สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 มี.ค. 67
พิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ (ขอบคุณ คุณ 13เมษา ด้วยครับ): SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 >
 กระดาน > อื่นๆ
ความเห็น: 32 - [22 มี.ค. 50, 14:46] ดู: 174,610 - [28 มี.ค. 67, 17:59]
พิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ (ขอบคุณ คุณ 13เมษา ด้วยครับ)
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ตั้งกระทู้: 21 มี.ค. 50, 12:50
พิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ (ขอบคุณ คุณ 13เมษา ด้วยครับ)
ผมเห็นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนไม่ได้สัมผัส พอดีไปเห็น แล้วสวยดี จึงอยากนำมาให้ชาวสยามฯ  ให้สัมผัสอีกมุมหนึ่งของคนไทย

ขอขอบคุณ ภาพ จากคุณ  13 เมษา  และ www.pixpros.net

กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 1: 21 มี.ค. 50, 12:51
สักยันต์ 
วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรือสักยันต์เป็นวัฒธรรม
สักยันต์
วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรือสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่มากนัก
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 2: 21 มี.ค. 50, 12:51
เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร สนใจใคร่ศึกษาม
เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร สนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 3: 21 มี.ค. 50, 12:51
"สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก" คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการ
"สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก" คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่างๆ กันใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันงาผสมว่าน ๑๐๘ ชนิด
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 4: 21 มี.ค. 50, 12:52
เป็นต้นแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลายถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่
เป็นต้นแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลายถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่าสักน้ำมันทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐานเช่น "สักข้อมือแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือมีสังกัดกรมกองแล้วสักหน้าแสดงว่าเป็นผู้ต้องโทษปราชิกเป็นต้น"
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 5: 21 มี.ค. 50, 12:53
จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่าการสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลายนักบางห
จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่าการสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลายนักบางหมู่บ้านจะพบว่าผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอกและแผ่นหลังตามสมัยนิยมในขณะที่ผู้ชำนาญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส (คนธรรมดา)
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 6: 21 มี.ค. 50, 12:54
ในอดีตสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนอดีต คือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่าผู้ท
ในอดีตสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนอดีต คือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่าผู้ที่มีลายสักเป็นคนชั้นต่ำ เป็นนักเลงความคิดเช่นนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกที่มองผู้ที่มีลายสักว่าส่วนใหญ่มักเป็นกลาสีขี้เมาหรือคนจรจัด คนเมืองจึงเกิดความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรมของคนบ้านนอกคนไม่มีการศึกษา ทัศนคติเช่นนี้มิได้มีแต่คนกรุงเทพฯ เท่านั้นแต่แพร่ไปสู่เมืองอื่นๆ ด้วย โดยคิดว่า การสักลายเป็นเรื่องของคนจน กรรมกร และคนบ้านนอก ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องลายสัก จึงกระทำได้ยากในปัจจุบัน เพราะคนที่มีลายสักมักจะปกปิดลายสักไว้อย่างมิดชิด ผู้ที่จะให้ข้อมูลและเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับการสักจะเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจของศิลปะโบราณนี้เท่านั้น
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 7: 21 มี.ค. 50, 12:55
การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบ กรรมวิธีและพิธีกรรม
การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบ กรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยมและความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ ๒ รูปแบบคือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนาการตามแบบฉบับของมันและแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 8: 21 มี.ค. 50, 12:55
การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถ
การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมใน ชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 9: 21 มี.ค. 50, 12:55
เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย รูปแ
เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย รูปแบบของการสักแต่ละชนิดจะมีความขลังที่แตกต่างกัน ลายสักหรือยันต์บางชนิดสามารถช่วยผู้ที่สักให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากได้ สัญลัษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำให้ผิว หนังเหนียวได้ ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เชื่อว่าการสักจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ด้วย
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 10: 21 มี.ค. 50, 12:56
ไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี นครปฐม

พิธีบูชาครูบูรพาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพร
ไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี นครปฐม

พิธีบูชาครูบูรพาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ กระทำสืบทอดมาแต่โบราณกาลตามความเชื่อถือเก่าแก่ของบูรพาจารย์ในสมัยโบราณปัจจุบันที่เห็นหลงเหลือก็จะมีพิธีไหว้ครู
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 11: 21 มี.ค. 50, 13:18
หมู่ลูกศิษย์ที่อยู่ในวงสายสิญจน์ บางคนก็เกิดอาการที่เรียกว่า "ของขึ้น" คนที่ของขึ้นส่วนใหญ่ มักเกิดแ
หมู่ลูกศิษย์ที่อยู่ในวงสายสิญจน์ บางคนก็เกิดอาการที่เรียกว่า "ของขึ้น" คนที่ของขึ้นส่วนใหญ่ มักเกิดแก่คนที่มีความเลื่อมใส จิตใจตั้งมั่นยึดมั่นในครูบาอาจารย์ มีอ่อนไหวง่ายเมื่อหลับตาระลึกถึงครูบาอาจารย์พระองค์ท่าน
กระทู้: 16
ความเห็น: 2,275
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 20-12-2548
ความเห็นที่ 12: 21 มี.ค. 50, 13:26
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 13: 21 มี.ค. 50, 13:48
พวกที่สักอักขระที่เป็นรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น สักรูปเสือเผ่น ก็กางเล็บกระโดดโจนทะยานวิ่งเข้าหาหลวงพ่อหน้
พวกที่สักอักขระที่เป็นรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น สักรูปเสือเผ่น ก็กางเล็บกระโดดโจนทะยานวิ่งเข้าหาหลวงพ่อหน้าปะรำพิธี ขณะที่หลวงพ่อเริ่มทำการบวงสรวง จุดธูป เทียน บูชาครู บูรพาจารย์ ผู้ที่สักเป็นรูปหนุมานก็กระโดดโลดเต้นตีลังกาเข้าหา
