สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
สิ่งจำเป็นที่ควรท สำหรับตกปลาชายฝั่งทะเลโขตหินครับ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 21 - [2 ธ.ค. 54, 15:26] ดู: 5,303 - [25 เม.ย. 67, 02:44] โหวต: 7
สิ่งจำเป็นที่ควรท สำหรับตกปลาชายฝั่งทะเลโขตหินครับ
sirichai_toto217 (364 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
11 พ.ค. 54, 17:56
1
สิ่งจำเป็นที่ควรท สำหรับตกปลาชายฝั่งทะเลโขตหินครับ
ภาพที่ 1
ขอบคุณน้าหนุ่ม machanu มากครับ 

จากเหตุการณ์ น้าชรัช ทองดี ถูกคลื่นซัดพลัดตกไปเสียชีวิตนั้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่า เรายังระมัดระวังตัวเองไม่พอครับ

ผมเองก็เคยเขียนบทความ ว่าสิ่งที่จำเป็นระควรระมัดระวัง ในการตกปลาชายฝั่ง มีอะรัยบ้าง และมีอยู่ข้อนึงที่สำคัญ
ก็คือ "อย่าหันหลังให้ทะเล" ครับ 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหวังว่าคงเป็นอุทาหรณ์ไม่ว่าช่วงนั้นจะเป็นช่วงมรสุมหรือไม่  อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอครับ แม้จะไม่มีคลื่นก็เถอะ  ควรอยู่ในความไม่ประมาท  เป็นดีที่สุดครับ 

พวกเราทีม Shadow  ได้รับบทเรียนอันสำคัญ และต้องปรับปรุงมาตรการ ต่างๆ  และแน่นอนสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ความไม่ประมาท ในทุกๆ เรื่อง แม้แต่สิ่งเล็กๆ ก็เถอะ"  เพราะนั่นมันหมายถึงชีวิต เลยถ้าพลาด    โอกาสที่สองอาจจะไม่มีให้แก้ไขแล้วครับ

ผมจึงอยากบอกกล่าวในสิ่งที่อย่างจะให้นักปลาทุกท่านควรทำ ขณะไปตกปลา จากประสบการณ์ดังนี้นะครับ

1)ติดตามข่าวสาร สภาพอากาศต่างๆ ให้แน่ชัดก่อน (สำคัญมาก) 
เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวตัดสินใจ ควร หรือไม่ควรไปตก  อย่ายึดถือความชอบเป็นหลัก ควรคิดถึงความปลอดภัย
2) การเดินทางไม่ควรไปตกคนเดียวครับ  อย่างน้อยควรไปสัก 2-3 คน เพราะถ้าเกิดอะรัยจะได้ช่วยเหลือหรือแจ้งข่าวได้
3) การแต่งกายรัดกุม คล่องตัว
4) อุปกรณ์ใส่ของเช่น เป้ ซองใส่คันเบ็ด ควรรัดกุม ขึ้นหลังได้ เพื่อให้มือเราว่างสามารถจับปีนป่ายได้สดวก
5) อุปกรณ์ จำเป็นอย่างอื่นที่ควรจะต้องมี 
    5.1) ไฟฉายส่องสว่าง(แบบสว่างๆนะ)
    5.2) รองเท้าที่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี (สำคัญมาก)
    5.3) เชื่อกกู้ภัย(สามารถขว้างได้)
    5.4) ชูชีพ(แบบแกส) หรือเป่าลม มีนกหวีด
ซึ่งสองข้อหลังนี้ 5.3 5.4 จากเหตุการที่เกิด พวกเราก็คิดมาตรการแล้ว จำเป็นต้องมี ครับ
ชูชีพนั้น จากที่น้าหนุ่มแนะนำ  แบบแกส น่าจะดีที่สุด หรือแบบเป่าลม  เพราะมันเล็กใส่ได้ตลอด  จะสามารถตัดปัญหาเพราะความประมาทอาจเกิดได้ถ้าเราใช้แบบธรรมดาอันใหญ่ๆ  เช่น "ใส่แล้วร้อนถอดออกแป๊บนึง" "ใส่แล้วขว้างเบ็ดไม่ถนัดถอดก่อนแป๊บนึง"  ซึ่งอุบัติเหตุอาจเกิดตอนไหนก็ได้ครับ

