หน้าแรก
|
กระดาน
|
รีวิว
|
ประมูล
|
ตลาด
|
เปิดท้าย
login
|
สมัครสมาชิก
|
วิธีสมัครสมาชิก
|
ลืมชื่อ/รหัส
|
login ไม่ได้?
|
23 พ.ย. 67
ได้โปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ!: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:
<
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
>
กระดาน
>
น้ำจืด
ความเห็น: 230 - [16 ต.ค. 50, 19:06] ดู: 131,394 - [23 พ.ย. 67, 16:06] โหวต: 20
ได้โปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ!
กระทู้: 68
ความเห็น: 3,168
ล่าสุด: 18-07-2567
ตั้งแต่: 11-03-2550
Exp.สุริยา
(242
)
ความเห็นที่ 176: 7 ก.พ. 51, 07:16
ขอบคุณมากครับน้าดูสวยดีไปอีกแบบ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 177: 8 ก.พ. 51, 20:06
มีการระบุสายพันธุ์ใหม่ของปลาหมอสีทังกันยิกาในสกุล Benthochromis. ขึ้นมากอีกชนิดนึงครับ คราวนี้เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ใช่ทั้ง Benthochromis tricoti. และ Benthochromis melanoides. โดยมีชื่อชนิดใหม่ที่ถูกนำมาตั้งเพื่อให้เกียรติ และ เคารพต่อ Mr. Michio Hori. คือบุคคลแรกที่รู้จักชนิดได้อย่างชัดเจน. โดยกำหนดชื่อว่า Benthochromis horii. ครับ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 178: 8 ก.พ. 51, 20:23
เป็นปลาที่ถูกค้นพบในระดับลึกทางใต้ของทะเลสาปทังกันยิกา แถบประเทศแซมเบีย. ปลาหมอชนิดนี้ถูกเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับ Benthochromis tricoti. ในวงการปลาสวยงาม.
ส่วนของแตกต่างระหว่าง B.horii กับ B.tricoti. กับ B.melanoides. ขอนำมากล่าวอ้างอย่างคร่าวๆน่ะครับ.
1) ขนาดของตาที่เล็กกว่า ช่วงจงอยปากที่ยาวกว่า ก้านครีบหลังที่มีจำนวนมากกว่า.
2)ครีบท้องที่ยาวกว่า จำนวนของแถบฟันแรกบนขากรรไกรบนที่มีจำนวนน้อยกว่า.
ขอบคุณครับน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
กระทู้: 68
ความเห็น: 3,168
ล่าสุด: 18-07-2567
ตั้งแต่: 11-03-2550
Exp.สุริยา
(242
)
ความเห็นที่ 179: 8 ก.พ. 51, 22:12
สุดยอดจริงๆ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 180: 9 ก.พ. 51, 19:10
คงจะต้องใช้คำว่าดีใจสำหรับนักสะสมปลาสวยงามอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นคิวของ คิลลี่ฟิช ( Killifishes.) อย่างที่น้าๆหลายๆท่านทราบว่า คิลลี่ฟิช มีทั้งที่พบในแอฟริกา และ อเมริกาใต้ สำหรับ 2 ชนิดนี้ อยู่ในสกุล Chromaphyosemion. พบทางแอฟริกา คือ Chromaphyosemion erythron. และ Chromaphyosemion ecucuense. (ในภาพจะเป็น C.erythron.)
สุดท้ายขอแจ้งข่าวดีไว้แค่นี้ก่อนน่ะครับ ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 181: 11 ก.พ. 51, 20:30
มีน้าหลายๆท่านอาจจะยังตัดสินใจไม่ถูก บางท่านก็กังวลว่าจะจัดอย่างไรดี เลยขอนำภาพตู้ปลา Mr. Lawrence Siow. ชาวสิงคโปร์ ท่านนี้สามารถเพาะพันธุ์เจ้า Zebra plec. ( L46) มาให้ชมกันครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 182: 11 ก.พ. 51, 20:33
ส่วนตัวผมว่าดูสวยแบบคลาสสิคดีครับ ลองชมภาพต่างๆได้เลยครับน้าๆทุกท่าน.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 183: 11 ก.พ. 51, 20:36
หากน้าท่านใดสามารถประยุกต์นำปลาฝูงชนิดอื่นมาเติมไม่เลวเลยน่ะครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 184: 11 ก.พ. 51, 20:39
ตัวนี้ยังไงครับ Black-and-White striped Zebras plec. ของน้าเขาครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 185: 11 ก.พ. 51, 20:41
ขออีกภาพ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 186: 11 ก.พ. 51, 20:42
ไปก่อนน่ะครับ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 187: 23 ก.พ. 51, 22:29
มีอีกหลายประเทศในโลกที่นักสำรวจหรือผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ทางด้านปลายังไม่สามารถเข้าถึงได้ และการสำรวจค้นหายังมีอยู่ตลอดไป ในทวีปเอเชียเองก็ยังมีบางประเทศที่ยังตกสำรวจใน ที่มีคนกล่าวถึงมาก ก็คงหนีไม่พ้น อินเดีย และ พม่า วันนี้นำข่าวการค้นพบปลาชนิดใหม่บนดินแดนภารตะทั้ง 3 สกุล มาให้ชมกันครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 188: 23 ก.พ. 51, 22:31
สำหรับ " Danio sp." ปลาซิวชนิดใหม่ครับ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 189: 23 ก.พ. 51, 22:34
สกุลปลาค้อครับ " Schistura sp. "
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 190: 23 ก.พ. 51, 22:37
สกุลสุดท้ายยังอยู่ที่สกุลปลาค้ออีกเช่นกันครับ " Mesonemachelius sp."
