สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 24 เม.ย. 67
Catch-and-Release: ความเป็นมาและพัฒนาการ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 83 - [4 มิ.ย. 58, 07:07] ดู: 141,204 - [23 เม.ย. 67, 21:11] ติดตาม: 1 โหวต: 41
Catch-and-Release: ความเป็นมาและพัฒนาการ
webmaster (593 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
10 พ.ย. 45, 16:27
1

(เรียบเรียงจาก Ken Schultz's fishing encyclopedia, 1st ed. 2000)


ความเป็นมา

"Catch-and-Release" หมายถึงแนวทางการปฏิบัติในการจับปลาด้วยอุปกรณ์ตกปลาและปล่อยไปขณะยังมีชีวิต เป็นแนวทางที่มีรากฐานมาจากจริยธรรม และวัฒนธรรมของการตกปลา และยึดถือปฎิบัติโดยสมัครใจมาเป็นเวลายาวนานในหมู่นักตกปลาบางส่วน

ในแง่ที่เป็นเรื่องของความสมัครใจ catch-and-release จึงเป็นเรื่องของส่วนบุคคล หากไม่ใช่เป็นเพื่อจริยธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ผู้ที่ยึดถือปฎิบัตบางท่านจึงเชื่อว่า สปิริตของ catch-and-release จะมีความหมายเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อ ยึดถือปฎิบัติโดยสมัครใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลาตัวนั้นมีขนาดใหญ่ หรือหาพบได้ยาก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องของความสมัครใจ ได้เริ่มกลายเป็นข้อบังคับทางกฏหมาย (ของอเมริกา - ผู้เรียบเรียง) สำหรับปลาในบางขนาด บางจำนวน บางชนิด ดังนั้น catch-and-release จึงได้กลายเป็นทั้งเรื่องจริยธรรม และนโยบายของรัฐ

ถึงกระนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อส่วนตัว หรือแนวทางการจัดการของรัฐ  catch-and-release ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ใช้เวลานานสำหรับที่จะทำให้คนจำนวนมากได้ยอมรับ เป็นเรื่องได้รับการถกเถียงกันในวงกว้างโดยนักตกปลาและกรมประมง และยังคงดำเนินต่อไป ตราบเท่าที่ยังมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงสิ่งที่มีผลกระทบต่อการรอดชีวิตของปลาที่ตกได้และปล่อยไป และเคียงคู่ไปกับการที่นักตกปลาต้องเรียนรู้และปฎิบัติอย่างเหมาะสมต่อการนำปลาขึ้นจากน้ำ การถือ และการปล่อยกลับคืนไป

พัฒนาการของกฎหมาย

แนวความคิดในการปล่อยปลาที่ไม่ต้องการบริโภค ทั้งที่สามารถเก็บไว้ตามกฎหมาย ได้พัฒนามาจากนักตกปลาหลายกลุ่ม อาทิเช่น นักตกปลามากประสบการณ์ที่ตกปลาได้ตามจำนวน หรือได้ชนิดที่ต้องการแล้ว จึงไม่ต้องการเพิ่มอีก นักตกปลาที่ปรารถนาจะสนุกกับการตกต่อไป จึงไม่เก็บปลาไว้ตามจำนวนที่ถูกกำหนดไว้ และนักตกปลาที่ตระหนักว่าการยิ่งนำปลาบางขนาด หรือบางชนิดที่กำหนด จากบริเวณใดๆ อาจมีผลกระทบที่เลวร้ายต่ออนาคตต่อประชากรปลาในบริเวณนั้น

catch-and-release มีจุดเริ่มมาจากความยึดถือ และทางเลือกของบุคคล และพัฒนามาเป็นกระแสความเคลื่อนไหว เนื่องจากการเรียกร้องของกลุ่มนักตกปลาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี 1960 และปี 1970 ส่วนปัจจัยอื่นก็เนื่องมาจากการการพัฒนาการของอุปกรณ์ตกปลา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปลาที่มากขึ้น และสภาวะคับขันของจำนวนปลา  แหล่งหาปลาขึ้นชื่อหลายแห่งในอเมริกา มีจำนวนปลาลดลงอย่างมาก หรือหมดไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ไม่กี่สิบปี  ถึงแม้จะมีปัจจัยมากมาย และในหลากหลายระดับ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือมลภาวะทางน้ำและทางอากาศ แหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง การจับปลาในเชิงพาณิชย์ และการตกปลาเป็นเกมกีฬา

