เล่าสู่กันฟังสำหรับคอสกุลปลาช่อน ในวงการปลาสวยงามของต่างประเทศรู้จักปลาชนิดนึงที่คล้ายปลาชะโดมาก ตั้งแต่ไซส์ลูกยันไซส์ใหญ่ ปลาชนิดนี้มีนามกรชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa diplogramma.( ชาน-นา-ดิพ-โพล-แกรม-มา.) ในขณะที่ปลาชะโดบ้านเรามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes ( ชาน-นา-ไมร-โคร-เพลล์-เทส.) ถ้าอย่างนั้นเรามาลองดูรายละเอียดของปลาชนิดนี้กันก่อนน่ะครับว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างเอ่ย?
Channa diplogramma.?
ชื่อทั่วไป = ยังไม่ถูกระบุอย่างแน่นอน.
ขนาด = ยังไม่ระบุ.
แหล่งที่พบ = บริเวณแหล่งน้ำจืดแถบชายฝั่งทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ( Malabar coast.) ในรัฐ เคราล่า ( Kerala state.)
อาหาร = สัตว์น้ำขนาดเล็กต่างๆ.
**หมายเหตุ** ชื่อ Channa diplogramma. ในเดือนตุลาคมตรงกับปีพุทธศํกราชไทยในปี พ.ศ.2406 ท่านด็อคเตอร์ Day. ท่านมีการระบุชื่อของปลาชนิดนี้ไว้ด้วยจากตัวอย่างที่พบในเมือง โคชิน ( Cochin.) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย.
ต่อมามีการระบุว่าจริงๆแล้วปลา Channa diplogramma. เป็นปลาเบบี๋ของปลาชะโด ( Channa micropeltes.)
แต่ถึงกระนั้นอยากฝากบอกกับน้าๆน้องๆที่หลงใหลปลาสกุลนี้ อย่าเพิ่งตัดความเป็นไปไม่ได้ ว่า Channa diplogramma.ไม่มีจริงหรอก? หรือ จริงๆแล้วมันคงเป็นเพียงแค่ปลาชะโดที่พบในอินเดีย เราคงต้องรอคำตอบ จากที่พอทราบมาเมื่อมีการตีพิมพ์เอกสารออกมาให้ทั่วโลกรับรู้ล่ะครับ ส่วนตัวผมก็รออยู่และหวังว่าคงไม่นาน.
ส่วนตัวมีการตั้งข้อสังเกตุเล็กๆอยู่ว่า ปลาชะโดถูกตั้งคำถามว่า พบในพม่าบ้างหรือไม่? เพราะถ้าพบว่ามีอยู่จริง แสดงให้เห็นถึงว่าการกระจายของปลาในโซน ซุนดาเบอร์มีส เป็นจริงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอะไร และ มีความเป็นไปได้สูงว่า Channa diplogramma. คงเป็นชะโดจริงๆ แต่ถ้าไม่พบปลาชะโดในพม่า แสดงว่า การกระจายไม่ต่อเนื่อง จากข้อมูลที่ส่วนตัวพอทราบ ( ผิดถูกอย่างไรคงต้องรบกวนผู้รู้จริงๆช่วยโพสท์มาบอกด้วยน่ะครับ เพื่อประโยชน์กับผมและน้าๆน้องๆที่สนใจศึกษาปลา.) อย่างคร่าวๆการแบ่งชนิดของปลา ถ้าไม่ใช้เรื่องของโมเลกุลเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามความคิดผมน่าจะแบ่งตาม
1) จากสรีระภายในบางอย่างและภายนอกที่สังเกตุได้ชัดเจนหรือ ที่ผมเข้าใจว่าคือ หลัก Morphology.
2) แบ่งตามการกระจาย.
**หมายเหตุ**
1) ปลาบางชนิดที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่เมื่อถูกนำไปตรวจ DNA. ผลตรวจระบุว่าเป็นคนละชนิดกันก็มีครับ.
สุดท้ายขอบคุณครับผมสำหรับที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ โดยส่วนตัวก็คงต้องรอสิ่งตีพิมพ์ออกมานั่นแหละครับ ว่าปลาที่มีลักษณะภายนอกทั้ง 2 ชนิดที่เหมือนกันมาก จะเป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่?