สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 16 เม.ย. 67
เรือ10ฟุตวางบนหลังคารถ ต.ร. จับเปล่า: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2
 กระดาน > เรือ
ความเห็น: 36 - [6 ก.ย. 54, 11:23] ดู: 7,051 - [13 เม.ย. 67, 19:33] โหวต: 8
เรือ10ฟุตวางบนหลังคารถ ต.ร. จับเปล่า
กระทู้: 35
ความเห็น: 1,007
ล่าสุด: 06-04-2567
ตั้งแต่: 10-08-2549
Mr.Taro(474 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 30 ส.ค. 54, 15:26
อ้างถึง: 2-Speed posted: 30-08-2554, 12:10:21

ผมโดนที่ด่าน นวนคร ก่อนออกจากกรุงเทพกำลังเข้าอยุธยา  เปิดกระจกยกมือไหว้ แล้วบอกว่าไปช่วยน้ำท่วม  เท่านั้นแหล่ะครับพี่ท่านบอกให้รีบไปเลย  ช่วงนี้น้ำท่วม  อ้างไปเลยครับ อย่าลืมยกมือไหว้ล่ะ 





มุขนี้โปรโมชั่นได้แค่สิ้นปีนะครับ หากขึ้นปีใหม่แล้วยังใช้อยู่โดนแน่ๆ


กระทู้: 14
ความเห็น: 3,901
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 04-07-2551
Ching CN.(173 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 27: 30 ส.ค. 54, 23:22
อ้างถึง: ไก่ชน posted: 30-08-2554, 11:40:02

วัดดวงครับ ผมก็โดนประจำแถวๆชัยนาท  โดนมันอยู่ด่านเดียวนี่แหละ 



ใส่ร้ายมั้ง  ทีหลังโดนจับบอกผมได้นะ 










เดี๋ยวไปเยี่ยม 
กระทู้: 134
ความเห็น: 14,110
ล่าสุด: 11-04-2567
ตั้งแต่: 24-02-2548
billter(5566 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 28: 31 ส.ค. 54, 19:43
  กฎหมาย มีไว้...??? 
กระทู้: 58
ความเห็น: 14,284
ล่าสุด: 06-01-2567
ตั้งแต่: 27-11-2549
zomby(1418 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 29: 31 ส.ค. 54, 19:48
อ้างถึง: billter posted: 31-08-2554, 19:43:44

  กฎหมาย มีไว้...??? 


กระทู้: 10
ความเห็น: 4,566
ล่าสุด: 13-09-2566
ตั้งแต่: 13-01-2553
pomkorat(711 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 30: 1 ก.ย. 54, 19:58
อ้างถึง: ลวดหนาม posted: 30-08-2554, 13:38:27

10 ฟุตใส่หลังกระบะยังโดนเลยครับ ตร.บอกว่าโผล่ออกนอกตัวรถ ขนาดผูกผ้าแดงก็ยังหนึ่งร้อย

เปลี่ยนมาใช้ 12ฟุต ลากเทรลเลอร์ก็ไม่วายโดนอีกครับ
( คุณใช้รถผิดประเภท ไม่มีใบอนุญาตลากจูง โดนไป 200 บาทพร้อมใบเสร็จขอรับ )

ช่างเหอะครับนานๆโดนที  เพราะปกติผมวิ่งผ่านด่าน  ตร.ให้ผ่านสบายๆ
เขาไม่ค่อยกวดขันเท่าไหร่นักหรอก 
                                                                 

                                จริงๆอย่าง น้าลวดว่าและครับ   อย่างนี้ต้องทำครับ.....ทำใจ
กระทู้: 0
ความเห็น: 470
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-01-2552
ความเห็นที่ 31: 1 ก.ย. 54, 21:53
ถ้าพี่เขาจะเอาทํายังไงก๊ต้องให้ละคับ...เพราะเขาก๊จะหาเรื่องมาเอาจนได้อยู่ดีคับ..ดีไม่ดีอยู่ไม่อยู่บอกว่าคุณ...ตดในรถ..ปรับ..200..คับ      จะยุ่งไปกันใหญ่.....
กระทู้: 11
ความเห็น: 1,814
ล่าสุด: 15-04-2567
ตั้งแต่: 17-07-2553
pic_pic(420 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 32: 2 ก.ย. 54, 14:01
อ้างถึง: tonamphawa posted: 30-08-2554, 12:05:18

