สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 25 เม.ย. 67
1 กันยายน 2555 ขอร่วมรำลึกถึง " สืบ นาคะเสถียร ": SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 | 3 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 57 - [4 ก.ย. 55, 21:59] ดู: 13,549 - [25 เม.ย. 67, 19:39]  ติดตาม: 1 โหวต: 14
1 กันยายน 2555 ขอร่วมรำลึกถึง " สืบ นาคะเสถียร "
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้งกระทู้: 1 ก.ย. 55, 12:54
1 กันยายน 2555 ขอร่วมรำลึกถึง " สืบ นาคะเสถียร "
ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา

สืบ นาคะเสถียรหรือนามเดิมชื่อ"สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีบิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุลคุณสืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด

โดยที่สายตระกูลของคุณสืบ นาคะเสถียร เป็นครอบครัวชาวนา ชีวิตในช่วงปฐมวัย จึงต้องช่วยทำงานในนา ของมารดา เมื่อว่างจากภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อนๆ โดยมีไม้ง่ามหนังสติ๊กคู่ใจ ได้เข้าเรียนชั้น ประถมตอนต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัด ปราจีนบุรี ช่วงปิดเทอมว่างจากการเรียน ก็ออกไปช่วยทางบ้าน ยกเสริมแนวคันนาเอง เพื่อไม่ให้มีข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวัน แม้แดดจะร้อนก็มิเคยปริปากบ่น ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

พ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษา อย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่าง ผู้ใกล้ชิดว่าสืบ นาคะเสถียร เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่ง ในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ.2514 จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียเข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะ ของการเคหะแห่งชาติ

พ.ศ.2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา และในปี พ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน

สืบทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียน ระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน

ในระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา มรดกที่สืบมอบให้กับคนรุ่นหลัง คือภาพถ่ายสไลด์สัตว์ป่าหายากนับพันๆ รูป ม้วนเทปวิดีโอภาพ สัตว์ป่าและปัญหา การทำลายป่าไม้ในเมืองไทยอีกหลายสิบม้วน ซึ่งสืบเป็นคนถ่ายเอง และหลายครั้งที่เขาลงทุนไปเช่าห้องตัดต่อ ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดต่อเทปด้วยตนเอง

สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตาม ชนิดและพฤติกรรม การทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรม ของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษา สภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ งานวิจัย เหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง

และในเวลา ต่อมา พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่

สืบ นาคะเสถียรเป็นหัวหน้าโครงการอพยพ
สัตว์ป่า เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

พ.ศ.2530 สืบได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษา ผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส

"เชี่ยวหลาน" เป็นชื่อแก่งน้ำแห่งหนึ่งในบริเวณ คลองแสง ซึ่งเป็นคลองที่มีน้ำเชี่ยวมากที่สุดใน ฤดูน้ำหลาก สองฟากฝั่ง คลองคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง และอุทยาน แห่งชาติเขาสก ซึ่งจัดเป็นผืนป่าที่ อุดมสมบูรณ์มากที่สุด แห่งหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อยู่บริเวณรอยต่อ สามจังหวัด ของภาคใต้ คือ ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี บนยอดทิวเขา สูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลางประมาณ 1000 เมตร ซึ่งบัดนี้พื้นที่ป่าดงดิบ นับแสนๆ ไร่ ได้จมอยู่ใต้น้ำลึกเกือบ 100 เมตร กลายเป็น ทะเลสาบขนาดใหญ่ อันเกิดจากโครงการทำลายล้าง ธรรมชาติโครงการหนึ่งของ การไฟฟ้า เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน สำหรับผลิตกระแสไฟ เมื่อสายน้ำ ในคลองแสงที่เคยไหล ตามธรรมชาติถูกปิดกั้น ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ไหลเอ่อสองฝั่งตาม หุบเขา

นับตั้งแต่เริ่มมี การกักเก็บน้ำเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่าง รวดเร็วได้ไหลบ่าท่วม ป่าใหญ่ จมหายไป ส่วนที่เป็นเนินเขา และภูเขาก็ถูกตัดขาด แบ่งแยกเป็น เกาะเล็กเกาะน้อย มากมายถึง 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณ นั้น ต้องได้รับ ผลกระทบ เนื่องจากแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ถูกน้ำท่วมฉับพลัน มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพ หนีน้ำไม่ทันก็ต้องตายไป เป็นจำนวนมาก ไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ในจำนวนนี้มี สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หลายชนิด เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เสือลายเมฆ เลียงผา ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า และกบทูด สัตว์ที่ติดอยู่บนเกาะ ไม่อาจช่วยเหลือ ตัวเองได้ ต้องพากันจมน้ำหรือ อดอาหาร ตายอย่างทรมานในที่สุด ส่วนที่ยังไม่ตาย ก็ต้องประสบกับ ความทุกข์ทรมาน เนื่องจากแหล่งอาหาร และที่พักพิง ในยามที่แดดร้อนระอุ และความหนาวเย็น ของลมฝนที่พัด กระหน่ำเกือบทุกวัน เพราะต้นไม้ที่เหลือ อยู่บนเกาะก็กำลังจะตาย ใบหลุดร่วงสาเหตุ จากรากที่ดูดซึมน้ำต้องแช่อยู่ใต้ ระดับน้ำทำให้รากเน่า

