สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 19 เม.ย. 67
ชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปีพ.ศ. 2460 : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > พระหล่อ
ความเห็น: 3 - [25 ธ.ค. 58, 13:23] ดู: 3,096 - [18 เม.ย. 67, 13:14] ติดตาม: 1 โหวต: 3
ชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปีพ.ศ. 2460
Joe_Saimai (1071 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
22 ธ.ค. 58, 16:40
1
ชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปีพ.ศ. 2460
ภาพที่ 1
ชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปีพ.ศ. 2460
ชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปีพ.ศ. 2460
ภาพที่ 2
วัดสามจีน เป็นชื่อเรียกของชาวบ้าน ชื่อวัดอย่างเป็นทางการก็คือ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนตรีมิตร กทม. ชื่อเสียงของวัดไตรมิตรฯ มาดังกระหึ่มก็เมื่อตอนที่พบพระพุทธรูปทองคำ พุทธศิลปะสมัยสุโขทัย ที่คนโบราณพอกปูนพลางเอาไว้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติทีเดียว

ในอดีตวัดไตรมิตรฯ มีท่านเจ้าอาวาส ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเช่นกันคือ พระครูวิริยะกิจการี (โม) หลวงพ่อโมท่านเป็นคนเชื้อสายจีน บิดามารดาเป็นคนตลาดน้อย กทม. โยมบิดาชื่อลิ้ม โยมมารดาชื่อกิมเฮียง ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 ในวัยเด็กท่านมีนิสัยชอบค้นคว้าตำรับตำรา รักสงบ ชอบเข้าวัดเข้าวา บิดามารดาจึงได้เอามาฝากศึกษาอักษรสมัยทั้งไทยและขอมกับสำนัก วัดสามจีน ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้าน ท่านขยันหมั่นเพียร การศึกษาจึงก้าวหน้ากว่าเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกันและท่านเป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี จึงเป็นที่รักใคร่ของผู้ใกล้ชิด เมื่อมีอายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดสามจีนโดยมีพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) วัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง และพระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "ธมฺมสโร" จำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีน ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและขยันมั่นเพียรในการศึกษา จนได้ชื่อว่า เป็นพระภิกษุที่รอบรู้พระไตรปิฎกได้แตกฉาน และท่านก็ฉันเจตลอด

ต่อมาเมื่อพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) ท่านได้รับสถาปนาเป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลก ท่านเองก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ เป็นพระฐานานุกรมของพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเจ้าคุณปรากรมมุนี (เปลี่ยน) องค์นี้ท่านเป็นผู้เรืองวิทยาคมขลังรูปหนึ่ง มีชื่อเสียงโด่งดังมากทางด้านน้ำมนต์และลงขม่อมด้วยขมิ้นชัน เล่ากันว่าจะติดกะโหลกแน่นไปจนตายทีเดียวครับ หลวงพ่อโมท่านได้รับถ่ายทอดสรรพวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณเปลี่ยนจนหมดสิ้น ต่อมาท่านเจ้าคุณปรากรมมุนี (เปลี่ยน) ท่านได้กลับลงมาครองวัดปทุมคงคา หลวงพ่อโมก็ติดตามกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีน และเมื่อเจ้าอาวาสวัดสามจีนมรณภาพ หลวงพ่อโมท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายของท่านก็คือ "พระครูวิริยะกิจการี"

การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อโมนั้นเข้าใจว่าท่านได้สร้างขึ้นเมื่อหลังจากกลับจากพิษณุโลกมาอยู่ที่วัดสามจีนแล้ว โดยท่านสร้างเป็นพระพิมพ์รูปพระพุทธชินราช สร้างด้วยเนื้อชิน ด้านหลังเรียบๆและท่านมักจะลงอักขระวิเศษ หัวใจพระพุทธมนต์ต่างๆ หลายแบบด้วยกัน และรูปแบบพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโมนี้ ก็ยังมีพระคณาจารย์ในยุคต่อมาได้สร้างรูปแบบลักษณะนี้อยู่เช่นกัน เช่น พระพุทธชินราช เนื้อดิน วัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี พระพุทธชินราช เนื้อชิน เฉพาะพิมพ์ใหญ่ ของวัดไลย์ ลพบุรี เป็นต้น

ในยุคที่หลวงพ่อโมท่านครองวัดสามจีนนั้น เป็นยุคที่นักเลงหัวไม้กำลังเฟื่อง แยกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า มีเขตอิทธิพล เช่น ลั่กกั๊ก และเก้ายอด เป็นต้น และมักมีเรื่องมีราวกระทบกระทั่งตีรันฟันแทงกันอยู่เสมอ พระพุทธชินราชของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนี้ ในเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีเป็นเชื่อขนมกินได้เรียกว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือดเลยทีเดียว

ในวันที่ 29 เดือนกันยายน พ.ศ.2461 หลังจากการทำวัตรเย็นเสร็จ ท่านก็ได้สั่งพระเณรเป็นพิเศษว่า "พรุ่งนี้เช้าขอให้พระเณรช่วยกันตื่นลงพระอุโบสถแต่เช้ามืดเป็นพิเศษหน่อย เพราะท่านจะสนทนาธรรมเป็นครั้งสุดท้าย" พอรุ่งอรุณของวันที่ 30 ท่านก็เทศนาสั่งสอนบรรดาศิษย์เป็นกรณีพิเศษ ในตอนสุดท้าย ท่านได้สั่งให้พระเณรทุกรูปช่วยกันทำนุบำรุงรักษาเสนาสนะให้เจริญก้าวหน้าและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด" หลังจากนั้นท่านได้เจริญสมาธิเป็นลำดับและมรณภาพด้วยความสงบ สิริอายุได้ 55 พรรษาที่ 34
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024