สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 19 มี.ค. 67
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1 : Handmade Fishing Tackle
 ห้องทำเอง > อื่นๆ
ความเห็น: 29 - [1 ต.ค. 61, 06:00] ดู: 14,134 - [19 มี.ค. 67, 08:32] ติดตาม: 9 โหวต: 10
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
smaktboy (1092 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
10 มี.ค. 57, 11:29
1
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 1
เล่มนี้พอดีมีคนเอาเหล็กแหนบเส้นใหญ่มาให้ใช้กันลืมไปเลยตีได้เป็นสิบเล่มเลยต่องมีของไปขอบคุญกันซักหน่อย ผมเลยตีเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อขอบคุญน้าท่านที่เอาเหล็กมาให้ครับ แถมตอนที่เอามีดไปให้แล้วยังจะให้เงินอีกบอว่าเค้าถือว่ามีดถ้าจะเปลี่ยนเจ้าของต้องซื้อให้ปล่าวไม่ได้ งานนี้ต่องขอบคุญมากเลยครับ^ ^ 
ผมเลยถือโอกาศนี้ถ้ายรูปวิธีการทำมาให้น้าๆดูกันครับ รูปอาจจะไม่ละเอียดเท่าไรเพราะไม่มีคนช้วยถ่ายครับT T
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 2
ความรู้ทั้งหมดผมขอยดเคดิทให้น้าแมวโหลช่างมีดชื่อดังที่คนในวงการคนมีคมไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ซึ่งท่านก็ไม่ได้รู้จักกับผมเป็นการส่วนตัวแต่ท่านเป็นคนจุดประกายให้ผมสนใจในงานเหล็กร้อนและมีดของผมก็ได้รับอิทพลมาจากมีดน้าแมวโหลมาอย่างมากครับ
การตีขึ้นรูปนั้นต่องเริ่มจากการเลือกถ่านที่จะใช้เผาเหล็กครับโดนถ่านที่ใช้จะต่องมีขนาดเท่าๆกันโดยประมาณขนาดเท่ากับกบกระโดด4cm.ครับ เพราะฉนั้นเราต่องเอาถ่านมาสับให้มีขนาดพอๆกันก่อนโดยคัดถ่านที่เป็นส่วนเปลือกไม้และถ่านที่เนื้อไม่แน่นออกเหตุผลเพราะว่าถ่านที่ขนาดเท่าๆกันจะให้ความร้อนที่สม่ำเสมอและที่ต่องคัดเปลือกและถานที่เนื้อไม่แน่นออกเพราะถ่านส่วนเปลือกจะเผาไหม่ได้ช้าและถ่านเนื้อไม่แน่นจะเผาไหม้ได้เร็วซึ่งจะทำให้อุณหภูมิในเตาเผาไม่ม่ำเสมอครับ พอได้ถ่านแล้วก็ก่อไฟเอาลมเป่าให้ถ่านแดงทั้งก้อนแล้วเอาเหล็กลงไปเผาให้ได้900 องศาเซลเซียสคืออุณหภูมิที่เหมาะกับการขึ้นรูปเหล็กแหนบครับ เล่มนี้ใช้เหล็กประมาณ1/3ของเหล็กดิบแท่งที่วางข้างๆเล่มที่ขึ้นรูปไว้ครับ การสังเกตุว่าเหล็กร้อนขนาดไหนเหมาะแก่การตีก็ให้สังเกตุที่สเกลเหล็ก หรือผิวบางๆ ที่ร่อนออกมาตอนตี ถ้าตีแล้วเหล็กไม่ค่อยถอดสเกลก็แสดงว่าเหล็กร้อนพอดี ถ้าตีแล้วสเกลร่วงยังกับใบไผ่ต้องลมแสดงว่า เผาร้อนเกินไปครับผม เราจะตีขึ้นรูปแบบ ฟรอจทูเชพ คือตีให้ใกล้เคียงรูปร่างที่แท้จริงให้มากที่สุด ตัดแต่งให้น้อย เจียรออกให้น้อยที่สุดครับผม แต่ผมตีได้แค่นี้ครับ555เหล็กแหนบเส้นนี้ผมไม่รู้ว่าเป็นเหล็กเบอรอะไรเหมือนกันแต่ตียากมากครับปกติเหล็กแหนบตีมีดเล่มขนาดนี้ผมจะใช้เวลาตีขึ้นรูปปรมาณ4-6ชม.แต่เล่มนี้ผมตีร่วม3วันหมดถ่านไปเยอมากตีไม่ค่อยลงเลย แต่พอเส็จแล้วก็พอใจเพราะคุมกับการลงทุนมากครับ ^ ^ ข้อแนะนำอีกอย่างคือการตีอัดคมจะต่องตีที่อุณหภูมิตำกว่าขึ้นรูปครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 3
นี่เป็นตรางเทียบสีของเหล็กกับอุณหภูมิคร้าวๆครับแนะนำว่าต่องดูตอนมืดๆหรือในห้องมืดๆนะครับจะแม่นยำกว่า
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 4
เทียบความหนากับกับเหล็กเดิมกับเหล็กที่ขึ้นรูปแล้วครับจะเห็นว่ามันลดลงมากว่า3/4ส่วนจาก12mm.เหลือ3mm.