ต่อมาได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อีกตำแหน่ง และนอกจากนั้นก็ยังได้เป็นอาจาย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน จังหวัดกาญจนบุรี สืบได้จัดเตรียมเอกสารข้อมูลทางด้าน บทความและภาพถ่าย ทุ่มเทพลังใจและกาย เพื่อคัดค้านกรณีเขื่อนน้ำโจน และการบุกรุกทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติทุกรูปแบบ

เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลาย ล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรงและกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือ จากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯต่างๆในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป

พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

สืบได้พยายามในการที่จะ เสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ

พ.ศ.2533 จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่า ห้วยขาแข็งและทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปราย ในโอกาสและ สถานที่ต่างๆหลายแห่ง ส่วนมากเป็นหัวข้อเรื่อง "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ ปัญหาที่เกี่ยวข้อง" "การอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในเขื่อนเชี่ยวหลาน" เป็นต้น

ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามา หาผลประโยชน์ สืบได้แสดง เจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรก ที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศ ให้รู้ทั่วกันว่า “ ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่อาจหยุดยั้ง การบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่า ของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอนและสร้างความตึงเครียดให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่าปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้งเกิดจากความยากจนที่ดำรงอยู่โดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพลสามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น อพยพราษฎร ออกนอกแนวกันชน แต่พัฒนาแนวกันชนดังกล่าวให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง

ดังนั้นเขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิด ดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟังปล่อยให้สืบ ต้องดูแลป่าห้วยขาแข้งไปตามยถากรรมด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวังและความคับแค้นใจ

เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา

และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...

การจากไปของสืบ นาคะเสถียรได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรม ในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยเป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกปัก รักษาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยไม่คำนึงภัยอันตรายใดๆ การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคนไม่อาจปล่อยให้ ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 1: 1 ก.ย. 55, 13:04
จดหมายสั่งลาของ สืบ นาคะเสถียร
จดหมายสั่งลาของ สืบ นาคะเสถียร
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 2: 1 ก.ย. 55, 13:10
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 1 ก.ย. 55, 13:11
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 1 ก.ย. 55, 13:11
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 5: 1 ก.ย. 55, 13:12
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 6: 1 ก.ย. 55, 13:12
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 7: 1 ก.ย. 55, 13:13
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 1 ก.ย. 55, 13:13
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 1 ก.ย. 55, 13:14
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 1 ก.ย. 55, 13:17
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 11: 1 ก.ย. 55, 13:18
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวห
การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 12: 1 ก.ย. 55, 13:21
อภิปรายคัดค้านสัมปทานป่า ห้วยขาแข้ง
อภิปรายคัดค้านสัมปทานป่า ห้วยขาแข้ง
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 13: 1 ก.ย. 55, 13:22
อภิปรายคัดค้านสัมปทานป่า ห้วยขาแข้ง
อภิปรายคัดค้านสัมปทานป่า ห้วยขาแข้ง
กระทู้: 4
ความเห็น: 671
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 18-07-2555
J_MBASS(85 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 14: 1 ก.ย. 55, 13:24
สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 15: 1 ก.ย. 55, 13:29
แต่อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงการเก็บรักษาโดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ แ
แต่อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงการเก็บรักษาโดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นการใช้อย่างถูกต้อง โดยวิธีที่จะใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่ดังกล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ไม่เฉพาะทางใดทางหนึ่ง แต่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ในทุก ๆ ด้าน และยังคงมีเหลืออยู่มาก พอที่จะเป็นทุนให้เกิดการพอกพูนขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีก และยั่งยืนต่อไปในอนาคต. ดังนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ มิได้เป็นประโยชน์เฉพาะคนที่อยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังคงสามารถอำนวยประโยชน์ต่อไปชั่วลูกชั่วหลานต่างหาก

