สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 19 มี.ค. 67
ตกปลากับเรือแพรอาภรณ์ ตอน “ทิวไพร และสายน้ำ”: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 35 - [17 มิ.ย. 61, 22:01] ดู: 4,143 - [19 มี.ค. 67, 09:47]  ติดตาม: 1 โหวต: 13
ตกปลากับเรือแพรอาภรณ์ ตอน “ทิวไพร และสายน้ำ”
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้งกระทู้: 17 มิ.ย. 61, 22:01
ตกปลากับเรือแพรอาภรณ์ ตอน “ทิวไพร และสายน้ำ”
ย้อนหลังไปในวัยเยาว์สถานที่ที่ผมคุ้นเคย และท่องเที่ยวเป็นประจำคือแม่น้ำแม่กลองที่ไหลผ่านหลังบ้าน แม่น้ำแม่กลองหลังบ้านผมเริ่มต้นตรง “บ้านชุกโดน” เป็นการรวมตัวกันระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แควน้อย และแควใหญ่…ซึ่งแม่น้ำทั้งสองสายนี้มีสีของน้ำที่ แตกต่างกัน…

กล่าวคือแม่น้ำแควน้อยจะมีสีออกขุ่นแดง เพราะท้องน้ำเป็นดินบนทราย โดยจะเริ่มต้นมาจากทางเขื่อนเขาแหลม ส่วนแม่น้ำแควใหญ่จะมีสีใส่จนออกดำ เพราะท้องน้ำเป็นกรวด โดยเรื่ใต้นมาจากทางเขื่อนศรีนครินทร์ แม่น้ำทั้งสองสายจะมาบรรจบกันจนเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำแม่กลอง แล้วไหลผ่านหลังบ้านผมมุ่งหน้าลงไปราชบุรี สมุทรสงครามไหลออกไปปากอ่าวไทยในที่สุด…
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 1: 17 มิ.ย. 61, 22:03
ผมและเพื่อนรัก”สมิง” หนุ่มสินเชื่อจากธนาคารชาวนา เราอาศัยแม่น้ำสายนี้เป็นที่ท่องเที่ยวมาตั่งแต่สมัยเ
ผมและเพื่อนรัก”สมิง” หนุ่มสินเชื่อจากธนาคารชาวนา เราอาศัยแม่น้ำสายนี้เป็นที่ท่องเที่ยวมาตั่งแต่สมัยเด็ก ตกปลา ลงเบ็ดราว ทอดแห วางข่าย บางครั้งนอนค้างอ้างแรมในสายน้ำบนเรือพายลำเล็กๆในคืนวันศุกร์ เราสองคนเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบลูกแม่น้ำจากพ่อแม่ ปู่ย่าเรา…

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลมพายุเข้า ทำให้ผมไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตในทะเลได้ตามที่ใจต้องการ ดังนั้นการเอาเรือลงแม่น้ำหลังบ้าน แล้วออกไปนั่งตกปลานึกถึงบรรยากาศในวัยเด็กจึงบังเกิดขึ้น
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 2: 17 มิ.ย. 61, 22:05
เราตั่งใจไว้ว่าวันนี้เราจะขับเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปยังสะพานวังปลาหมู สะพานแห่งนี้ห่างจากบ้านผมถ้าไปทา
เราตั่งใจไว้ว่าวันนี้เราจะขับเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปยังสะพานวังปลาหมู สะพานแห่งนี้ห่างจากบ้านผมถ้าไปทางน้ำราวๆ 30 กิโล ช่วงนี้แม่น้ำแม่กลองทุกช่วงจะมีสีขุ่นแดงจากผลของฝนที่ตกทุกวัน ยิ่งขึ้นสูงไปมากเท่าไรกระแสน่ำก็จะยิ้งไหลแรง และมีสีขุ่นแดงมากขึ้น

บรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำในวันนี้ต่างจากเมื่อก่อนมากๆ จำได้ว่าสมัยเราเด็กๆกลางแม่น่ำจะมีหาดทรายที่ขาวสะอาดราวกับทะเลทางแถบชะอำ ขึ้นเป็นสันกลางแม่น้ำ จนเราเรียกกันติปากว่าแม่น้ำนอก แม่น้ำใน โดยอาศัยสันทรายเป็นตัวแบ่งตรงกลาง แม่น้ำนอกจะมีกระแสน้ำที่ไหลแรง ส่วนแม่น้ำในก็คือส่วนที่กระแสน่ำวกเข้ามา น้ำจะวนเป็นวัง…
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 17 มิ.ย. 61, 22:06
เวลากลางคือผมกับสมิง เราพายเรือมาที่สันทรายที่ทอดราวเป็นร้อยๆเมตร เราจะต้องเดินย่องขึ้นอย่างเบา ในมื
เวลากลางคือผมกับสมิง เราพายเรือมาที่สันทรายที่ทอดราวเป็นร้อยๆเมตร เราจะต้องเดินย่องขึ้นอย่างเบา ในมือขึ้นแหที่ศอกเตรียมพร้อมเสมอ เพียงแต่เราเดินไปไม่ได้กี่ก้าว เสียงเหมื่อห่าฝนก็จะดัง…ซู่…ซ่า… เป็นคลื่นสะท้อนแสงไปฉายขาวทั้งหาด

มันไม่ใช่คลื่นลมแต่อย่างใด แต่มันคือฝูงปลาสร้อยลูกนุ่น ปลาสร้อยนอนหาด เป็นพันๆตัว มันจะกระโดดขึ้นผิวน้ำหนีในสิ่งที่มันตกใจ เราจะวิ่งตามแล้วหว่าแหใส่ฝูงมัน ไม่ต้องปลดให้เสียเวลา เพราะแหแทบยกไม่ขึ้น แบบหว่านครั้งเดียวเลิกครับ…

ปัจจุบันไม่มีสันทราย ไม่มีฝูงปลา ไม่มีบรรยากาศแบบนั้นอีกแล้ว มันเป็นตำนานและความทรงจำของวัยเด็ก ผมเคยเล่าเรื่องนี้ให้ลูกชายฟังคำถามที่เค้าถามกลับผมคือ…หาดทรายหายไปไหน…ผมจึงชี้มือไปยังกองทรายที่สูงเสียดฟ้าราวกับภูเขาสี่ห้ากอง ของนายทุนสามสีเจ้า คนเหล่านั้นไม่ใช่คนเมืองกาญจน์ แต่เค้ามีเงิน มีอำนาจ เค้าเข้ามาทำสัปทานท่าทราย และกอบโกยความสวยงามของธรรมชาติจากหมู่บ้านเรา……
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 17 มิ.ย. 61, 22:08
หมายแรกที่เราผูกเรือนั่งลงเบ็ดคุยกันคือสะพานวังปลาหมู เราตัดสินใจผู้เรือกับตอไม้ที่ไหลตามน้ำมาปะที่ห
หมายแรกที่เราผูกเรือนั่งลงเบ็ดคุยกันคือสะพานวังปลาหมู เราตัดสินใจผู้เรือกับตอไม้ที่ไหลตามน้ำมาปะที่หน้าตอหม้อสะพานนเหมือนกับซั้งอย่างดี เหยื่อที่ผมใช้คือใส้เดือน เมื่อกล่าวถึงไส้เดือน เราสองคนก็สะท้อนใจว่า เรามาถึงจุดนี้ในชีวิตได้อย่างไร จุดที่ต้องซื้อไส้เดือนกล่องละ 20 บาทมาตกปลา บางกล่องมีไม่ถึง 20 ตัว บางกล่องตายกว่าครึ่ง อีกครึ่งแม็งส์ผอมยังกับไส้เดือนเอธิโอเปีย…เศร้า…
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 5: 17 มิ.ย. 61, 22:09
การเอาเรือออกตกปลาในแม่น้ำใน ผมจะไม่นิยมการตีเหยื่อออกไป แต่จะใช้วิธีการหย่อนเหยื่อลงข้างเรือ หมายนี
การเอาเรือออกตกปลาในแม่น้ำใน ผมจะไม่นิยมการตีเหยื่อออกไป แต่จะใช้วิธีการหย่อนเหยื่อลงข้างเรือ หมายนี้เพียงแค่หย่อนไปไม้แรกน้าสมิงก็ได้ปลากระทิงรับแขกขึ้นมาหนึ่งตัว…