หลังจากขึ้รูปและอัดคมเส็จแล้วก็มาถึงการทำนอมอลไลซ์  นอมอลไลซ์ก็คือการให้ความร้อนเหล็กจนถึงอุณหภูมิ800-850องศาเซลเซียส หรือช่วงออสเต็นไนต์สมบูรณ์แล้วก็ดึงออกมาปล่อยให้เย็นในอากาศ ก็จะได้เหล็กที่เนื้อเนียนปราศจากความเครียดครับซึ่งพร้อมสำรับเอามาเก็บงานขั้นแรกครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 5
หลังจากทำการนอมอลไลซ์แล้วทิ้งให้เหล็กเย็นตัวดีแล้วก็เอามาเก็บงานขั้นแรกครับยังไม่ต่องละเอียดมากก็ได้ครับเพราะหลังจากขั้นตอนนี้ยังต่องเอาไปชุบแข็งต่อการเก็บงานใช้ตะใบเก็บงานและขัดแนวคมที่ตีไว้ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์100ก็พอครับ ยังไม่ต่องขึ้นคมนะครับ และส่วนคมต่องหนาประมาณ0.7-1mm.นะครับเพราะไม่งันตอนชุบคมอาจจะบิดหรือแตกได้และจะเอามาใช้อะไรไม่ได้เลย
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 6
หลังจากเก็บงานแล้วก็เตรียมการชุบด้วยการพอคโคลอนจุดประสงค์ของการพอคโคลนนั้น หลักๆเลยคือการทำให้เหล็กมีอัดตราการเย็นตัวไม่เท่ากันในตอนชุบแข็งกล่าวคือการชุบแข็งนั้นมีหลายวิธีมากๆๆๆตามแต่สูตรของช่างมีดแต่ละคน บางคนชุบแต่ส่วนคมมีด บางคนชุบทั้งใบ บางคนชุบคม1รอบทั้งใบ2รอบและอีกมากมายซึ่งผลที่ได้ก็จะต่างกัน การพอคโคลนเพื่อชุบแข็งนั้นเป็นอีกวิธีหนึ่งซึงจะทำให้ในการชุบใบมีดทั้งใบมีส่วนที่คลายความร้อนไม่เท่ากันครับส่วนที่พอกโคลนจะเก็บความร้อนได้ดีกว่าส่วนที่ไม่ได้พอกซึ่งจะทำให้ส่วนที่พอกโคลนเย็นตัวได้ช้ากว่า เมื่อมันเย็นตัวไม่เท่ากันทั้งใบมีดก็ทำให้การเรียงตัวของโมเลกุนของเหล็กไม่เหมือนกันด้วยทำให้คุณสมบัติของมีดเล่มนั้นในส่วนที่พอกโคลนและไม่พอคโคลนต่างกัน ส่วนที่พอกโคลนจะเป็นส่วนที่จะมีความเหนียวซึ่งจะช้วยดูดซับแรงจากส่วนที่ไม่ได้พอกโคลนซึ่งเย็นตัวเร็วกว่าจะแข็งกว่าครับซึ่งเหมาะกับการขึ้นคม พูดง่ายๆคือส่วนแข็งจะเป็นส่วนคมซึ่งคุณสมบัติจะแข็งมีแรงสปริงและลับได้คมมากแต่เปราะและแตกง่ายจึงมีส่วนอ่อนและเหนียว(ส่วนที่พอกโคลน)เอาไว้ดูดซับแรงจากส่วนแข็งอีกทีครับ  สิ่งที่ได้มาอีกอย่างคือลวดลายที่สวยงาม(ที่ชาวญี่ปุ่นเค้าเรียกกันว่า "ฮาม่อน")ยกตัวอย่างง่ายๆอย่างดาบคาตานะของญี่ปุ่นที่มีลวดลายที่สวยงามดั่งเมฆต้องลมหนาวในฤดูเหมันต์อย่างนั้นเลยครับ แต่มันไม่ได้หมายความว่าเหล็กทุกชนิดจะชุบแล้วขึ้นลายเหมือนกันหมดและยังรวมไปถึงการขัดด้วยกระดาษทรายไล่เบอร์จากหยาบไปละเอียดอย่างหนักด้วย บางครั้งต่องขัดถึงเบอร์1200ถึงจะเห็นลายลางๆครับ แต่หลักๆเลยคือเราต่องการคุณสมบัตร์ของมีดมากก่าลวดลายที่สวยงาม