หนังสือเสียงเพรียกจากพงไพร. ธันวาคม 2533
กระทู้: 1
ความเห็น: 961
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 03-07-2551
arlaing007(44 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 1 ก.ย. 55, 13:32
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 17: 1 ก.ย. 55, 13:35
ผมอยากเห็นว่า เราควรจะเปลี่ยนแนวทางที่จะพัฒนา ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับ การดำเนินการพัฒนาโด
ผมอยากเห็นว่า เราควรจะเปลี่ยนแนวทางที่จะพัฒนา ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับ การดำเนินการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ ผมไม่เห็นด้วยที่มัวพูดกันว่า เราจะใช้ทรัพยากรอย่างไรเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่เราควรจะหันมาสนใจว่า เราจะรักษา สภาวะแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เหลืออยู่จำกัดได้อย่างไร เราต้องประหยัดการใช้ใช่ไหม เราจะต้องหามาตรการควบคุมในทางปฏิบัติให้ได้

สารคดี ฉบับ 65หน้า 95, กรกฎาคม 2533
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 18: 1 ก.ย. 55, 13:38
จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิช
จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยร่วมกัน คือบางคนอาจจะต้องรับสถานภาพของบางกลุ่ม ข้าราชการอาจต้องยอมรับสถานภาพของประชาชน คือ ลดตัวลง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มฐานะของเขาให้ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะพูดกันคนละที

สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533
กระทู้: 66
ความเห็น: 5,791
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 24-03-2555
Spin_Fisher(1373 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 19: 1 ก.ย. 55, 13:40
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 20: 1 ก.ย. 55, 13:40
ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพรา
ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 21: 1 ก.ย. 55, 13:42
ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ ๒๐ แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอ
ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ ๒๐ แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอาไว้เพื่อให้มันอำนวยประโยชน์ในแง่ ของการควบคุมสภาวะแวดล้อมอะไรต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตของธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง ถ้าเราใช้ป่าทั้งหมดที่เป็นแหล่งกำเนิด ของความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว เราจะไปหาความอุดมสมบูรณ์ได้ที่ไหน


สารคดี ฉบับ 68 หน้า 105, ตุลาคม 2533
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,672
ล่าสุด: 19-04-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 22: 1 ก.ย. 55, 13:43
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 23: 1 ก.ย. 55, 13:43
สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็
สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้ ต้นไม้ให้อากาศ ให้น้ำ...นี่เป็นการใช้ใช่ไหม ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้


สารคดี ฉบับ 65 หน้า 93, กรกฎาคม 2533
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 24: 1 ก.ย. 55, 13:45
ในความรู้สึกของผม เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอกว่า เราจะใช้ป่าไม้อย่างไร เพราะมันเหลือน้อยมากจนไม่ควร
ในความรู้สึกของผม เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอกว่า เราจะใช้ป่าไม้อย่างไร เพราะมันเหลือน้อยมากจนไม่ควรใช้ จึงควรจะรักษาส่วนนี้เอาไว้ เพื่อให้เราได้ประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ทางอ้อม...มันจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ จะต้องมองว่ามีการใช้ทั้งทางตรงทางอ้อม ป่าที่เก็บไว้ในรูปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติควรจะใช้ประโยชน์ในทางอ้อม”


สารคดี ฉบับ 65 หน้า 94, กรกฎาคม 2533
กระทู้: 1
ความเห็น: 361
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-12-2554
aunkitja(14 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 25: 1 ก.ย. 55, 13:46
ถ้าเผื่อเรามีทรัพยากรที่เป็นลุ่มน้ำอยู่มาก แล้วเรารักษาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ได้บางส่วน ใช้ไปบางส่วน เ
ถ้าเผื่อเรามีทรัพยากรที่เป็นลุ่มน้ำอยู่มาก แล้วเรารักษาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ได้บางส่วน ใช้ไปบางส่วน เหมือนสมัยที่เรามีป่ามาก เราอาจจะสร้างเขื่อนได้บางแห่ง แต่ในปัจจุบัน ลักษณะของพื้นที่ที่เป็นลุ่มน้ำที่เหมาะจะสร้างเขื่อนให้ได้ปริมาณน้ำมาก ๆ เอามาผลิตกระแสไฟฟ้ามันเหลือน้อย และการที่เราสร้างเขื่อนไปก่อน แล้วค่อยตามแก้ไขผลกระทบทีหลัง ผมคิดว่ามันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในทางปฏิบัติ...เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มจะเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว เพราะว่าป่าข้างนอกหมดแล้ว อย่างที่เขาใหญ่ก็เริ่มจะพูดถึงการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์ หากว่าการสร้างเขื่อน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังทำได้อีกต่อไป ผมคิดว่าป่าอนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่า เคยเป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน


สารคดี ฉบับ 65 หน้า 96, กรกฎาคม 2533
หน้าที่: 1 | 2 | 3 >
siamfishing.com © 2024