สำหรับปลากระทิงนั้นสีผิวของมันจะแตกต่างกันในแต่ละฤดู ถ้าเป็นช่วงนี้ฤดูฝนน้ำแดงสีผิวของมันจะเหลืองในสวยงาม แต่ถ้าเป็นช่วงน้ำใส สีมันจะออกดำจนเหมือนงูเหลือม แต่สำหรับรสชาดของเนื้อนั้นไม่ว่าหน้าไหนก็ไม่แตกต่าง…ย่างจนน้ำตกแล้วฉีกต้มย้ำพริกเผาใส่มะม่วงสับ…แล้วคุณจะลืมอาหารเหลาเลย…555
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 6: 17 มิ.ย. 61, 22:10
หลังจากปลากระทิงโดนสอยขึ้นมาสองตัวติด ก็ทีปลาฉลาด ปลาคัง ปลาใส่ตัน และตัวพระเอกของผม “ปลาตะพาก” สำหร
หลังจากปลากระทิงโดนสอยขึ้นมาสองตัวติด ก็ทีปลาฉลาด ปลาคัง ปลาใส่ตัน และตัวพระเอกของผม “ปลาตะพาก” สำหรับปลาตะพากนี้เป็นปลาตะกูลเดียวกับปลาตะเพียน แต่เนื้ออร่อยกว่ามาก ปัจจุบันหายากเต็มที คางและท้องจะมีสีอมเหลืองนวล ถ้าเอาปลาตะเพียนกับปลาตะพากมาว่าคู่กัน แล้วให้ชาวประมงพื้นบ้านเลือกไปทาน เค้าจะเลือกปลาตะพากทันทีอย่างไม่รีรอ…555
แก้ไข 17 มิ.ย. 61, 22:14
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 7: 17 มิ.ย. 61, 22:18
ปลาตะพาก…ปลาเนื้อดีที่เริ่มหายากขึ้นทุกวัน วันนี้ผมได้มาสองตัว ตัวนี้เป็นตัวที่ไซด์กำลังสวย เหมาะแก่
ปลาตะพาก…ปลาเนื้อดีที่เริ่มหายากขึ้นทุกวัน วันนี้ผมได้มาสองตัว ตัวนี้เป็นตัวที่ไซด์กำลังสวย เหมาะแก่การบั้งให้ละเอียดแล้วทอดในน่ำมันร้อนๆ จากนั้นก็แค่เอาซีอิ๋วขาวมาซอยพร้กขี้ใส่ แล้วบีบมะนาวแค่นี้ก็เพียงพอกับการทานข้าวสวยร้อนๆครับ…
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 17 มิ.ย. 61, 22:19
เรานั่งตกคุยกันไปได้สักพักลมก็เริ่มพัดแรงขึ้นราวกับพายุ ฝนเทลงมาห่าใหญ่ประดุจหนึ่งว่าจะเกิดอาเพศ เพร
เรานั่งตกคุยกันไปได้สักพักลมก็เริ่มพัดแรงขึ้นราวกับพายุ ฝนเทลงมาห่าใหญ่ประดุจหนึ่งว่าจะเกิดอาเพศ เพราะผมเอาเรือแพรอาภรณ์ออกตกปลาน้ำจืด ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน…555 เรือลำนี้ทั้งอุปกรณ์ และการออกแบบ รูปแบบการใช้งานเธอโดนสร้างขึ้นมาเพื่องานน้ำเค็มโดยเฉพาะ แต่วันนี้เธอปันใจให้แม่น้ำที่แสนสวยงาม…
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 17 มิ.ย. 61, 22:27
เราย้ายหมายจากตอหม้อสะพานมาที่กระชังเลี้ยงปลาทับทิม ผมค่อยๆจ๊อกเรือเข้าไปขออนุญาตทางผู้เฝ้ากระชังเพื
เราย้ายหมายจากตอหม้อสะพานมาที่กระชังเลี้ยงปลาทับทิม ผมค่อยๆจ๊อกเรือเข้าไปขออนุญาตทางผู้เฝ้ากระชังเพื่อตกปลา…มันคือมารยาท เพราะนี่คือสถานที่ส่วนบุคคล กระชังบางกระชังจะไม่ยินยอมให้เข้าไป จริงอยู่เค้าไม่ได้กลัวเราขโมยจับปลาทับทิม แต่เป็นเพราะเค้ากลัวว่าเราจะไปกวนปลา แล้วปลาจะไม่กินอาหาร ซึ่งมีผลกระทบต่อปลามากๆ เพราะทุกวินาทีของคนเลี้ยงปลาย่อมมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน เพราะเมื่อใดที่ตัดสินใจเลี้ยงปลา สิ่งที่ตามมาคือหนี้สิน ตั่งแต่ลูกปลา อาหาร ยา อุปกรณ์ และการรับซื้อแบบผูกขาด…

