Scleropages macrocephalus sp. nov. ใช้กับ Silver variety ที่มีหางสีเหลืองหรือเทา.
Scleropages aureus sp. nov. ใช้กับ the Red Tail Golden.
Scleropages legendrei sp. nov. ใช้กับ the Super Red arowana.
สุดท้าย Scleropages formosus (Müller & Schlegel, 1844) ใช้กับ The green variety.
ในการบรรยายเท่าที่อ่านคร่าวๆ Scleropages formosus (Müller & Schlegel, 1844) คือ อะโรวาน่าชนิดนี้ถูกระบุว่ามีการกระจายในตลอดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ The green variety. ที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะไม่มีตัวอย่างจากไทย แต่มีตัวอย่างปลาที่จับได้ในธรรมชาติจาก กัมพูชา ซึ่งชนิดปลาน้ำจืดไทยส่วนใหญ่มักจะถูกระบุว่าเป็นชนิดเดียวกับที่พบในกัมพูชา หรือ ลาว ด้วย จึงมีความเป็นไปได้ว่า ปลาอะโรวาน่า หรือ ในวงการปลา เรียกว่า ปลาตะพัด ยังคงใช้เป็น Scleropages formosus (Müller & Schlegel, 1844) ดังเดิมอยู่ครับ.
เนื่องจากชื่อใหม่ได้ถูกนำไปใข้แทนปลาอะโรวาน่าที่วงการค้าปลามักจะเรียก เช่น the Super Red arowana.,Silver variety หรือ The green variety.ปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ ถิ่นที่อยู่ อาจจะแยกจากกันถึงแม้จะพบในประเทศเดียวกัน.
อาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่ร่วมบรรยาย ยังได้ใช้การตรวจสอบ ทั้ง 2 แบบ คือ ทั้งตรวจโมเลกุล และ ตรวจลักษณะภายนอก ที่อ่านคร่าวๆ ก็จะมี ความยาวของขากรรไกร ใน 4 ชนิดนี้มีทั้ง ยาวถึงขอบลูกตาหลังบ้าง บางชนิดไม่ถึงบ้าง หรือ จำนวนของเกล็ดเส้นข้างลำตัว ความกว้าง ความลึกของส่วนหัวโดยเทียบเป็นเปอร์เซนต์จากความยาวมาตราฐาน จำนวนก้านครีบหลัง และ ครีบก้น เป็นต้นครับ. อันนี้ที่ผมอ่านคร่าวๆน่ะครับ ผิดพลาดประการใดคงต้องถามผู้รู้จริงๆอีกทีครับ.