สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 20 เม.ย. 67
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 43 - [8 ม.ค. 59, 09:48] ดู: 102,602 - [19 เม.ย. 67, 21:03] ติดตาม: 40 โหวต: 17
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
a_seatime (1141 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
29 ก.ค. 56, 16:53
1
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
ภาพที่ 1
ชนิดของคันเบ็ด (Types of Fishing Rods)

1.    คันไม้ไผ่  สมัยเก่า  มีหลายขนาด
2.    ค้นสปินนิ่ง
3.    คันเบทคาสติ้ง
4.    คันทอลลิ่ง
5.    คันโบตร๊อค
6.    คันฟราย
7.    คันชิงหลิว
ที่กล่าวมานี้เป็นการเรียกชื่อของแต่ละชนิดของคันเบ็ดที่เห็นกันอยู่ทั่วไป  เรามาลองดูซิว่าในแต่ละคันนั้นมีความเป็นพิเศษกันและการใช้อยู่ตรงไหนบ้าง

คันไม้ไผ่

คันเบ็ดอันนี้ คงเป็นที่รู้จักกันดีในวงการตกปลา  เรพาะเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า  การใช้งานนั้น  ก็ใช้ตกปลาได้ทุกชนิด  ขนาดก็มีให้เลือกมากขนาด  หากวาจะใช้ก็ควรที่จะเลือกให้ถูกกับการตกปลา  ปลาเล็กควรเลือกใช้คันที่ปลายอ่อนสักหน่อย  เช่น การตกปลาตะเพียนนั้นควรเลือกคนที่ปลายอ่อนแต่ความยานนั้นไม่ควรที่จะต่ำ กว่า  10  ฟุต  เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการตกปลาด้อยลงไป ในด้านการที่จะหย่อนสายหรือส่งเหยื่อให้ไกลออกไปในแนวตลิ่งชายฝั่งเพื่อไม่ ให้ปลาเกิดความระแวงมาก
หากจะตกปลาใหญ่เช่นปลาช่อนให้เลือกใช้คันที่มีขนาดใหญ่  ส่วนมากคันเบ็ดที่ใช้ตกปลาช่อนนั้นจะมีการคัดมาเป็นพิเศษ  จะมีวางชายกันอยู่ทั่วไปตามร้านขายเครื่องมือประมงแบบเก่า  อย่าไปหาซื้อตามร้านอุปกรณ์สมัยใหม่เข้าละ
ค้นไม้ไผ่นั้นเหมาะแก่การตกปลาแบบจำกัด  อย่างเช่นปลาสวายหรือปลาที่มีขนาดใหญ่หลายๆ  กิโลก็ไม่สะดวกในการที่จะตกปลา  แต่จริงๆ  แล้วก็ตกได้  ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ตกเอง

คันสปริงนิ่ง

อันนี้เป็นที่คุ้นเคยมากต่อบรรดาเซียน ทั้งหลาย  คันชนิดนี้  มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่  สั้นยาว  ระดับความยาวนั้น มีตังแต่  5 ฟุต  ขึ้นไปจนถึง  15  ฟุตหรืออาจจะยาวกว่านั้นก็ได้  หากว่ามีผู้ที่ผลิตออกมา  แต่ที่เห็นก็ไม่น่าจะเกิน  12-15  หากยาวมากไปกว่านั้น  ก็จะกลายเป็นคันประเภทอื่น
คันสปริงนิ่งนั้น  ส่วนมากแล้วคันที่มี ระดับความยาวไม่เกิน  10 ฟุต  จะมีลักษณะการต่อไม่เกินสองท่อน  เพราะว่าแต่ล่ะอนจะไม่ยาวจนเกินไป  ผู้ที่ผลิตนั้น  มักไม่นิยมทำคันออกมามีหลายต่อ เพราะการต่อคันหลายทีนั้นคันเบ็ดจะมีความแข็งแรงด้อยลงไป  จึงมักนิยมทำเพียงสองท่อนเท่านั้น  แม้แต่ความยาวฟุตก็ยังทำเพียงสองท่อนเท่านั้น
การใช้งานของคันสปินนิ่งนั้น  สามารถใช้งานตกปลาได้แทบทุกประเภท หรือพูดได้เต็มปากว่าตกปลาได้ทุกประเภทจะดีกว่า
เนื่องจากคันสปินนิ่งมีทั้งขนาดความยาวมากมาย  ค้นที่ยาวไม่เกิน  5  ฟุต ให้เลือกความอ่อนแอแข็งแยกแยะกันไปอีกเช่นกัน  คันสั่นเล็กเหมาะสำหรับที่จะใช้งานการตกปลาในเขตที่มีพื้นที่แคบ  บ่อไม่กว้างนักการขว้างเหยื่อไม่น่าจะเกิน  30  เมตร  เนื่องจากเป็นคันที่มีขนาดเล็ก  จึงไม่เหมาะที่จะตกปลาที่มีขนาดใหญ่แต่ถ้ากาดว่าในขณะที่ตกอยู่หากใหญ่มากิน ก็ต้องใช้ความสามารถกันหน่อยแต่ก็ใช้อัดปลาได้
คันที่มีความยาว  7  ฟุต  เหมาะที่จะใช้ ตกปลาในขนาดพื้นที่ปานกลาง  ไม่ใหญ่มากนัก  น้ำหนักการเหวี่ยงเหยื่อไม่มาก  ความแข็งหรืออ่อนแล้วแต่ที่ผลิตมาการเลือกควรเลือกขนาดความแข็งแรง  อย่างเลือกค้นที่แข็งมากเกินไป  นอกเสียจาก  ต้องการใช้งานหนักจริงๆ  เท่านั้น
คันขนาดนี้นับว่าเป็นจัดอยู่ระดับเล็กถึงปานกลาง
คันที่มีขนาดความยาวตั้งแต่  8-10  ฟุต  จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่  การตกปลานั้นจึงตกบ่อใหญ่ใหญ่และอัดปลาใหญ่ได้สบาย  เหมาะกับการติดรอกที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน  ความเหมาะสมในการใช้สาย ก็คือ  12-25  ปอนด์  หรืออาจจะมากกว่านั้น
คันที่มีความยาวตั้งแต่  10  ฟุตขึ้นไปจัดได้ว่าเป็นคันเบ็ดที่อยู่ในขั้นหนัก  ถ้าเปรียบกับนักมวยก็อยู่ในระดับ แบนตั้มเวท  คันประเภทนี้เหมาะที่สุดก็คือการตกปลาชายฝั่งที่มีบริเวณกว้างๆ  ต้องการการเหวี่ยงเหยื่อที่มีระยะไกลๆ  น้ำหนักเหยื่อก็สามารถที่จะแบกได้มาก  สามารถที่จะใช้สายขนาดใหญ่ได้ การใช้รอกก็ควรให้พอดีกับคัน
คันประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในบ้านเมืองเรา  แต่ต่างประเทศนั้นมีการตกปลาชายฝั่งทะเลกันมาก  เพราะว่าภูมิประทศทางบ้านเมืองเขาเหมาะกับการตกปลาชายฝั่งทะเลมากกว่าของ เรา  คันเบ็ดขนาดนี้จึงได้รับความนิยมพอสมควรบ้านเราแถบชายฝั่งทะเลก็มีตกกัน บ้าง แต่ไม่ใช้ใหญ่ขนาดนี้  ที่เห็นๆ  ก็ประมาณ  2  ฟุตเต็มที่
มีคันเบ็ดอีกประเภทหนึ่งที่มีราคาถูก  เรียกว่าคันเสาอากาศ  เป็นที่นิยมของเหล่าบรรดามือใหม่ๆ  เด็กๆ  และเหมาะที่จะใส่กระเป๋าได้สะดวก  แต่ข้อเสียก็คือคันเบ็ดชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อยมาก  เนื่องจากมีการต่อหลายข้อ  การผลิตจึงต้องทำเนื้อให้มีความบางเพื่อที่จะได้ดึงเข้าดึงออกได้สะดวก  จึงไม่สามารถที่จะทำให้หนาได้
สมัยนี้มีผู้ที่ผลิตคันที่มีความตันเรียกกันว่าคันตัน  มีความเหมาะสมในการตกปลาที่มีน้ำหนักตัวมากๆ  ส่วนมากจะไม่ทำยาวมากนัก  คันพวกนี้เหมาะที่จะตกปลาตามแนวสะพาน  ตอหม้อหรือการจอดตกบนเรือ