เมื่อได้รับอนุญาตน้าสมิง…เดินลงจากเรือเพื่อเอาเชือกไปผู้กับกระชังปลา และแล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเท้าของน้าสมิงเหยียบไปบนทุ่นของกระชัง ที่ทำด้วยถังน่ำมันสีฟ้า เจ้าถึงใบนั้นมันก็พลิกหนุมตัวขึ้นทันที…ตูม…เสียงที่ตามมาคือตัวน้าสมิงแช่อยู่ในแม่น้ำทั้งตัว…555 เพราะถังใบนั้นเป็นใบเดียวที่ไม่ได้โดนยึดติดกับเหล็กโครงกระชัง…555 แล้วถังใบนั้นก็ลอยตามน้ำไปอย่างรวดเร็ว จนผมก็ขับเรือตามไปลากกลับมา แล้วเอาไปไว้ที่เดิม…555
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 17 มิ.ย. 61, 22:30
ตะวันเริ่มคล้อยต่ำนาฬิกาบอกเวลา 18.30 เราตัดสินใจอำลาสายน้ำแห่งชีวิต สายน้ำที่ไหลไปทางเดียวตลอดเวลา
ตะวันเริ่มคล้อยต่ำนาฬิกาบอกเวลา 18.30 เราตัดสินใจอำลาสายน้ำแห่งชีวิต สายน้ำที่ไหลไปทางเดียวตลอดเวลา โดยไม่ย้อยกลับ ไม่มีน้ำทะเลมาหนุน เพราะมีเขื่อนแม่กลองมาขวางกั้น…ผมขับเรือเดินทางกลับอย่างมีความสุข พร้อมทิ้งท้ายเป็นคำเชิญชวนกับเพื่อนไว้ว่า…”คราวหน้า…เรามานอนในแน่น้ำกันดีกว่า” เราจะกลับมาอีกครั้งในรายการ Night Fishing

ขอบคุณ…แม่น้ำแม่กลองสายน้ำแห่งชีวิต ประดุจสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนเมืองกาญจน์ ที่ยังคงพอมีปลาให้เราได้เลี้ยงปากท้อง
ขอบคุณ…เพื่อนสมิง เพื่อนร่วมสายน้ำทั้งในวัยเยาว์ และในวัยเริ่มยาน…555
ขอบคุณ…พายุที่เข้าอ่าวไทยจนทำให้ผมออกทะเลไม่ได้ เลยทำให้ผมได้ทบทวนความทรงจำในวัยเด็ก
ขอบคุณ…เพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามมาจนถึงบรรทัดสุดท้าย…โชคดี…ราตรีสวัสดิ์ครับ…
กระทู้: 3
ความเห็น: 243
ล่าสุด: 28-01-2567
ตั้งแต่: 25-07-2558
Parnyoke(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 11: 17 มิ.ย. 61, 22:58
ยอดเยี่ยมมากครับ...ดีจริงๆที่ได้ดูม้วนเดียวจบโดยไม่มีคนโพสแทรกให้รำคาญ
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 12: 17 มิ.ย. 61, 23:03
อ้างถึง: parnyoke posted: 17 มิ.ย. 61, 22:58
ยอดเยี่ยมมากครับ...ดีจริงๆที่ได้ดูม้วนเดียวจบโดยไม่มีคนโพสแทรกให้รำคาญ

ขอบคุณครับ
กระทู้: 3
ความเห็น: 351
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 16-05-2551
ความเห็นที่ 13: 17 มิ.ย. 61, 23:15
กระทู้: 0
ความเห็น: 209
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 30-07-2556
ความเห็นที่ 14: 18 มิ.ย. 61, 00:22
ตามชมตามเชียครับน้าทุกสิ่งที่น้าเล่ามันเหลือแต่อดีตจริงๆครับแม่น้ำนี้ไหลผ่านบ้านผมเหมือนกัน(ราชบุรี)เป็นแม่น้ำที่หัดใช้คันกับรอกครั้งแรกๆอ่านแล้วนึกถึงวัยเด็กเลยครับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 49
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 13-12-2554
ความเห็นที่ 15: 18 มิ.ย. 61, 04:55
ยินดีกับผลงานครับน้า แม่นำ้แม่กลองตอนนี้น่าออกตกกุ้งจังเลยครับ แถวบ้านผมเรือออกตกกันหลายลำอยู่
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,440
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 18 มิ.ย. 61, 05:53
+1 ตามเชียร์ครับน้า
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 17: 18 มิ.ย. 61, 07:40
อ้างถึง: Sakdadatgrahan posted: 18 มิ.ย. 61, 00:22
ตามชมตามเชียครับน้าทุกสิ่งที่น้าเล่ามันเหลือแต่อดีตจริงๆครับแม่น้ำนี้ไหลผ่านบ้านผมเหมือนกัน(ราชบุรี)เป็นแม่น้ำที่หัดใช้คันกับรอกครั้งแรกๆอ่านแล้วนึกถึงวัยเด็กเลยครับ