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 14: 21 มี.ค. 50, 13:49
ที่สักหมูป่าก็แผดเสียงร้องก้อง วิ่งเข้าหาหลวงพ่อ บนพื้นดินก็มีคนคลานเลื้อยเหมือนปลาไหล
ที่สักหมูป่าก็แผดเสียงร้องก้อง วิ่งเข้าหาหลวงพ่อ บนพื้นดินก็มีคนคลานเลื้อยเหมือนปลาไหล
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 15: 21 มี.ค. 50, 13:49
ที่น่าแปลกก็คือ ภายหลังจบพิธี ไม่พบร่องรอยบาดแผล ถลอก หรือเลือดตกยางออกให้เห็นเลย
ที่น่าแปลกก็คือ ภายหลังจบพิธี ไม่พบร่องรอยบาดแผล ถลอก หรือเลือดตกยางออกให้เห็นเลย
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 16: 21 มี.ค. 50, 13:50
บางคนของขึ้นก็ทำท่าทางยกมือเหมือนถือไม้เท้าเดินกระย่องกระแย่งลักษณะเหมือนฤาษี ตอนนี้โกลาหลไปหมดคนที่
บางคนของขึ้นก็ทำท่าทางยกมือเหมือนถือไม้เท้าเดินกระย่องกระแย่งลักษณะเหมือนฤาษี ตอนนี้โกลาหลไปหมดคนที่นั่งในวงสายสิญจน์ต่างก็แตกตื่นลุกหนีคนที่ของขึ้น ต้องคอยหลบหลีกพวกที่ของขึ้นวิ่งเข้าหาปะรำพิธีกันอลหม่าน
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 17: 21 มี.ค. 50, 13:50
ภายในสนามรอบสายสิญจน์ คนที่ของขึ้นต่างก็วิ่งเข้าหาหน้าปะรำพิธี แต่ก็มีพวกลูกศิษย์ที่จิตใจแข็งไม่เกิด
ภายในสนามรอบสายสิญจน์ คนที่ของขึ้นต่างก็วิ่งเข้าหาหน้าปะรำพิธี แต่ก็มีพวกลูกศิษย์ที่จิตใจแข็งไม่เกิดการของขึ้น หลายคนช่วยกันจับคนที่ของขึ้นที่มีกำลังวังชามากมายที่ไม่รู้ว่าไปเอามาจากไหน
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 18: 21 มี.ค. 50, 13:50
วิธีแก้ของขึ้นก็โดยการใช้ ๒ มือ ตบที่หูเบาๆ หรือใช้มือลูบหน้าตรงจมูก หรือยกขาให้สูงกว่าตัว การไม่ให้
วิธีแก้ของขึ้นก็โดยการใช้ ๒ มือ ตบที่หูเบาๆ หรือใช้มือลูบหน้าตรงจมูก หรือยกขาให้สูงกว่าตัว การไม่ให้ของขึ้นจะเตือนสติให้หายใจลึกๆ ให้ลืมตาไม่ให้หลับตา เคยถามคนที่ของขึ้นว่ารู้สึกยังไง เขาก็ตอบว่า ระหว่างหลับตาอยู่ในภวังค์ สติวูบไปอย่างไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองทำอะไรไปบ้าง
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 19: 21 มี.ค. 50, 13:51
เมื่อหลวงพ่อบวงสรวงเสร็จก็นั่งบริกรรมสักพัก แล้วจะหันหน้าออกไปยังหน้าปะรำพิธี นั่งบริกรรมต่อระลึกถึง
เมื่อหลวงพ่อบวงสรวงเสร็จก็นั่งบริกรรมสักพัก แล้วจะหันหน้าออกไปยังหน้าปะรำพิธี นั่งบริกรรมต่อระลึกถึงบูรพาจารย์ คณาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านประสบพบในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก จนบรรพชา อุปสมบทเป็นภิกษุศิษย์ตถาคต ได้เดินธุดงควัตรไปพบกับผู้มีฤทธิ์วิเศษต่างๆ ครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาต่างๆ องค์พรหม องค์เทพเทวดาที่เกื้อกูลค้ำจุน ช่วยสร้างสมบารมี สร้างถาวรวัตถุ สาธารณประโยชน์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 20: 21 มี.ค. 50, 13:52
หลวงพ่อนั่งสงบไม่ไหวติง แสดงถึงบารมีอันแก่กล้าพร้อมด้วยเหล่าพระอาจารย์ลูกศิษย์นั่งรายล้อมในปะรำพิธีอ
หลวงพ่อนั่งสงบไม่ไหวติง แสดงถึงบารมีอันแก่กล้าพร้อมด้วยเหล่าพระอาจารย์ลูกศิษย์นั่งรายล้อมในปะรำพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่บูชาครู บูรพาจารย์ของผู้ทรงศีลให้รู้สึกถึงพลังอันเยือกเย็น หรือบางครั้งก็ให้รู้สึกถึงจิตใจที่กล้าแข้ง ฝูงชนที่รายล้อมอยู่นอกวงสายสิญจน์ต่างตระหนักถึงสายพระเวทย์อันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างดี ต่างก็จับสายสิญจน์ที่รายล้อมปะรำพิธีกันทุกคนเสียงแผดร้อง โจนทะยานของคนที่ของขึ้นตลอดเวลา ระหว่างที่หลวงพ่อเปิ่นนั่งบริกรรม จนฝุ่นกระจายไปทั่วบริเวณ
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 21: 21 มี.ค. 50, 13:52
ในพิธีชูชาครูของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จะทำกันทุกปีในวันเสาร์ของเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม สาเหต
ในพิธีชูชาครูของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จะทำกันทุกปีในวันเสาร์ของเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม สาเหตุที่ทำพิธีกันในวันเสาร์ บูรพาจารย์กล่าวไว้ว่า วันเสาร์เป็นวันที่แข็งที่สุด พิธีการอันใดที่วัดจัดขึ้นในวันนี้จะมีกฤตยานุภาพเข้มแข็งมาก วันบูชาครูเป็นวันที่เสมือนหนึ่งเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีน้อมระลีกเคารพนับถือบุญคุณของบูรพาจารย์ ครูบาอาจารย์ คณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ วิชาไสยเวทย์ คาถาอาคม คัมภีร์ต่างๆ ให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งมั่นกระทำแต่ความดี เสมือนเป็นเกราะป้องกันตัวตัว ในการดำเนินชีวิตให้มีแต่ความสุขความเจริญ สังคมและประเทศชาติก็มีแต่ความร่มเย็นสงบสุข
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 22: 21 มี.ค. 50, 13:53
ภายในปะรำพิธี พอหลวงพ่อเปิ่นลืมตาขึ้นจากการบริกรรม แล้วลุกขึ้นมากราบแท่นบูชาบูชาครูเท่านั้นคลื่นมหาช
ภายในปะรำพิธี พอหลวงพ่อเปิ่นลืมตาขึ้นจากการบริกรรม แล้วลุกขึ้นมากราบแท่นบูชาบูชาครูเท่านั้นคลื่นมหาชนที่คอยจับสายสิญจน์อยู่เป็นเวลานาน ต่างก็เฮโลกระชากดึงสายสิญจน์ขาด พรึบเดียวสายสิญจน์ก็ขาดหายไป บางคนก็ลุกขึ้นจากวงสายสิญจน์จากภายในภายนอก ต่างถาโถมเข้าหาหลวงพ่อที่เดินมาที่โอ่งน้ำพุทธมนต์ แล้วประพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปทั่วรอบทิศทาง ตอนนี้บางคนก็ของขึ้นวิ่งเบียดกันมาโกลาหล ต่างตนต่างเบียดเสียดยื้อแย่งเข้าหาหลวงพ่อ คลื่นคนดันคนให้เดินไปข้างหน้า ต่างเบียดเข้าที่หน้าปะรำพิธีที่เดียว เมื่อได้น้ำพุทธมนต์จนพอใจแล้วกว่าจะพาตัวเล็ดลอดออกมาได้ก็แทบแย่ เพราะคนที่อยู่ด้านในก็อยากจะออกมาข้างนอก ส่วนคนที่อยู่ด้านนอกก็อยากจะเข้าไปข้างใน จะหาทางออกหรือถอยหลังก็ไม่ได้ต้องไปตามแรงดันของกระแสคลื่นมหาชนเหล่าลูกศิษย์ที่จะเข้ามารับน้ำพระพุทธมนต์
กระทู้: 62
ความเห็น: 1,695
ล่าสุด: 29-02-2567
ตั้งแต่: 08-01-2547
ความเห็นที่ 23: 21 มี.ค. 50, 13:54
เมื่องานพิธีบูชาครู บูรพาจารย์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ลูกศิษย์บางคนก็เข้ามาขอเครื่องบายศรี ผลไม้ต่างๆ อาหาร
เมื่องานพิธีบูชาครู บูรพาจารย์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ลูกศิษย์บางคนก็เข้ามาขอเครื่องบายศรี ผลไม้ต่างๆ อาหารคาวหวานมากินเพื่อเป็นสิริมงคล พอ
หลวงพ่อลงมาจากปะรำพิธีกลับมาที่กุฏิ เครื่องบูชาเซ่นสังเวยบนปะรำพิธีก็หายวับไปกับตาไม่มีอะไรเหลือ แม้แต่โอ่งน้ำมนต์ที่มีน้ำมนต์เต็มโอ่งก็แห้งขอด งานบูชาครูก็เป็นอันจบสิ้นพิธี ท่ามกลางความยินดีปรีดาของเหล่าลูกศิษย์ที่อิ่มเอิบไปด้วยแรงบุญอันเป็นสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดที่เขาเหล่านั้นได้รับ เหลือไว้แต่ตำนานพิธีบูชาครูอันเข้มขลัง เปี่ยมล้นไปด้วยพลานุภาพที่เราทั้งหลายต่างจดจำในวันข้างหน้า

ขอขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ที่นำมาให้เราชาวสยามฯ  ได้สัมผัสกัน
กระทู้: 44
ความเห็น: 2,504
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-12-2549
yiew_daiwa(541 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบดำ
ความเห็นที่ 24: 21 มี.ค. 50, 14:10
เท่ห์
กระทู้: 0
ความเห็น: 1,380
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 01-03-2550
ความเห็นที่ 25: 21 มี.ค. 50, 14:44
        Ohhwww
เชื่อในการทำความดี ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
       
หน้าที่: 1 | 2 >
siamfishing.com © 2024