ไปได้ครับแต่เตรียมกะตังเผื่อไปด้วย ค่าน้ำค่าข้าว ผมเจอประจำคุยกับเขาดีๆ (แจกใบแดงสักใบ) ผ่านฉลุย


  เห็นด้วยเลยค้าบบบบบบบบบบบบบ































กระทู้: 48
ความเห็น: 4,742
ล่าสุด: 15-04-2567
ตั้งแต่: 26-12-2546
ความเห็นที่ 33: 2 ก.ย. 54, 15:38
ถ้าตร.ไม่เห็นก็ไม่โดนจับครับ
กระทู้: 27
ความเห็น: 35,915
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 08-08-2551
fishingjoke(1263 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 34: 2 ก.ย. 54, 20:09
+++++ขอให้สนุกครับ
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,672
ล่าสุด: 11-04-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 35: 2 ก.ย. 54, 20:46
อ้างถึง: 2-Speed posted: 30-08-2554, 12:10:21

ผมโดนที่ด่าน นวนคร ก่อนออกจากกรุงเทพกำลังเข้าอยุธยา  เปิดกระจกยกมือไหว้ แล้วบอกว่าไปช่วยน้ำท่วม  เท่านั้นแหล่ะครับพี่ท่านบอกให้รีบไปเลย  ช่วงนี้น้ำท่วม  อ้างไปเลยครับ อย่าลืมยกมือไหว้ล่ะ 

อย่างนี้ต้องติดสัญญาลักษณ์สีกาชาดได้ไหมอ่ะน้าตี๋ บอกว่าเป็นเรือปฐมพยาบาล...
กระทู้: 13
ความเห็น: 448
ล่าสุด: 15-03-2567
ตั้งแต่: 21-11-2550
TKS_Lp(343 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 6 ก.ย. 54, 11:23
อันนี้ที่พอจะหามาได้ จะเอาไปเถียงมันก็คงจะไปกันใหญ่ บางทีก็ต้องโทษตัวเองว่าทำให้...มัน...เคยกิน เอ้ย! ชิน หรือเปล่าเลยติดเป็นสันดอน 5555 มันอยู่ที่จรรยาบรรณ ว่าจะเป็นผู้พิทักษ์... หรือ เป็น โจ...รีดไถ

แร็คหลังคารถยนตร์ ติดตั้งอย่างถูกกฎหมาย ได้หรือไม่ ?

. . . . พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ได้กล่าวถึง วิธีการเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ในทะเบียนรถยนตร์ มีเนื้อหาว่า&#8230;
. . . . ตอนจดทะเบียนรถใหม่ ถ้าไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นว่ามี &#8220;แร็คหลังคา&#8221; ด้วย ก็ถือว่าเป็นการ "เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป" แม้จะแลดูมั่นคง แต่การที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน ถือว่ายังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายว่า "ไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น" จึงอยู่ในข่ายที่อาจถูก "ห้ามใช้รถนั้น จนกว่าจะเอาออกแล้ว"
. . . . พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔ ได้กำหนดหลักการ การตรวจสภาพรถที่ติด "แร็คหลังคา" เอาไว้ว่า&#8230;
. . . . การติดแร็คหลังคา จำต้องนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อน ถ้าตรวจแล้วเห็นว่าปลอดภัย ก็ให้นายทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

สรุป :
. . . . เราสามารถติดตั้งแร็คแบบถาวร บนหลังคารถยนตร์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้ตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๑๒, ๑๔ แห่ง พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒


แร็คท้ายรถยนตร์ ใช้กับ รถยนตร์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน เจ็ดคน ได้หรือไม่ ?

. . . . กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า&#8230;
. . . . ข้อ ๑ รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสาร บรรทุกของได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
. . . . . . . . (๑) สำหรับส่วนกว้าง ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
. . . . . . . . (๒) สำหรับส่วนยาว
. . . . . . . . . . . . (ก) ในกรณีที่เป็นรถยนตร์ ด้านหน้ายื่นไม่เกินห.น้า.หม้อหรือกันชน ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
. . . . . . . . . . . . (ข) ในกรณีที่เป็นรถพ่วงรถยนตร์ ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
. . . . . . . . . . . . (ค) ในกรณีที่เป็นรถม้าสี่ล้อบรรทุกของ ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้ารถ ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
. . . . . . . . . . . . (ง) ในกรณีที่เป็นเกวียน ด้านหน้ายื่นไม่เกิน ๑ เมตร วัดจากแอก ด้านหลังยื่นพ้นตัวถังไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
. . . . . . . . . . . . (จ) ในกรณีนอกจากที่ระบุไว้ใน (ก) (ข) (ค) และ (ง) ด้านหน้ายื่นไม่เกินตัวถัง ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน ๐.๕๐ เมตร

คำอธิบาย :
. . . . "รถบรรทุก" ตามมาตรา ๔ (๒๐) แห่งพรบ.จราจรทางบกฯ หมายความว่า "รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์"
. . . . "รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล" ตามมาตรา ๔ แห่งพรบ.รถยนตร์ฯ หมายความว่า รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
. . . . คำว่า "รถบรรทุก" ตามพรบ.จราจรทางบกฯ จึงครอบคลุมคำว่า "รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล" ตามพรบ.รถยนตร์ฯ ซึ่งหมายถึง รถสเปซแคป รถกระบะ และรถกระบะสองตอน ที่จดทะเบียนเป็นรถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล
. . . . "รถบรรทุกคนโดยสาร" ตามมาตรา ๔ (๒๑) แห่งพรบ.จราจรทางบกฯ หมายความว่า "รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน"
. . . . "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน" ตามมาตรา ๔ แห่งพรบ.รถยนตร์ฯ หมายถึง รถกระบะแวน รถตู้
. . . . คำว่า "รถบรรทุกคนโดยสาร" ตามพรบ.จราจรทางบกฯ จึงมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน" ตามพรบ.รถยนตร์ฯ ซึ่งหมายถึง รถกระบะแวน รถตู้
. . . . ถ้าพิจารณาเฉพาะกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) ข้อ ๑ (๒) (ก) ซึ่งไม่มีคำว่า "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน" อาจเข้าใจว่ารถที่จดทะเบียนเป็นรถนั่งนั้น อาจบรรทุกสิ่งของยื่นพ้นตัวรถด้านหลังได้ไม่ถึง ๒.๕๐ เมตร

. . . . แต่เมื่อพิจารณาจาก พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ ซึ่งมีบทบัญญัติว่า&#8230;
. . . . มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
. . . . . . . . (๑) การใช้รถยนต์บริการธุรกิจหรือรถยนต์บริการทัศนาจรในกิจการส่วนตัว
. . . . . . . . (๒) การใช้รถยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว โดยมีข้อความแสดงไว้ที่รถนั้น ให้เห็นได้ง่ายจากภายนอกว่าใช้ในกิจการส่วนตัว
. . . . . . . . (๓) การใช้รถยนต์สาธารณะบรรทุกของที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร
. . . . . . . .(๓ ทวิ) การใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อย กิโลกรัม เป็นรถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
. . . . . . . .(๔) ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง

. . . . ก็จะเห็นว่า พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ ได้อนุโลมการใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนได้ ๕ กรณี โดยเฉพาะในอนุมาตรา (๓ ทวิ) ซึ่งอนุโลมให้ใช้ "รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล" เป็น "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน" หรือใช้ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล" เป็น "รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล" ได้
. . . . ดังนั้น จึงเป็นอันว่าพรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ (๓ ทวิ) ได้อนุโลมให้ใช้รถที่จดทะเบียนเป็น "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล" (รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) บรรทุกของยื่นพ้นตัวรถด้านหลัง ๒.๕๐ เมตร ได้เช่นเดียวกับรถที่จดทะเบียนเป็น "รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล" (รถกระบะ รถสเปซแคป)ซึ่งก็คือสามารถใช้แร็คบรรทุกจักรยานด้านท้ายรถได้นั่นเอง

สรุป :
. . . . กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) ข้อ ๑ (๒) (ก) ประกอบ พรบ.รถยนตร์ฯ มาตรา ๒๑ อนุญาตให้รถยนตร์ทั้ง ๓ ชนิด คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) และรถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) สามารถบรรทุกจักรยานยื่นพ้นตัวรถด้านหลังได้ ๒.๕๐ เมตร

ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอีก ๒ ประการ คือ
. . . . ประการที่ ๑ ปฏิบัติตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๕ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) ข้อ ๑๓ คือ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน สัตว์ รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของส่วนที่ยื่นออกไปด้วย หรือในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกนั้น
. . . . ประการที่ ๒ ปฏิบัติตามพรบ.รถยนตร์ฯ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ คือ ทำให้เห็นว่า
. . . . . . . .(ก) รถที่เพิ่มแร็คเข้าไปนั้น ไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น
. . . . . . . .(ข) รถที่เปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของรถโดยการติดแร็ค ซึ่งผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใช้รถนั้นแล้วไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายในเวลาใช้
. . . . . . . . (ค) รถที่เพิ่มแร็คเข้าไปนั้น ในขณะที่ใช้มีลักษณะที่เห็นได้ว่าน่าจะปลอดภัยในการใช้


รถนั่ง บรรทุกได้สูง เมตรครึ่ง จาก หลังคา หรือว่า พื้นทาง ?

. . . . กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) บัญญัติไว้ดังนี้
. . . . ข้อ ๑ รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสาร บรรทุกของได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
. . . . . . . . (๓) สำหรับส่วนสูง
. . . . . . . . . . . . (ก) ในกรณีที่เป็นรถบรรทุก รถม้าสี่ล้อบรรทุกของ หรือเกวียน ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน ๒.๓๐ เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๘๐ เมตร จากพื้นทาง
. . . . . . . . . . . . (ข) ในกรณีที่เป็นรถอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (ก) ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร

คำอธิบาย :
. . . . ข้อ ๑ (๓) (ก) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง"
. . . . ข้อ ๑ (๓) (ข) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) และ รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร"
. . . . พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้นิยามคำว่า "รถบรรทุก" ไว้ว่า หมายถึง รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์ จึงครอบคลุมคำว่า "รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล" ใน กฎกระทรวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๔ ที่ออกตามความใน พรบ.รถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒
. . . . ส่วนรถยนตร์(ตาม พรบ.รถยนตร์ฯ) อีก ๒ ประเภท คือ "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน" กับ "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน" ต่างก็อยู่ในความหมายของคำว่า "รถอื่น" ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑ (๓) (ข)
. . . . ความหมายของ "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร" ใน ข้อ ๑ (๓) (ข) นั้น จากการสอบถามไปยังแผนกกฎหมาย(โทร. ๐-๒๒๒๓-๖๑๐๒) ของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพรบ.จราจรทางบกฯ ก็ได้รับการยืนยันว่า ในทางปฏิบัติหมายถึง "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง"
. . . . กรณีตัวแร็คชนิดติดตั้งบนหลังคา จึงมีปัญหาเรื่องความสูง ตั้งแต่ยังไม่ได้บรรทุกจักรยาน เพราะหลังคารถเก๋ง รถกระบะสองตอน ก็สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร อยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อนำแร็คไปติดตั้งบนหลังคา ส่วนบนของตัวแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง แต่หากผ่านการตรวจสภาพ และนายทะเบียนเห็นว่า รถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ จนได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ลงในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วยแล้ว ก็ต้องถือว่า "แร็คหลังคา" เป็นส่วนควบของรถ ส่วนบนของแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตรจากพื้นทางได้ เพราะกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (ออกตามความใน พรบ.รถยนตร์ฯ) นั้น กำหนดไว้ใน ข้อ ๑ (๓) (ก) (ข) แต่เพียงว่า "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน เจ็ดคน และ รถยนตร์นั่งส่วนบุคคล เกิน เจ็ดคน ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร ยาวไม่เกิน ๑๒ เมตร" เท่านั้น แต่มิได้จำกัดความสูงของตัวรถไว้ว่าห้ามเกินเท่าใดเมตร
. . . . อย่างไรก็ตาม เมื่อนำจักรยานมาบรรทุกบนแร็ค ก็ย่อมสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง ซึ่งเกินจากระดับความสูงที่ได้กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑. (๓) (ข) ฉะนั้น เมื่อตำรวจเรียกตรวจ ควรรีบแสดงสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" จะเป็นการดีกว่า หลงไปถกเถียงในประเด็น ความสูงของจักรยานที่บรรทุก ว่าต้องวัดระยะความสูง ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง ? หรือ จากหลังคารถเก๋ง ?