คันเบทคาสติ้ง

คัน เบทนี้  มักเป็นที่นิยมกันในบรรดาพวกมือเบท  มีคำพูดที่ว่า  หากว่าตกปลาด้วยเบทแล้ว  มักจะไม่หันกลับมาใช้สปินนิ่งอีกเลย  ความเป็นจริงอย่างไรไม่รู้เหมือนกัน  แต่ที่ถูกต้องน่าจะเป็นความถนัดในการใช้มากกว่า
คันเบทเป็นคันเบ็ดประเภททีออกแบบได้สวยงาม  ไม่ว่รจะเป็นสีสัน ลายไดด์หรือการจัดเรียงลายไกด์ที่ได้ความเหมาะสม  ไกด์ของคันเบทคาสติ้ง  จะต่างกับคันสปินนิ่งตรงที่ว่าขนาดจะเรียงกัน  ตัวล่างสุดจะไม่ใหญ่เหมือนสปินนิ่ง  กลับเล็กและไล่ขนาดได้เรียบร้อย
คันเบทคาสติ้งนั้นเป็นคันที่มีราคาค่อนข้างแพง  มีราคาหลักหลายพัน  เพราะการทำคันนั้นทางผู้ผลิตเองบอกว่าใช้วัสดุดีจึงต้องขายในราคาแพง
ความยาวของคันเบทคาสติ้งนั้นดูเหมือนจะมีให้เลือกกันตั้งแต่  7 ฟุตขึ้นไป
การใช้สายขึ้นอยู่กับการระบุที่ข้างคันเบ็ด  ใช้ตกปลาได้ทุกประเภท  การใช้เมื่อประกอบกับรอกแล้ว  ค่อนข้างจะใช้ยากอยู่สักหน่อย  ต้องใช้เวลาการฝึกตีอยู่ระยะหนึ่ง  เมื่อคล่องแล้วจะเกิดความคล่องตัวขึ้นเอง
สรุปแล้วคันเบทคาสติ้งนั้นไม่แตกต่างจากสปินนิ่ง มากนัก  แต่ถ้าให้เปรียบเทียบในเรื่องของความสวยงามแล้วคันเบทคาสติ้งมีความเพรียว สวยกว่าคันสปินนิ่งเป็นแน่  แต่ก็เป็นเรื่องของใจด้วยอีกนั่นแหละ

คันทรอลิ่ง

คัน เบ็ดประเภทนี้เป็นคันระดับหนัก  ใช้ตกปลาทะเลโดยเฉพาะ  แต่ก็มีบางท่านำเอามาตกปลาน้ำจืดที่มีพละกำลังมากๆ  เช่นปลากดแก้ว  คันทรอลิ่งนั้นเป็นคันเบ็ดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเกมการตกปลาทะเล  โดยการลากไปกับเรือในความเร็วช้าๆ  เรื่อยๆ  จนกว่าจะมีปลามากินเหยื่อ  โดยเหยื่อที่ใช้นั้นมีทั้งเหยื่อปลอมและเหยื่อเป็น
ความยาวของคันทรอลิ่งนั้นจะยาวตั้งแต่  6  ฟุตขึ้นไป  แต่จะไม่เกิน  8  ฟุต  เพราะจะไม่สะดวกในการตกบนเรือ  คันทรอลิ่งนั้นสามารถถอดได้เป็นส่องท่อนการที่จะถอดนั้นจะสามารถถอดได้ตรง เหนือด้ามจับขึ้นมา  โดยจะมีเกลียวและตัวบังคับอยู่บริเวณมือจับนั่นเอง
คันทรอลิ่งนั้นจะต้องประกอบกับรอกขนาดใหญ่ที่เรียกว่ารอกทริลิ่งด้วยเช่น เดียวกัน  ขนาดนั้นขึ้นอยู่กับ  อันที่จริงแล้วรอกทรอลิ่งก็คือรอกเบทเรานี่เอง  แต่ขนาดใหญ่เกินจาก  2 โอ  ตามที่เรียกกัน  ก็ถือว่าเป็นทรอลิ่ง
คันทรอลิ่งนั้นมีความแข็งแรงทางเป็นพิเศษ  มีให้เลือกทั้งคันตันและคันกลวง  คันกลวงนั้นจะมีน้ำหนักเบากว่า  แต่ความแข็งแรงมักจะสู้คันที่ต้นไม้ได้  มีให้เลือกหลายแบบหลายขนาด  ตั้งแต่  20 ปอนด์  ไปจนถึงเป็นร้อยๆ  ปอนด์
ลวดลายของการพันไกด์บนคันเบ็ดทรอลิ่งนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของคันอีกอย่างหนึ่งก็ได้  เจ้าของคันเบ็ดมักจะว่าจ้างพันลายไกด์เป็นราคาที่แพงมากเรียกว่าการบิ๊วคัน ใหม่เพื่อประชันความงามบนคันเบ็ด  ก็เป็นการสร้างรายได้อย่างงามอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้มีฝีมือ