กระทู้: 11
ความเห็น: 1,687
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-03-2550
รัฐ
(162
)
ความเห็นที่ 191: 23 ก.พ. 51, 23:23
หวัดดีครับน้าจิรชัย มีข้อมูลเกี่ยวกับพีค๊อกแบสบ้างมั๊ยครับ แล้วก็พวกฟาร์มที่เพาะพวกปลาอเมซอนขายอ่าครับ น้าพอจะมีแหล่งที่ซื้อถูกๆบ้างมั๊ยครับ พอดีจะซื้อไปลงในบ่อส่วนตัวอ่าครับ
กระทู้: 287
ความเห็น: 36,023
ล่าสุด: 23-11-2567
ตั้งแต่: 14-07-2549
kanok
(17611
)
ความเห็นที่ 192: 24 ก.พ. 51, 00:40
...หวัดดีน้าจิรชัย ตอบด่วน อิอิ ....
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 193: 24 ก.พ. 51, 02:32
โหน้า! เดี๋ยวกระทู้ผมก็ถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษหรอกครับ ถ้าถามว่าตอนนี้ปลาสกุล Cichla. หรือที่น้าๆทราบในชื่อของ Peacock bass. ที่อ่านๆอยู่มีการระบุเพิ่มเป็นทั้งหมด 15 ชนิดแล้วครับ จากเดิมที่มี่อยู่โดยประมาณ 5 ชนิด ทางนักวิชาการเขาคงทำ paper. กันออกมาแล้วถึงลงข่าวในลักษณะนี้ได้ เท่าที่ทราบปลาต่างด้าวยังคงมีการนำเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่องครับน้า ไม่ใช่ว่าจะรักษาหน้าตัวเองน่ะครับน้ารัฐ คือยอมรับตามตรงว่าตอนนี้ดูแต่ปลาไทยเป็นหลักครับ ไม่ใช่ว่าตนเองไม่เลี้ยงปลาดุๆเหล่านี้อยู่ เลี้ยงครับและไม่กล้าขายด้วย เพราะเรากลัวขนาดเรามันยังกัด ถ้าเอาไปขายปล่อยให้คนที่ไม่รู้จัก จะใช้คำว่า อันตราย คงเป็นไปได้ เลยตั้งใจว่าจะเลี้ยงจนมันตายครับน้า ที่ว่าปลาไทยอย่างที่เคยบอกครับน้า ปลาน้ำจืดไทยทีเคยสำรวจระบุว่ามีประมาณ 733 ชนิด ถ้านำมาทำเป็นปลาเกมส์ ปลาไทยมีไม่น้อยกว่าปลาในทวีปอื่นน่ะครับน้า ส่วนตัวผมเห็นน้าหลายๆท่านตกบิ็กเกมส์ ตกสะปิ๋วเอย ตกฟลายเอย ถ้าขออนุญาตออกความเห็นส่วนตัว เพิ่มรายละเอียดชนิดปลาเข้าไปด้วย ฟังดูน่าขันน่ะครับ เราไม่ได้สร้างจุดเด่นตรงนี้ขึ้นมาเองมากกว่าครับน้า ยกตัวอย่างเช่น ปลาในสกุลปลาตะพาก หรือ Hypsibarbus. มีที่รายงานอยู่ประมาณ 7 ชนิดครับน้า บางชนิดต้องไปตกเฉพาะที่ ถ้าตกได้ซ้ำที่เราเคยตกก็ปล่อย อย่างปลาในสกุลปลากราย ในโลกมีทั้งหมด 4 ชนิด อยู่ในบ้านเรา 3 ชนิด อย่างน้าที่อยู่ภาคใต้ ต้องการตกปลาตองลาย ภาคใต้ไม่มี ก็ต้องเดินทางมาตกที่แม่น้ำโขง ทุกอย่างทุกความมันส์ทุกความรู้ เราเป็นคนกำหนดครับน้า. สมัยก่อนผมก็เป็นครับน้าเราอยากตกปลาต่างด้าวที่มีขนาดใหญ่ ผมเข้าใจครับ แต่อย่างที่บอกครับน้า ต้องถามตัวเราเองว่าเราพร้อมที่จะรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้หากมีการหลุดรอดลงไปปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติได้หรือไม่ ตัวเรารู้ดีที่สุดครับน้า อย่างกรณีพีค๊อกซ์แบส นี่เจอในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ยังทะเลาะกันวุ่นวายใหญ่โต และถ้าพบตามแม่น้ำลำคลอง ตายครับน้า ตายสถานเดียว ทะเลาะกันประเทศแตก อยากให้น้าตัดปัญหาไปดีกว่าครับ เชื่อผมเถอะครับน้า อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่อยากนำเสนอน้ารัฐ และ น้าๆทุกท่านด้วยครับ.