สรุป :
. . . . กฎหมายอนุญาตให้ รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) บรรทุกจักรยานได้สูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง ส่วน รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) กับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) นั้น บรรทุกจักรยานได้สูงจากพื้นทางเพียง ๑.๕๐ เมตร เท่านั้น
. . . . แม้ทางทฤษฎีอาจจะมีข้อไม่ชัดเจนอยู่บ้าง แต่ไม่น่าวิตกเกินไปนัก เพราะจากการสอบถามไปยังผู้ปฏิบัติในหลายหน่วยงาน เช่น กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ด่านเก็บเงินทางด่วนบางนา ต่างก็ให้ความเห็นคล้ายๆ กันว่า ถ้าบรรทุกจักรยาน(ซึ่งเป็นสัมภาระของผู้เดินทาง) ไว้บนแร็คหลังคา แล้วแลดูว่า มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ในเวลาใช้ ก็จะไม่เรียกตรวจ แต่หากเป็นกรณีใช้ "รถยนตร์นั่งส่วนบุคคล" บรรทุกจักรยานในลักษณะทางธุรกิจรับจ้างขนส่งหรือนำไปเพื่อการค้าขาย ก็ถือเป็นการบรรทุก "สิ่งของ" อันเป็นความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

สภาพบังคับของกฎหมาย :
. . . . ข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการบรรทุกสูงเกินกำหนด มีเฉพาะโทษปรับ ๕๐๐ บาท ทั้ง ๒ กรณี คือ
. . . . . . . . (๑) รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) บรรทุกจักรยานสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง
. . . . . . . . (๒) รถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) บรรทุกจักรยานสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง
. . . . ทั้ง ๒ กรณีนี้เป็นความผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๘ ประกอบมาตรา ๑๕๐ (๓) มีโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาท)
. . . . ส่วนข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการใช้แร็คขนจักรยานยื่นล้ำออกนอกตัวรถ(ด้านท้าย รถ)แล้ว ที่ปลายสุดของส่วนที่ยื่นออกไป ไม่ติดธงสีแดงในเวลากลางวัน หรือไม่ใช้โคมไฟแสงแดงในเวลากลางคืน ก็เป็นความผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๑๕๒ มีโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท)

:คัดลอกมาจากเวป ฟอร์จูเนอร์คลับ
http://www.fortuner-club.com/webboard/questions.asp?QID=27208

ขนาดมอไซค์ไม่มีคนซ้อนเอาพักเท้าหลังลงยังโดนข้อหากีดขวางการจราจรเลย
หน้าที่:< 1 | 2
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024