6) อย่ายืนหันหลังให้ทะเล  (สำคัญมาก)
เพราะจะทำให้เราไม่รู้และไม่ระวังสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน  เช่นถ้าหันหน้าก่อนก็จะสามารถเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นและคิดแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็วกว่า

7) จุดตำแหน่งที่อยู่หรือปักเบ็ด ควรสักเกตุดังนี้
สังเกตุจากเวลา และน้ำขึ้นน้ำลง ณ วันนั้น ขณะนั้น  สำคัญมากครับ  หลายคนไม่รู้ไม่สนใจ  นั่งๆ ตอนแรกคลื่นไม่ถึง แต่หารู้ไม่ว่า น้ำกำลังขึ้น คลื่นมันก็จะสูงมากกว่านี้ได้
ดังนั้น ควรสังเกตุ และต้องรู้ว่า ณ วันนั้น ตอนนั้น น้ำอยู่ในระดับใด และกำลังจะไปในทิศทางใด สูงขึ้นหรือไม่ 
จุดสังเกตุ อันดับแรก  คือ ดูที่พื้นว่า ต่ำแหน่งนั้นเปียกน้ำหรือไม่ ถ้าเปียกน้ำ แสดงว่าน้ำถึงแน่ๆ  ควรหลบไปอยู่ที่สูงกว่าให้มาก (ทั้งนี้ควรดูระดับน้ำว่ากำลังขึ้นหรือไม่ด้วย)

8) การเดินโขตหิน ควรระมัดระวังให้มาก การเดินแต่ละก้าวควรมั่นใจและแน่ใจ ในตำแหน่งที่เราจะเหยียบลงไป
"เดินช้า แต่ชัวร์"  ไม่ควรรีบร้อน แม้แต่กระทั่งขณะปลากิน สังเกตุบางครั้งก็จะวิ่งแทบไม่สนใจอะรัยเพื่อไปให้ถึงเบ็ด อันตรายมากครับ อาจพลาด หัวทิ่มตกน้ำได้
9) หลีกเลี่ยงการเดินในที่ต่ำในกรณีที่มีคลื่นแรง 
10) ในกรณีที่ขณะตกอยู่สภาพอากาศเลวร้ายมากขึ้นฝนตกหนักคลื่นลมแรง ทางที่ดีคือไม่ควรตกต่อ ควรเก็บเบ็ดและรอให้สงบลงดีกว่า

อุปกรณ์จำเป็นอย่างอื่นที่ควรมีติดตัวไว้ : เสื้อฝน มีด ไฟฉายสำรอง  ถุงดำ ฯลฯ
ของที่ไม่ควรเอาไป จำพวกที่เป็นขวดแก้ว และควรนำกลับมา เพราะเศษแก้วที่แตกเป็นอุปสรรคมาก เดินๆ อาจะเหยียบแล้วทำให้พลาดตกเป็นได้

เข้าใจว่าการตกปลามันเป็นความรักความชอบ ซึ่งในบางครั้งบางสถานการณ์ก็ควรพิจารณาไตร่ตรองคิดให้ดี ก่อนตัดสินใจ เช่นวันนี้สภาพอากาศรุนแรงมากฝนตกหนักคลื่นแรง ก็ไม่ควรจะไปที่ๆ ที่เสียง  อย่างน้อยควรหลีกเลี่ยงเช่น หาที่อื่นที่บังลม หรือปลอดภัยกว่าอันดับแรก

หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อคิด ให้ทุกท่านปรับเปลี่ยน เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นนะครับ


"แต่เหนื่อสิ่งอื่นใด จาก 10 ข้อที่กล่าวคือ    ....ความไม่ประมาท" ครับ

Shadow Fishing Club Phuket[/b]
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024