คันโบ๊คร๊อก

คันเบ็ดประเภทนี้ก็เป็นคันเบ็ดที่ใช้ตก ได้ทั้งทะเลและน้ำจืด  เป็นคันท่อนเดียวไม่มีการต่อความยาวจะยางตั้งแต่  5½  ฟุตขึ้นไปแต่ไม่เกิน  7 ½ ฟุต  หากว่ายาวกกว่านั้นแล้วก็นำเอาไปใช้จะไม่สะดวก  จึงนิยมทำมาเคยยาวยาวที่กำหนดให้
คันประเภทนี้นอกจากจะแข็งแรงแล้ว  ยังทนทางอีกด้วย  หากเป็นคันที่ตันแล้วใช้เป็นไม่ตีสุ…ได้เลย  ผู้เขียนเองเคยซื้อคันประเภทนี้มาใช้คันหนึ่ง  มีความแข็งมาก  เอาลูกมะพร้าวลูกใหญ่ๆ  แล้วข้างได้เลย
คันเบ็ดโบ๊คร๊อกนี้  มีการสร้างเหมือนกับคันทรอลิ่งทุกอย่าง  ตั้งแต่ไกด์  ลายด้ามจับ  หากจะผิดกันก็ตรงที่ถอดไม่ได้เท่านั้นเอง
การใช้ก็ใช้ทรอลิ่งได้ดีเหมือนกับการทรอลิ่งอาจจะแข็งแรงกว่าเวลาอัดปลาไม่ ต้องกังวลเรื่องข้อต่อจะหลุดหรือคลอนได้  เหมาะมากกับการอัดปลาที่มีขนาดใหญ่เรื่องของขนาดนั้นก็มีให้เลือกหลายขนาด เช่นกัน  มือเบ็ดทะเลควรที่จะมีเอาไว้สักคันหนึ่ง

คันฟลาย  FLY  ROD

คันเบ็ดชนิดนี้  ได้รับความนิยมในการตกปลาในเมืองไทยมากนัก  เพราะลักษณะในการตกปลาของเมืองเราต่างกันเมืองนอกมาก  คันประเภทนี้เป็นคัดเบ็ดที่ออกแบบมาพิเศษให้ใช้ได้กับรอกฟลายเท่านั้น  จึงจะตกปลาได้ดี  และมีประสิทธิภาพ  จากการทดลองอามาตกปลากับรอกชนิดอื่นแล้วดูไม่เหมาะสมและไม่ได้ผลดีเลย
คันฟลายนั้นออกแบบมาให้ส่วนของคันเบ็ดอ่อนมาก  เพื่อที่จะได้ส่งเหยื่อและสายเบ็ดออกไปได้สะดวกขึ้นน้ำหนักของสายก็มี น้ำหนักเบา  อีกทั้งเหยื่อนั้นก็เป็นชนิดที่เบามาก  เหยื่อนั้นจะเป็นจำพวกแมลง  หรือเหยื่อปลอมที่ทำเลียนแบบแมลงแต่มีความแตกต่างไม่แพ้กัน
เมื่อดูรูปร่างลักษณะของคันเบ็ดฟลายแล้ว  หลายคนที่ไม่สันทัด  เรื่องคันเบ็ดจะคิดว่าเป็นคันเบ็ดสปิ่นนิ่งได้  เพราะความแตกต่างกันไม่มากเท่าไรนัก  จะสังเกตได้ตรงที่วาคันเบ็ดฟลายนั้น  มีด้ามสำหรับจับด้านบนเท่านั้น  ไม่มีด้ามจับด้านล่างคือมีแค่ด้ามจับด้านบนต่อลงมาคือที่ยึดขารอกฟลาย  REEL SEAT
ในลักษณะของไกด์  คันเบ็ดฟลายนั้น  จะมีวงไกด์วงแหวนที่มีขนาดเล็กกวาคันสปินนิ่งเล็กน้อย  ไล่เรียงไป  ตลอดทั้งคัน
คันฟลาย  เหมาะกับการตกปลาในลำธารน้ำที่ มีความลึกไม่มาก  เรียกกว่าสามารถที่จะเดินลุยตกปลาได้  ส่วนมากในเมืองนอกมักจะตกปลาโดยคันเบ็ดฟลายด้วยการเดินไปในลำธารแล้วตี เหยื่อปลอดไปเรื่อยๆ  เรียกความสนใจให้ปลาออกมากินเหยื่อ  แต่เมืองไทยเรานั้น  การตกแบบนั้นหาแทบไม่ได้เลยจะเรียกให้เต็มปากก็ได้ว่า  ไม่มีเลย  จึง ถือว่าคันประเภทนี้ไม้ได้รับความนิยมนำมาใช้นบ้านเรา  แต่การที่จะมีเก็บเอาไว้ก็ไม่แปลกอะไร  ส่วนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่หลักร้อยละและหลักพัน  มีทั้งถูกและแพง  ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาทำนั่นแหละ

คันชิงหลิว

คนเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นคันเบ็ดที่ได้รับ ความนิยมไม่แพ้คันสปินเหมือนกันคิดว่าท่านที่ชอบตกปลาจะต้องอดไม่ได้ที่จะ ต้องมีคันเบ็ดชนิดนี้ติดท้ายรถเอาไว้  คันเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นการเลียนแบบมาจาก  ค้นไม้ไผ่เรานี้เอง  แต่คันชิงหลิวนั้นสามารถที่จะหดเข้าและดึงออกได้  ความยาวของคันเบ็ดชิงหลิวนั้นมีความยาวแต่  10  ฟุตขึ้นไป  ถึง  15  ฟุตเป็นส่วนมาก
วัสดุที่นำเอามาทำนั้น  ส่วนมากจะเป็นประเภทไฟเบอร์กลาส  หรือยางยี่ห้ออาจมีวัสดุประเภทแกรไฟร์รวมอยู่ด้วย  ซึ่งนั้นก็หมายความว่า  ราคาก็จะต้องแพงไปตามกันไปด้วย
คันชิงหลิวเป็นคันเบ็ดที่เหมาะสำหรับที่ จะตกปลาขนาดเล็ก  มีน้ำหนักไม่เกิน  2 กิโล  เรียกกันว่าได้ตัวประมาณ  2 กิโล  ก้อัดกันอยู่นานกว่าจะเอาขึ้นมาได้  การตกปลาด้วยคันชิงหลิวนั้น  ต้องอาศัยใจเย็น  หากใจร้อนก็มีหวังไม่ขาดก็คันหัก
ความอ่อนของคันเมื่อตกปลาได้จะโค้งงอได้รูปทรงสวยงาม  มองดูแล้วนำหวาดเสียวสำหรับคนดู  แต่มันสำหรับคนอัด
โอกาสที่ใช้มักจะเหมาะกับการตกปลาตามบ่อ  บึง  หรือแนวริมตลิ่งชายฝั่งทั่วไป  คันเบ็ดประเภทนี้มีวิธีการตกอยู่ค่อนข้างมากสักหน่อย
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นไม่มีการประกอบกับรอกใดๆ  เพราะไม่มีที่ยึดขารอก  reel seat  แม้แต่สายก็ยังคงใช้ผูกที่ปลายคันเบ็ด  โดยที่ทางคันเบ็ดนั้นจะทำห่วงมาให้หรือบางทีก็ทำมาเป็นสายสำเร็จที่ปลายคัน เลยก็มี
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อนำเอามาประกอบกับทุ่นชิงหลิว ซึ่งเป็นทุ่นที่ผลิตออกมาคู่กับคันเบ็ดโดยเฉพาะ
สายที่ใช้นั้นไม่ควรที่จะเป็นสายใหญ่จนเกินไป  สายที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  15  ปอนด์เป็นอย่างมาก
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
ภาพที่ 2
คันเบ็ดราคาเท่าไรจะอยู่ที่อะไรกัน

