สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 20 เม.ย. 67
การเคลือบ ยูรีเทน : Handmade Fishing Tackle
 ห้องทำเอง > เทคนิค
ความเห็น: 49 - [22 ส.ค. 61, 12:45] ดู: 47,193 - [20 เม.ย. 67, 03:20] ติดตาม: 20 โหวต: 15
การเคลือบ ยูรีเทน
xxx611115 (1855 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
7 ต.ค. 57, 12:13
1
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 1
เห็นถามเข้ามากันเยอะมาก  เรื่องการเคลือบยูรีเทนและการเกิดฟอง



1. ต้องมั่นใจว่า *เหยื่อไม้*แห้งไม่มีความชื้น สีแห้งดีแล้วหรือยัง(ถ้าสีหนาสีแบบแห้งช้าพ่นซ้ำติดกันพ่นหนา ด้านในจะแห้งยาก เคลือบยังไงก้เป็นฟองครับ)   แลคเกอร์แห้งดีแล้วหรือยัง

2. ยูรีเทนเป็นของใหม่ สด เหลว ไม่ข้น  จะไม่เกิดฟองง่ายๆ

3. อากาศร้อน แห้ง   ความชื้นต่ำ  ยูรีเทนจะแห้งไว      * ความชื้นสูง วันฝนตก มีหมอก ยูรีเทนแห้งช้าและอาจเกิดฝ้าขาว ไม่ใส    มันก้เหมือนการตากผ้าในที่ร่มวันอากาศดี กับ วันฝนตกนั้นละครับ

4. เคลือบหลายตัวหรือเปล่า   เพราะยูรีเทนเมื่อโดนอากาศนานๆมันจะข้นขึ้น   ยิ่งทำนานอากาศแห้ง ความชื้นต่ำ ยิ่งข้นไว     เมื่อข้นจะเกิดฟองได้ง่าย โดนเฉพาะตัวหลังๆ
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 2
ยูรีเทนยี่ห้อไหนก้ได้ ครับ แบบขวดจะถูกหน่อย แต่ไม่ได้มีขายทุกร้าน     แบบขวดที่เจอบ่อยๆจะเป็น ยี่ห้อกาแลน     กับ ยี่ห้อ   ปลาเบ็ด



**ถ้าเป็นของใหม่สด เหลว ไม่ข้น   เคลือบไม่กี่ตัว    จะนำไปเคลือบเลยก้ได้แต่ต้องกะปริมาณให้เหลือทิ้งด้วยนะครับ เพราะถ้าน้อยเกิน เมื่อเคลือบปริมาณยูรีเทนจะลดลงทำให้ข้นไว ทำให้ตัวหลังๆเกิดฟองได้รวมถึงอาจใช้เคลือบไม่พอ
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 3
ยูรีเทนทินเนอร์  ตามแต่ยี่ห้อยูรีเทน  มันมีขายคู่กันอยู่แล้ว   ***ระวังคนขายหยิบผิด***

ชื่อมันคือ   ***ยูรีเทนทินเนอร์ ***   ไม่ใช่ทินเนอร์เฉยๆ   ย้ำอีกครั้ง ไม่ใช่ทินเนอร์เฉยๆ     ซื้อผิดฟองเพียบนะ   คนขายหยิบให้ผิดมาหลายคนละ



เอาไว้ผสมให้ยูรีเทนเหลว     ย้ำอีกครั้ง   **ยูรีเทนทินเนอร์ ** ไม่ใช่ทินเนอร์เฉยๆ

ปล. ถ้าพ่นใช้ทินเนอร์แบบไหนก้ได้ แต่ถ้ายี่ห้อเดียวกันมันจะเงาใสกว่า และพ่นมันไม่เปนฟองอยู่แล้ว
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 4
ผมจะตักราดนะครับ    ใครจะจุ่ม หรือจะพ่นตามสบายครับ
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 5
เท ยูรีเทน   และ   ยูรีเทนทินเนอร์    อัตราส่วน