กระทู้: 65
ความเห็น: 3,189
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 31-07-2547
ติ๊ก - ซาหระบูรี
(360
)
ความเห็นที่ 194: 24 ก.พ. 51, 14:16
ชอบคับ ... ผมชอบตกปลาและก้อชอบรู้จักปลาชนิดต่างๆคับ ขอบคุณสำหรับสาระและความผ่อนคลายที่น้าจิรชัยหามาให้เสมอๆคับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 110
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-05-2547
แจ็ค สวนสยาม
(2
)
ความเห็นที่ 195: 24 ก.พ. 51, 17:07
สวยมากเลยครับ
กระทู้: 11
ความเห็น: 1,687
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-03-2550
รัฐ
(162
)
ความเห็นที่ 196: 24 ก.พ. 51, 19:37
เข้าใจแล้วครับน้าจิรชับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 197: 24 ก.พ. 51, 19:52
ขอโทษน่ะครับน้ารัฐ ที่อาจจะให้คำตอบได้ไม่มากพอครับผม.ขอโทษจริงๆครับน้า.
กระทู้: 3
ความเห็น: 104
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 25-01-2551
vitter
(21
)
ความเห็นที่ 198: 24 ก.พ. 51, 20:32
อะหล่ามแท้แลตรึง
เห็นด้วยกับ ค.ห.ที่193ครับ
เราอยากตกปลาต่างด้าวที่มีขนาดใหญ่ ผมเข้าใจครับ แต่อย่างที่บอกครับน้า ต้องถามตัวเราเองว่าเราพร้อมที่จะรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้หากมีการหลุดรอดลงไปปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติได้หรือไม่
พอดีแถวบ้านผมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา...คนหาปลาลงข่ายได้ ปลาที่หน้าตาเหมือนจรเข้..น้ำหนักอยู่ที่...3 กก. กำลังตั้งท้อง..กี่เดือนไม่รุ.....ชื่ออะไรไม่รุ...
แสดงว่าปลาพวกนี้ปรับสภาพแวดล้อมได้เร็ว...
บ้านพักผมอยู่แถวสามเสนติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา...น้ำก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่..........น่าคิดนะครับ....มันจะเหมือนปลาเทศบาลรึเปล่า...
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 199: 24 ก.พ. 51, 22:25
ทุกอาทิตย์ที่ผมไปช่วยคนขายปลาที่จตุจักรมีนฯ ผมยังเชื่อว่ายังมีคนที่เลี้ยงปลาขนาดใหญ่อยู่อีกมากครับน้า อย่างวันนี้มีน้องวัยรุ่นมาเสนอขายปลาอริเกเตอร์ ขนาดย่อมๆเกือบเมตร นี่คือสิ่งที่คนเลี้ยงที่ไม่สามารถแบกรับปัญหาภาะการเลี้ยงดูได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนเลี้ยงอีกกลุ่มที่สามารถรับภาระตรงนั้นได้เช่นกันครับ. บางคนถามผมว่าซัคเกอร์มันสร้างปัญหาให้ระบบนิเวศน์อย่างไร ซึ่งคนเลี้ยงก็คาดไม่ถึงกับผลกระทบเหล่านี้เช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ถ้าขาดการให้ความเข้าใจ หรือ การประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง เราก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ต่อไปอย่างไม่มีวันจบครับ. แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีวันน่ะครับผม.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
จิรชัย
(970
)
ความเห็นที่ 200: 7 มี.ค. 51, 06:42
ขออนุญาตนำคอนเซพท์ของ คุณ Heiko Bleher. ที่ท่านจำลองธรรมชาติจาก Rio Sao Francisco.ของบราซิล (Brazil.) ลงตู้โชว์ในงานแสดงพรรณปลานานาชาติที่จัดขึ้นในเยอรมัน.
หน้าที่:
<
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
>
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?tid=33470&begin=175