สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 20 เม.ย. 67
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2) : Fishing Reel Inside
 ห้องผ่ารอก > วิธีผ่า/ล้าง/ซ่อม
ความเห็น: 2 - [28 ธ.ค. 54, 07:52] ดู: 6,920 - [19 เม.ย. 67, 19:49] ติดตาม: 1 โหวต: 2
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
เสือนอนกิน offline
15 ก.พ. 51, 18:00
1
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
ภาพที่ 1
ยังมีเฟืองชักสปูล ไม่ถ่ายภาพมาให้ดูค่ะ  แต่ดูภาพตรงนี้แล้วกัน จะเห็นห้องเครื่องค่อนข้างจะสะอาดสะอ้าน ไม่มีอะไรกีดขวาง เรียบง่ายดี  ถอดเฟืองชักแกนสปูลได้เลยค่ะ นี่คือ ความแตกต่างระหว่าง Daiwa กับ Shimano คือ ระบบชักแกนสปูล  Daiwa ไม่ใช่ตัวหนอนแต่ใช้เฟือง
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
ภาพที่ 2
ในห้องเครื่องถอดเกือบหมดทุกส่วนแล้ว  เอามาวางเรียงกันได้ดังภาพค่ะ  เชิญเลือกทำความสะอาดตามความเหมาะสมค่ะ
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
ภาพที่ 3
ภาพส่วนของชุดเฟืองพินเนียนกียร์ เวลาประกอบเข้ากับชุดตลับลูกปืน ลูกปืนกันตีกลับ ตรงนี้ละค่ะที่บอกว่า ไม่ง่าย เพราะว่าเวลาประกอบแล้วจะเอาเข้าไปในเบ้าตัวเรือนรอก มันไม่ฐานรองเฟืองพินเนียน ดังนั้นจะต้องประคองให้ตรงตำแหน่ง ก่อนที่จะครอบเอาตัวโรเตอร์ลงไป แล้วไขน๊อตเหลี่ยมปิด 
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
ภาพที่ 4
นี่ค่ะ ค่อยใส่ลงไปแบบนี้ แล้วก็ไขน๊อตค่ะ ครอบโรเตอร์ลงไป
ผ่ารอก Daiwa Freams 2500 (ตอนที่ 2)
ภาพที่ 5
ให้ดูส่วนภายในห้องเครื่อง  ส่วนของพินเนียนเกียร์ที่ลงมาที่ห้องเครื่องจะไม่มีฐานรองรับ แตกต่างจากรอกรุ่นอื่นๆพอสมควร ถือว่าเป็นการออกแบบที่แตกต่าง  ที่จริงแล้วประกอบผิดด้วยค่ะ จริงๆแล้ว แกนสปูลต้องไม่ล็อคกับตัวชักสปูลก่อนที่จะใส่เฟืองขับค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นจะใส่เฟืองขับไม่ได้

คงต้องจบแค่นี้ก่อนค่ะ แล้วพบกันโอกาสหน้า ค่ะ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024