของปลาชนิดนี้ที่ผมมีถูกระบุอยู่ในหนังสือ Fishes of  Laos. และในเว็บของ Fishbase. มีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้ครับ.
1) ปลาเฉาฮื้อไม่มีหนวด.( ข้อมูลใน Fishbase.)
2) จำนวนก้านครีบก้น =  8-9.5 ก้านครีบ.
3) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว 37-42 บวกเผื่อเพิ่ม 2-3 เกล็ดครับ.
มาเปรียบเทียบภาพปลาด้วยกันครับ.
ภาพที่ 5
รูปที่ 5 นี้เป็นปลาเฉาฮื้อครับ จากในความเห็นที่ผมแสดงออกไปว่า ดูเป็นปลาเฉาฮื้อ ก็ด้วยเหตุผล ที่ว่า ผมคาดเดาว่าผมเห็นเส้นข้างลำตัว โดยนับจากจำนวนเกล็ด ระหว่างจุดเริ่มต้นของครีบหลังถึงเส้นข้างลำตัว ( ที่ผมคาดว่าย่าจะใช่ = 5 เกล็ดครึ่ง ครับผม ) นอกจากนี้รูปทรงของเกล็ดจะดูคล้ายกับปลาเฉามากกว่า ครับ.

สุดท้ายขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาชมครับผม.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024