ความพยายามในการตกปลาทั้งน้ำจืดและทะเล มักพุ่งเป้าหมายเฉพาะกับปลาบางชนิดที่ให้ความรู้สึกพิเศษในการตก แบส เทร้าท์ แซลมอล คราปปี้ และวอไลย์ เป็นตัวอย่างปลาน้ำจืดที่ได้รับความนิยมในระดับต้นๆ สไตรด์แบส เรดฟิช ทาร์ปอน ทูน่า และปลากระโทง เป็นปลาทะเลชั้นนำ ก่อนที่ประชากรของปลาเหล่านี้ และปลาที่ได้รับความนิยมอื่นๆ จะลดลงอย่างมาก และก่อนที่กระแสการตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์ นักตกปลามักจะเก็บปลาแทบทุกตัวที่ตกได้ จนกระทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับฤดูกาล วิธีการจับ ความยาวขั้นต่ำ ได้ถูกกำหนดขึ้น

ในช่วงหนึ่ง นักตกปลารวมทั้งสาธารณะชนโดยทั่วไป เชื่อว่าการตกปลาเพื่อสันทนาการไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อระดับประชากรของปลา โดยเฉพาะในน้ำจืดที่การทำประมงเป็นปัจจัยรองกว่าในทะเล  ทุกวันนี้เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น  นักตกปลาที่มีความชำนาญจำนวนหนึ่งสามารถที่จะพลาญประชากรของปลาได้แทบทุกปลาชนิด ในช่วงเวลาหนึ่งหากไม่ได้รับการดูแล  ในบางสถานการณ์นักตกปลาที่ความชำนาญสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น ทั้งๆที่ปฎิบัติตามข้อกำหนดก็ตาม  แม้ว่าเขาจะไม่ได้จับปลาไปทั้งหมด แต่เขายังคงสามารถที่จะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อสมดุลย์ของประชากรปลา โดยการเลือกที่จะตกปลาบางพันธุ์ หรือเลือกที่จะเก็บปลาบางขนาดโดยเฉพาะปลาที่มีขนาดใหญ่  ตัวอย่างเช่น ความพยายามอย่างยิ่งในการตกปลาเลคเทร้าท์ขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของแคนนาดา ได้ทำให้ปลาเลคเทร้าท์ซึ่งเติบโตได้ช้า ในขนาดโทรฟี้แทบจะหมดไปในช่วงปลายปี 1950 จนถึงปี 1970

การตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และในหลายกรณีเป็นการเรียกร้องจากองค์กรนักตกปลาต่างๆ ในที่สุดกรมประมงก็ได้กำหนดจำนวนปลาที่จะนำขึ้นได้จากเดิมไม่ได้กำหนดไว้เลย กำหนดฤดูกาล กำหนดชุดปลายสาย รวมทั้งการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัย

กฎข้อบังคับของกรมประมงในเรื่อง ขนาด จำนวน และฤดูกาล ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้โอกาสปลาขนาดเล็กได้เติบโตเต็มที่ และแพร่ขยายพันธุ์  ซึ่งเป็นความจริงอย่างมากในน้ำจืด และลดระดับลงมาในน้ำทะเล  บางข้อถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์บางอย่างโดยเฉพาะ เช่น เพื่อรักษาปลาในระดับโทรฟี่ในบางพันธุ์ ในบางทะเลสาบ การปล่อยปลาขนาดใหญ่นี้ถูกมองว่าเป็นแนวทางที่มุ่งหวังการแพร่พันธุ์ และการสงวนปลาขนาดใหญ่ไว้  ในบางข้อดูเหมือนจะมีเป้าหมายในทางตรงกันข้ามโดยกำหนดให้นำปลาบางขนาดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อรักษาสมดุลย์ประชากรของปลาในหลากหลายขนาด (หลากหลายช่วงอายุ) เนื่องจากปลาที่ถูกตกได้และเก็บไว้ มักจะเป็นขนาดใหญ่ และการทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้ประชากรปลาขาดความสมดุลย์

ดังนั้นภายใต้กฎหมาย นักตกปลาต้องปล่อยปลาที่ตกได้นอกฤดูกาลที่กำหนด หรือปลาที่ขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ากำหนด หรือปลาที่มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดสำหรับพันธุ์นั้น  นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังกำหนดให้ ปล่อยปลาที่ถูกตกได้หากปลาติดเบ็ดอย่างไม่ถูกต้อง ข้อบังคับนี้เป็นเรื่องของการกีฬา มากกว่าที่จะเป็นเรื่องการจัดการทรัพยากรณ์

อ่านต่อ
Catch-and-Release: ความเห็นอันหลากหลาย
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024