ถ้าอยากให้เหลวมาก ฟิล์มเคลือบบาง   ให้ใช้ ยูรีเทน 1ต่อ  ยูรีเทนทินเนอร์ 1



ถ้าอยากให้เหลวไม่มาก ฟิล์มหนาหน่อย   ก้ให้เพิ่มยูรีเทน(อันนี้แล้วแต่ชอบตั้งแต่2ส่วนถึง4ส่วน)   ส่วนยูรีเทนทินเนอร์ให้ใช้1ส่วน       4ต่อ1ก้จะหนาหน่อย เหลวน้อยหน่อย    (ถ้าเป็นของเบเยอร์เค้าจะแนะนำว่า รอบแรก3ต่อ1      รอบ2  4ต่อ1 )  

*แต่ตอนเคลือบไม้ กับเคลือบรอบแรก ผมชอบผสม 1ต่อ1 มันเหลวดี ทำสะดวกไม่ต้องรีบร้อน

    
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 6
กวนๆให้เข้ากัน   จะไม่เป็นฟองครับ    (ถ้าซื้อผิดเอาทินเนอร์มาผสม ฟองเพียบตั้งแต่การกวนแล้วครับ)
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 7
ทำการเคลือบ  ของผมตักราด พอดีผมงก 5555+
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 8
เคลือบแล้วครับ
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 9
สังเกตุที่ท้ายเหยื่อกับห่วงนะครับ   จะแทบไม่มียูรีเทนหนาๆเกาะ  เพราะมันเหลวจนหยดออกไปเกือบหมด



ถ้ายูรีเทนที่ข้นมันจะไหลช้า และมาตกค้างตรงส่วนท้ายและเริ่มเซ็ทตัวก่อน   ทำให้หนาและเกิดฟองตรงท้ายเหยื่อ ไม่สวยแถมยังต้องมาเสียเวลาตัดยูรีเทนที่แข็งตรงห่วงออกอีก
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 10
ดูตรงท้ายเหยื่อนะครับ จะแทบไม่เห็นยูรีเทนตกค้างหยด



*อย่าไปดูที่ตาเหยื่อนะครับพอดีผมดึงตาสติิ๊กเกอร์ออกแล้วสีมันหลุดมาด้วย





พอดีไม่มีแดด ไม่งั้นจะเคลือบกลางแดดให้ดูเลย 55555+  แต่จริงๆไม่ควรทำเพราะว่าเราจะร้อน ผิวเสียหมด 555+    แค่ในที่ร่มวันอากาสดีๆก้เพียงพอครับ



ย้ำอีกครั้งนะครับ    **ยูรีเทนทินเนอร์ URETHANE THINNER**  ไม่ใช่ทินเนอร์เฉยๆมันคนละตัวกัน ดูที่ฉลากก่อนว่าใช่หรือไม่   ลูกจ้างชอบหยิบให้ผิด
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 11
ส่วนการเคลือบในเวลากลางคืน ก้สามารถช่วยลดอาการเกิดฟองได้ เนื่องจากอากาศมันชื้นมากกว่าตอนกลางวัน ทำให้ยูรีเทนข้นช้า เซ็ทตัวช้าลง



แต่ไม่ให้เคลือบกลางคืนวันที่ฝนตก มีหมอกลง    เพราะไอน้ำในอากาศมีมาก  ทำให้เคลือบออกมาเป็นฝ้าขาวขุ่น ไม่ใสเงางาม
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 12
แห้งแล้วครับ
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 13
ไม่ปรากฎฟอง
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 14
ท้ายเหยื่อสวยงาม
การเคลือบ ยูรีเทน
ภาพที่ 15
ไม่ปรากฎฟอง และ ยูรีเทนหนาเกาะห่วงให้ลำบากมานั่งตัด
แก้ไข 23 ต.ค. 58, 09:49
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024