1.วัสดุที่นำมาทำแบงค์

2.แอคชั่นของคัน(รูปแบบการโค้งของคัน-ไม่ใช้ความแข็งแบบที่หลายๆท่านเข้าใจ)

3.เซ้นต์ซิทิวิตี้ คือการส่งแรงสะเทือนมาที่ตัวคัน

      ข้อแรกคงคุ้นเคยดีนะครับว่า ชนิดไหนถูกแพงกว่ากันและยังมีระดับราคาแยกย่อยอีกต่างหาก
      ข้อสองนี้บ่งบอกราคาได้มากที่สุด คันเบ็ดความโค้งของคันจะแบ่งได้4ระดับ คือ SLOW_MODERATE_FAST และExtarFAST คันระดับFASTจะมีจุดเริ่มโค้งที่1/3ของคัน หมายความว่าจะเริ่่มโโค้งจากปลายมาหาโค้นคันแค่1ใน3เท่านั้น ส่วนEx จะโค้งได้แค่1/4 ทั้งสองแบบออกแบบได้ยากมากกว่า2แบบแรก เพราะถ้าเป็นแบบSlow จะโค้งทั้งคันแบบชิงหลิวหรือคันฟลายสามารถคำนวนได้ง่ายกว่า
      ข้อที่สามคนใช้เหยื่อปลอมจะต้องสนใจมากที่สุด ข้อนี้จากประสพการทำคันเบ็ดมานานปีจะต้องรวมกันทั้งแบงค์ที่ดี อุปกรณ์ที่ประกอบคันแล้ววิธีทำ ถ้าช่างทำไม่เข้าใจในส่วนนี้จะส่งผลกับคันเป็นอย่างมาก
        องค์ประกอบทั้งหมดนี้คงพอจะบอกเราได้ว่าคันแพงๆมันควรจะแพงจริงหรือไม่ แบงค์ที่ดีไม่จำเป็นต้องหนานะครับถ้าออกแบบมาดีพอ ได้Actionที่ต้องการ ได้Powerที่เหมาะสมกับสายที่ใช้ และSensitivetyที่ดี อุปกรณ์ประกอบอื่นๆที่ถูกใจ

ขั้นตอนการทำคันบ็ดแรกที่เดียว  เขาจะนำแผ่นกราไฟท์(ที่โรงงานจะมีห้องเก็บที่อุณหภูมิ4-6ํC) เป็นม้วนๆเหมือนม้วนผ้ามีมากกว่า20ชนิดตามแต่ลูกค้าต้องการ  เขาจะนำม้วนกราไฟท์มาตัดเป็นรูปตามที่ได้ออกแบบไว้  ส่วนมากจะเป็นแบบหลายๆแผ่นซ้อนกันแล้วม้วนเข้ากับแกนสแตนเลสที่เรียกว่าหางหนู  ในขั้นตอนนี้ถ้าออกแบบมาดีคันจะมีน้ำหนักเบา  และรับแรงได้ตามที่คำนวนไว้
              คันเบ็ดที่บ้านเราเอามายกลูกเหล็กกันนั้น  ที่โรงงานก็มีการทำเช่นกันเป็นการทดสอบว่าคันเบ็ดรับน้ำหนักได้จริงหรือไม่  ปรกติคันที่ออกจากโรงงานมีชื่อเสียงจะลงค่าการรับน้ำหนักมาแค่75% กล่าวคือถ้าคันรับได้7.5 กิโลกรัม  จะรับน้ำหนักจริงได้ถึง10กิโลกรัม  ที่ทำเช่นนั้นก็เพราะต้องการไม่ให้เกิดการเสียหายกับคันเบ็ด และถ้านำไปจำหน่ายในประเทศที่เจริญแล้วจะไม่ถูกเขาฟ้องร้องหรือห้ามนำเข้ามาขาย  เพราะคันไม่มีคุณสมบัติตามที่พิมพ์ไว้บนตัวคัน
              ในบ้านเรานิยมลดต้นทุนโดยการสั่งให้โรงงานผลิตสอดใส้ไฟเบอร์กลาสไว้ด้านใน  โดยนำกราไฟท์มาหุ้มผิวด้านนอกส่วนลายที่เราเห็นด้านนอกโรงงานสามารถทำได้ทุกลาย  จึงไม่อยากที่จะให้ไปสนใจมันมากนัก  คันเบ็ดพวกนี้ที่จริงนิยมไปใช้กับงานทะเลเป็นส่วนมากเพราะเหมาะสมกับการลากเหยื่อบนเรือเป็นที่สุด  เมื่อนำมาใช้งานตามบ่อตกปลาแม่น้ำหรืออ่างเก็บน้ำ อะไรจะเกิดขึ้น what
             
              เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าคันและรอกทำงานร่วมกันอย่างไร  แรกที่ปลากินเบ็ดแล้วลากสายออกไปนั้นสายเอ็นจะยืดตัวตามแรงดึงของปลาเมื่อยืดจนสุดแล้วคันเบ็ดจะทำหน้าที่ เบรค สายไว้ด้วยแอคชั่น-ACTION(การโค้งตัวของคันเบ็ด)บวกด้วยพาว์เวอร์-POWER(ความแข็งของคันเบ็ด)  และถ้ายังหยุดปลาไม่ได้ก็จะมาถึงหน้าที่ของเบรคที่ตัวรอก
              คันที่เรากล่าวถึงในตอนนี้ตัวคันจะโค้งงอไปตามแรงดึง  ความแข็งของคันค่อนข้างน้อย  แต่!!!!!!!ที่เราท่านชื่นชอบกันนักก็คือมันงอครับแต่มันไม่ยอมหัก  ถ้าท่านสังเกตุตามหน้าหนังสือที่ทดสอบคันโชว์  จะเห็นได้ว่าจุดที่สูงที่สุดของคันเมื่อเรางัดคันขึ้น  จะมีจากความยาวของด้ามคันไปถึงจุดนั้นจะยาวเพียง1/3-1/4ของความยาวคันทั้งหมด  ซึ่งปลายคันที่เหลือจะไม่มีส่วนในการสู้ปลาเลย  ที่กล่าวมาปัจจุบันเราเรียกกันว่าคัน  จิ๊กกิ้ง  นี่แหละครับ  คันจะโค้งเป็นรูปตัว C เลยหรือดูแล้วเหมือนตัว U กลับหัว  คันประเภทนี้จะมีแอคชั่นเป็นแบบ SLOW คือมันจะไม่ช่วยเบรคสายผ่อนแรงได้เลย ดีหน่อยก็ทำให้คันมันแข็งขึ้นงอลงไปได้ยากขึ้น  ดังนั้นภาระทั้งหมดจะมาลงอยู่ที่สายและเบรคของรอกทั้งหมด 