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 7
ทิ้งไว้ให้แห้งซักพักครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 8
แล้วก็มาเตรียมตัวในการชุบครับสิ่งสำคัญที่ต่องมีสำรับช่างตีเหล็กคืดคีมงานร้อนและทั่งครับ เห็นทั่งอันนี้แล้วน้าหลายๆท่านอาจจะงงเพราะมันคือเหล็กIบีมนี่เองซึงเป็นทั่งตัวแรกที่ผมใช้งานตีก็ยากเสียงก็ดังแต่มันก็ผลิตผลงานมาให้ผมมานักต่อนักแล้ว
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 9
อ่างชุบของผมครับเป็นอ้่งพลาสติกธรรมดาแต่รองพื้นด้วยกระเบื่องอีกทีกันละลายครับ ส่วนผสมของของเหลวที่ใช้ชุบนั้นมีมากมายหลาสูตรมากๆๆๆๆๆยังไม่รวมพวกชุบแบบแห้งอีก5555ผมเลยเอาแบบง่ายๆใช้กัยเยอคือน้ำมันเครื่องใช้แล้วกับน้ำพืชในอัตราส่วน1/1ครับจัดเตรียมระดับน้ำมันในอ่างชุบให้พอเหมาะกับใบมีด ตื้นไปก็เติม ลึกไปก็ตักออก ก่อนชุบต่องทำการเพิ่มอุณหภูมิจากอุณหภูมิปกติมาเป็นอณหภูมิประมาณ90องศาโดยการเผาเหล็กให้แดงแล้วจุ่มลงไปในน้ำมันได้เลยครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 10
แล้วก็ติดถ่านเลยครับเลือกถ่านสำหรับชุบครับผม ก้อนค่อนข้างเล็ก ไม่เอาเปลือก ไม่เอาไม้ฝ่อๆ ไม่เอาถ่านที่มาจากไม้ท่อนใหญ่นะครับ นี่คือเตาที่ผมใช้ตีและชุบครับเป็นเตาอั่งโล่ธรรมดาแล้วกั้นขอบด้วยอิทมอนเวลาใช้ก็ติดไฟเวลาเร่งไฟก็ได้หอยโขงหรือพัดลงก็ได้เป่าครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 11
วางมีดลงไปครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 12
เราจะชุบที่อุณหภูมิ800-850องศาเซลเซียสนะครับเพราะฉนั้นเราจะเผาเหล็กให้เกินอุณหภูมิที่เราจะชุบนะครับแล้วยกขึ้นมาปล่อยให้สีเหล็กเข็มขึ้นจนได้ระดับอุณหภูมิที่เราจะชุบ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 13
ผมจะชุบราวๆสีนี้นะครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 14