เราก็คงต้องเก็บอดีตไว้เล่าให้ลูกหลานฟัง…พร้อมกับปลูกฝังให้เค้ารักษาปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เป็นอดีตที่ซ้ำรอยเดิมอีก็ครับ…
กระทู้: 0
ความเห็น: 7,848
ล่าสุด: 18-03-2567
ตั้งแต่: 25-03-2551
ความเห็นที่ 18: 18 มิ.ย. 61, 08:06
กระทู้: 46
ความเห็น: 3,393
ล่าสุด: 05-03-2567
ตั้งแต่: 06-03-2549
jenwit(1020 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 19: 18 มิ.ย. 61, 08:38
+++++ 1 
กระทู้: 0
ความเห็น: 32
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 17-08-2559
ความเห็นที่ 20: 18 มิ.ย. 61, 11:12
ชอบกระทู้นี้ครับ 
กระทู้: 0
ความเห็น: 3,196
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-03-2555
ความเห็นที่ 21: 18 มิ.ย. 61, 11:36
กระทู้: 11
ความเห็น: 2,811
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-06-2552
ความเห็นที่ 22: 18 มิ.ย. 61, 14:41
กระทู้: 0
ความเห็น: 9
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 25-08-2551
ความเห็นที่ 23: 18 มิ.ย. 61, 16:03
Night Fishing คราวหน้าผมไปด้วยนะครับ อิ อิ 
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,662
ล่าสุด: 18-03-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 24: 18 มิ.ย. 61, 16:50
อ้างถึง: โดม posted: 17 มิ.ย. 61, 22:30
ตะวันเริ่มคล้อยต่ำนาฬิกาบอกเวลา 18.30 เราตัดสินใจอำลาสายน้ำแห่งชีวิต สายน้ำที่ไหลไปทางเดียวตลอดเวลา โดยไม่ย้อยกลับ ไม่มีน้ำทะเลมาหนุน เพราะมีเขื่อนแม่กลองมาขวางกั้น…ผมขับเรือเดินทางกลับอย่างมีความสุข พร้อมทิ้งท้ายเป็นคำเชิญชวนกับเพื่อนไว้ว่า…”คราวหน้า…เรามานอนในแน่น้ำกันดีกว่า” เราจะกลับมาอีกครั้งในรายการ Night Fishing

ขอบคุณ…แม่น้ำแม่กลองสายน้ำแห่งชีวิต ประดุจสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนเมืองกาญจน์ ที่ยังคงพอมีปลาให้เราได้เลี้ยงปากท้อง
ขอบคุณ…เพื่อนสมิง เพื่อนร่วมสายน้ำทั้งในวัยเยาว์ และในวัยเริ่มยาน…555
ขอบคุณ…พายุที่เข้าอ่าวไทยจนทำให้ผมออกทะเลไม่ได้ เลยทำให้ผมได้ทบทวนความทรงจำในวัยเด็ก
ขอบคุณ…เพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามมาจนถึงบรรทัดสุดท้าย…โชคดี…ราตรีสวัสดิ์ครับ…

ขอบคุณ...ที่บรรยายแล้วทำให้ผมคิดถึงวัยเยาว์เช่นกันครับ.....
ยินดีกับผลงานด้วยคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบ........
กระทู้: 26
ความเห็น: 402
ล่าสุด: 19-03-2567
ตั้งแต่: 09-11-2548
โดม(362 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 25: 18 มิ.ย. 61, 18:16
อ้างถึง: ตี๋กบฏ posted: 18 มิ.ย. 61, 16:03
Night Fishing คราวหน้าผมไปด้วยนะครับ อิ อิ 

มาเลยเพ่ตี๋…เมืองกาญจน์และเรือแพรอาภรณ์ยินดีต้อนรับเสมอครับ
หน้าที่: 1 | 2 >
siamfishing.com © 2024