ขอเสริมข้อมูลเรื่องของวัตถุดิบในการผลิตคันเบ็ดนิดนึงคับ อย่างเช่น

- IM6 ภาษาของโรงงานจะเรียก 30T โมดูลัคแบบคราวๆคือ 38ล้านโมดูลัค

- IM7 จะเรียก 40T ประมาณ 42ล้านโมดูลัค

- IM8 จะเรียก 48T ประมาณ 47ล้านโมดูลัค

โมดูลัคคือ จำนวนเส้นใยที่ถักทอขึ้นมาเป็นแผ่นกราไฟท์ ที่ไว้ใช้ม้วนทำคันเบ็ด

ส่วนพวกคันลายผ้า คือการนำกราไฟท์ที่ม้วนขึ้นรูปเสร็จแล้วนำมาห่อด้วยตาข่ายกราไฟท์(WOVEN) ที่นิยมทำกันมี 2ลาย คือ 1K และ 3K ราคา 1K จะแพงกว่าคับ(จะเห็นในคันระดับไฮเอน) เมื่อพันด้วยตาข่ายเสร็จ ทางโรงงานจะมาทำการWrapด้วยEpoxyอีกครั้ง เสร็จเป็นแบงค์ขึ้นมา ก่อเข้าสู่กระบวนการประกอบPartต่างๆ เป็นคันเบ็ดให้เราได้ใช้งานกันคับ
ในเรื่องของการเลือกคันในความคิดของผม จะตรวจดูในหลายๆเรื่องดังนี้คับ

- กระดูกคันเบ็ด ถ้าได้กระดูคันที่ตรงก็จะได้เพาเวอร์ของคันที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

- ไกด์วางตรงรึเปล่า

- งานพันและเคลือบด้ายที่โคนไกด์ เรียบร้อยดีหรือไม่

- ส่วนของด้าม จะเอามือจับรีลซีทแล้วหมุนหรือขยับแรงๆว่ายึดติดมั่นคงดีรึเปล่า

- ด้ามมีรูหรือตำหนิไหม

- สังเกตุที่ปลายคันเบ็ดมีคดรึเปล่า
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
ภาพที่ 3
โมดูลัคยิ่งมีค่าสูงเท่าไร  คันจะเบาและกระด้างจึงสามารถตีเหยื่อออกไปได้ดีมากขึ้น  แต่คันแบบนี้จะมีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าคันที่มีค่าต่ำกว่าถ้าใช้งานเกินกำลัง  โดยมากจะเห็นในคันตีเหยื่อปลอมเป็นส่วนมากที่ผลิตคันที่มีค่าโมดูลัคสูงๆครับ

  บนคันเบ็ดบอกอะไรเรา

                            1.ความยาว เป็นฟุตหรือเป็นเซนติเมตร
                                 
                            2.  Power ครับ จะมี 9 ระดับ บอกความแข็งของคันเบ็ด
                                  2.1 Ultra  Light          -UL
                                  2.2 Extra  Light          -ExL
                                  2.3 Light                  -L
                                  2.4 Medium Light        -ML
                                  2.5 Medium              -M
                                  2.6 Medium Heavy      -MH
                                  2.7 Heavy                -H
                                  2.8 Extra Heavy        -ExH
                                  2.9 Ultra  Heavy        -UH
                               
                            3.  ACTION        บอกรูปแบบความโค้งของคัน 
                                  3.1 SLOW      จะโค้งทั้งคันแบบคัน FLY คันชิงหลิว
                                  3.2 Moderate  จุดเริ่มโค้งที่ครึ่งคันหรือ1/2 ของคันเบ็ด
                                  3.3 Fast          จะเริ่มโค้งที่ 1/3 ของคันเบ็ด
                                  3.4 Extra Fast  จะเริ่มโค้งที่ 1/4 ของคันเบ็ด
                           
                            4.  Line          บอกขนาดสายเอ็นที่แนะนำ
                                 
                            5.  weight      น้ำหนักเหยื่อที่เหมาะสม

ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
ภาพที่ 4
ไกด์คันเบ็ด

ถ้าเราจะมาแบ่งไกด์ออกเป็นกลุ่มแล้วน่าจะได้ดังนี้ครับ(จะไม่ขอกล่าวถึงไกด์แบบลูกล้อนะครับ คันตีเหยื่อปลอมและคันตกปลาทั่วไปไม่นิยมใส่กัน)

            1.ไกด์ลวดจะใช้ในคัน Fly หน้าตาจะเป็นลวดดัดเป็นห่วงไกด์ จุดดีคือทนทานและเบาครับ  ส่วนจุดเสียคือการระบายความร้อนออกไปได้ช้ามากความร้อนที่สะสมจะเป็นตัวทำลายสายของเรา

            2.ไกด์โครงโลหะหุ้มด้วยโลหะ ไกด์จำพวกนี้พบเห็นได้จากคันเบ็ด6ฟุต ตระกูล Berkler, Fenwick ที่มีขายในบ้านเรา ทางโรงงานจะบอกว่าทำมาเพื่อความลื่น เบาและแข็งแรงขึ้น

            3.ไกด์ที่ทำจากดินเผา ไกด์แบบนี้ผู้คนจะคุ้นเคยมากที่สุด ไกด์แบบนี้ปัจจุบันจะสู้กันที่ คุณภาพเฟรมหรือโครงไกด์ พวกที่เราใช้กันโดยมากจะเป็นเหล็กปั้ม ชุบสีหรือโครเมี่ยม ชุบไฟฟ้าอื่นๆอีกมากมาย จุดประสงหลักคือไม่ให้สนิมถามหาก็เท่านั้น ส่วนไกด์ทีมีราคาแพงจะทำจะวัสดุที่ผสมขึ้นมาใหม่ๆ จะทำให้มีขนาดและน้ำหนักบางและเบา