แล้วก็จุ่มลงไปในอ่างชุบให้จมทั้งใบมีดเลยนะครับอยายกขึ้นมาเด็จขาดและห้ามวางมีดลงบนก้นอ่างด้วยถึงตินนี้ภาพที่เห็นตอนจุ่มครั้งแรกคือไฟจะลุกขึ้นมาครับถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่ามาถูกทางแล้ว ทิ้งเอาไว้จนเหล็กไม่เป็นสีแดงหรือคายความร้อนออกจนเกือบหมดแล้วนะครบ ในภาพอาจจะมองไม่ชัดเพราะถ่ายรูปไม่ถนัดครับและกลัวกล่องจะไหม้เอาด้วยครับ

ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 15
หลังจากขึ้นมาจากปลักตมใหม่ๆ
ภาพนี้สำคัญมากครับผม น้อยครั้งที่คนอื่นจะได้เห็น ก็คือใบมีดที่ผ่านการชุบมาใหม่ๆ ถอดสเกลเป็นสีอลูมิเนียม
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 16
ใช้ใบเลื่อยเหล็กเก่าๆขูดคราบโคลนออกให้หมดครับ จะเห็นรอยชุบอย่างชัดเจนครับ และที่เห็นชัดๆก็คือเส้น ฮาร์ดเด็นไลน์ หรือเส้นชุบแข็ง เหล็กที่ต่ำกว่าเส้นชุบแข็งก็มีสิทธิที่จะเป็นมาร์เท็นไซต์สมบูรณ์ เหนือเส้นชุบแข็งเล็กน้อยก็เป็นมาร์เท็นไซต์ที่ไม่สมบูรณ์ และกระจายออกไปเป็นเพอลไลต์เรื่อยๆ นี่คือเหล็ก 5160 เบอร์ของเหล็กแหนบทัวไปครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 17
ด้านหล้งครับ
ตรวจสอบความแข็งของผิวเหล็กด้วยใบเลื่อยตัดเหล็กที่หักใหม่ๆ เอาขูดไปบนแนวคมมีดที่แข็งตัวแล้วแล้วก็ประเมิณความแข็งด้วยสายตาและความรู้สึกครับถ้ามันเข้าพอเป็นรอยลางๆก็ดีมากครับผม ถ้ามันเข้าเป็นแนวเหมือนแมวฝนเล็บล่ะก็ ทำใจเย็นๆ แล้วก็ไปถอนชุบใหม่ 
ถ้ามันไม่เข้าเลยล่ะก็ หายใจเบาๆหน่อย ถูกลมหายใจกระทบผิว มันก็อาจจะลั่นได้5555
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 18
แล้วก็จัดการขัดเก็บงานอีกที่จะเห็นได้ว่ารอยชุบจะหายไปแล้วครับไม่ต่องตกใจอย่างที่ผมบอกคือ เราต่องการคุณสมบัตร์ของมีดมากกว่าลวดลายที่สวยงาม
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 19
หลังจากขัดเก็บงานรอบ2แล้วก็นำมา ขึ้นตะแรงแกลง555ต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนของการเทมเปอริ่ง ขั้นตอนนี้ผมใช้เตาแกสครับ เอาเหล็กเฝาบนเตาแกสให้ได้อุณหภูมิ280องศาเซลเซียสครับ
ขั้นตอนการทำคิริดาชิในแบบของผม-1
ภาพที่ 20
ขั้นตอนนี้จะเห็นการเปลี่ยนสีของเหล็กได้อย่างชัดเจนครับพอสีของเหล็กเป็นสีเทาๆให้เลื่อนเหล็กสวนที่สียังไม่อกเทาๆเพื่อให้ความร้อนเท่ากันทั้งเล่มครับ

ที่ลงรูปหมดแล้วครับเดี๋ยวไปต่อภาค2กันครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024