            ในส่วนของวงแหวน(Ring) จะเป็นเซรามิกทั้งสิ้น แต่ส่วนผสมอาจแตกต่างไปตามความต้องการ แต่ส่วนผสมหลักก็เหมือนเดิม วงไกด์แบบนี้จะกรอบแตกง่าย ต้องอาศัยโครงไกด์ที่แข็งแกร่ง ล้อมรัดวงไกด์ไว้  ความคงทนแข็งแรงของผิวหน้าสัมผัสของวงไกด์ ที่คุยกันว่าสุดยอดๆๆนั้น ทางวิศวกรรมได้ทำกันมานานแล้ว เป็นการเคลือบผิววัตถุด้วยไฟฟ้า โดยใช้โลหะที่มีความแข็งแกร่งมาเคลือบวัสดุอื่น ที่มีราคาถูกกว่าเพื่อความแข็งแกร่งทนทานต่อการสัมผัส ถูไถ โดยจะมีการผสมเนื้อเซรามิกให้แกร่งและบางเบา แล้วนำมาเข้าขบวนการเคลือบผิวอีกครั้งหนึ่ง
            การปรับปรุงผิววิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรม คือ การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ผิวของชิ้นงาน สำหรับโลหะชนิดต่างๆเมื่อมีปริมาณไนโตรเจนที่ผิวเพิ่มขึ้น จะทำให้สมบัติต่างๆของโลหะเปลี่ยนแปลงไป ในกรณีของเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางเมื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในเหล็กก็จะทำให้เกิดสารประกอบของเหล็กกับไนโตรเจนเกิดเป็นเหล็กไนตรายด์ ส่งผลให้ความแข็งของผิวชิ้นงานเพิ่มขึ้นจากความแข็งประมาณ 700 HV ของเหล็กชุบแข็งไปเป็น 1000 HV หรือสูงกว่านั้นหลังจากเพิ่มปริมาณไนโตรเจน สำหรับอะลูมิเนียมก็สามารถเพิ่มความแข็งที่ผิวได้โดยอาศัยหลักการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ผิวเช่นกันแต่จะแตกต่างกันในแง่ที่ว่าสารประกอบที่เกิดขึ้น คือ สารประกอบอะลูมิเนียมไนตรายด์ที่มีความแข็งสูงมากกว่า 1200 HV เทียบกับอะลูมิเนียมที่ผ่านการบ่มแข็งจะมีความแข็งในระดับ 200-300 HV อีกตัวอย่างหนึ่งคือ โลหะไทเทเนียม สิ่งต่างๆเหล่านี้ช่วยให้ราคาในการผลิตถูกลงมากๆ    เมื่อทำแล้ววงไกด์จนทนทานมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้วัสดุราคาแพงเหล่านั้นมาทำนั่นเอง
ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)
ภาพที่ 5
กระดูกคันเบ็ดในตำนาน

กระดูกคัน มีข้อถกเถียงกันมากว่าจะต้องดูอย่างไรมีผลกับคันเบ็ดแค่ไหน  จะเป็นเรื่องจริงดั่งที่ เขาเล่าว่า หรือเปล่า  เรื่องใหนจริงเรื่องใหนที่เชื่อกันไปเอง  บอกเล่าตามที่เคยพูดคุยกับวิศวะกรโรงงาน ผลิตคันเบ็ด Fenwick ที่เมืองตงง้วน ประเทศจีน  เมื่อครั้งมาเมืองไทย(มาเยือนบริษัท OGT สยามซู )  บวกกับประสพการณ์การทำคันกว่า20ปีมาเล่าให้ฟัง

        กระดูกคันคืออะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร  คันเบ็ดเกิดจากแผ่นกราไฟท์ที่ตัดขึ้นรูปเป็นรูปสามเหลี่ยม  ม้วนเข้ากับแกนสแตนเลสยาวเหมือนรูปหางหนู  จึงมีขอบนอกและในของแผ่นมาซ้อนทับกันเหมือนเราม้วนกระดาษ  เป็นเหตุที่จะมีส่วนหนาและบางไม่เท่ากันทั่วทั้งคัน 
        เวลาคันเบ็ดโค้งงอด้านหนึ่งจะถูกกดอีกด้านจะยืดตัวทำให้คันที่กลมจะเปลี่ยนรูปเป็นวงรี      ด้านที่หนาก็จะต้านแรงกดมากกว่าด้านที่บางกว่าความหนาบางไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเพราะมันเป็นแค่รอยจบของการม้วนคันเท่านั้นครับ    จากการที่ทำคันเบ็ดมาจำนวนพอสมควรเคยทดลองเรื่องกระดูกคันในคันหลากหลายแบบสรุปได้ว่า  กระดูกคันมีส่วนช่วยเราในการตกปลาอยู่สองประการ 
          เรื่องการตีเหยื่อ(เอาตัวอย่างจากคันสปินนิ่ง)ที่เข้าใจกันทั่วไปว่าคันสปินกระดูกคันจะอยู่ด้านตรงข้ามกับไกด์(กระดูกคันอยู่ด้านหลัง)    ถ้าเราวางไกด์ตามรูปแบบนี้เราจะตีเหยื่อได้ดีสู้ปลาได้นุ่มนวลเหมาะกับคันเบ็ดทั่วไปที่ต้องตีเหยื่อหนักและไกล(ตีเหยื่อตามบ่อ เขื่อน ชายฝั่ง)  ถ้าสังเกตุจะพบว่าการตีเหยื่อความแม่นยำจะควบคุมได้ดีระดับหนึ่งเท่านั้น 
      เพราะคันเวลาตีเหยื่อจะเกิดแรงต้านจากน้ำหนักของเหยื่อที่คันเบ็ดจะต้องดีดออกไป  จังหวะที่เราตีเหยื่อคันโค้งไปด้านหลังคันก็จะเกิดอาการ"บิดตัวออกด้านข้าง" เนื่องมาจากความแข็งของคันด้านที่หนาจะต้านแรงจากน้ำหนักเหยื่อ  ทำให้ความแม่นยำลดลง    แต่เราจะได้ความนิ่มนวลเวลาที่สู้ปลามาแทนเพราะคันที่กดลงไปทางด้านไกด์ได้ง่ายกว่า
          คันตีเหยื่อปลอมที่กระดูกคันมาอยู่ด้านหน้าแทนละจะเป็นอย่างไร    ข้อแรกที่ได้คือความแม่นยำในการตีเหยื่อสูงมากกว่าควบคุมแรงส่งและทิศทางได้ดีกว่า  ด้วยเหตุที่ตอนกำลังส่งเหยื่อออกไปจะไม่เกิดอาการบิดตัวของคันเบ็ด    และความเร็วในการคืนตัวของคันจากแรงดึงจะเร็วขึ้น
          วิธีหากระดูกคันทำได้ง่ายๆโดยการวางด้ามลงที่พื้น  ใช้มือที่ไม่ถนัดประคองคันไว้ช่วงที่เลยกึ่งกลางคันขึ้นไป  ใช้มือที่เหลือ(เหลือกี่มือก็ใช้ได้หมดนะครับ)กดลงบนคันเบ็ดแล้วคลึงคันที่กดอยู่ไปมา  เราจะรู้สึกถึงจุดที่คันงอตัวลงได้ง่ายกว่าจุดอื่นแต่โดยปกติจะเจอสองจุดแต่จะมีจุดเดียวที่โค้งลงได้มากกว่า
          เคยได้ยินคนพูดกันอยู่บ่อยครั้งว่า    ต้องดูกระดูกคันนะถ้าผิดด้านมันจะทำให้คันหัก    ไปได้ยินกันมาจากไหนกันครับ มีวิศวะกรประเทศไหนจากโรงงานใดบอกท่านมาหรือเปล่า  ก็ไม่น่าจะใช่เพราะยังไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นว่าวิศวะกรโรงงานผลิตคันเบ็ดประเทศใดในโลกเคยออกมาบอกเรื่องนี้  และคันเบ็ดโรงงานที่ออกมาขายในตลาดทั่วโลก99% กระดูกคันไม่อยู่กับร่องกับรอยทั้งนั้น   
        คันเบ็ดที่ผมทำมาด้วยมือตัวเองใช้เองหลายคันทำและใช้มาแล้วกว่า20ปี  กลับกระดูกคนละด้านเลยไม่เคยหักเพราะการตกปลาด้วยวิธีที่ถูกต้อง  ประตู  หลังคา  ต้นไม้กับเรื่องบ้าพลังทำลายคันเบ็ดไปปีๆหนึ่งเป็นจำนวนมากมายกว่าเรื่องกระดูกคันที่เราคุยกันมา    ซึ่งไม่เคยพิสูจน์ได้เลยซักครั้งว่าเกิดจากเหตุนี้นอกจาก  "เขาเล่าว่า"
          ผมมีคำถามมาถามท่านว่า  เวลาที่เราตีเหยื่อรำลูกเท่ากำปั้นออกไป    คันเบ็ดของเราที่ต้องดีดเหยื่อออกไปจะมีแรงกดและแรงต้านจากน้ำหนักเหยื่อลงมาที่คันเบ็ดมากน้อยแค่ไหน    แรงสบัดแรงกระชากเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อเรื่องกระดูกคันเชียวหรืออันนี้น่าสนใจครับ
          เรื่องจริงที่คุณไม่เคยรู้    กระดูกคันเป็นเรื่องการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คันเบ็ดมีติดตัวมา  ให้เป็นประโยชน์กับการใช้งานช่างทำคันเก่งๆเขารู้กันมาหลายสิบปีแล้วครับ  เป็นเรื่องของความลับในการทำคันเบ็ดอย่างหนึ่ง  คันบิ้วสองคันใช้อุปกรณ์ประกอบคันเหมือนกันทุกอย่างแต่ช่างที่ทำคนละคน    คันที่ออกมาจะแตกต่างกันเวลาใช้งานอย่างชัดเจน   
          ผมมีคำถามน้าๆว่าเคยมีใครเช็คกระดูกคันชิงหลิวก่อนตกปลาหรือเปล่า    ถ้าคันจะหักเพราะกระดูกคันไม่ตรงตำแหน่งในตำนาน    คันชิงหลิวที่ไม่มีรอกมาช่วยผ่อนแรงคงต้องหากระดูกคันกันหลายท่อนก่อนใช้งานทุกครั้งเลยที่เดียว     
      เพราะเรื่องการตกปลาบ้านเราความเชื่อมีมากกว่าความจริงเสมอมา

ที่เห็นมาบ่อยครั้งที่คันเบ็ดหักที่่บ่อดัง    เนื่องจากเริ่มมีกลุ่มคนที่ไม่เดือดร้อนด้านการเงินทำการแสวงหาคันเบ็ดที่เหนียวทนทาน  รอกที่อึดทนรับสายแรงดึงสูง  บวกกับสายPE ระดับ90-100 lb +  มาทำการปิดเบรคตายงัดปลาออกจากใต้แพ
            เป็นแนวโน้มใหม่ในการตกปลาแถวๆนั้น  วิธีที่กล่าวมาสมควรดูแต่ตาครับไม่ควรทดลองตามกลุ่มที่ทำการวิจัยศึกษา    เพราะเหตุผลในการตกปลาย่อมแตกต่างกันผลดีของคนกลุ่มนี้คือเราจะได้กรณีศึกษาโดยไม่ต้องลงทุนทดลองด้วยตัวเอง  มองเห็นการพัฒนาเทคโนโลยี่ของอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆที่ออกมาจำหน่ายได้ดีเลยที่เดียว   
            คันระดับ1,000บาทจนถึงกว่า10,000 บาท  ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าหักคาบ่อได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้ออย่างหมดข้อสงสัย  รอกที่นำมาทดสอบก็เช่นเดียวกัน
              คันเบ็ดส่วนใหญ่จะบอกขนาดสายเอ็นที่แนะนำให้ใช้เช่น  Line Wt 10-20 lb 
            เคยผ่านตามาว่าใส่สายตามขนาดที่ระบุมาคันจะไม่เสียหาย
              ที่ปลายคันรับสายได้ 10lb ส่วนโคนคันรับได้20 lb
              ใส่สายตามที่ระบุมาสายจะขาดก่อนที่คันจะหัก  อะไรประมาณนี้
              ความหมายของขนาดสายเอ็นที่ระบุมาบนคันเบ็ด  ต้องการจะบอกเราว่าขนาดสายตามที่บอกมาเหมาะสมกับการใช้งานกับคันเบ็ดคันนี้  แต่ต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าเมื่อก่อนจะใช้งานเราต้องเซ็ตเบรคด้วยตาชั่งมือถือ  ให้แรงกดเบรคมีแรงกดอยู่ที่ 1/3-1/2  ของแรงดึงสายที่ใส่เป็นสำคัญ    หรือไม่ก็ต้องรู้ว่าเพิ่มแรงกดเบรคได้แค่ไหนโดยอาศัยมือดึงสายออกจากรอกเช็คน้ำหนักเอาตามความคุ้นเคย 
                ถ้าผู้ใช้คันเบ็ดคิดหรือได้ยินคำแนะนำที่ผิดมาแล้วทำตามคันเบ็ดจะเสียหายได้นะครับ    สายเอ็นขนาด10-20 lb ใส่กับคันขนาดเดียวกันปิดเบรคตายเวลาสู้กับปลา  ผมอาสาทดลองให้ฟรีครับรับรองได้ว่าก่อนที่สายจะขาดคันเบ็ดที่ใช้หักเป็น 2-3-4-5 ท่อนแน่นอน    บางครั้งความไม่รู้หรือรู้มาไม่ถูกต้องก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราเสียตังค์ได้ครับ                   
            สิ่งที่กล่าวไว้ในคำสอนที่ถูกต้องที่สุดว่า  ทุกสิ่งในโลกย่อมเกิดมาคงอยู่และดับไป  น้าๆท่านใดที่แวะมาอ่านข้อความนี้คงได้สิ่งที่สามารถเก็บเอาไปคิดต่อได้ว่าเราจะตกปลากันอย่างไรจึงจะมีความสุขสนุกสนาน  การใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นทางสายกลางแห่งวิถีทางตกปลาที่พึงกระทำครับ

เหตุผลที่ไม่ควรนำคันสปินไปใส่รอกเบทหรือนำคันเบทไปใส่รอกสปินครับ

        1.คันสปินนิ่ง  ถูกออกแบบมาให้สายแขวนอยู่ที่ไกด์ใต้คันเบ็ด  เมื่อเกิดแรงดึงสายระหว่างรอกกับปลายคันสายเอ็นจะรั้งห่วงไกด์ดึงคันตามสายไป  จุดที่วางไกด์คำนวนจากรูปโค้งของคัน(ACTION)  เพื่อกระจายแรงดึงที่ทำให้คันโค้งงอไปตามแรงดึงของสายเอ็น    โดยผ่านไกด์ไปเป็นช่วงๆระหว่างไกด์ที่เรียงไว้จึงแบ่งคันออกเป็นท่อนๆระหว่างไกด์2ตัว 
        ถัานึกถึงการงอไม้เสียบลูกชิ้นดูก็ได้ครับเราจะงอไม้เสียบลูกชิ้นจะได้ความรู้สึกแตกต่างกันเมื่อความยาวของของมันเปลี่ยนไป    เช่นเดียวกันกับการวางระยะไกด์ทุกตัวของคันเบ็ดก็ต้องมีระยะรับและกระจายแรงดึงของสายที่เหมาะสมด้วย    มิเช่นนั้นสายจะมีมุมหักเป็นมุมที่แคบสายจะลีบ แบน หงิก  สร้างความเครียดให้กับคันในท่อนนั้นมากกว่าท่อนอื่นๆ 
        คันสปินนิ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องสายพาดลงมาโดนคันเบ็ดเพราะสายเอ็นเวลาใช้งานจะอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้งาน  เรียงกันไปเป็นคน-คัน-สาย  เราจึงวางไกด์โดยมีระยะที่เหมาะสมได้น้อยตัวกว่าคันเบท    แต่จำนวนไกด์ที่วางลงไปก็มีผลกับการใช้งานเช่นเดียวกันคันเบ็ดที่ต้องการความเบา  ตีเหยื่อได้แม่นยำใช้แอคชั่นคันได้เต็มที่    ความเร็วปลายคันสูง(เวลาตีเหยื่อและเซ็ตฮุก)เราจะวางไกด์ให้น้อยที่สุด      แต่ถ้าต้องการความสามารถในการบังคับปลาเราต้องวางไกด์ให้มากขึ้นตามความจำเป็น

2.คันเบทคาสติ่ง  เป็นคันเบ็ดที่ออกแบบมาใช้กับรอกแบบสปูนขวางสายออกแนวตรง    สายเอ็นจะถูกวางอยู่บนไกด์ด้านบนของคันเบ็ด  ระยะห่างและความสูงของไกด์จึงจะมีระยะทางน้อยกว่าคันสปิน    ด้วยความต้องการที่แตกต่างกันคันเบทจะต้องรักษาระยะสายกับคันเบ็ดไว้ไม่ให้สายเอ็นลงมาพาดถูกคันเบ็ด    ในลักษณะคันแบกสายไว้บนคันจึงต้องวางไกด์ให้ชิดกว่าคันสปิน  เมื่อเกิดแรงดึงขึ้นที่สายจากรอกไปที่ปลายคันเบ็ดจะเกิดขึ้นในลักษณะ สายกดไกด์ดันคันเบ็ดไปด้านหน้า
          ถ้าเกิดสายเอ็นพาดโดนคันเวลาที่ปลาดึงสายออกด้วยความเร็วสูง(เกิดขึ้นกับการใช้คันสปินมาใส่รอกเบทได้ง่ายเพราะระยะห่างของไกด์มีมากกว่าคันสปิน)    จะเกิดความร้อนที่สูงมากจากการเสียดสีของสายเอ็นกับเนื้อคันเบ็ด    สายก็จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วอาจจะเป็นขุยหรือขาดได้ในเวลาไม่นานนัก 
          และด้วยไกด์ที่วางไว้ห่างมากตามแบบคันสปินนิ่ง  จะทำให้คันเบ็ดท่อนที่อยู่ระหว่างไกด์สองตัวถูกไกด์ทั่งสองตัวดึงรั้ง(ช่วงระหว่างไกด์ตัวหน้ากับตัวหลัง)    เข้าหากันอย่างรุนแรงไม่สามารถกระจายแรงไปได้อย่างเหมาะสมเหมือนคันที่วางไกด์แบบคันเบท  คันจะหักในจุดที่ก่อนจะถึงไกด์ตัวหน้า 1-2 นิ้วเสมอ
        เมื่อหยิบปลายคันที่หักมาดู  รอยหักจะอยู่ใต้ไกด์ 1-2 นิ้วซึ่งเป็นจุดที่บอบบางที่สุดในท่อนนั้นๆ  เพราะว่าส่วนที่สูงขึ้นไปมีขาไกด์พันด้ายเคลือบน้ำยาบังคับอยู่จึงมีความแข็งแรงกว่าจุดที่หักซึ่งต่ำลงมา    การที่คันหักจึงมีสาเหตุมาจากการกระจายแรงไปบนคันล้มเหลวเป็นส่วนมาก
          และจุดที่คันถูกสายเอ็นวิ่งผ่านก็จะสะสมความร้อนไว้อย่างรวดเร็ว  จนความร้อนสูงพอที่จะทำให้น้ำยาที่ประสานแผ่นกราไฟท์ไว้ไหม้  ผู้ที่มีประสพการณ์กับการใช้นิ้วกดสปูนจะรู้สึกถึงความร้อนที่ว่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง  หรือเกิดเป็นจุดสึกกร่อนที่ทำให้เนื้อคันเสียความแข็งแรงทำให้คันหักได้ 
        จากการที่น้ำยาเสื่อมสภาพไปอย่างฉับพลันจากความร้อน  เพียงจุดๆเดียวที่เกิดขึ้นบนคันเบ็ดก็สามารถทำลายคันเบ็ดได้แล้วครับ โดยเฉพาะสายPE ที่สามารถสร้างแรงเสียดสีให้เกิดความร้อนได้สูงและรวดเร็วกว่าสายเอ็นมาก
          การนำคันเบทไปใส่รอกสปิน    เนื่องจากวงไกด์ที่เล็กทำให้การตีสายออกจากรอกสปินทำได้ลำบาก  ส่วนการสู้ปลาจะทำได้เป็นปรกติ

เครดิทเวปเพื่อนบ้านครับ

เอาความรู้มาแแชร์กันครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024